เมื่อชีวิตเป็นทุกข์ ความดับทุกข์ก็มีอยู่จริง...
บัณฑิตต้องรู้จักจับผิดตนเอง
รักษาใจให้สบายได้ในทุกๆ กรณี
ไม่ใช่จะสบายใจเฉพาะเมื่อถูกใจเท่านั้น
แม้มีเรื่องไม่ถูกใจก็สบายใจได้
เรื่องที่ 94 คนไทยใจดี
สัปดาห์ก่อน ผู้เขียนได้นำเสนอข้อความโดนใจบางส่วนจากหนังสือ พุทธจริยศาสตร์ แนวทางการฟื้นฟูคุณธรรมและจิตสำนึกประชาชาติ จากงานเขียนของท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ไปแล้ว
คราวนี้ ขอแนะนำบทความกินใจจากธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก แสดงธรรมแก่คณะผู้ปฏิบัติธรรม โรงเรียนอนุบาลหนุน้อย เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2551 ณ วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี มีใจความมุ่งเน้นให้เห็นปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางทัศนคติ และอุดมการณ์ ทำให้ความน่าชื่นชมคนไทยของนานาประเทศ ลดน้อยถอยลง
ทุกฝ่่่ายจึงควรพร้อมใจกันหันมาเริ่มทำความเข้าใจกับความจริง ของชีวิตกันเสียใหม่ และหากได้ศึกษาจนเข้าใจพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะโชคดี เพราะพระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า เมื่อชีวิตเป็นทุกข์ ความดับทุกข์ก็มีอยู่จริง...และได้ตรัสสอนแนวทางการปฏิบัติไว้ด้วย
*เราทุกคนสามารถพ้นทุกข์ได้ หากเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง แก้ไขได้ถูกจุด เกาถูกที่คัน ซึ่งอันดับแรก แน่นอนต้องหา จุดที่คันให้เจอ หรือหาจุดเกิดเหตุพร้อมสืบค้นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุและผลที่ตามมาก่อน เช่น เมื่อมีความไม่สบายใจเกิดขึ้น จิตก็จะหมกมุ่นอยู่กับความคิดและรายละเอียดในเรื่องนั้นๆ ที่ทำให้เป็นทุกข์ด้วยความขัดเคือง
แต่หากมีความเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราเป็นวิบากกรรมที่เราสร้างเหตุไว้แต่อดีต อาจเป็นเมื่อวินาทีก่อน หรือย้อนไปไกลถึงชาติก่อนๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อมีทุกข์ มีเหตุ หาเหตุ เมื่อพบเหตุอยู่ที่ใจมีสารพัดตัณหาที่อำนาจกรรมผลักดันความคิดและการกระทำอยู่ ก็ต้องปรับความคิดให้ดีให้ถูก แล้วรู้จักปล่อยวางความรู้สึกไม่สบายใจนั้นเสียบ้าง ใจก็จะกลับมาเป็นกลางๆ ดังนั้น แนวทางแรก คือ การแก้ปัญหาให้แก้ที่เหตุ ปัจจัยไม่ต้องแก้ ที่สำคัญต้องรู้จักรักตัวเอง และเมตตาตัวเองให้เป็นก่อน
คนที่รักและเมตตาตนเองเป็น จะระวังถนอมใจ ไม่ปล่อยให้ ทุกข์นาน พอเห็นใจไม่สบาย ก็รีบปรับมุมมองและความคิด ปลดทุกข์ภัยที่เบียดเบียนใจไป เกิดความโปร่งโล่งใจขึ้นแทนที่
เราควรฝึกจิตให้ฉลาดด้วยการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น ก็รู้เท่าทันไม่คิดต่อความยาวสาวความยืด หยุดสร้างมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ปรับจิตให้สูง ส่งเสริมแนวคิดเอื้อต่อการเกิดกุศล ก็จะรักษาใจให้สบายได้ในทุกๆ กรณี ไม่ใช่จะสบายใจเฉพาะเมื่อถูกใจเท่านั้น แม้มีเรื่องไม่ถูกใจก็สบายใจได้
หากยังฝึกคิดดีได้ไม่คล่อง จิตยังติดอารมณ์ เรื่องที่คิดยังค้างหัว (ใจ) อยู่ ก็หาอุบายแก้ด้วยการหายใจเข้าลึกๆ หายใจออก ยาวๆ ให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เมื่อมีความรู้สึกตัวชัดเจนกับลมหายใจทั้งเข้าและออก ความไม่สบายใจก็จะหายไป ตั้งอยู่ต่อไปไม่ได้ นี่คืออุบายอย่างหนึ่ง
การเปลี่ยนความรู้สึกโดยระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งแรกที่ทำได้ง่ายคือ จาคะ หรือ การสละประโยชน์ที่เคยยึดเพราะความหวงแหนและอยากได้ หากหักใจได้ จะปรับจิตที่แบกอารมณ์หนักๆ ให้เบาและผ่อนคลาย
การรู้จักศึกษาธรรมะ เรียนรู้ความจริง รู้จักการตามดูจิต ทำให้เท่าทันความรู้สึก และอาการเแอบแฝงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ตอบสนองของแรงกระทำที่เราได้ก่อเหตุเอาไว้ก่อนหน้านี้ ยิ่งหากเรามีสมาธิมีปัญญาแก่กล้า คุณภาพใจสงบพอ ก็จะเห็นชัดเจนถึงแม้กระทั่งเมื่อเค้าเงาของอกุศลจิตคืบคลานเข้ามาก่อร่างสร้างรูปเป็นตัวเป็นตนที่อุปโลกน์ขึ้น
หาก เราสังเกตพิจารณาต่อ ก็จะเห็นการแสดงออกของไตรลักษณ์ เห็นความแปรเปลี่ยน แม้ความทุกข์ก็เป็นอนิจจัง ไม่เสถียร คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับสลายหายไปในที่สุด เพราะ ทุกสิ่งอย่างทุกอาการล้วนเกิดขึ้นตามแรงผลักและผสมผสานของเหตุปัจจัยในช่วงเวลาและวาระหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ช้านานก็ต้องเสื่อมสลายสิ้นสุดไร้ตัวตนไม่สามารถคงทนต่อไปได้
การหมั่นหันมาปรับปรุงลมหายใจ เจริญเมตตาภาวนานี้ มนุษย์ทุกคนทำได้ ทุกที่ ทุกเวลา ปัญหาของคนไทยแก้ได้ด้วยการรักตัวเอง รักครอบครัว รักประเทศชาติ หากเรารักกันให้ ถูกต้อง จะสงสารและไม่ส่งเสริมให้ใครทำความชั่ว เพราะการ ทำผิดแม้เพียงคิดเบียดบัง แอบเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของเราแค่เพียงน้อยนิด ใจที่มีความรู้จักละอายเกรงกลัวบาปก็รู้สึกไม่สบาย พอสังเกตเห็นความไม่สบายใจเกิดขึ้น ก็จะมีปัญญามองเห็นเหตุแห่งความไม่สบายใจนั้น แล้วตัดสินใจยกเลิก การกระทำที่จะก่อเหตุ เป็นอันหยุดใจที่ดิ้นรนเสีย สุดท้ายก็จะดับทุกข์ได้ เพราะไม่กล้าทำความผิดบาป หมั่นสงวนรักษาสร้างเหตุ แห่งกุศล และชำระจิตตนให้ขาวรอบ นี่คือโอวาทปาฏิโมกข์ หรือหัวใจของพุทธศาสนา เป็นหลักปฏิบัติของเราผู้รักชีวิตกันทุกคน
วิกฤตสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากเรื่องท้อง แม้จะสำคัญไม่เป็นรองเรื่องการเมือง สำคัญที่การรักษาใจให้มีกำลัง หายใจเข้า ลึกๆ หายใจออกยาวๆ ปฏิบัติกันทุกคน เพื่อความสงบใส คราใด ที่น้อมใจกลับมามองดูภายใน เห็นความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ก็จะชัดเจนถึงความเป็นไป ไม่ปล่อยให้ไหลตามกระแสความคิดที่จะเบียดเบียนตนและคนอื่นให้เกิดทุกข์อีกต่อไป ก็จะรักษาความสบายใจ เย็นใจเอาไว้ได้ หลักง่ายๆ นี่เแหละ คือหลักพัฒนาจิตใจ ให้มีสุขภาพที่ดีด้วยความเมตตาอย่างมีปัญญา
การรู้จักฝึกจิตให้มีความเห็นใจจึงสำคัญนัก เมื่อเห็นใจตนเองเป็น ก็จะรู้จักเห็นใจผู้อื่นเช่นกัน การเบียดเบียน เบียดบังผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดทุกข์ให้แก่ตนและคนในสังคมก็จะเบาบางลง
ค่ะ บัณฑิตจะรู้จักจับผิดตนเอง เมื่อใดมีความพึงพอใจมาแทนที่ความพากเพียรในการจับผิดตนเอง คำว่าฉันนะ ยึดมั่นว่ากูถูก มึงผิด ก็จะถูกแทนที่ด้วยปัญญาจากฉันทะ ที่จะเปลี่ยนชีวิตให้ความสงบสุขเกิดได้จากข้างใน แล้วความเน่าด้านนอกของชีวิต และปัญหามากมายที่่เคยเกิดเคยมี ก็จะค่อยๆ จางหายไป จนไร้ร่องรอยในที่สุด
หนังสือ คนไทยใจดี รวมธรรมเทศนา การสร้างค่านิยม ที่ถูก และการทำความเข้าใจในเหตุและผลของทุกสิ่งในชีวิต พร้อมบทเสริมกรณีศึกษา เรื่อง ฉันนะ พระดื้อ และอื่นๆ พร้อมคำถามคำตอบ โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก สัทธิวิหาริกชาวญี่ปุ่นรุ่นแรกของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี นี้ ท่านบวชมาตั้งแต่ปี 2518 อยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ เคยได้บำเพ็ญมาทุกรูปแบบ ได้ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งถิ่นอุดมและกันดาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากบ้านเกิดประเทศญี่ปุ่น รอนแรมไปสู่อินเดีย เนปาล อิหร่าน ยุโรป แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย และเมื่อเดินทางมาถึงพุทธคยา เห็นพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานอยู่ก็ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ประจักษ์ใจว่า นี่คือสิ่งที่แสวงหา...สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี้เอง ความสุขแท้อยู่ที่ใจ ทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้ ...ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก วกเข้ามาสู่ใจ ค้นหาจากภายใน...
ปัจจุบันท่านมุ่งมั่นบำเพ็ญธรรม และแนะนำสอนการปฏิบัติสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อบรมอานาปานสติเป็นประจำที่วัดป่าสุนันทวนาราม กาญจนบุรี
หนังสือข้อธรรมคำบรรยายมีมากมายเกือบครึ่งร้อย เช่น ธรรมไหลไปสู่ธรรม/พลิกนิดเดียว/ทุกข์เพราะคิดผิด/ทุกขเวทนา/จับลมบ่อยๆ/ผิดก่อน-ผิดมาก/สอนคนขี้บ่น/อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข/ทำใจเป็นธรรม/เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก/สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา/สติเป็นธรรมเอก/สันโดษ... เคล็ดลับของความสุข/มีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง/เราเกิดมาทำไม/ชนะใคร...ไม่เท่าชนะใจตน และหนังสือฉบับตอบปัญหาธรรมอีกหลายเล่ม
สนใจร่วมเผยแผ่ในราคาทุน ติดต่อที่ มูลนิธิมายา โคตมี โทร.0-2676-3453 หรือ 0-2676-4323 โทรสาร 0-2686-8690 E-mail: mayagotami@gmail.com เลขที่ 378 อาคารสงเคราะห์ สาย 20 ก แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
บัณฑิตต้องรู้จักจับผิดตนเอง
รักษาใจให้สบายได้ในทุกๆ กรณี
ไม่ใช่จะสบายใจเฉพาะเมื่อถูกใจเท่านั้น
แม้มีเรื่องไม่ถูกใจก็สบายใจได้
เรื่องที่ 94 คนไทยใจดี
สัปดาห์ก่อน ผู้เขียนได้นำเสนอข้อความโดนใจบางส่วนจากหนังสือ พุทธจริยศาสตร์ แนวทางการฟื้นฟูคุณธรรมและจิตสำนึกประชาชาติ จากงานเขียนของท่านอาจารย์วศิน อินทสระ ไปแล้ว
คราวนี้ ขอแนะนำบทความกินใจจากธรรมเทศนาของ พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก แสดงธรรมแก่คณะผู้ปฏิบัติธรรม โรงเรียนอนุบาลหนุน้อย เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2551 ณ วัดสุนันทวนาราม จ.กาญจนบุรี มีใจความมุ่งเน้นให้เห็นปัญหาสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางทัศนคติ และอุดมการณ์ ทำให้ความน่าชื่นชมคนไทยของนานาประเทศ ลดน้อยถอยลง
ทุกฝ่่่ายจึงควรพร้อมใจกันหันมาเริ่มทำความเข้าใจกับความจริง ของชีวิตกันเสียใหม่ และหากได้ศึกษาจนเข้าใจพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะโชคดี เพราะพระองค์ทรงชี้ให้เห็นว่า เมื่อชีวิตเป็นทุกข์ ความดับทุกข์ก็มีอยู่จริง...และได้ตรัสสอนแนวทางการปฏิบัติไว้ด้วย
*เราทุกคนสามารถพ้นทุกข์ได้ หากเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง แก้ไขได้ถูกจุด เกาถูกที่คัน ซึ่งอันดับแรก แน่นอนต้องหา จุดที่คันให้เจอ หรือหาจุดเกิดเหตุพร้อมสืบค้นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุและผลที่ตามมาก่อน เช่น เมื่อมีความไม่สบายใจเกิดขึ้น จิตก็จะหมกมุ่นอยู่กับความคิดและรายละเอียดในเรื่องนั้นๆ ที่ทำให้เป็นทุกข์ด้วยความขัดเคือง
แต่หากมีความเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราเป็นวิบากกรรมที่เราสร้างเหตุไว้แต่อดีต อาจเป็นเมื่อวินาทีก่อน หรือย้อนไปไกลถึงชาติก่อนๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อมีทุกข์ มีเหตุ หาเหตุ เมื่อพบเหตุอยู่ที่ใจมีสารพัดตัณหาที่อำนาจกรรมผลักดันความคิดและการกระทำอยู่ ก็ต้องปรับความคิดให้ดีให้ถูก แล้วรู้จักปล่อยวางความรู้สึกไม่สบายใจนั้นเสียบ้าง ใจก็จะกลับมาเป็นกลางๆ ดังนั้น แนวทางแรก คือ การแก้ปัญหาให้แก้ที่เหตุ ปัจจัยไม่ต้องแก้ ที่สำคัญต้องรู้จักรักตัวเอง และเมตตาตัวเองให้เป็นก่อน
คนที่รักและเมตตาตนเองเป็น จะระวังถนอมใจ ไม่ปล่อยให้ ทุกข์นาน พอเห็นใจไม่สบาย ก็รีบปรับมุมมองและความคิด ปลดทุกข์ภัยที่เบียดเบียนใจไป เกิดความโปร่งโล่งใจขึ้นแทนที่
เราควรฝึกจิตให้ฉลาดด้วยการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น ก็รู้เท่าทันไม่คิดต่อความยาวสาวความยืด หยุดสร้างมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ปรับจิตให้สูง ส่งเสริมแนวคิดเอื้อต่อการเกิดกุศล ก็จะรักษาใจให้สบายได้ในทุกๆ กรณี ไม่ใช่จะสบายใจเฉพาะเมื่อถูกใจเท่านั้น แม้มีเรื่องไม่ถูกใจก็สบายใจได้
หากยังฝึกคิดดีได้ไม่คล่อง จิตยังติดอารมณ์ เรื่องที่คิดยังค้างหัว (ใจ) อยู่ ก็หาอุบายแก้ด้วยการหายใจเข้าลึกๆ หายใจออก ยาวๆ ให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เมื่อมีความรู้สึกตัวชัดเจนกับลมหายใจทั้งเข้าและออก ความไม่สบายใจก็จะหายไป ตั้งอยู่ต่อไปไม่ได้ นี่คืออุบายอย่างหนึ่ง
การเปลี่ยนความรู้สึกโดยระลึกถึงสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งแรกที่ทำได้ง่ายคือ จาคะ หรือ การสละประโยชน์ที่เคยยึดเพราะความหวงแหนและอยากได้ หากหักใจได้ จะปรับจิตที่แบกอารมณ์หนักๆ ให้เบาและผ่อนคลาย
การรู้จักศึกษาธรรมะ เรียนรู้ความจริง รู้จักการตามดูจิต ทำให้เท่าทันความรู้สึก และอาการเแอบแฝงอันเป็นผลมาจากสถานการณ์ตอบสนองของแรงกระทำที่เราได้ก่อเหตุเอาไว้ก่อนหน้านี้ ยิ่งหากเรามีสมาธิมีปัญญาแก่กล้า คุณภาพใจสงบพอ ก็จะเห็นชัดเจนถึงแม้กระทั่งเมื่อเค้าเงาของอกุศลจิตคืบคลานเข้ามาก่อร่างสร้างรูปเป็นตัวเป็นตนที่อุปโลกน์ขึ้น
หาก เราสังเกตพิจารณาต่อ ก็จะเห็นการแสดงออกของไตรลักษณ์ เห็นความแปรเปลี่ยน แม้ความทุกข์ก็เป็นอนิจจัง ไม่เสถียร คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับสลายหายไปในที่สุด เพราะ ทุกสิ่งอย่างทุกอาการล้วนเกิดขึ้นตามแรงผลักและผสมผสานของเหตุปัจจัยในช่วงเวลาและวาระหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ช้านานก็ต้องเสื่อมสลายสิ้นสุดไร้ตัวตนไม่สามารถคงทนต่อไปได้
การหมั่นหันมาปรับปรุงลมหายใจ เจริญเมตตาภาวนานี้ มนุษย์ทุกคนทำได้ ทุกที่ ทุกเวลา ปัญหาของคนไทยแก้ได้ด้วยการรักตัวเอง รักครอบครัว รักประเทศชาติ หากเรารักกันให้ ถูกต้อง จะสงสารและไม่ส่งเสริมให้ใครทำความชั่ว เพราะการ ทำผิดแม้เพียงคิดเบียดบัง แอบเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของเราแค่เพียงน้อยนิด ใจที่มีความรู้จักละอายเกรงกลัวบาปก็รู้สึกไม่สบาย พอสังเกตเห็นความไม่สบายใจเกิดขึ้น ก็จะมีปัญญามองเห็นเหตุแห่งความไม่สบายใจนั้น แล้วตัดสินใจยกเลิก การกระทำที่จะก่อเหตุ เป็นอันหยุดใจที่ดิ้นรนเสีย สุดท้ายก็จะดับทุกข์ได้ เพราะไม่กล้าทำความผิดบาป หมั่นสงวนรักษาสร้างเหตุ แห่งกุศล และชำระจิตตนให้ขาวรอบ นี่คือโอวาทปาฏิโมกข์ หรือหัวใจของพุทธศาสนา เป็นหลักปฏิบัติของเราผู้รักชีวิตกันทุกคน
วิกฤตสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากเรื่องท้อง แม้จะสำคัญไม่เป็นรองเรื่องการเมือง สำคัญที่การรักษาใจให้มีกำลัง หายใจเข้า ลึกๆ หายใจออกยาวๆ ปฏิบัติกันทุกคน เพื่อความสงบใส คราใด ที่น้อมใจกลับมามองดูภายใน เห็นความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง ก็จะชัดเจนถึงความเป็นไป ไม่ปล่อยให้ไหลตามกระแสความคิดที่จะเบียดเบียนตนและคนอื่นให้เกิดทุกข์อีกต่อไป ก็จะรักษาความสบายใจ เย็นใจเอาไว้ได้ หลักง่ายๆ นี่เแหละ คือหลักพัฒนาจิตใจ ให้มีสุขภาพที่ดีด้วยความเมตตาอย่างมีปัญญา
การรู้จักฝึกจิตให้มีความเห็นใจจึงสำคัญนัก เมื่อเห็นใจตนเองเป็น ก็จะรู้จักเห็นใจผู้อื่นเช่นกัน การเบียดเบียน เบียดบังผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดทุกข์ให้แก่ตนและคนในสังคมก็จะเบาบางลง
ค่ะ บัณฑิตจะรู้จักจับผิดตนเอง เมื่อใดมีความพึงพอใจมาแทนที่ความพากเพียรในการจับผิดตนเอง คำว่าฉันนะ ยึดมั่นว่ากูถูก มึงผิด ก็จะถูกแทนที่ด้วยปัญญาจากฉันทะ ที่จะเปลี่ยนชีวิตให้ความสงบสุขเกิดได้จากข้างใน แล้วความเน่าด้านนอกของชีวิต และปัญหามากมายที่่เคยเกิดเคยมี ก็จะค่อยๆ จางหายไป จนไร้ร่องรอยในที่สุด
หนังสือ คนไทยใจดี รวมธรรมเทศนา การสร้างค่านิยม ที่ถูก และการทำความเข้าใจในเหตุและผลของทุกสิ่งในชีวิต พร้อมบทเสริมกรณีศึกษา เรื่อง ฉันนะ พระดื้อ และอื่นๆ พร้อมคำถามคำตอบ โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก สัทธิวิหาริกชาวญี่ปุ่นรุ่นแรกของหลวงพ่อพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี นี้ ท่านบวชมาตั้งแต่ปี 2518 อยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ เคยได้บำเพ็ญมาทุกรูปแบบ ได้ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งถิ่นอุดมและกันดาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากบ้านเกิดประเทศญี่ปุ่น รอนแรมไปสู่อินเดีย เนปาล อิหร่าน ยุโรป แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย และเมื่อเดินทางมาถึงพุทธคยา เห็นพระพุทธรูป ที่ประดิษฐานอยู่ก็ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ประจักษ์ใจว่า นี่คือสิ่งที่แสวงหา...สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี้เอง ความสุขแท้อยู่ที่ใจ ทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้ ...ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก วกเข้ามาสู่ใจ ค้นหาจากภายใน...
ปัจจุบันท่านมุ่งมั่นบำเพ็ญธรรม และแนะนำสอนการปฏิบัติสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อบรมอานาปานสติเป็นประจำที่วัดป่าสุนันทวนาราม กาญจนบุรี
หนังสือข้อธรรมคำบรรยายมีมากมายเกือบครึ่งร้อย เช่น ธรรมไหลไปสู่ธรรม/พลิกนิดเดียว/ทุกข์เพราะคิดผิด/ทุกขเวทนา/จับลมบ่อยๆ/ผิดก่อน-ผิดมาก/สอนคนขี้บ่น/อานาปานสติ วิถีแห่งความสุข/ทำใจเป็นธรรม/เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก/สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา/สติเป็นธรรมเอก/สันโดษ... เคล็ดลับของความสุข/มีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง/เราเกิดมาทำไม/ชนะใคร...ไม่เท่าชนะใจตน และหนังสือฉบับตอบปัญหาธรรมอีกหลายเล่ม
สนใจร่วมเผยแผ่ในราคาทุน ติดต่อที่ มูลนิธิมายา โคตมี โทร.0-2676-3453 หรือ 0-2676-4323 โทรสาร 0-2686-8690 E-mail: mayagotami@gmail.com เลขที่ 378 อาคารสงเคราะห์ สาย 20 ก แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120