อันตรายของชีวิตอาจไม่ได้มาจากศัตรู
แต่มาจากการรักษามิตรที่ดีไว้ไม่ได้
บทเรียนจากความผิดพลาดมีคุณค่าสำหรับความก้าวหน้า
แม้ปัญญาจะเกิดไล่หลังปัญหา ก็ยังดีกว่าไม่มีปัญญาแก้ไข
เรื่องที่ 93
ความสำเร็จจากบทเรียนที่ผิดพลาด
สำหรับผู้ตกอยู่ในสถานการณ์จนมุม เพราะถูกวิบากกรรมบังคับ หากพื้นเดิมของใจไม่มีทุนทางดีสะสมมาเข้มข้น วูบแรกมักหลุด หลงแลกหมัดกับคู่กรณีตามสัญชาตญาณการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิและความหวังของตนเอง ต่อเมื่อสงครามละอองน้ำลาย สงบไปได้สักระยะ อาจพอมีสติคืน คิดได้ อย่างคนเข้าใจเหตุและผล
ขอยกกรณีตัวอย่างสักเรื่อง ...
เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้รู้ ผู้เมตตา ได้ทายทักเชิงตักเตือนว่า ท่ามกลางสถานการณ์อันอึมครึมของเศรษฐกิจโลก อย่าเพิ่งลงทุน ทำอะไร ให้รอดูจังหวะไปสักเดือนสองเดือนก่อน เมื่อกระแสโลกเริ่มนิ่ง ค่อยคิดใหม่ ทำใหม่ ไม่ต้องผลีผลาม
สำหรับผู้มีความเชื่อในตรรกะระดับปัญญาตน อาจแอบเปรียบเปรยในใจว่า ...
ถ้าสูตินารีแพทย์ประมาณการว่าเด็กทารกจะครบกำหนดคลอดในอีก 7-9 เดือนข้างหน้า ถามว่า... ผู้เป็นแม่จะต้องตั้งท้องก่อนตามธรรมชาติหรือไม่ ...แน่นอน มีคำตอบเดียว เท่านั้นคือ...ใช่ ฉันใดก็ฉันนั้น หากฤกษ์รวยดวงเฮงจะมีมาในอนาคต เราก็ควรต้องสร้างเหตุ ลงรากฐาน เตรียมความพร้อมเสียก่อน ในส่วนเฉพาะที่พอจะลงมือทำได้...
แต่การจะสร้างเหตุในแต่ละช่วงรอยต่อของชีวิตบนแผ่นดิน ที่ยังสะเทือนไหว สภาพการณ์ยังไม่นิ่ง ย่อมมองเห็นจุดการวางรากฐานได้ไม่ชัดเจน หากหลงดันทุรังก่ออิฐทับซ้อนต่อตึกสูงขึ้นไปบนรอยแยก แม้จะทุ่มทุนเร่งทำไปล่วงหน้ามากเพียงใด เมื่อลงฐานที่จุดไร้หลัก ผิดจากจังหวะเวลาอันเหมาะสม ก็ย่อมต้องล้มพังครืนลงในที่สุด ด้วยเพราะเร่งเลือกวางอิฐก้อนแรกผิดจุด
ก็อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เอกระดับโลกอย่างไอน์สไตน์ได้เคยฝากข้อคิดให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ว่า เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนำจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผลแห่งเรื่องราว ที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ ตรรก (อ่านว่า ตัก-กะ)
จะหาตรรกได้ ก็ต้องกระโดดออกมาจากพันธนาการของความเคยชิน หลบเลี่ยงจากกับดักทางความคิด หลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้หลงทางจากความรู้จริง ขจัดทิฐิแห่งกมลสันดาน
สรุปก็คือ จะหาตรรกได้ก็ต่อเมื่อเราสลัดหมากทั้งหมด ที่คนเขาจัดฉากวางล่อเราไว้ได้...
หรืออย่างที่ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล สาราณียากรแห่งจดหมายข่าวพุทธิกา ได้เขียนไว้ในฉบับที่ 35 เดือนกันยายน 2552 ในคอลัมน์เรื่อง อันตรายที่ไม่ได้มาจากศัตรู ว่า...
อะไรก็ตามที่ทำด้วยแรงผลักดันของทิฏฐิมานะหรือตัวตน ย่อมคลาดเคลื่อนจากความถูกต้องและก่อผลเสียทั้งต่อตนเองและส่วนรวมได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่เราต่อสู้กับยักษ์มารหรือความชั่วร้าย หากไม่รู้เท่าทันทิฏฐิมานะของตน เราก็จะกลับกลายเป็นยักษ์มารเสียเอง รวมทั้งใช้วิธีการอันโหดเหี้ยมดุร้าย ที่กลับมาเป็นผลร้ายกับตัวเองและส่วนรวมด้วย...
บทเรียนจากความผิดพลาด มีคุณค่ายิ่งใหญ่เสมอสำหรับความก้าวหน้า หากผู้พลาดไปแล้วมีใจสู้ไม่ถดถอยโทษตนเองว่าเป็นผู้ไร้วาสนา แล้วรวบรวมกำลังใจก้าวเท้าต่อไป ไม่หยุดย่ำอยู่กับที่ แม้ปัญญาจะเกิดไล่หลังปัญหา แต่ก็ยังดีกว่าเห็นปัญหาแล้ว แต่ไม่มีปัญญาในการแก้ไข
ของขวัญชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งจากประสบการณ์ชีวิตที่ ครูบาอาจารย์ท่านให้ข้อคิด ก็คือ ...
การเห็นปัญหาอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสติในการจัดการกับปัญหาด้วย และหากจะจัดการกับศัตรู เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ศัตรูที่แท้จริงนั้นมิได้ซุกซ่อนอยู่ในใจของเรานั่นเอง ...
ก็เจ้าตัวทิฏฐิมานะและความยึดติดในตัวตนจนหลงมั่นใจว่า กูถูก มันผิด นั่นแหละ ยิ่งหากมั่นใจว่ามันคือยักษ์มารด้วย แล้วเรามีหลักประกันเพียงใดว่า ขณะที่กำลังห้ำหั่นกับยักษ์มารนั้น เราจะไม่กลายเป็นยักษ์มารเสียเอง รวมทั้งไม่ทำลายโอกาสดีๆ ของส่วนรวมลง ทั้งๆ ที่เคยรวมใจกันสร้างสม และเสียสละร่วมกันมา ...
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นคนอื่นเป็นตัวปัญหา อย่างแรก ที่เราพึงทำก็คือ ระมัดระวังมิให้เรากลายเป็นตัวปัญหาไปกับเขาด้วย
จะสยบปัญหาได้ ต้องมีฐานใจที่สงบ แม้ใจยังไม่สงบ ก็ขอให้ พยายามสงบปากสงบคำไว้ก่อนเป็นดี เพราะอย่างน้อยๆ เราก็ไม่ต้องเสียมิตร
อันตรายของชีวิตอาจไม่ได้มาจากศัตรู แต่อาจมาจากการรักษามิตรที่ดีไว้ไม่ได้ต่างหาก
แต่มาจากการรักษามิตรที่ดีไว้ไม่ได้
บทเรียนจากความผิดพลาดมีคุณค่าสำหรับความก้าวหน้า
แม้ปัญญาจะเกิดไล่หลังปัญหา ก็ยังดีกว่าไม่มีปัญญาแก้ไข
เรื่องที่ 93
ความสำเร็จจากบทเรียนที่ผิดพลาด
สำหรับผู้ตกอยู่ในสถานการณ์จนมุม เพราะถูกวิบากกรรมบังคับ หากพื้นเดิมของใจไม่มีทุนทางดีสะสมมาเข้มข้น วูบแรกมักหลุด หลงแลกหมัดกับคู่กรณีตามสัญชาตญาณการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิและความหวังของตนเอง ต่อเมื่อสงครามละอองน้ำลาย สงบไปได้สักระยะ อาจพอมีสติคืน คิดได้ อย่างคนเข้าใจเหตุและผล
ขอยกกรณีตัวอย่างสักเรื่อง ...
เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้รู้ ผู้เมตตา ได้ทายทักเชิงตักเตือนว่า ท่ามกลางสถานการณ์อันอึมครึมของเศรษฐกิจโลก อย่าเพิ่งลงทุน ทำอะไร ให้รอดูจังหวะไปสักเดือนสองเดือนก่อน เมื่อกระแสโลกเริ่มนิ่ง ค่อยคิดใหม่ ทำใหม่ ไม่ต้องผลีผลาม
สำหรับผู้มีความเชื่อในตรรกะระดับปัญญาตน อาจแอบเปรียบเปรยในใจว่า ...
ถ้าสูตินารีแพทย์ประมาณการว่าเด็กทารกจะครบกำหนดคลอดในอีก 7-9 เดือนข้างหน้า ถามว่า... ผู้เป็นแม่จะต้องตั้งท้องก่อนตามธรรมชาติหรือไม่ ...แน่นอน มีคำตอบเดียว เท่านั้นคือ...ใช่ ฉันใดก็ฉันนั้น หากฤกษ์รวยดวงเฮงจะมีมาในอนาคต เราก็ควรต้องสร้างเหตุ ลงรากฐาน เตรียมความพร้อมเสียก่อน ในส่วนเฉพาะที่พอจะลงมือทำได้...
แต่การจะสร้างเหตุในแต่ละช่วงรอยต่อของชีวิตบนแผ่นดิน ที่ยังสะเทือนไหว สภาพการณ์ยังไม่นิ่ง ย่อมมองเห็นจุดการวางรากฐานได้ไม่ชัดเจน หากหลงดันทุรังก่ออิฐทับซ้อนต่อตึกสูงขึ้นไปบนรอยแยก แม้จะทุ่มทุนเร่งทำไปล่วงหน้ามากเพียงใด เมื่อลงฐานที่จุดไร้หลัก ผิดจากจังหวะเวลาอันเหมาะสม ก็ย่อมต้องล้มพังครืนลงในที่สุด ด้วยเพราะเร่งเลือกวางอิฐก้อนแรกผิดจุด
ก็อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เอกระดับโลกอย่างไอน์สไตน์ได้เคยฝากข้อคิดให้คนรุ่นใหม่ได้รู้ว่า เมื่อความคิดของคนเราถูกชักนำจนสะดุด ก็จะไม่สามารถแยกแยะและหาเหตุผลแห่งเรื่องราว ที่แท้จริงออกมาได้ นั่นคือ ตรรก (อ่านว่า ตัก-กะ)
จะหาตรรกได้ ก็ต้องกระโดดออกมาจากพันธนาการของความเคยชิน หลบเลี่ยงจากกับดักทางความคิด หลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้หลงทางจากความรู้จริง ขจัดทิฐิแห่งกมลสันดาน
สรุปก็คือ จะหาตรรกได้ก็ต่อเมื่อเราสลัดหมากทั้งหมด ที่คนเขาจัดฉากวางล่อเราไว้ได้...
หรืออย่างที่ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล สาราณียากรแห่งจดหมายข่าวพุทธิกา ได้เขียนไว้ในฉบับที่ 35 เดือนกันยายน 2552 ในคอลัมน์เรื่อง อันตรายที่ไม่ได้มาจากศัตรู ว่า...
อะไรก็ตามที่ทำด้วยแรงผลักดันของทิฏฐิมานะหรือตัวตน ย่อมคลาดเคลื่อนจากความถูกต้องและก่อผลเสียทั้งต่อตนเองและส่วนรวมได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่เราต่อสู้กับยักษ์มารหรือความชั่วร้าย หากไม่รู้เท่าทันทิฏฐิมานะของตน เราก็จะกลับกลายเป็นยักษ์มารเสียเอง รวมทั้งใช้วิธีการอันโหดเหี้ยมดุร้าย ที่กลับมาเป็นผลร้ายกับตัวเองและส่วนรวมด้วย...
บทเรียนจากความผิดพลาด มีคุณค่ายิ่งใหญ่เสมอสำหรับความก้าวหน้า หากผู้พลาดไปแล้วมีใจสู้ไม่ถดถอยโทษตนเองว่าเป็นผู้ไร้วาสนา แล้วรวบรวมกำลังใจก้าวเท้าต่อไป ไม่หยุดย่ำอยู่กับที่ แม้ปัญญาจะเกิดไล่หลังปัญหา แต่ก็ยังดีกว่าเห็นปัญหาแล้ว แต่ไม่มีปัญญาในการแก้ไข
ของขวัญชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งจากประสบการณ์ชีวิตที่ ครูบาอาจารย์ท่านให้ข้อคิด ก็คือ ...
การเห็นปัญหาอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสติในการจัดการกับปัญหาด้วย และหากจะจัดการกับศัตรู เราแน่ใจได้อย่างไรว่า ศัตรูที่แท้จริงนั้นมิได้ซุกซ่อนอยู่ในใจของเรานั่นเอง ...
ก็เจ้าตัวทิฏฐิมานะและความยึดติดในตัวตนจนหลงมั่นใจว่า กูถูก มันผิด นั่นแหละ ยิ่งหากมั่นใจว่ามันคือยักษ์มารด้วย แล้วเรามีหลักประกันเพียงใดว่า ขณะที่กำลังห้ำหั่นกับยักษ์มารนั้น เราจะไม่กลายเป็นยักษ์มารเสียเอง รวมทั้งไม่ทำลายโอกาสดีๆ ของส่วนรวมลง ทั้งๆ ที่เคยรวมใจกันสร้างสม และเสียสละร่วมกันมา ...
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นคนอื่นเป็นตัวปัญหา อย่างแรก ที่เราพึงทำก็คือ ระมัดระวังมิให้เรากลายเป็นตัวปัญหาไปกับเขาด้วย
จะสยบปัญหาได้ ต้องมีฐานใจที่สงบ แม้ใจยังไม่สงบ ก็ขอให้ พยายามสงบปากสงบคำไว้ก่อนเป็นดี เพราะอย่างน้อยๆ เราก็ไม่ต้องเสียมิตร
อันตรายของชีวิตอาจไม่ได้มาจากศัตรู แต่อาจมาจากการรักษามิตรที่ดีไว้ไม่ได้ต่างหาก