ในชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความสุขมากเท่าใดนัก มักจะคิดหาวิธีการที่จะทำให้ตนเองมีความสุขเพียงอย่างเดียว จึงมุ่งหน้าแสวงหาความสุขใส่ตัว โดยไม่สนใจว่าวิธีการได้มาซึ่งความสุขจะเป็นอย่างไร จะทำให้คนอื่นได้รับความทุกข์มากน้อยขนาดไหน ลืมคิดไปว่า ยิ่งเราทำให้คนอื่นทุกข์มากเท่าใด เราก็ยิ่งจะได้รับความทุกข์ทรมานมากเท่านั้น
การแสวงหาความสุขอันประเสริฐ ไม่ใช่การทำให้ตนเองมีความสุข แล้วทำให้คนอื่นมีความทุกข์ หรือการทำให้คนอื่นสุข แต่ตนเองทุกข์ เหมือนกับที่หลายคนนิยมพูดว่า “เอ็นดูเขาเขา เอ็นเราขาด” อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง วิธีการที่ดีที่สุดในการแสวงหาความสุขต้องทำให้ทั้งตัวเราและผู้อื่นมีความสุขด้วย คือ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นไปพร้อมกัน หากการกระทำใดที่เบียดเบียนตนเอง หรือเบียดเบียนผู้อื่น การกระทำนั้นไม่ใช่การกระทำที่ประเสริฐ ดังเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับเด็กหญิงคนหนึ่งที่ต้องการแสวงหาความสุขตามที่ตนปรารถนา แต่ ไปสร้างความทุกข์ให้กับคนอื่นอย่างมหันต์ จนทำให้เกิดการจองเวรจองกรรมกันไม่รู้จักจบจักสิ้น
นานมาแล้วในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่าบ้านปัณฑุระอยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี ในหมู่บ้านนั้นมีชาวประมงอยู่คนหนึ่ง ในขณะที่เขากำลังเดินทางไปเมืองสาวัตถี ได้มองเห็นไข่เต่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เขาจึงไปหยิบไข่เต่านั้น แล้วเดินทางต่อไป เมื่อไปถึงเมืองสาวัตถี เขาได้ไปขอต้มไข่ในบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านก็อนุญาต เมื่อไข่สุกแล้วเขาก็นำมากิน และแบ่งให้ลูกสาวของเจ้าของบ้านฟองหนึ่ง
หลังจากได้กินไข่เต่าแล้ว เด็กหญิงก็เกิดติดใจความอร่อยของไข่เต่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเธอจึงไม่อยากจะกินอาหารอย่างอื่นเลย นอกจากไข่เต่าเพียงอย่างเดียว แม่ของเด็กจึงต้องไปแสวงหามาให้กิน แต่ก็หาไข่เต่าไม่ได้ จึงไปเอาไข่ฟองหนึ่งจากเล้าไก่มาต้มให้ลูกสาวกิน หลังจากเด็กหญิงได้กินไข่ไก่แล้ว ก็เกิดติดอกติดใจในรสชาติของไข่ไก่ จนไม่อยากจะกินอาหารอย่างอื่นเลย และตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา เธอก็ไปเอาไข่ไก่มาต้มกินเอง โดยไปรอที่เล้าไก่ทุกๆ เช้า หากไก่ออกไข่มาเมื่อใด ก็จะเอามาต้มกิน ทันที เพราะเหตุนี้เอง แม่ไก่ทั้งหลายจึงกลัวเธอมาก ขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธแค้นเด็กหญิงคนนี้ จึงเกิดความอาฆาตอย่างมาก
แม่ไก่ได้ผูกอาฆาตกับเด็กหญิงไว้ว่า “ถ้าหากเราตาย จากอัตภาพนี้ไปแล้ว หรือว่าตายจากภพนี้ไปแล้ว ขอให้เราได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณี เราจะจับลูกของเด็กหญิงมากินบ้าง ให้เธอได้รู้ถึงความทุกข์ที่ต้องเห็นลูกตายต่อ หน้าต่อตา เหมือนกับที่เธอมาเอาไข่ของเราไปกินต่อหน้าต่อตาทุกวัน”
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แม่ไก่นั้นตายแล้ว ก็ไม่ได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณีแต่ประการใด แต่ไปเกิดเป็นแมวในบ้านหลังที่เด็กหญิงอาศัยอยู่นั่นเอง
ต่อมาไม่นาน เด็กหญิงก็สิ้นชีวิตลง หลังจากที่ตาย แล้ว ก็ไปเกิดเป็นแม่ไก่อยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับที่แมวอยู่นั่นเอง เหตุนี้เองจึงเป็นโอกาสของนางแมวที่จะแก้แค้น เพราะพลังแห่งการจองเวรด้วยความเคียดแค้นโกรธเคืองอย่างหนักนั้น ทำให้ต้องมาสร้างเวรสร้างกรรมกันต่อไป
เมื่อใดก็ตามที่แม่ไก่ออกไข่ นางแมวก็จะแอบมาขโมยกินไข่จนหมดสิ้น ไม่มีโอกาสที่ไข่นั้นจะได้ฟักออกมาเป็นลูกไก่เลย และแม่ไก่ก็ทำอะไรแมวไม่ได้ จึงได้แต่หวาดผวาและเศร้าโศกทุกข์ระทมอยู่ในใจ ที่ต้องเห็นลูกตนเองถูกแมวจับไปกินต่อหน้าต่อตาอยู่เป็นประจำ
แม่ไก่จึงผูกความอาฆาตนางแมวว่า “แมวใจร้ายตัวนี้กินไข่ของเรา เราออกไข่สามครั้งนางแมวนี้ก็มากินไข่ของเราทั้งสามครั้ง หากเราออกไข่อีก นางแมวนี้ก็จะต้อง มากินไข่ของเราอีกอย่างแน่นอน ถ้าหากว่าเราตายจาก อัตภาพนี้ไปแล้ว ขอให้เราได้เคี้ยวกินตัวนางแมวนี้ พร้อมทั้งลูกของมันด้วยเถิด”
ด้วยความแค้นอาฆาตต่อกันและกันอย่างแรงกล้านี้เอง หลังจากแม่ไก่ตายไปแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นนางเสือ เหลือง ส่วนนางแมวตายไปเกิดเป็นนางเนื้อ ที่จะกลายเป็นอาหารอันโอชะของนางเสือ ในเวลาใดก็ตามเมื่อนางเนื้อคลอดลูกออกมา นางเสือเหลืองก็มาจับลูกของนางเนื้อไปกิน เท่านั้นยังไม่พอ ยังเคี้ยวกินนางเนื้อด้วย
สัตว์สองตัวนี้ต่างก็ผลัดกันเคี้ยวกินกันและกัน ต่างก็ผลัดกันผูกอาฆาตต่อกัน ผลัดกันฆ่ากัน อยู่อย่างนั้นถึง ๕๐๐ อัตภาพ สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ทั้งสองเป็นอย่างมาก และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดความผูกแค้นอาฆาตต่อกันวันไหน
จนกระทั่งในภพสุดท้ายนั้น นางหนึ่งได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณี ส่วนอีกนางหนึ่งเกิดเป็นกุลธิดาในเมืองสาวัตถี แต่ในภพนี้นับว่าทั้งสองโชคดีมาก เพราะได้เกิดมาในภพที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลก ทำให้ได้มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเทศน์สอนว่า “เวรย่อมระงับด้วยความไม่จองเวร เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร” และได้ตรัสเพิ่มเติมอีกว่า “ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตน แต่ไปก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร ย่อมไม่พ้นจากเวรได้”
หลังจากพระองค์เทศนาจบ นางยักษิณีตั้งอยู่ในไตรสรณะ ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และสมาทานศีล ๕ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกหลอกลวง และไม่ดื่มเครื่องดองของมึน เมาทั้งหลายทั้งปวง นางจึงพ้นจากเวรที่เคยจองล้างจองผลาญกันไว้ ส่วนกุลธิดานั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล มีศีล ๕ เช่นเดียวกัน ทั้งสองคนจึงพ้นจากบ่วงแห่งเวรกรรมที่เคยจองล้างจองผลาญกันมายาวนานถึง ๕๐๐ ชาติ
การจองเวรกัน เพื่อจะแก้แค้นกันและกันด้วยความชั่วนั้น ไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้เราเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง แต่จะกลับกลายเป็นผู้แพ้ไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะยิ่งเราทำให้คนอื่นมีความทุกข์มากเท่าใด เราก็จะได้รับผลกรรมที่ตนเองทำไว้มากมายเพียงนั้น การชนะผู้อื่นด้วยความชั่ว จึงเป็นเหมือนกับการทำให้ตนเองตกต่ำลงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่า เป็นการเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเองมากขึ้นไปอีก เพราะเรามีความทุกข์จากความแค้นอาฆาตเขาก็มากอยู่แล้ว เราไปกระทำความชั่วเพื่อจะเอา ชนะเขา เราก็ยิ่งจะได้รับโทษจากความชั่วนั้นเป็นชั้นที่ สอง เราจึงทุกข์เป็นสองเท่า
ในทางตรงกันข้าม หากเรารู้จักให้อภัยแก่กันและกัน มีความเมตตาต่อกัน เราก็จะได้รับความสุขสงบเย็นขึ้นเป็นหลายเท่าเช่นเดียวกัน เพียงเราคิดที่จะให้อภัยคนที่โกรธเรา ที่เกลียดเรา ที่ทำให้เรามีความทุกข์ จิตใจของเราก็จะเริ่มเย็นสงบลง ยิ่งหากเราทำความดีต่อเขาอย่างจริงใจมากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งจะสุขใจมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้ศัตรูกลายมาเป็นมิตรของเราได้ในที่สุด
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยมาลาวชิโร)
การแสวงหาความสุขอันประเสริฐ ไม่ใช่การทำให้ตนเองมีความสุข แล้วทำให้คนอื่นมีความทุกข์ หรือการทำให้คนอื่นสุข แต่ตนเองทุกข์ เหมือนกับที่หลายคนนิยมพูดว่า “เอ็นดูเขาเขา เอ็นเราขาด” อย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง วิธีการที่ดีที่สุดในการแสวงหาความสุขต้องทำให้ทั้งตัวเราและผู้อื่นมีความสุขด้วย คือ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และผู้อื่นไปพร้อมกัน หากการกระทำใดที่เบียดเบียนตนเอง หรือเบียดเบียนผู้อื่น การกระทำนั้นไม่ใช่การกระทำที่ประเสริฐ ดังเรื่องที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับเด็กหญิงคนหนึ่งที่ต้องการแสวงหาความสุขตามที่ตนปรารถนา แต่ ไปสร้างความทุกข์ให้กับคนอื่นอย่างมหันต์ จนทำให้เกิดการจองเวรจองกรรมกันไม่รู้จักจบจักสิ้น
นานมาแล้วในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่าบ้านปัณฑุระอยู่ไม่ไกลจากเมืองสาวัตถี ในหมู่บ้านนั้นมีชาวประมงอยู่คนหนึ่ง ในขณะที่เขากำลังเดินทางไปเมืองสาวัตถี ได้มองเห็นไข่เต่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี เขาจึงไปหยิบไข่เต่านั้น แล้วเดินทางต่อไป เมื่อไปถึงเมืองสาวัตถี เขาได้ไปขอต้มไข่ในบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านก็อนุญาต เมื่อไข่สุกแล้วเขาก็นำมากิน และแบ่งให้ลูกสาวของเจ้าของบ้านฟองหนึ่ง
หลังจากได้กินไข่เต่าแล้ว เด็กหญิงก็เกิดติดใจความอร่อยของไข่เต่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเธอจึงไม่อยากจะกินอาหารอย่างอื่นเลย นอกจากไข่เต่าเพียงอย่างเดียว แม่ของเด็กจึงต้องไปแสวงหามาให้กิน แต่ก็หาไข่เต่าไม่ได้ จึงไปเอาไข่ฟองหนึ่งจากเล้าไก่มาต้มให้ลูกสาวกิน หลังจากเด็กหญิงได้กินไข่ไก่แล้ว ก็เกิดติดอกติดใจในรสชาติของไข่ไก่ จนไม่อยากจะกินอาหารอย่างอื่นเลย และตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมา เธอก็ไปเอาไข่ไก่มาต้มกินเอง โดยไปรอที่เล้าไก่ทุกๆ เช้า หากไก่ออกไข่มาเมื่อใด ก็จะเอามาต้มกิน ทันที เพราะเหตุนี้เอง แม่ไก่ทั้งหลายจึงกลัวเธอมาก ขณะเดียวกันก็รู้สึกโกรธแค้นเด็กหญิงคนนี้ จึงเกิดความอาฆาตอย่างมาก
แม่ไก่ได้ผูกอาฆาตกับเด็กหญิงไว้ว่า “ถ้าหากเราตาย จากอัตภาพนี้ไปแล้ว หรือว่าตายจากภพนี้ไปแล้ว ขอให้เราได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณี เราจะจับลูกของเด็กหญิงมากินบ้าง ให้เธอได้รู้ถึงความทุกข์ที่ต้องเห็นลูกตายต่อ หน้าต่อตา เหมือนกับที่เธอมาเอาไข่ของเราไปกินต่อหน้าต่อตาทุกวัน”
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่แม่ไก่นั้นตายแล้ว ก็ไม่ได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณีแต่ประการใด แต่ไปเกิดเป็นแมวในบ้านหลังที่เด็กหญิงอาศัยอยู่นั่นเอง
ต่อมาไม่นาน เด็กหญิงก็สิ้นชีวิตลง หลังจากที่ตาย แล้ว ก็ไปเกิดเป็นแม่ไก่อยู่ในบ้านหลังเดียวกันกับที่แมวอยู่นั่นเอง เหตุนี้เองจึงเป็นโอกาสของนางแมวที่จะแก้แค้น เพราะพลังแห่งการจองเวรด้วยความเคียดแค้นโกรธเคืองอย่างหนักนั้น ทำให้ต้องมาสร้างเวรสร้างกรรมกันต่อไป
เมื่อใดก็ตามที่แม่ไก่ออกไข่ นางแมวก็จะแอบมาขโมยกินไข่จนหมดสิ้น ไม่มีโอกาสที่ไข่นั้นจะได้ฟักออกมาเป็นลูกไก่เลย และแม่ไก่ก็ทำอะไรแมวไม่ได้ จึงได้แต่หวาดผวาและเศร้าโศกทุกข์ระทมอยู่ในใจ ที่ต้องเห็นลูกตนเองถูกแมวจับไปกินต่อหน้าต่อตาอยู่เป็นประจำ
แม่ไก่จึงผูกความอาฆาตนางแมวว่า “แมวใจร้ายตัวนี้กินไข่ของเรา เราออกไข่สามครั้งนางแมวนี้ก็มากินไข่ของเราทั้งสามครั้ง หากเราออกไข่อีก นางแมวนี้ก็จะต้อง มากินไข่ของเราอีกอย่างแน่นอน ถ้าหากว่าเราตายจาก อัตภาพนี้ไปแล้ว ขอให้เราได้เคี้ยวกินตัวนางแมวนี้ พร้อมทั้งลูกของมันด้วยเถิด”
ด้วยความแค้นอาฆาตต่อกันและกันอย่างแรงกล้านี้เอง หลังจากแม่ไก่ตายไปแล้ว ก็ได้ไปเกิดเป็นนางเสือ เหลือง ส่วนนางแมวตายไปเกิดเป็นนางเนื้อ ที่จะกลายเป็นอาหารอันโอชะของนางเสือ ในเวลาใดก็ตามเมื่อนางเนื้อคลอดลูกออกมา นางเสือเหลืองก็มาจับลูกของนางเนื้อไปกิน เท่านั้นยังไม่พอ ยังเคี้ยวกินนางเนื้อด้วย
สัตว์สองตัวนี้ต่างก็ผลัดกันเคี้ยวกินกันและกัน ต่างก็ผลัดกันผูกอาฆาตต่อกัน ผลัดกันฆ่ากัน อยู่อย่างนั้นถึง ๕๐๐ อัตภาพ สร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ทั้งสองเป็นอย่างมาก และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดความผูกแค้นอาฆาตต่อกันวันไหน
จนกระทั่งในภพสุดท้ายนั้น นางหนึ่งได้ไปเกิดเป็นนางยักษิณี ส่วนอีกนางหนึ่งเกิดเป็นกุลธิดาในเมืองสาวัตถี แต่ในภพนี้นับว่าทั้งสองโชคดีมาก เพราะได้เกิดมาในภพที่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลก ทำให้ได้มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
พระองค์ตรัสเทศน์สอนว่า “เวรย่อมระงับด้วยความไม่จองเวร เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร” และได้ตรัสเพิ่มเติมอีกว่า “ผู้ใดปรารถนาความสุขเพื่อตน แต่ไปก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร ย่อมไม่พ้นจากเวรได้”
หลังจากพระองค์เทศนาจบ นางยักษิณีตั้งอยู่ในไตรสรณะ ถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และสมาทานศีล ๕ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่โกหกหลอกลวง และไม่ดื่มเครื่องดองของมึน เมาทั้งหลายทั้งปวง นางจึงพ้นจากเวรที่เคยจองล้างจองผลาญกันไว้ ส่วนกุลธิดานั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล มีศีล ๕ เช่นเดียวกัน ทั้งสองคนจึงพ้นจากบ่วงแห่งเวรกรรมที่เคยจองล้างจองผลาญกันมายาวนานถึง ๕๐๐ ชาติ
การจองเวรกัน เพื่อจะแก้แค้นกันและกันด้วยความชั่วนั้น ไม่ใช่วิธีการที่จะทำให้เราเป็นผู้ชนะอย่างแท้จริง แต่จะกลับกลายเป็นผู้แพ้ไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะยิ่งเราทำให้คนอื่นมีความทุกข์มากเท่าใด เราก็จะได้รับผลกรรมที่ตนเองทำไว้มากมายเพียงนั้น การชนะผู้อื่นด้วยความชั่ว จึงเป็นเหมือนกับการทำให้ตนเองตกต่ำลงยิ่งกว่าเดิมอีกหลายเท่า เป็นการเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเองมากขึ้นไปอีก เพราะเรามีความทุกข์จากความแค้นอาฆาตเขาก็มากอยู่แล้ว เราไปกระทำความชั่วเพื่อจะเอา ชนะเขา เราก็ยิ่งจะได้รับโทษจากความชั่วนั้นเป็นชั้นที่ สอง เราจึงทุกข์เป็นสองเท่า
ในทางตรงกันข้าม หากเรารู้จักให้อภัยแก่กันและกัน มีความเมตตาต่อกัน เราก็จะได้รับความสุขสงบเย็นขึ้นเป็นหลายเท่าเช่นเดียวกัน เพียงเราคิดที่จะให้อภัยคนที่โกรธเรา ที่เกลียดเรา ที่ทำให้เรามีความทุกข์ จิตใจของเราก็จะเริ่มเย็นสงบลง ยิ่งหากเราทำความดีต่อเขาอย่างจริงใจมากขึ้นเท่าใด เราก็ยิ่งจะสุขใจมากขึ้นเท่านั้น และจะทำให้ศัตรูกลายมาเป็นมิตรของเราได้ในที่สุด
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยมาลาวชิโร)