แพทย์จุฬาฯ วิจัยรองเท้าเพื่อผู้สูงอายุ
รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะผู้วิจัยเรื่อง “ขนาดรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย” กล่าวว่า ในผู้สูงอายุ รองเท้ามีหน้าที่สำคัญในการช่วยป้องกันการลื่นและล้ม หากสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน แผลที่เท้าอาจลุกลามจนต้องตัดนิ้วหรือตัดเท้า
รศ.พญ.ดุจใจ กล่าวถึงกลุ่มตัวอย่าง ในงานวิจัยดังกล่าวว่า มีอายุระหว่าง 60-80 ปี มีสุขภาพดี สามารถเดินได้ดีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นชาย 108 คน หญิง 105 คน โดยได้ทำการประเมินสุขภาพเท้าและรองเท้าที่ใช้อยู่ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของมิติเท้าด้านต่างๆ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพเท้ามากกว่าผู้ชาย ปัญหาที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 80 คือเท้าผิดรูป โดยส่วนใหญ่นิ้วโป้งจะเกไปทางนิ้วชี้ ร้อยละ 14 มีอาการปวดเท้า ซึ่งเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 4 ต่อ 1 สาเหตุมาจากเอ็นเท้าอักเสบ การเกหรือมีหนังแข็ง ร้อยละ 50 ของผู้หญิงและร้อยละ 34 ของผู้ชายสวมรองเท้าคับ
จากผลการวิจัยพบว่าอาการปวดเท้ามีความสัมพันธ์กับการใส่รองเท้า คับ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ได้นำมาใช้ในการพัฒนารองเท้าต้นแบบสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นทดลองใส่จริง และได้มีการยื่นจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์แล้ว รองเท้าดังกล่าวจะเป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพ เน้นใส่สบาย ไม่จำเพาะผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยตรง
ในอนาคตหากผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์น่าจะมีราคาประมาณ 1,000 บาท
มังสวิรัติลดความเสี่ยงมะเร็งจริง
งานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารมะเร็งของอังกฤษประจำเดือนสิงหาคม 2009 พบว่าผู้ที่งดเนื้อสัตว์อย่างเคร่ง ครัดมีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ น้อยลงถึง 45%
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ติดตามผลกลุ่มตัวอย่าง 61,000 คนเป็นเวลา 12 ปี และพบว่าผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติมีแนวโน้มเป็นมะเร็งทุกชนิดน้อยกว่าผู้ที่กินเนื้อสัตว์ 12% และความเสี่ยงยังน้อยลงเกือบครึ่ง สำหรับมะเร็งที่เกิดกับเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไขกระดูก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นักวิจัยเชื่อว่า ปัจจัยที่ ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็งคือ การที่ผักและผลไม้ รวมถึงเมล็ดพืช มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ผู้ที่กินมังสวิรัตยังหลีกเลี่ยงสารถนอมอาหาร เช่น สารไนไตรท์ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ที่มักใช้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น เบคอน ไส้กรอก และแฮม ซึ่งพบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
คนอ้วนเสี่ยงตายจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มากกว่าคนปกติ
ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ผู้เชี่ยวชาญไข้หวัดใหญ่ คณะ แพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคม โรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย บอกว่า เชื้อไวรัสไข้หวัด ใหญ่ 2009 มีสารบางอย่างที่คอยยับยั้งระบบการขับน้ำออกจากถุงลมในปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขับน้ำออกมาได้ตามปกติ เมื่อน้ำอยู่ในปอดมาก ปอดก็บวม ทำให้ระบบการหายใจล้มเหลวเสียชีวิต
คนอ้วนจะมีไขมันเกาะอยู่ผนังหน้า อกจำนวนมาก การสูดลมหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ปอดจะทำงานหนักกว่าคน ปกติ 2 เท่า การเคลื่อนไหวในปอดจะไม่คล่องเต็มที่ เช่น ตอนวิ่งหรือเดิน คนอ้วนจะมีอาการหอบเหนื่อย มากกว่าคนรูปร่างปกติ รวมถึงมีการอุดตันของเส้น เลือดหัวใจด้วย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เชื้อไวรัสจะเริ่มทำลายระบบขับน้ำออกจากปอด ปอดจะเริ่มบวม พอง และเมื่อเจอภาวะที่ผนังหน้าอกเต็มไปด้วยไขมัน ยิ่งทำให้ปอดที่บวมพอง ไปทำลายระบบการหายใจทั้งหมด
เตือนสบู่ฆ่าเชื้อทำแบคทีเรียกลายพันธุ์
คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ หรือ เอฟดีเอ กำลังพิจารณาหาข้อดีข้อเสียอย่างจริงจังของสบู่ป้องกันแบคทีเรีย หลังจากมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นว่า เชื้อโรคอาจพัฒนาตัวให้ดื้อต่อผลิตภัณฑ์ และกลายเป็นเชื้อร้ายที่มีฤทธิ์มากกว่าเดิม ขณะที่งานวิจัยล่าสุดระบุว่า สบู่ป้องกันแบคทีเรียและสบู่ธรรมดาทั่วไป ไม่ได้มีความแตกต่างกันในเรื่องการเสริมสร้างอนามัยให้แก่ผู้ใช้ตามบ้าน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความนิยมในสบู่ ป้องกันแบคทีเรียของผู้บริโภคเพิ่มจำนวน ขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่าสบู่สามารถฆ่าเชื้อโรคในบ้านเรือนได้ ขณะที่ผู้เชี่ยว ชาญชีวโมเลกุลกลับมองว่า การใช้สบู่ป้อง กันแบคทีเรียแพร่หลายเกินไป อาจทำให้เชื้อเกิดอาการดื้อต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้
นอกจากนี้ เอฟดีเอ ก็ยังไม่พบว่ามีรายงานทางการแพทย์ใดๆ ออกมายืนยันถึงความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ป้องกันแบคทีเรียที่สามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ ทำให้เชื่อได้ว่า สบู่ด้านแบคทีเรียไม่ได้ มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อได้ดีกว่าสบู่ปกติทั่วไป
ดร.สจ๊วต เลวี ประธาน กลุ่มพันธมิตรการใช้ยาปฏิชีวนะ บอกว่า ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อแบคทีเรียทั้งหลายควรถูกห้ามใช้ในครัวเรือนและควรเก็บไว้ในยามจำเป็น เช่น ในโรงพยาบาล หรือในบ้านพักที่มีผู้ป่วยอาศัยอยู่ด้วย
“เรากำลังทำให้แบคทีเรียในบ้านกลาย พันธุ์ได้โดยไม่รู้ตัว โดยแบคทีเรียที่มีชีวิตรอดจากสบู่ฆ่าเชื้อ สามารถพัฒนาตัวให้ดื้อต่อสารฆ่าเชื้อดังกล่าวได้ ยิ่งกว่านั้น ยังอาจเพิ่มความสามารถในการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อได้ด้วย” ดร.เลวี ระบุ
นอกจากนี้ พบว่าแบคทีเรียสามารถส่งต่อยีนกลายพันธุ์ไปยังลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงในตอนนี้ โดยไบรอัน แซนโซนิ โฆษกสมาคมสบู่และ ผงซักฟอก บอกว่า มีงานวิจัยหลายชิ้นไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ผลิต- ภัณฑ์ต้านแบคทีเรียกับการดื้อยาของ เชื้อ และที่สำคัญผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับ การพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันผู้ใช้จากแบคทีเรียได้
ชี้ความริษยาก่อโรคหัวใจ-เบาหวาน
ในการศึกษาที่ชื่อว่า ‘มีเพื่อนรวยทำให้คุณป่วยได้หรือเปล่า?’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครชายหญิง 3,000 คน ที่อายุระหว่าง 57-85 ปี ให้คะแนนสุขภาพและระบุโรคประจำตัวของตนเอง เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน รวมถึงจัดอันดับสถานะการเงินของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงาน
ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครที่มีฐานะการเงินต่ำต้อยเมื่อเทียบกับเครือข่ายสังคม มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจ มากกว่าคนที่เชื่อว่าทำดีที่สุดแล้วเพื่อตัวเองถึง 22% ในทางกลับกัน พวกที่อยู่อันดับบนๆ มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน แผลพุพอง และความดันโลหิตสูงลดลง
นักวิจัยยังกล่าวไว้ในรายงานที่อยู่ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินว่า แม้ความยากจนถูกนำไปเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ แต่ตำแหน่งทางสังคมก็มีบทบาทเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เจเนวีฟ ฟาม-แคนเตอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่าความอิจฉาริษยาและความยากจนอาจทำให้สุขภาพหัวใจเสื่อมลงได้
“เชื่อกันว่ากลไกรูปธรรมที่สำคัญที่สุดคือ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากการเปรียบเทียบในสังคมในแต่ละวันสำหรับผู้ที่พบว่าตัวเองมีฐานะด้อยกว่า ความเครียดซ้ำๆ นี้ทำให้ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงเรื้อรัง ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทที่ทำให้เกิดโรคบางโรค”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดยธาราทิพย์)
รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะผู้วิจัยเรื่อง “ขนาดรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย” กล่าวว่า ในผู้สูงอายุ รองเท้ามีหน้าที่สำคัญในการช่วยป้องกันการลื่นและล้ม หากสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้า ซึ่งในผู้ป่วยเบาหวาน แผลที่เท้าอาจลุกลามจนต้องตัดนิ้วหรือตัดเท้า
รศ.พญ.ดุจใจ กล่าวถึงกลุ่มตัวอย่าง ในงานวิจัยดังกล่าวว่า มีอายุระหว่าง 60-80 ปี มีสุขภาพดี สามารถเดินได้ดีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นชาย 108 คน หญิง 105 คน โดยได้ทำการประเมินสุขภาพเท้าและรองเท้าที่ใช้อยู่ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของมิติเท้าด้านต่างๆ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงมีปัญหาสุขภาพเท้ามากกว่าผู้ชาย ปัญหาที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 80 คือเท้าผิดรูป โดยส่วนใหญ่นิ้วโป้งจะเกไปทางนิ้วชี้ ร้อยละ 14 มีอาการปวดเท้า ซึ่งเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตรา 4 ต่อ 1 สาเหตุมาจากเอ็นเท้าอักเสบ การเกหรือมีหนังแข็ง ร้อยละ 50 ของผู้หญิงและร้อยละ 34 ของผู้ชายสวมรองเท้าคับ
จากผลการวิจัยพบว่าอาการปวดเท้ามีความสัมพันธ์กับการใส่รองเท้า คับ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ได้นำมาใช้ในการพัฒนารองเท้าต้นแบบสำหรับผู้สูงอายุชาวไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นทดลองใส่จริง และได้มีการยื่นจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์แล้ว รองเท้าดังกล่าวจะเป็นรองเท้าเพื่อสุขภาพ เน้นใส่สบาย ไม่จำเพาะผู้ป่วยโรคต่างๆ โดยตรง
ในอนาคตหากผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์น่าจะมีราคาประมาณ 1,000 บาท
มังสวิรัติลดความเสี่ยงมะเร็งจริง
งานวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารมะเร็งของอังกฤษประจำเดือนสิงหาคม 2009 พบว่าผู้ที่งดเนื้อสัตว์อย่างเคร่ง ครัดมีแนวโน้มเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ น้อยลงถึง 45%
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ติดตามผลกลุ่มตัวอย่าง 61,000 คนเป็นเวลา 12 ปี และพบว่าผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติมีแนวโน้มเป็นมะเร็งทุกชนิดน้อยกว่าผู้ที่กินเนื้อสัตว์ 12% และความเสี่ยงยังน้อยลงเกือบครึ่ง สำหรับมะเร็งที่เกิดกับเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไขกระดูก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นักวิจัยเชื่อว่า ปัจจัยที่ ช่วยปกป้องจากโรคมะเร็งคือ การที่ผักและผลไม้ รวมถึงเมล็ดพืช มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ผู้ที่กินมังสวิรัตยังหลีกเลี่ยงสารถนอมอาหาร เช่น สารไนไตรท์ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ที่มักใช้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น เบคอน ไส้กรอก และแฮม ซึ่งพบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
คนอ้วนเสี่ยงตายจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มากกว่าคนปกติ
ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ผู้เชี่ยวชาญไข้หวัดใหญ่ คณะ แพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล และนายกสมาคม โรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย บอกว่า เชื้อไวรัสไข้หวัด ใหญ่ 2009 มีสารบางอย่างที่คอยยับยั้งระบบการขับน้ำออกจากถุงลมในปอด ทำให้ปอดไม่สามารถขับน้ำออกมาได้ตามปกติ เมื่อน้ำอยู่ในปอดมาก ปอดก็บวม ทำให้ระบบการหายใจล้มเหลวเสียชีวิต
คนอ้วนจะมีไขมันเกาะอยู่ผนังหน้า อกจำนวนมาก การสูดลมหายใจเข้าออกแต่ละครั้ง ปอดจะทำงานหนักกว่าคน ปกติ 2 เท่า การเคลื่อนไหวในปอดจะไม่คล่องเต็มที่ เช่น ตอนวิ่งหรือเดิน คนอ้วนจะมีอาการหอบเหนื่อย มากกว่าคนรูปร่างปกติ รวมถึงมีการอุดตันของเส้น เลือดหัวใจด้วย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 เชื้อไวรัสจะเริ่มทำลายระบบขับน้ำออกจากปอด ปอดจะเริ่มบวม พอง และเมื่อเจอภาวะที่ผนังหน้าอกเต็มไปด้วยไขมัน ยิ่งทำให้ปอดที่บวมพอง ไปทำลายระบบการหายใจทั้งหมด
เตือนสบู่ฆ่าเชื้อทำแบคทีเรียกลายพันธุ์
คณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ หรือ เอฟดีเอ กำลังพิจารณาหาข้อดีข้อเสียอย่างจริงจังของสบู่ป้องกันแบคทีเรีย หลังจากมีข้อถกเถียงเกิดขึ้นว่า เชื้อโรคอาจพัฒนาตัวให้ดื้อต่อผลิตภัณฑ์ และกลายเป็นเชื้อร้ายที่มีฤทธิ์มากกว่าเดิม ขณะที่งานวิจัยล่าสุดระบุว่า สบู่ป้องกันแบคทีเรียและสบู่ธรรมดาทั่วไป ไม่ได้มีความแตกต่างกันในเรื่องการเสริมสร้างอนามัยให้แก่ผู้ใช้ตามบ้าน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความนิยมในสบู่ ป้องกันแบคทีเรียของผู้บริโภคเพิ่มจำนวน ขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเชื่อว่าสบู่สามารถฆ่าเชื้อโรคในบ้านเรือนได้ ขณะที่ผู้เชี่ยว ชาญชีวโมเลกุลกลับมองว่า การใช้สบู่ป้อง กันแบคทีเรียแพร่หลายเกินไป อาจทำให้เชื้อเกิดอาการดื้อต่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้
นอกจากนี้ เอฟดีเอ ก็ยังไม่พบว่ามีรายงานทางการแพทย์ใดๆ ออกมายืนยันถึงความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ป้องกันแบคทีเรียที่สามารถลดอัตราการติดเชื้อได้ ทำให้เชื่อได้ว่า สบู่ด้านแบคทีเรียไม่ได้ มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อได้ดีกว่าสบู่ปกติทั่วไป
ดร.สจ๊วต เลวี ประธาน กลุ่มพันธมิตรการใช้ยาปฏิชีวนะ บอกว่า ผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อแบคทีเรียทั้งหลายควรถูกห้ามใช้ในครัวเรือนและควรเก็บไว้ในยามจำเป็น เช่น ในโรงพยาบาล หรือในบ้านพักที่มีผู้ป่วยอาศัยอยู่ด้วย
“เรากำลังทำให้แบคทีเรียในบ้านกลาย พันธุ์ได้โดยไม่รู้ตัว โดยแบคทีเรียที่มีชีวิตรอดจากสบู่ฆ่าเชื้อ สามารถพัฒนาตัวให้ดื้อต่อสารฆ่าเชื้อดังกล่าวได้ ยิ่งกว่านั้น ยังอาจเพิ่มความสามารถในการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อได้ด้วย” ดร.เลวี ระบุ
นอกจากนี้ พบว่าแบคทีเรียสามารถส่งต่อยีนกลายพันธุ์ไปยังลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงในตอนนี้ โดยไบรอัน แซนโซนิ โฆษกสมาคมสบู่และ ผงซักฟอก บอกว่า มีงานวิจัยหลายชิ้นไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ผลิต- ภัณฑ์ต้านแบคทีเรียกับการดื้อยาของ เชื้อ และที่สำคัญผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้รับ การพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันผู้ใช้จากแบคทีเรียได้
ชี้ความริษยาก่อโรคหัวใจ-เบาหวาน
ในการศึกษาที่ชื่อว่า ‘มีเพื่อนรวยทำให้คุณป่วยได้หรือเปล่า?’ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครชายหญิง 3,000 คน ที่อายุระหว่าง 57-85 ปี ให้คะแนนสุขภาพและระบุโรคประจำตัวของตนเอง เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน รวมถึงจัดอันดับสถานะการเงินของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงาน
ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครที่มีฐานะการเงินต่ำต้อยเมื่อเทียบกับเครือข่ายสังคม มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจ มากกว่าคนที่เชื่อว่าทำดีที่สุดแล้วเพื่อตัวเองถึง 22% ในทางกลับกัน พวกที่อยู่อันดับบนๆ มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน แผลพุพอง และความดันโลหิตสูงลดลง
นักวิจัยยังกล่าวไว้ในรายงานที่อยู่ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินว่า แม้ความยากจนถูกนำไปเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ แต่ตำแหน่งทางสังคมก็มีบทบาทเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เจเนวีฟ ฟาม-แคนเตอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่าความอิจฉาริษยาและความยากจนอาจทำให้สุขภาพหัวใจเสื่อมลงได้
“เชื่อกันว่ากลไกรูปธรรมที่สำคัญที่สุดคือ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากการเปรียบเทียบในสังคมในแต่ละวันสำหรับผู้ที่พบว่าตัวเองมีฐานะด้อยกว่า ความเครียดซ้ำๆ นี้ทำให้ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงเรื้อรัง ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทที่ทำให้เกิดโรคบางโรค”
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 106 กันยายน 2552 โดยธาราทิพย์)