• ปฐมวัย
นับตั้งแต่อายุ 8 ปี ถึง 16 ปี มีน้ำเป็นสมมุติฐานของโรค ผู้ที่อยู่ในปฐมวัย มักจะเป็นโรคไข้หวัด โรคไอ โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคปอด โรคหูน้ำหนวก โรคท้องผูก โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคเลือดและน้ำเหลืองเสีย โรคทางเดินหายใจ โรคแผลฝีมีหนอง
รสอาหารที่มีคุณต่อปฐมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัยตั้งแต่ 1 ปี ถึง 16 ปี
ควรกินอาหารที่มีรสหวาน เปรี้ยวขม และร้อนฉุน เช่น หัวไชเท้า มะละกอสุก กล้วยสุก ส้มโอ หอมใหญ่ ฯลฯ
• มัชฌิมวัย
นับตั้งแต่อายุ 16 ปี ถึง 30 ปี มีไฟเป็นสมมุติฐานของโรค ผู้ที่อยู่ในมัชฌิมวัยมักจะเป็นโรคร้อนในกระหายน้ำ เป็นแผลในช่องปาก มีกลิ่นปาก เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคตับ โรคไต ม้ามอักเสบ ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร หนัง ขน ผมแห้งแตกกรอบ กล้ามเนื้ออักเสบ ขมึงตึง ชาปลายมือ ปลายเท้า
รสอาหารที่มีคุณต่อมัชฌิมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัย ตั้งแต่ 16 ปี ถึง 30 ปี
ควรกินอาหารที่มีรสขม เปรี้ยว ฝาด เค็ม เช่น มังคุด หัวปลี ส้ม มะระ มะเขือเปราะ ปลาหมึก ฯลฯ
• ปัจฉิมวัย
นับตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไป จนหมดอายุขัย ปัจฉิมวัย มีลมเป็นสมมุติฐานของโรค ทำให้มักเป็นโรคลมขึ้นเบื้องบน ลมลงเบื้องล่าง ลมเดินเลือกแทงตามโพรงข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวด โรคตาฟาง ตาต้อ โรคความดันในเลือด โรคเส้นเลือดเปราะบาง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคปลายประสาทอักเสบ โรคหัวใจ โรคเครียดนอนไม่หลับ โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด หอบหืด โรคกล้ามเนื้อ หมดแรง โรคความจำเสื่อม โรคข้อกระดูกเสื่อม
รสอาหารที่มีคุณต่อปัจฉิมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
ควรกินอาหารที่มีรส หอมเย็น เผ็ดร้อน ขม ฝาด เค็ม เช่น สะระแหน่ ขิง โหระพา พริกไทย พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ลูกพลับ ผักกาดหอม ฯลฯ
• โรคประจำฤดู
คนที่เกิดในฤดูร้อน มีสมมุติฐานจากธาตุไฟ ทำให้เกิดโรคร้อนใน กระหายน้ำ โรคผิวหนัง เป็นผดผื่นคัน โรคตับทรุด น้ำเหลืองและเลือดเป็นพิษ โรคตกขาวในสตรี โรคท้องผูก ริดสีดวงทวาร เป็นไข้ปากขม กระดูกและฟันผุสึกกร่อนเร็วกว่าฤดูอื่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น โรคนิ่ว
• รสอาหารประจำฤดูร้อน
ควรกินอาหารที่มีรสจืดเย็น สุขุม ขม เช่น แตงกวา แตงร้าน ใบบัวบก มะระ ขี้เหล็ก ฯลฯ
• รสอาหารประจำฤดูฝน
ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน ฝาด ขมหวาน เช่น พริก พริกไทย หัวปลี ผักกาดหอม ฯลฯ
• รสอาหารประจำฤดูหนาว
ควรกินอาหารที่มีรสมัน เปรี้ยวสุขุม และจืด เช่น เผือก ถั่ว งา ถั่วลันเตา มะยม ส้มเขียวหวาน ฯลฯ
• รสอาหารประจำสีผิว
คนผิวขาว โลหิตจะหวาน ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนขม เช่น กระชาย ข่า ฯลฯ
คนผิวขาวเหลือง โลหิตจะเปรี้ยว ควรกินอาหารที่มีรสเค็ม เช่น เนื้อปูทะเล ปลาหมึก ฯลฯ
คนผิวดำแดง โลหิตจะเค็ม กินอาหารได้ทุกรสยกเว้นรสเค็ม เช่น สะเดา ส้มเขียวหวาน ฟักเขียว ระกำ ฯลฯ
คนผิวดำ โลหิตจะเค็มมากๆ ควรกินอาหารที่มีรสหวาน เช่น ดอกไม้จีน รากบัวหลวง น้ำอ้อย ดอกแค มะละกอสุก กล้วยสุก ฯลฯ
การกินรสอาหารประจำสี ควรหากินให้ได้หลากหลาย แต่ต้องเน้นรสที่เป็นคุณแก่สีผิวของตนเองเป็นหลัก จักไม่เจ็บป่วย และซ่อมแซมเสริมสร้างรักษาโรคภายในกายตน
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยเฒ่าไม้แห้ง)
นับตั้งแต่อายุ 8 ปี ถึง 16 ปี มีน้ำเป็นสมมุติฐานของโรค ผู้ที่อยู่ในปฐมวัย มักจะเป็นโรคไข้หวัด โรคไอ โรคโพรงจมูกอักเสบ โรคปอด โรคหูน้ำหนวก โรคท้องผูก โรคท้องอืดท้องเฟ้อ โรคเลือดและน้ำเหลืองเสีย โรคทางเดินหายใจ โรคแผลฝีมีหนอง
รสอาหารที่มีคุณต่อปฐมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัยตั้งแต่ 1 ปี ถึง 16 ปี
ควรกินอาหารที่มีรสหวาน เปรี้ยวขม และร้อนฉุน เช่น หัวไชเท้า มะละกอสุก กล้วยสุก ส้มโอ หอมใหญ่ ฯลฯ
• มัชฌิมวัย
นับตั้งแต่อายุ 16 ปี ถึง 30 ปี มีไฟเป็นสมมุติฐานของโรค ผู้ที่อยู่ในมัชฌิมวัยมักจะเป็นโรคร้อนในกระหายน้ำ เป็นแผลในช่องปาก มีกลิ่นปาก เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคตับ โรคไต ม้ามอักเสบ ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร หนัง ขน ผมแห้งแตกกรอบ กล้ามเนื้ออักเสบ ขมึงตึง ชาปลายมือ ปลายเท้า
รสอาหารที่มีคุณต่อมัชฌิมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัย ตั้งแต่ 16 ปี ถึง 30 ปี
ควรกินอาหารที่มีรสขม เปรี้ยว ฝาด เค็ม เช่น มังคุด หัวปลี ส้ม มะระ มะเขือเปราะ ปลาหมึก ฯลฯ
• ปัจฉิมวัย
นับตั้งแต่อายุ 30 ปี ขึ้นไป จนหมดอายุขัย ปัจฉิมวัย มีลมเป็นสมมุติฐานของโรค ทำให้มักเป็นโรคลมขึ้นเบื้องบน ลมลงเบื้องล่าง ลมเดินเลือกแทงตามโพรงข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวด โรคตาฟาง ตาต้อ โรคความดันในเลือด โรคเส้นเลือดเปราะบาง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคปลายประสาทอักเสบ โรคหัวใจ โรคเครียดนอนไม่หลับ โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด หอบหืด โรคกล้ามเนื้อ หมดแรง โรคความจำเสื่อม โรคข้อกระดูกเสื่อม
รสอาหารที่มีคุณต่อปัจฉิมวัย และรักษาโรคที่เกิดในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป
ควรกินอาหารที่มีรส หอมเย็น เผ็ดร้อน ขม ฝาด เค็ม เช่น สะระแหน่ ขิง โหระพา พริกไทย พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู ลูกพลับ ผักกาดหอม ฯลฯ
• โรคประจำฤดู
คนที่เกิดในฤดูร้อน มีสมมุติฐานจากธาตุไฟ ทำให้เกิดโรคร้อนใน กระหายน้ำ โรคผิวหนัง เป็นผดผื่นคัน โรคตับทรุด น้ำเหลืองและเลือดเป็นพิษ โรคตกขาวในสตรี โรคท้องผูก ริดสีดวงทวาร เป็นไข้ปากขม กระดูกและฟันผุสึกกร่อนเร็วกว่าฤดูอื่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น โรคนิ่ว
• รสอาหารประจำฤดูร้อน
ควรกินอาหารที่มีรสจืดเย็น สุขุม ขม เช่น แตงกวา แตงร้าน ใบบัวบก มะระ ขี้เหล็ก ฯลฯ
• รสอาหารประจำฤดูฝน
ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน ฝาด ขมหวาน เช่น พริก พริกไทย หัวปลี ผักกาดหอม ฯลฯ
• รสอาหารประจำฤดูหนาว
ควรกินอาหารที่มีรสมัน เปรี้ยวสุขุม และจืด เช่น เผือก ถั่ว งา ถั่วลันเตา มะยม ส้มเขียวหวาน ฯลฯ
• รสอาหารประจำสีผิว
คนผิวขาว โลหิตจะหวาน ควรกินอาหารที่มีรสเผ็ดร้อนขม เช่น กระชาย ข่า ฯลฯ
คนผิวขาวเหลือง โลหิตจะเปรี้ยว ควรกินอาหารที่มีรสเค็ม เช่น เนื้อปูทะเล ปลาหมึก ฯลฯ
คนผิวดำแดง โลหิตจะเค็ม กินอาหารได้ทุกรสยกเว้นรสเค็ม เช่น สะเดา ส้มเขียวหวาน ฟักเขียว ระกำ ฯลฯ
คนผิวดำ โลหิตจะเค็มมากๆ ควรกินอาหารที่มีรสหวาน เช่น ดอกไม้จีน รากบัวหลวง น้ำอ้อย ดอกแค มะละกอสุก กล้วยสุก ฯลฯ
การกินรสอาหารประจำสี ควรหากินให้ได้หลากหลาย แต่ต้องเน้นรสที่เป็นคุณแก่สีผิวของตนเองเป็นหลัก จักไม่เจ็บป่วย และซ่อมแซมเสริมสร้างรักษาโรคภายในกายตน
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 108 พฤศจิกายน 2552 โดยเฒ่าไม้แห้ง)