ครั้งที่ 021
มีอิทธิบาทสี่ในการดูสภาวะ
หลวงพ่อ : มาภาวนากับหลวงพ่อ สติตัวจริงเกิด เราจะรู้เลยว่าหาคนชั่วเท่าเราหายากนะ มันชั่วทั้งวันเลย เดี๋ยวก็แวบๆๆ ไปเรื่อยนะ แวบ ของเราเองก็เผลอๆ ไป แวบไปแวบมา ก็ไม่ชอบอันนี้ แวบไปแวบมาไม่ได้อย่างใจ ให้คอยรู้ไป ที่เราตื่นขึ้นมาได้ก็เพราะว่าเรารู้ว่าจิตหนีไปคิด จำไว้นะ ถ้าเมื่อไรรู้ว่าจิตหนีไปคิดจะตื่นปั๊บเลย เพราะว่าตรงที่คิดมันฝันไปแล้ว พอมันไม่ฝันมันตื่นขึ้นมา ในตำราไม่มีนะอันนี้ ตำราเขียนไว้คร่าวๆ แต่ถ้าเราหัดดูสภาวะนะ โอ้สนุก การศึกษาธรรมะนะสนุกมากเลย มีความสุขด้วย สติเกิดก็มีความสุขนะ เคยรู้สึกมั้ยพอรู้สึกตัวขึ้นมามีความสุขนะ รู้สึกบ้างหรือยัง รู้สึกมั้ยบางทีก็มีความสุขโชยขึ้นมาเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร ใจจู่ๆ ก็มีความสุขแวบขึ้นมา นุ่มๆ โอ้สบาย สติมันเกิด จิตก็เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลมีความสุข จิตมีความสุขจิตก็มีสมาธิ
จิตที่มีสมาธิคือจิตที่มีความตั้งมั่น แต่จิตที่ตั้งมั่นก็มีที่ผิดเหมือนกันนะ ที่ตั้งแช่น่ะผิดแน่นอนอยู่แล้ว แต่ตั้งมั่นนี่ ถ้าตั้งแรงเกินไปก็ผิด จงใจตั้งก็ผิดอีกแล้ว เป็นอย่างที่หลวงปู่ดูลย์ท่านเรียกว่า ไปเพ่งใส่ตัวผู้รู้ จะต้องตั้งนุ่มนวล สบาย นี่สภาวะเหล่านี้มีมากมายนะ ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ เรียน
ทำไมหลวงพ่อไม่รวบรวมแล้วสอน ทีเดียว เพราะเราจะมองไม่เห็น เวลาเราทำกรรมฐานเราจะค่อยๆ เรียนไป แล้วเราก็รู้จักสภาวะเพิ่มขึ้นทีละอย่างสองอย่าง ค่อยๆ เรียนไป อย่างใจที่ตั้งมั่นนี่ ตั้งแข็งไปก็มีนะ ตั้งพอดีก็มี ค่อยๆ หัดสังเกตไป บางคนจะให้หลวงพ่ออธิบายว่าเป็นยังไงครับตั้งแข็งเกินไป แล้วตั้งแข็งพอดีๆ อยู่ตรงไหน มันอธิบายไม่ได้นะ เหมือนมาถามหลวงพ่อว่าแอปเปิลรสชาติเป็นยังไง ไม่รู้จะพูดยังไงนะ มันต้องรู้รสชาติด้วยตัวเอง งั้นธรรมะนี่เห็นสภาวะแล้วมีรสชาติมากเลย สนุก
หลวงพ่อภาวนาตั้งแต่เจ็ดขวบ เจ็ดขวบ นี่ทำแต่สมถะ ทำอานาปานสติยี่สิบสองปี งั้นเรื่องสมาธิก็เล่นมานาน แต่ไม่เกิดปัญญา เห็นหมู่เพื่อนที่เดินตามมาข้างหลังจำนวนมากเลย ก็มักติดสมาธิเหมือนกัน ที่น่าอัศจรรย์ก็คือพวกที่มาจากสำนักที่บอกว่าทำวิปัสสนานั่นแหละติดสมาธิเยอะ นี่มันเรื่องน่าอัศจรรย์เลย ทีนี้พอหลวงพ่อมาหัดทำวิปัสสนานะ อายุยี่สิบเก้าแล้ว ไปหาหลวงปู่ดูลย์ ยี่สิบเก้า ไปหาหลวงปู่ดูลย์ 23 กุมภาพันธุ์ 2525 แหม จำแม่นนะ ขอแต่งงานกับภรรยา วันไหนจำไม่ได้ แต่อย่าไปบอกเขานะ ไม่รู้ จำไม่ได้ แต่ว่า วันที่เจอหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกนี่ ปิ๊งๆ นี่ จำได้ 23 กุมภาฯ 25 ตั้งแต่นั้นนี่ ดูจิตตลอด สนุกที่จะดู ไม่ใช่บังคับ ครูบาอาจารย์ บังคับให้ดูหรือ ไม่ใช่นะ หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยบอกหลวงพ่อนะ ว่าได้โปรดดูไปเถอะนะ ดูแล้วจะดีนะ ดูแล้วจะมีความสุขนะ ไม่มีนะ มีแต่สอนบอกว่า ให้ไปดูจิตเอา สอนเท่านี้นะ ไม่เหมือนหลวงพ่อนะต้องมาคอยบอกพวกเราว่า ได้โปรดเถอะ ดูนะๆ ง่ายนะ ไม่ยากหรอก ดูแล้วก็มีความสุขนะ ความพ้นทุกข์ เป็นลำดับๆ นี่ อินทรีย์ที่แก่อ่อนกว่ากันมันเป็นอย่างนี้
พอหลวงพ่อได้ยินคำว่า "ดูจิต" นะ หลวงพ่อมาคอยหัดดูจิต โอ้โหสนุกน่าดูเลย ทำไมจิตเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน สนุกที่ได้เรียนรู้ธรรมะนะ สนุกที่ได้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้รู้สึกลำบากที่ได้เรียนรู้กายรู้ใจ การที่เรามีความสุข มีความสนุกในการรู้กายรู้ใจก็คือมีฉันทะที่จะรู้ มันมีความสุขมีความพอใจที่ได้รู้ วิริยะเกิดเอง ขยันดู เพราะว่าอยากดู ชอบดู ดูแล้วมีความสุข ชอบดู ดูทุกวัน ไม่มีใครสั่ง ดูไม่เลิกเลย จิตใจก็คอยจดจ่อกับการรู้การดูนี่เรียกว่าจิตตะ วันๆ นะไม่คิดเรื่องอื่นแล้ว ใครจะยังไงไม่สนใจ ถ้าพูดหยาบๆ ก็ช่างแม่มันนะ ใครจะทำอะไร สนใจอย่างเดียว เรียนรู้ตัวเอง จิตใจนี่ อ่านหนังสือนะ ก็ไม่ได้อ่านเรื่องอื่น ไปอ่าน พระไตรปิฎก นั่งอ่านอยู่ในทำเนียบฯ มีห้องสมุดของสำนักเลขาฯนายกฯนะ เอา พระไตรปิฎกมาครั้งละสองเล่ม บาลีเล่มนึง ไทยเล่มหนึ่ง มานั่งดูไป บางทีก็เห็น อ้อมันแปลไม่ตรงกัน ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี บางทีมีคำเกินๆ มา ภาษาไทย อย่างทุกข์ให้กำหนดรู้นี่ บาลีไม่มี นี่เวลาอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือธรรมะ อ้าวถึงเวลาวันหยุดแล้ว ต้องไปเที่ยวสักหน่อย ไปเที่ยววัดไหนดีๆ ไปหาอาจารย์รูปไหนดี คราวนี้ เห็นมั้ย ใจมันเคล้าเคลียอยู่กับธรรมะ นี่เรียกว่าวิมังสานะ เคล้าเคลียอยู่ ไม่ไปไหนหรอก ถ้าใครนะมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เขาเรียกว่าอิทธิบาทสี่ ธรรมนี้แหละทำให้ประสบความสำเร็จเร็ว เร็วมาก ไม่มีฉันทะ ต้องเคี่ยวเข็ญ ต้องอ้อนวอนให้ภาวนานะ ไม่ไหวนะ สู้ไม่ไหว อินทรีย์อ่อนไป ต้องขยันดูของเราเอง
ครูบาอาจารย์บางรูปท่านเคยบ่นให้หลวงพ่อฟัง ไม่ได้บ่นหลวงพ่อนะ ท่านบ่นลูกศิษย์ท่าน "โอ้ย เหนื่อย สอนมันนะยาก ยากยิ่งกว่าเข็นควายขึ้นภูเขา" "บอกไม่ใช่ครับ เขาบอกเข็นครกขึ้นภูเขา" "โอ้ย ไอ้นี่ควาย ครกมันไม่สู้นะ ควายมันสู้" มีนะ สอนกรรมฐานมันจะกัดเอาตายน่ะ สอนกรรมฐาน มันยากนะ เราสอนด้วยใจซื่อๆ ตรงๆ หวังให้ได้ประโยชน์จริงๆ บางคนโกรธนะ เดี๋ยวนี้เลยต้องค่อยๆ ลดหย่อนหน่อย ต้องอ้อมๆ ค้อมๆ หน่อย คนไหนหน้าตาดุๆ นะ ต้องพูดปลอบๆ หน่อย เดี๋ยวมันลุกขึ้นเตะ เราแก่แล้วสู้ไม่ไหว
รู้สึกมั้ย จิตใจมีความสุข รู้สึกมั้ย จิตใจมีความสุข รู้ไป ใจเรามีความสุข สังเกตมั้ย ใจค่อยๆ นิ่งแล้ว รู้สึกมั้ย ใจค่อยๆ นิ่งลงแล้ว ดูออกมั้ย นี่หัดดูของจริงนะ หัดดูไปอย่างนี้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/สามสภาวะหลัก)
มีอิทธิบาทสี่ในการดูสภาวะ
หลวงพ่อ : มาภาวนากับหลวงพ่อ สติตัวจริงเกิด เราจะรู้เลยว่าหาคนชั่วเท่าเราหายากนะ มันชั่วทั้งวันเลย เดี๋ยวก็แวบๆๆ ไปเรื่อยนะ แวบ ของเราเองก็เผลอๆ ไป แวบไปแวบมา ก็ไม่ชอบอันนี้ แวบไปแวบมาไม่ได้อย่างใจ ให้คอยรู้ไป ที่เราตื่นขึ้นมาได้ก็เพราะว่าเรารู้ว่าจิตหนีไปคิด จำไว้นะ ถ้าเมื่อไรรู้ว่าจิตหนีไปคิดจะตื่นปั๊บเลย เพราะว่าตรงที่คิดมันฝันไปแล้ว พอมันไม่ฝันมันตื่นขึ้นมา ในตำราไม่มีนะอันนี้ ตำราเขียนไว้คร่าวๆ แต่ถ้าเราหัดดูสภาวะนะ โอ้สนุก การศึกษาธรรมะนะสนุกมากเลย มีความสุขด้วย สติเกิดก็มีความสุขนะ เคยรู้สึกมั้ยพอรู้สึกตัวขึ้นมามีความสุขนะ รู้สึกบ้างหรือยัง รู้สึกมั้ยบางทีก็มีความสุขโชยขึ้นมาเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร ใจจู่ๆ ก็มีความสุขแวบขึ้นมา นุ่มๆ โอ้สบาย สติมันเกิด จิตก็เป็นกุศล จิตที่เป็นกุศลมีความสุข จิตมีความสุขจิตก็มีสมาธิ
จิตที่มีสมาธิคือจิตที่มีความตั้งมั่น แต่จิตที่ตั้งมั่นก็มีที่ผิดเหมือนกันนะ ที่ตั้งแช่น่ะผิดแน่นอนอยู่แล้ว แต่ตั้งมั่นนี่ ถ้าตั้งแรงเกินไปก็ผิด จงใจตั้งก็ผิดอีกแล้ว เป็นอย่างที่หลวงปู่ดูลย์ท่านเรียกว่า ไปเพ่งใส่ตัวผู้รู้ จะต้องตั้งนุ่มนวล สบาย นี่สภาวะเหล่านี้มีมากมายนะ ต้องค่อยๆ ฟังค่อยๆ เรียน
ทำไมหลวงพ่อไม่รวบรวมแล้วสอน ทีเดียว เพราะเราจะมองไม่เห็น เวลาเราทำกรรมฐานเราจะค่อยๆ เรียนไป แล้วเราก็รู้จักสภาวะเพิ่มขึ้นทีละอย่างสองอย่าง ค่อยๆ เรียนไป อย่างใจที่ตั้งมั่นนี่ ตั้งแข็งไปก็มีนะ ตั้งพอดีก็มี ค่อยๆ หัดสังเกตไป บางคนจะให้หลวงพ่ออธิบายว่าเป็นยังไงครับตั้งแข็งเกินไป แล้วตั้งแข็งพอดีๆ อยู่ตรงไหน มันอธิบายไม่ได้นะ เหมือนมาถามหลวงพ่อว่าแอปเปิลรสชาติเป็นยังไง ไม่รู้จะพูดยังไงนะ มันต้องรู้รสชาติด้วยตัวเอง งั้นธรรมะนี่เห็นสภาวะแล้วมีรสชาติมากเลย สนุก
หลวงพ่อภาวนาตั้งแต่เจ็ดขวบ เจ็ดขวบ นี่ทำแต่สมถะ ทำอานาปานสติยี่สิบสองปี งั้นเรื่องสมาธิก็เล่นมานาน แต่ไม่เกิดปัญญา เห็นหมู่เพื่อนที่เดินตามมาข้างหลังจำนวนมากเลย ก็มักติดสมาธิเหมือนกัน ที่น่าอัศจรรย์ก็คือพวกที่มาจากสำนักที่บอกว่าทำวิปัสสนานั่นแหละติดสมาธิเยอะ นี่มันเรื่องน่าอัศจรรย์เลย ทีนี้พอหลวงพ่อมาหัดทำวิปัสสนานะ อายุยี่สิบเก้าแล้ว ไปหาหลวงปู่ดูลย์ ยี่สิบเก้า ไปหาหลวงปู่ดูลย์ 23 กุมภาพันธุ์ 2525 แหม จำแม่นนะ ขอแต่งงานกับภรรยา วันไหนจำไม่ได้ แต่อย่าไปบอกเขานะ ไม่รู้ จำไม่ได้ แต่ว่า วันที่เจอหลวงปู่ดูลย์ครั้งแรกนี่ ปิ๊งๆ นี่ จำได้ 23 กุมภาฯ 25 ตั้งแต่นั้นนี่ ดูจิตตลอด สนุกที่จะดู ไม่ใช่บังคับ ครูบาอาจารย์ บังคับให้ดูหรือ ไม่ใช่นะ หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยบอกหลวงพ่อนะ ว่าได้โปรดดูไปเถอะนะ ดูแล้วจะดีนะ ดูแล้วจะมีความสุขนะ ไม่มีนะ มีแต่สอนบอกว่า ให้ไปดูจิตเอา สอนเท่านี้นะ ไม่เหมือนหลวงพ่อนะต้องมาคอยบอกพวกเราว่า ได้โปรดเถอะ ดูนะๆ ง่ายนะ ไม่ยากหรอก ดูแล้วก็มีความสุขนะ ความพ้นทุกข์ เป็นลำดับๆ นี่ อินทรีย์ที่แก่อ่อนกว่ากันมันเป็นอย่างนี้
พอหลวงพ่อได้ยินคำว่า "ดูจิต" นะ หลวงพ่อมาคอยหัดดูจิต โอ้โหสนุกน่าดูเลย ทำไมจิตเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน สนุกที่ได้เรียนรู้ธรรมะนะ สนุกที่ได้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้รู้สึกลำบากที่ได้เรียนรู้กายรู้ใจ การที่เรามีความสุข มีความสนุกในการรู้กายรู้ใจก็คือมีฉันทะที่จะรู้ มันมีความสุขมีความพอใจที่ได้รู้ วิริยะเกิดเอง ขยันดู เพราะว่าอยากดู ชอบดู ดูแล้วมีความสุข ชอบดู ดูทุกวัน ไม่มีใครสั่ง ดูไม่เลิกเลย จิตใจก็คอยจดจ่อกับการรู้การดูนี่เรียกว่าจิตตะ วันๆ นะไม่คิดเรื่องอื่นแล้ว ใครจะยังไงไม่สนใจ ถ้าพูดหยาบๆ ก็ช่างแม่มันนะ ใครจะทำอะไร สนใจอย่างเดียว เรียนรู้ตัวเอง จิตใจนี่ อ่านหนังสือนะ ก็ไม่ได้อ่านเรื่องอื่น ไปอ่าน พระไตรปิฎก นั่งอ่านอยู่ในทำเนียบฯ มีห้องสมุดของสำนักเลขาฯนายกฯนะ เอา พระไตรปิฎกมาครั้งละสองเล่ม บาลีเล่มนึง ไทยเล่มหนึ่ง มานั่งดูไป บางทีก็เห็น อ้อมันแปลไม่ตรงกัน ก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี บางทีมีคำเกินๆ มา ภาษาไทย อย่างทุกข์ให้กำหนดรู้นี่ บาลีไม่มี นี่เวลาอ่านหนังสือก็อ่านหนังสือธรรมะ อ้าวถึงเวลาวันหยุดแล้ว ต้องไปเที่ยวสักหน่อย ไปเที่ยววัดไหนดีๆ ไปหาอาจารย์รูปไหนดี คราวนี้ เห็นมั้ย ใจมันเคล้าเคลียอยู่กับธรรมะ นี่เรียกว่าวิมังสานะ เคล้าเคลียอยู่ ไม่ไปไหนหรอก ถ้าใครนะมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เขาเรียกว่าอิทธิบาทสี่ ธรรมนี้แหละทำให้ประสบความสำเร็จเร็ว เร็วมาก ไม่มีฉันทะ ต้องเคี่ยวเข็ญ ต้องอ้อนวอนให้ภาวนานะ ไม่ไหวนะ สู้ไม่ไหว อินทรีย์อ่อนไป ต้องขยันดูของเราเอง
ครูบาอาจารย์บางรูปท่านเคยบ่นให้หลวงพ่อฟัง ไม่ได้บ่นหลวงพ่อนะ ท่านบ่นลูกศิษย์ท่าน "โอ้ย เหนื่อย สอนมันนะยาก ยากยิ่งกว่าเข็นควายขึ้นภูเขา" "บอกไม่ใช่ครับ เขาบอกเข็นครกขึ้นภูเขา" "โอ้ย ไอ้นี่ควาย ครกมันไม่สู้นะ ควายมันสู้" มีนะ สอนกรรมฐานมันจะกัดเอาตายน่ะ สอนกรรมฐาน มันยากนะ เราสอนด้วยใจซื่อๆ ตรงๆ หวังให้ได้ประโยชน์จริงๆ บางคนโกรธนะ เดี๋ยวนี้เลยต้องค่อยๆ ลดหย่อนหน่อย ต้องอ้อมๆ ค้อมๆ หน่อย คนไหนหน้าตาดุๆ นะ ต้องพูดปลอบๆ หน่อย เดี๋ยวมันลุกขึ้นเตะ เราแก่แล้วสู้ไม่ไหว
รู้สึกมั้ย จิตใจมีความสุข รู้สึกมั้ย จิตใจมีความสุข รู้ไป ใจเรามีความสุข สังเกตมั้ย ใจค่อยๆ นิ่งแล้ว รู้สึกมั้ย ใจค่อยๆ นิ่งลงแล้ว ดูออกมั้ย นี่หัดดูของจริงนะ หัดดูไปอย่างนี้
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/สามสภาวะหลัก)