ก่อนจะรู้อย่าอยากรู้ ให้มันระลึกรู้ขึ้นมา
ระหว่างก็รู้ สักว่ารู้ไม่กระโจนลงไปรู้ ไม่ถลำลงไป
เมื่อรู้แล้วไม่ทำอะไรอีก
ครั้งที่ 038
ก่อนรู้ ระหว่างรู้ เมื่อรู้
โยม : โยมเข้าใจว่าที่ไปปฏิบัติมา 3 ปี เกือบ 4 ปี นั่นก็คือ ให้จิตนิ่งแล้วก็จะมีปัญญาเกิดขึ้น ก็เลยมุ่งไปตรงนั้น แต่พอมาฟังธรรมหลวงพ่อแล้วก็กับการปฏิบัติ แล้วมันก็เกิดสภาวะต่างๆ
หลวงพ่อ : จริงๆ แล้ว มันคือ เส้นผมบังภูเขา นิดเดียว ธรรมะนี่ง่ายที่สุดเลย แต่ว่าสวนกระแส กระแสของจิตใจพร้อมที่จะไหลออกไปจับอันโน้น จับอันนี้ อันนี้เราจะเห็นเลยกระแสของจิตเข้าไปจับอะไรนิดเดียวความทุกข์ก็เกิดเลย ตัณหาอุปาทาน ตัณหาก็คือความทะยานของจิตที่ทะยานไหลออกไป อุปาทานคือจิตที่มันเข้าไปแตะต้องตัวอารมณ์ พอเข้าไปจับ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นมาเลย ไม่ว่าจิตจะไปแตะอะไร ความทุกข์ก็ไปเกิดที่นั่นเลย โยมเห็นอย่างนี้วิเศษมาก
โยม : ตกใจ แล้วตรงนั้นไม่เอา ไม่อยากเอา แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี
หลวงพ่อ : เอา ไม่เอา ไม่ได้ ต้องเรียนรู้ไป เรียนรู้ไปจนเขาวางของเขาเองนะ เรียนรู้ไป ที่เรายังคิดว่าไม่เอาๆ ก็เพราะยังมีตัวเราอยู่ ดี ภาวนาเก่งมากนะ ที่จริงมันกลับข้างกันนิดเดียว เหมือนเส้นผมบังภูเขานิดเดียว 'อันหนึ่งเข้ามารู้อยู่ที่ตัวเอง อันหนึ่งออกนอก' 'อันหนึ่งตั้งมั่นสักว่ารู้อารมณ์ อันหนึ่งตั้งแช่อยู่ที่อารมณ์' 'อันหนึ่งระลึกรู้ขึ้นเอง อันหนึ่งกำหนดให้รู้' สภาวธรรมมันกลับข้างกันหลายตัว แต่ว่าอันอย่างเดิมที่ทำมาได้สมถะนะ สมถะนี้ถ้าเราต่อวิปัสสนาเป็นก็มีประโยชน์ ไม่ใช่ว่าสูญเปล่านะ แต่ว่ามันไม่ใช่ทางเจริญปัญญาเท่านั้นเองแต่มีประโยชน์ ก็เป็นกำลังเหมือนกัน
อนุโมทนานะ ทำไป เอาให้ได้นะไม่ยากแล้ว เห็นได้ขนาดนี้ กายนี้เป็นคูหาให้จิตอยู่ จิตนี้อาศัยอยู่ในกายแล้วเที่ยวไปรวดเร็วมาก เที่ยวไปทำอะไร ก็เที่ยวไปยึดอารมณ์นั่นเอง เสพอารมณ์จับโน่นจับนี่ไปเรื่อย นึกว่าจะหาความสุข เที่ยวตะครุบโน่นตะครุบนี่ ตะครุบทีไรยึดทีไรก็เป็นภาระ ยึดทีไรเป็นทุกข์ร่ำไป ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน ตรงเป๊ะๆ หมดเลย เห็นแล้ว โอ้โห มันซาบซึ้งถึงใจนะ เวลาถ่ายทอดออกมาเป็น คำพูดมันก็งั้นๆ แหละ แต่เวลาที่เข้าไปประจักษ์กับสภาวะนะ โอ้โห มันอัศจรรย์นะ ซาบซึ้งถึงใจ ซาบซึ้งถึงใจขนาดนั้นแหละมันถึงฆ่ากิเลสได้ ลำพังเข้าสมองแล้วธรรมะมันตื้นไปหมด
อาจารย์นวลสิริรู้สึกไหม ข้างในนี้มันโล่งมันเบา ดี ภาวนาดี ทำไปอย่างเดิมนี้นะ ไม่ใช่ทำอะไรเกินกว่านี้ขึ้นมานะ ไม่เกินกว่ารู้นะ ไม่เกินกว่ารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ก่อนจะรู้อย่าอยากรู้ ให้มันระลึกรู้ขึ้นมา ระหว่างก็รู้สักว่ารู้ไม่กระโจนลงไปรู้ ไม่ถลำลงไป เมื่อรู้แล้วไม่ทำอะไรอีก พอเรารู้สภาวจิตมันจะเกิดความยินดียินร้าย ยินดีก็อยากทำคือไปรักษาไว้ ยินร้ายก็อยากทำคือไปผลักมัน ให้เรารู้ทัน ในที่สุดใจเราเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย รู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง เรารู้ว่าถ้าเรายินดียินร้ายขึ้นเมื่อไร จิตเกิดการทำงานเมื่อไรเมื่อนั้นความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญารู้เลย ถ้าจิตปรุงแต่งนะจิตจะทุกข์ รู้แล้วจิตจะเลิกการปรุงแต่ง เหลือแต่สภาวะรู้ล้วนๆ เลย
โยม : แล้วตัวที่เข้าไปไม่อยากเอา ตรงนั้นมันคือตัวอะไรเจ้าคะ
หลวงพ่อ : ตัวโทสะไม่อยากเอา
โยม : ตัวโทสะ
หลวงพ่อ : เห็นไหม
โยม : เห็นค่ะ เพราะพื้นเป็นคนมีโทสะ ตัวไม่อยากเอาคือตัวโทสะ
หลวงพ่อ : ส่วนตัวที่อยากจะเอาก็คือโลภะ รู้ทันตัวนี้แล้วจิตจะเป็นกลาง สรุปง่ายๆ นะอาจารย์นวลสิริ เมื่อใจรู้ธรรมารมณ์ ความยินดียินร้ายเกิดขึ้นที่จิต ให้มีสติรู้ทันที่ความยินดียินร้าย นี่แหละ เขาดับของเขาเอง เราอย่าช่วยเขาดับนะ ถ้าอยากให้ดับอีก เราก็ยินร้ายซ้อนขึ้นอีกตัวหนึ่ง รู้ไปเรื่อย ดูเขาเล่นละคร อาจารย์นวลสิริดูออกแล้วใช่ไหมเห็นเขาเล่นละคร นั่นแหละเขาเล่นละคร ให้ดู
โยม : คือเคยอ่านในหนังสือ แล้วพอมันเข้าใจก็เลย อ๋อ มันเป็นแบบนี้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ตามดูอย่างเป็นกลาง)
ระหว่างก็รู้ สักว่ารู้ไม่กระโจนลงไปรู้ ไม่ถลำลงไป
เมื่อรู้แล้วไม่ทำอะไรอีก
ครั้งที่ 038
ก่อนรู้ ระหว่างรู้ เมื่อรู้
โยม : โยมเข้าใจว่าที่ไปปฏิบัติมา 3 ปี เกือบ 4 ปี นั่นก็คือ ให้จิตนิ่งแล้วก็จะมีปัญญาเกิดขึ้น ก็เลยมุ่งไปตรงนั้น แต่พอมาฟังธรรมหลวงพ่อแล้วก็กับการปฏิบัติ แล้วมันก็เกิดสภาวะต่างๆ
หลวงพ่อ : จริงๆ แล้ว มันคือ เส้นผมบังภูเขา นิดเดียว ธรรมะนี่ง่ายที่สุดเลย แต่ว่าสวนกระแส กระแสของจิตใจพร้อมที่จะไหลออกไปจับอันโน้น จับอันนี้ อันนี้เราจะเห็นเลยกระแสของจิตเข้าไปจับอะไรนิดเดียวความทุกข์ก็เกิดเลย ตัณหาอุปาทาน ตัณหาก็คือความทะยานของจิตที่ทะยานไหลออกไป อุปาทานคือจิตที่มันเข้าไปแตะต้องตัวอารมณ์ พอเข้าไปจับ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นมาเลย ไม่ว่าจิตจะไปแตะอะไร ความทุกข์ก็ไปเกิดที่นั่นเลย โยมเห็นอย่างนี้วิเศษมาก
โยม : ตกใจ แล้วตรงนั้นไม่เอา ไม่อยากเอา แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี
หลวงพ่อ : เอา ไม่เอา ไม่ได้ ต้องเรียนรู้ไป เรียนรู้ไปจนเขาวางของเขาเองนะ เรียนรู้ไป ที่เรายังคิดว่าไม่เอาๆ ก็เพราะยังมีตัวเราอยู่ ดี ภาวนาเก่งมากนะ ที่จริงมันกลับข้างกันนิดเดียว เหมือนเส้นผมบังภูเขานิดเดียว 'อันหนึ่งเข้ามารู้อยู่ที่ตัวเอง อันหนึ่งออกนอก' 'อันหนึ่งตั้งมั่นสักว่ารู้อารมณ์ อันหนึ่งตั้งแช่อยู่ที่อารมณ์' 'อันหนึ่งระลึกรู้ขึ้นเอง อันหนึ่งกำหนดให้รู้' สภาวธรรมมันกลับข้างกันหลายตัว แต่ว่าอันอย่างเดิมที่ทำมาได้สมถะนะ สมถะนี้ถ้าเราต่อวิปัสสนาเป็นก็มีประโยชน์ ไม่ใช่ว่าสูญเปล่านะ แต่ว่ามันไม่ใช่ทางเจริญปัญญาเท่านั้นเองแต่มีประโยชน์ ก็เป็นกำลังเหมือนกัน
อนุโมทนานะ ทำไป เอาให้ได้นะไม่ยากแล้ว เห็นได้ขนาดนี้ กายนี้เป็นคูหาให้จิตอยู่ จิตนี้อาศัยอยู่ในกายแล้วเที่ยวไปรวดเร็วมาก เที่ยวไปทำอะไร ก็เที่ยวไปยึดอารมณ์นั่นเอง เสพอารมณ์จับโน่นจับนี่ไปเรื่อย นึกว่าจะหาความสุข เที่ยวตะครุบโน่นตะครุบนี่ ตะครุบทีไรยึดทีไรก็เป็นภาระ ยึดทีไรเป็นทุกข์ร่ำไป ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน ตรงเป๊ะๆ หมดเลย เห็นแล้ว โอ้โห มันซาบซึ้งถึงใจนะ เวลาถ่ายทอดออกมาเป็น คำพูดมันก็งั้นๆ แหละ แต่เวลาที่เข้าไปประจักษ์กับสภาวะนะ โอ้โห มันอัศจรรย์นะ ซาบซึ้งถึงใจ ซาบซึ้งถึงใจขนาดนั้นแหละมันถึงฆ่ากิเลสได้ ลำพังเข้าสมองแล้วธรรมะมันตื้นไปหมด
อาจารย์นวลสิริรู้สึกไหม ข้างในนี้มันโล่งมันเบา ดี ภาวนาดี ทำไปอย่างเดิมนี้นะ ไม่ใช่ทำอะไรเกินกว่านี้ขึ้นมานะ ไม่เกินกว่ารู้นะ ไม่เกินกว่ารู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ก่อนจะรู้อย่าอยากรู้ ให้มันระลึกรู้ขึ้นมา ระหว่างก็รู้สักว่ารู้ไม่กระโจนลงไปรู้ ไม่ถลำลงไป เมื่อรู้แล้วไม่ทำอะไรอีก พอเรารู้สภาวจิตมันจะเกิดความยินดียินร้าย ยินดีก็อยากทำคือไปรักษาไว้ ยินร้ายก็อยากทำคือไปผลักมัน ให้เรารู้ทัน ในที่สุดใจเราเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย รู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง เรารู้ว่าถ้าเรายินดียินร้ายขึ้นเมื่อไร จิตเกิดการทำงานเมื่อไรเมื่อนั้นความทุกข์ก็จะเกิดขึ้น ในที่สุดจิตจะเกิดปัญญารู้เลย ถ้าจิตปรุงแต่งนะจิตจะทุกข์ รู้แล้วจิตจะเลิกการปรุงแต่ง เหลือแต่สภาวะรู้ล้วนๆ เลย
โยม : แล้วตัวที่เข้าไปไม่อยากเอา ตรงนั้นมันคือตัวอะไรเจ้าคะ
หลวงพ่อ : ตัวโทสะไม่อยากเอา
โยม : ตัวโทสะ
หลวงพ่อ : เห็นไหม
โยม : เห็นค่ะ เพราะพื้นเป็นคนมีโทสะ ตัวไม่อยากเอาคือตัวโทสะ
หลวงพ่อ : ส่วนตัวที่อยากจะเอาก็คือโลภะ รู้ทันตัวนี้แล้วจิตจะเป็นกลาง สรุปง่ายๆ นะอาจารย์นวลสิริ เมื่อใจรู้ธรรมารมณ์ ความยินดียินร้ายเกิดขึ้นที่จิต ให้มีสติรู้ทันที่ความยินดียินร้าย นี่แหละ เขาดับของเขาเอง เราอย่าช่วยเขาดับนะ ถ้าอยากให้ดับอีก เราก็ยินร้ายซ้อนขึ้นอีกตัวหนึ่ง รู้ไปเรื่อย ดูเขาเล่นละคร อาจารย์นวลสิริดูออกแล้วใช่ไหมเห็นเขาเล่นละคร นั่นแหละเขาเล่นละคร ให้ดู
โยม : คือเคยอ่านในหนังสือ แล้วพอมันเข้าใจก็เลย อ๋อ มันเป็นแบบนี้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/ตามดูอย่างเป็นกลาง)