xs
xsm
sm
md
lg

มองปัญหาด้วยปัญญา:

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

                                 หัวใจสำคัญของพหูสูต
                         ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
                                 คือ สุ จิ ปุ ลิ


ปุจฉา
คุณสมบัติของพหูสูต


อยากพัฒนาตนเป็นพหูสูต กับเขาบ้าง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายที่แท้จริง เชื่อมั่นว่าหากมีคุณสมบัติเช่นนั้นจะเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้รู้ จะต้องฝึกตนอย่างไรดีขอรับ

วิสัชนา

ก็เรียนมาก ทรงจำได้มาก สำหรับที่สุด คือ กระทำให้ได้มาก ด้วย เรียนมากในที่นี้ ความหมาย ก็คือ การที่เอาตัวเองเข้าไปสัมผัสกับปัญหาต่อโจทย์ ต่อบทเรียนนั้นๆ อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้

หลวงปู่พูดว่า เรียนมาก ในที่นี้ หมายถึง การที่เอาตัวเองเข้าไปหาโจทย์ เข้าไปหาตัวปัญหาเพื่อจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาจากตัวเอง อย่างชนิดที่ต้องการจะเรียนรู้ นั่นคือ ความ-หมายของคำว่าเรียนมาก เมื่อเรียนมาก ความทรงจำมันจะไม่ดีเอาเลย ถ้าลูกไม่ใช้ความเข้าใจ มันซะก่อน ถ้าขาดความเข้าใจแล้ว ถึงจะทรงจำมันอย่างไร ก็คง ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรที่ควรนัก

เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงใช้คำว่า ควรจะทำให้เกิดความเข้าใจ ทำแล้วก่อให้เกิดความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทีนี้ไม่ต้องจำ มันจะสิงเข้าไปอยู่ในกระดูก เลือด ในชีวิตของเราเอง

เหมือนอย่างที่หลวงปู่พูดให้พวกเราฟัง ถ้าหลวงปู่ใช้ความ จำต้องมีเวลาเตรียมการ แล้วนึก สำหรับการที่จะนำมาพูด แล้วตอบปัญหา แต่นี่ไม่ใช่ หลวงปู่ใช้ปัญญาที่ได้จากการลงไม้ลงมือ กระทำ เมื่อเราได้การกระทำจาก ความสว่าง กระจ่างชัด เปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำแล้วทำให้ที่มืดกลายเป็นความสว่างได้ด้วยตัวเราเอง และรู้แจ้งแทงตลอด กระจ่างชัดด้วยตัวเราเองแล้ว หนึ่งร้อยปี หมื่นปี ล้านปี ก็สามารถจะอยู่กับเราได้โดยไม่ต้องจดจำ มันจะเป็นความเข้าใจ เป็นความสว่าง กระจ่างชัด และต้องการใช้เมื่อไหร่ก็ได้ทุกเวลา

สรุปความหมายก็คือ หัวใจสำคัญของพหูสูตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอาไว้มี สุ จิ ปุ ลิ อยากบอกว่าใช้ได้ แต่สำหรับหลวงปู่แล้ว แค่คิด แค่ฟัง แค่ถาม ถ้าไม่ทำใช้ไม่ได้ ต้องลงไม้ลงมือกระทำด้วยถึงจะใช้ได้

ปุจฉา
ผู้ทรงธรรม


ปัจจุบันเห็นมีนักบวชดาษดื่น และก็มีข่าวอื้อฉาวกันมาก แล้วผู้ทรงธรรมตัวจริง ควรประกอบด้วยภูมิจิตภูมิใจอย่างไรครับ ทั้งด้วยเหตุใดบุคคลจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม และมีปัญญาในการกำจัดกิเลส

วิสัชนา

ผู้ทรงธรรม ก็คือ ผู้ประพฤติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้เรียนรู้ธรรม ผู้แสดงธรรม ผู้กระจายอธิบายและพูดโดยธรรม และผู้ประพฤติธรรมให้เจริญในหลักแห่งธรรมนั้นๆ เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม

เมื่อเรามีพระธรรมอยู่ในใจ มีพระธรรมอยู่กับตัว มีพระธรรม อยู่กับชีวิตจิตวิญญาณของเรามันก็จะรอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เข้ามา รอบกาย หรือภายในกาย ว่าถูก หรือผิด ดี หรือชั่ว เลวหรือหยาบ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถกำจัดสิ่งที่เป็นศัตรู และยอมรับสิ่งที่เป็นมิตรได้ เป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้มีพระธรรม

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเป็นผู้มีพระธรรม ก็คือ เมื่อใดที่เราเผชิญกับปัญหาที่จะทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ และเราตั้งมั่นได้ไม่เสียศูนย์ไม่เสียสมดุล ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับการที่เราต้องทะยานอยาก ร้องห่มร้องไห้ฟูมฟาย เศร้าโศก เสียใจไปกับเขาด้วย เราสามารถ ยืนหยัดได้โดยไม่เสียอะไรออก ไป ไม่แสดงสิ่งเหล่านี้ออกไป ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้ใครรับรู้ ถือว่านั่นคือเรามีธรรมอย่างน้อยก็ความอดทน อดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติโสรัจจะ

ขันติคือความอดทน โสรัจจะ คือความสงบเสงี่ยม เหล่านี้เรียกว่าผู้ทรงธรรม
แต่ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราเศร้าโศกเสียใจแล้วร้องไห้เราก็พากันตีโพยตีพาย ร้องไห้ฟูมฟาย เสียน้ำตาเป็นตุ่มๆ อย่างนี้แล้วเราก็บอกคนอื่นว่าเราเป็น ผู้ทรงธรรม เป็นผู้รักษาธรรม นั่นไม่ใช่

จำไว้อย่างคือ พระธรรมคือ เครื่องกำจัดความเดือดร้อน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความฟุ้งซ่าน หงุดหงิด รำคาญ พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความทุกข์ยาก ลำบาก และสับสน พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดความกลัดกลุ้มหมกมุ่น และมึนงง พระธรรมเป็นเครื่องทำลายความ มืดบอดและความดำสนิท พระธรรมเป็นเครื่องยังให้เกิดแสงสว่าง และปัญญาญาณหยั่งรู้ พระธรรมทำให้เราชาญฉลาด และอาจหาญ ทั้งสามารถที่จะดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมาย และสาระอย่างสมบูรณ์แบบ พระธรรมเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เราร้องไห้ โกรธ อาฆาตพยาบาท พระธรรมป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดและเสียหาย ในขณะที่มีชีวิตหรือจบชีวิตแล้ว นั่นคือความหมายของคำว่า พระธรรม
กำลังโหลดความคิดเห็น