พระพุทธเจ้าสอนธรรมจักร อริยสัจ สติปัฏฐาน
ไม่เคยสอนว่าต้องหายใจ เดิน ขยับกี่จังหวะ
แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรสำเร็จรูป
จงเรียนหลักที่พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจ
แล้วเราจะพบทางที่เหมาะกับตัวของเราเอง
อันใดที่ทำแล้วสติเกิดบ่อยนะ เราก็เดินทางนั้น
ครั้งที่ 047
อย่าติดรูปแบบจนลืมแก่นสาร
หลวงพ่อ : เอ้า เป็นไง
โยม : ก็เห็นว่ามันปรุงแต่งสองอย่าง อันแรกก็คือ หลงไปกับสภาวะ กับสองพอเห็นสภาวะแล้วใจมันจะขยับนิดหนึ่ง พอเรารู้ทัน มันก็หายไป แล้วก็ตัวที่ กิเลสที่เกิดบ่อยคือ พอจิตมันระลึกรู้สภาวะปุ๊บ มันก็จะคิดถึงการปฏิบัติ แล้วก็ขยับ เป็นอย่างนี้ค่ะตลอดทั้งวัน
หลวงพ่อ : ใช่ จิตใจมันขยับไปเรื่อยๆ กิเลสมันเล่นทีเผลอ แต่กิเลสนี้มันของแปลกนะ เล่นกับมันไม่ได้นะ บางคนไปหยอกๆ กิเลสนะ หยอกๆ กิเลส เล่นๆ กับมันนะ เช่นไปเล่นทำเป็นน้อมใจรักใครสักคน พอถึงจุดหนึ่งนะ เหมือนผีดิบนะ เอาไม่อยู่ ถูกมันครอบงำ สู้มันไม่ไหวหรอก ฉะนั้นอย่าไปเล่นกับกิเลสมัน
หลวงพ่อ : โยมเบอร์ 10 พอเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกรึยัง เห็นสภาวะมั้ย ไม่เกี่ยวกับกำหนดนะ กำหนดนั่นน่ะตัวอุปสรรคเลย เป็นตัวอุปสรรคเพราะมันเจือด้วยโลภะ เราอยากปฏิบัติเราถึงกำหนด ที่สำคัญพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนกำหนดเลย ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนน่ะ สอนง่ายๆ นะ สอนอย่างที่หลวงพ่อบอกเนี่ย สอนอริยสัจ สอนสติปัฏฐาน สอนอะไรอย่างนี้ สอนธรรมจักร สอนอะไรอย่างนี้ เป็นวิธีปฏิบัติที่ง่ายๆ ลองไปดูในพระไตรปิฎกมีแต่เรื่องอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเลยว่า ให้หายใจกี่จังหวะ ให้เดินกี่จังหวะ ให้ขยับมือขยับเท้าขยับท้องกี่จังหวะ ลมหายใจมีกี่ฐานนี่ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเลย อาจารย์ ชั้นหลังสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจนพะรุงพะรังขึ้นมาเยอะแยะเลย แท้จริงมันเป็นอุบายเฉพาะตัวเท่านั้นแหละ แต่ละคนก็ย่อมมีทางเฉพาะตัวของตัวเอง ฉะนั้นเรียนหลักที่พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจ แล้วเราจะพบทางที่เหมาะกับตัวของเราเอง อันใดที่ทำแล้วสติเกิดบ่อยนะ เราก็เดินทางนั้น แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรสำเร็จรูปนะ พระพุทธเจ้าถึงไม่จัดคอร์ส ฟังธรรมเสร็จแล้วไล่เลย โน่นโคนไม้ นี่เรือนว่าง นั่นภูเขา นี่ถ้ำ นี่ป่า นั่นลอมฟาง ท้องทุ่งท้องนา ไปภาวนาเอา ท่านไม่เคยสอนนะว่าอานาปานสติ ว่าต้องดูลมกระทบตรงไหนบ้าง ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลาย ให้คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว ให้รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว ทำแค่ที่ท่านสอนพอแล้ว ของเราบางคนคิดว่าต้องเอาจิตตั้งไว้ที่ตรงไหนก่อนที่จะไปรู้ลม นี่คิดมากแล้ว รู้ลมแล้วต้องรู้ตั้งแต่กระทบที่จะงอยปาก ที่ปลายจมูก ที่เพดาน ที่คอ ที่อก ที่ท้อง ไล่มีฐานเยอะแยะ เลย มันเกินที่พระพุทธเจ้าสอน คือพระองค์ สอน ภิกษุทั้งหลายเมื่อเดินอยู่ ให้รู้ชัดว่าเดินอยู่ รู้ชัดว่าเดินอยู่หมายถึง รู้ว่าสิ่งที่เดินนี่ไม่ใช่เราเดิน แต่รูปมันเดิน รูปมันเคลื่อนไหว
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าเดินมีกี่จังหวะ 6-7 จังหวะอะไรไม่มี ไม่ได้สอน หรือขยับไม้ ขยับมือ หลวงพ่อเทียนท่านพัฒนาเทคนิค มี 14 จังหวะ นี่อุบายเฉพาะตัวท่าน ใช้ได้นะ ดีด้วย เป็นอุบายที่ดีด้วย แต่ลูกศิษย์ก็ชอบไปเพ่งใส่มือ พระพุทธเจ้าท่านสอนแค่ว่า ภิกษุทั้งหลาย ให้มีความรู้สึกตัว เมื่อก้าวไป เมื่อถอยหลัง เมื่อคู้ เมื่อเหยียด เมื่อเหลียวซ้าย แลขวา เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด สอนแค่นี้เอง เมื่อเหลียวซ้ายแลขวา เมื่อขยับตัวอะไรอย่างนี้ ให้รู้สึก ก้าวไปถอยหลังให้รู้สึก ไม่ได้มีจังหวะของการก้าวจังหวะของการถอย ไม่ได้มีว่าจังหวะแต่ละอันนี้ แต่ละสเต็ปนี้ต้องทำอะไรบ้าง ไม่มี อาจารย์รุ่นหลังสอน แต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยสอน ถามว่าพระพุทธเจ้าสอนไม่เป็นรึ ไม่ใช่พระองค์สอนไม่เป็นแน่ สัพพัญญูอย่างนั้น แต่พระองค์บอกพระองค์สอน ใบไม้หนึ่งกำมือ สอนสิ่งที่จำเป็น ฉะนั้นอะไรที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน นั่นคือสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่เพียงแต่ไม่จำเป็นมันยังเฝือด้วย มันจะทำให้เราหลงไปติดที่รูปแบบ จนกระทั่งลืมแก่นสารที่พระพุทธเจ้าสอน ถ้าเราเข้าใจสิ่งที่ พระพุทธเจ้าสอนนะ การภาวนาจะไม่มีคนบ้านะ ไม่มีคนบ้า ไม่มีคนเครียด หลังเคล็ด คอเคล็ด เครียดจัด เป็นโรคจิต ไม่มี มันมีแต่ว่า รู้ตื่นเบิกบาน มีความสุข มีความสงบ ทั้งสุข ทั้งสงบนะ รู้สึกมั้ย ทั้งสุข ทั้งสงบ มีแต่ความเบิกบาน แต่ก็ไม่ฟุ้งซ่านอะไร สงบ ใจสงบตั้งมั่น มีความสุข ไม่เครียด
พวกเราภาวนาเกินสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเลยเครียด หลายคนภาวนาจนบ้านะ บ้าเยอะเลย บ้าเพราะทำสิ่งที่พระองค์ไม่ได้สอน ยิ่งถ้าเราเป็นนักเผยแผ่ ยิ่งต้องระมัดระวัง ต้องเผยแผ่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
อย่างตอนหลวงพ่อพูดธรรมะใหม่ๆ นะ คนไม่ฟังนะ ไม่เชื่อ ทีนี้บางคนเชื่อค่อยๆ ฝึกไป สอนอริยสัจ สอนอะไรอย่างนี้ สอน สติปัฏฐาน สอนอะไรธรรมดาๆ นี่เอง ไม่ได้สอนว่าให้นั่งท่าไหน เดินท่าไหน หายใจท่าไหน ไม่เคยสอนเลย คนมาถามว่าเดินจงกรม ท่าไหน หลวงพ่อบอกว่าพ่อแม่สอนให้เดินยังไงก็เดินยังงั้นแหละ พ่อแม่เป็นครูที่ดีของเราแล้ว พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของเราแล้ว สอนเดินอย่างนี้เราก็เดินอย่างนี้ แต่เดิน ด้วยความรู้สึกตัว มันต่างกันนิดเดียวกับผู้ไม่ได้ปฏิบัติคือมีความรู้สึกตัว ไม่ได้เสแสร้ง แกล้งทำอะไร เดินด้วยความรู้สึกตัว เห็นร่างกายมันเดินไป เดินด้วยความรู้ชัด ด้วยความรู้แจ้ง ว่าตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่เราเดินนะ รูปมันเดิน ร่างกายมันเคลื่อนไหว ใจเป็นแค่คนดูเท่านั้นเอง แยกรูป แยกนาม แยกขันธ์ไป เพราะฉะนั้นฟังหลวงพ่อ ฟังหลวงพ่อไปเรื่อยๆ ฟังแล้วภาวนา คือหัดสังเกต หัดตามรู้สภาวะไป เวลานี้มีคนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วจิตใจรู้ตื่นเบิกบาน มีจำนวนเป็นพันแล้วตอนนี้ เยอะแยะที่ภาวนาได้ดิบได้ดีขึ้นมา เอาตัวรอดไปก็มี ยังผลุบๆ โผล่ๆ อยู่ก็เยอะ
หลังๆ นะไม่ค่อยได้ยินนะ ปกติไม่ค่อยได้ยินใครบอกว่าหลวงพ่อปราโมทย์สอนผิด ไม่ค่อยกล้าเถียงกับหลวงพ่อนะ เพราะหลวงพ่อมีตำรายืนยัน นี่ปริยัติเขาว่ายังงี้นะ อภิธรรมเขาว่ายังงี้นะ ไม่ค่อยมีใครมากล้าเถียงด้วยนะว่าสอนผิด แต่ว่าพูดอยู่เหมือนๆ กันนะ หลายๆ สำนัก เจ้าสำนักทั้งหลายชอบพูดเหมือนกัน ว่าหลวงพ่อ ปราโมทย์สอนถูกแต่ยากเกินไป คือธรรมะสูงเกินไป ต้องมาทำเบสิกอย่างของอาตมา หรืออย่างของดิฉันบอกก่อน ต้องทำเบสิก อย่างนี้ก่อนแล้ววันหนึ่งถึงจะทำอย่างหลวงพ่อปราโมทย์ได้ เพราะสิ่งที่หลวงพ่อปราโมทย์สอนนี้ยากเกินไป สอนอริยสัจยากเกินไป คงลืมไปนะว่า พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจแก่ฆราวาส สอนอริยสัจแก่คนที่ไม่เคยเรียนธรรมะเลย มันไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนะ พระองค์สอนอริยสัจแก่คนที่ไม่เคยรู้เรื่องธรรมะเลย อย่างคนแรกเลยที่เรียนคือพระยัสสะ พระยัสสกุลบุตรออกจาก บ้านมา ... อ้าว หมดเวลาละ เดี๋ยวค่อยต่อนะ แล้วเตือนนะเพราะว่าธรรมะของหลวงพ่อ จบแล้วจบเลย ลืม ไม่เคยเตรียมการสอนนะ เราสอนกันด้วยใจจริงๆ เลย ใจของคนฟังเป็นยังไง ธรรมะก็เป็นอย่างนั้นแหละ"
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ขันธ์เป็นตัวทุกข์)
ไม่เคยสอนว่าต้องหายใจ เดิน ขยับกี่จังหวะ
แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรสำเร็จรูป
จงเรียนหลักที่พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจ
แล้วเราจะพบทางที่เหมาะกับตัวของเราเอง
อันใดที่ทำแล้วสติเกิดบ่อยนะ เราก็เดินทางนั้น
ครั้งที่ 047
อย่าติดรูปแบบจนลืมแก่นสาร
หลวงพ่อ : เอ้า เป็นไง
โยม : ก็เห็นว่ามันปรุงแต่งสองอย่าง อันแรกก็คือ หลงไปกับสภาวะ กับสองพอเห็นสภาวะแล้วใจมันจะขยับนิดหนึ่ง พอเรารู้ทัน มันก็หายไป แล้วก็ตัวที่ กิเลสที่เกิดบ่อยคือ พอจิตมันระลึกรู้สภาวะปุ๊บ มันก็จะคิดถึงการปฏิบัติ แล้วก็ขยับ เป็นอย่างนี้ค่ะตลอดทั้งวัน
หลวงพ่อ : ใช่ จิตใจมันขยับไปเรื่อยๆ กิเลสมันเล่นทีเผลอ แต่กิเลสนี้มันของแปลกนะ เล่นกับมันไม่ได้นะ บางคนไปหยอกๆ กิเลสนะ หยอกๆ กิเลส เล่นๆ กับมันนะ เช่นไปเล่นทำเป็นน้อมใจรักใครสักคน พอถึงจุดหนึ่งนะ เหมือนผีดิบนะ เอาไม่อยู่ ถูกมันครอบงำ สู้มันไม่ไหวหรอก ฉะนั้นอย่าไปเล่นกับกิเลสมัน
หลวงพ่อ : โยมเบอร์ 10 พอเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกรึยัง เห็นสภาวะมั้ย ไม่เกี่ยวกับกำหนดนะ กำหนดนั่นน่ะตัวอุปสรรคเลย เป็นตัวอุปสรรคเพราะมันเจือด้วยโลภะ เราอยากปฏิบัติเราถึงกำหนด ที่สำคัญพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนกำหนดเลย ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนน่ะ สอนง่ายๆ นะ สอนอย่างที่หลวงพ่อบอกเนี่ย สอนอริยสัจ สอนสติปัฏฐาน สอนอะไรอย่างนี้ สอนธรรมจักร สอนอะไรอย่างนี้ เป็นวิธีปฏิบัติที่ง่ายๆ ลองไปดูในพระไตรปิฎกมีแต่เรื่องอย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเลยว่า ให้หายใจกี่จังหวะ ให้เดินกี่จังหวะ ให้ขยับมือขยับเท้าขยับท้องกี่จังหวะ ลมหายใจมีกี่ฐานนี่ พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนเลย อาจารย์ ชั้นหลังสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจนพะรุงพะรังขึ้นมาเยอะแยะเลย แท้จริงมันเป็นอุบายเฉพาะตัวเท่านั้นแหละ แต่ละคนก็ย่อมมีทางเฉพาะตัวของตัวเอง ฉะนั้นเรียนหลักที่พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจ แล้วเราจะพบทางที่เหมาะกับตัวของเราเอง อันใดที่ทำแล้วสติเกิดบ่อยนะ เราก็เดินทางนั้น แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีหลักสูตรสำเร็จรูปนะ พระพุทธเจ้าถึงไม่จัดคอร์ส ฟังธรรมเสร็จแล้วไล่เลย โน่นโคนไม้ นี่เรือนว่าง นั่นภูเขา นี่ถ้ำ นี่ป่า นั่นลอมฟาง ท้องทุ่งท้องนา ไปภาวนาเอา ท่านไม่เคยสอนนะว่าอานาปานสติ ว่าต้องดูลมกระทบตรงไหนบ้าง ท่านบอกว่า ภิกษุทั้งหลาย ให้คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า หายใจออกยาว ให้รู้ว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาว ก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว ทำแค่ที่ท่านสอนพอแล้ว ของเราบางคนคิดว่าต้องเอาจิตตั้งไว้ที่ตรงไหนก่อนที่จะไปรู้ลม นี่คิดมากแล้ว รู้ลมแล้วต้องรู้ตั้งแต่กระทบที่จะงอยปาก ที่ปลายจมูก ที่เพดาน ที่คอ ที่อก ที่ท้อง ไล่มีฐานเยอะแยะ เลย มันเกินที่พระพุทธเจ้าสอน คือพระองค์ สอน ภิกษุทั้งหลายเมื่อเดินอยู่ ให้รู้ชัดว่าเดินอยู่ รู้ชัดว่าเดินอยู่หมายถึง รู้ว่าสิ่งที่เดินนี่ไม่ใช่เราเดิน แต่รูปมันเดิน รูปมันเคลื่อนไหว
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าเดินมีกี่จังหวะ 6-7 จังหวะอะไรไม่มี ไม่ได้สอน หรือขยับไม้ ขยับมือ หลวงพ่อเทียนท่านพัฒนาเทคนิค มี 14 จังหวะ นี่อุบายเฉพาะตัวท่าน ใช้ได้นะ ดีด้วย เป็นอุบายที่ดีด้วย แต่ลูกศิษย์ก็ชอบไปเพ่งใส่มือ พระพุทธเจ้าท่านสอนแค่ว่า ภิกษุทั้งหลาย ให้มีความรู้สึกตัว เมื่อก้าวไป เมื่อถอยหลัง เมื่อคู้ เมื่อเหยียด เมื่อเหลียวซ้าย แลขวา เมื่อยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด สอนแค่นี้เอง เมื่อเหลียวซ้ายแลขวา เมื่อขยับตัวอะไรอย่างนี้ ให้รู้สึก ก้าวไปถอยหลังให้รู้สึก ไม่ได้มีจังหวะของการก้าวจังหวะของการถอย ไม่ได้มีว่าจังหวะแต่ละอันนี้ แต่ละสเต็ปนี้ต้องทำอะไรบ้าง ไม่มี อาจารย์รุ่นหลังสอน แต่ว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยสอน ถามว่าพระพุทธเจ้าสอนไม่เป็นรึ ไม่ใช่พระองค์สอนไม่เป็นแน่ สัพพัญญูอย่างนั้น แต่พระองค์บอกพระองค์สอน ใบไม้หนึ่งกำมือ สอนสิ่งที่จำเป็น ฉะนั้นอะไรที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน นั่นคือสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่เพียงแต่ไม่จำเป็นมันยังเฝือด้วย มันจะทำให้เราหลงไปติดที่รูปแบบ จนกระทั่งลืมแก่นสารที่พระพุทธเจ้าสอน ถ้าเราเข้าใจสิ่งที่ พระพุทธเจ้าสอนนะ การภาวนาจะไม่มีคนบ้านะ ไม่มีคนบ้า ไม่มีคนเครียด หลังเคล็ด คอเคล็ด เครียดจัด เป็นโรคจิต ไม่มี มันมีแต่ว่า รู้ตื่นเบิกบาน มีความสุข มีความสงบ ทั้งสุข ทั้งสงบนะ รู้สึกมั้ย ทั้งสุข ทั้งสงบ มีแต่ความเบิกบาน แต่ก็ไม่ฟุ้งซ่านอะไร สงบ ใจสงบตั้งมั่น มีความสุข ไม่เครียด
พวกเราภาวนาเกินสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเลยเครียด หลายคนภาวนาจนบ้านะ บ้าเยอะเลย บ้าเพราะทำสิ่งที่พระองค์ไม่ได้สอน ยิ่งถ้าเราเป็นนักเผยแผ่ ยิ่งต้องระมัดระวัง ต้องเผยแผ่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน
อย่างตอนหลวงพ่อพูดธรรมะใหม่ๆ นะ คนไม่ฟังนะ ไม่เชื่อ ทีนี้บางคนเชื่อค่อยๆ ฝึกไป สอนอริยสัจ สอนอะไรอย่างนี้ สอน สติปัฏฐาน สอนอะไรธรรมดาๆ นี่เอง ไม่ได้สอนว่าให้นั่งท่าไหน เดินท่าไหน หายใจท่าไหน ไม่เคยสอนเลย คนมาถามว่าเดินจงกรม ท่าไหน หลวงพ่อบอกว่าพ่อแม่สอนให้เดินยังไงก็เดินยังงั้นแหละ พ่อแม่เป็นครูที่ดีของเราแล้ว พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของเราแล้ว สอนเดินอย่างนี้เราก็เดินอย่างนี้ แต่เดิน ด้วยความรู้สึกตัว มันต่างกันนิดเดียวกับผู้ไม่ได้ปฏิบัติคือมีความรู้สึกตัว ไม่ได้เสแสร้ง แกล้งทำอะไร เดินด้วยความรู้สึกตัว เห็นร่างกายมันเดินไป เดินด้วยความรู้ชัด ด้วยความรู้แจ้ง ว่าตัวที่เดินอยู่ไม่ใช่เราเดินนะ รูปมันเดิน ร่างกายมันเคลื่อนไหว ใจเป็นแค่คนดูเท่านั้นเอง แยกรูป แยกนาม แยกขันธ์ไป เพราะฉะนั้นฟังหลวงพ่อ ฟังหลวงพ่อไปเรื่อยๆ ฟังแล้วภาวนา คือหัดสังเกต หัดตามรู้สภาวะไป เวลานี้มีคนที่เรียนกับหลวงพ่อแล้วจิตใจรู้ตื่นเบิกบาน มีจำนวนเป็นพันแล้วตอนนี้ เยอะแยะที่ภาวนาได้ดิบได้ดีขึ้นมา เอาตัวรอดไปก็มี ยังผลุบๆ โผล่ๆ อยู่ก็เยอะ
หลังๆ นะไม่ค่อยได้ยินนะ ปกติไม่ค่อยได้ยินใครบอกว่าหลวงพ่อปราโมทย์สอนผิด ไม่ค่อยกล้าเถียงกับหลวงพ่อนะ เพราะหลวงพ่อมีตำรายืนยัน นี่ปริยัติเขาว่ายังงี้นะ อภิธรรมเขาว่ายังงี้นะ ไม่ค่อยมีใครมากล้าเถียงด้วยนะว่าสอนผิด แต่ว่าพูดอยู่เหมือนๆ กันนะ หลายๆ สำนัก เจ้าสำนักทั้งหลายชอบพูดเหมือนกัน ว่าหลวงพ่อ ปราโมทย์สอนถูกแต่ยากเกินไป คือธรรมะสูงเกินไป ต้องมาทำเบสิกอย่างของอาตมา หรืออย่างของดิฉันบอกก่อน ต้องทำเบสิก อย่างนี้ก่อนแล้ววันหนึ่งถึงจะทำอย่างหลวงพ่อปราโมทย์ได้ เพราะสิ่งที่หลวงพ่อปราโมทย์สอนนี้ยากเกินไป สอนอริยสัจยากเกินไป คงลืมไปนะว่า พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจแก่ฆราวาส สอนอริยสัจแก่คนที่ไม่เคยเรียนธรรมะเลย มันไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนะ พระองค์สอนอริยสัจแก่คนที่ไม่เคยรู้เรื่องธรรมะเลย อย่างคนแรกเลยที่เรียนคือพระยัสสะ พระยัสสกุลบุตรออกจาก บ้านมา ... อ้าว หมดเวลาละ เดี๋ยวค่อยต่อนะ แล้วเตือนนะเพราะว่าธรรมะของหลวงพ่อ จบแล้วจบเลย ลืม ไม่เคยเตรียมการสอนนะ เราสอนกันด้วยใจจริงๆ เลย ใจของคนฟังเป็นยังไง ธรรมะก็เป็นอย่างนั้นแหละ"
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ขันธ์เป็นตัวทุกข์)