สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ 2009 เอช 1 เอ็น 1 ซึ่งเริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนระดับการแพร่ระบาดเป็นระดับ 5 คือมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสติดจากคนสู่คนในกลุ่มกว้างมากขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปรายงานขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึง 22 พฤษภาคม 2552 ว่า จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) รายงานอย่างเป็นทางการใน 41 ประเทศ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 11,034 ราย เสียชีวิต 85 ราย(เม็กซิโก 75 ราย สหรัฐอเมริกา 8 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริก้า 1 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.77 จำนวนผู้ป่วยเพิ่ม 791 ราย เสียชีวิต 5 ราย
และเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้จัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน + 3 โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การป้องกันควบคุมการระบาดของโรคในระดับภูมิภาค เพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาด โดยร่วมประกาศสู้ภัยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชูข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ มาตรการป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่ระดับประเทศ 6 ข้อ มาตรการระดับภูมิภาค 4 ข้อ พร้อมเสนอ 5 ข้อ เข้าที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก เน้นแบ่งปันเชื้อไวรัส สนับสนุนแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีผลิตยา วัคซีน ให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเท่าเทียม
สำหรับแนวทางการรับมือที่ทุกฝ่ายต่างเร่งดำเนินการขณะนี้ คือ
1. การพัฒนาชุดตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สามารถให้ผลตรวจอย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำ
2. การผลิตวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างรวดเร็ว ซึ่งปกติจะต้องใช้เวลาการผลิตประมาณ 6 เดือน
3. การพัฒนายาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า โอเซลทามิเวีย (Oseltamivir) หรือเร่งดำเนินการผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียให้มากเพียงพอ เพื่อเตรียมรับมือกับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นให้มากที่สุด
• สาเหตุ
สาเหตุที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่จากคนสู่คนได้ดี เนื่องจากชิ้นส่วนพันธุกรรม ทั้ง 8 ท่อน ของไวรัสสายพันธุ์นี้ มีความคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ของคน หมู และสัตว์ปีก โดยจุดสำคัญคือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ มีส่วนของโปรตีนฮีมแอกลูตินิน (Hemagglutinin) หรือ HA ที่อยู่บนผิวไวรัส เป็นชนิด H1 ซึ่งมีความคล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดทั่วไปในคน ด้วยเหตุนี้โปรตีน H1 ของไวรัสจึงเข้าจับกับโปรตีนที่อยู่บริเวณผิวของเซลล์มนุษย์ได้อย่างดี และส่งผลให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
การไอหรือจาม ที่แม้จะมีเชื้อไวรัสเพียงเล็กน้อย แต่เชื้อไวรัสก็สามารถแพร่เข้าสู่ ร่างกายผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ไข้หวัดนกยังไม่พบการแพร่จากคนสู่คน เนื่องจากชนิดของโปรตีนฮีมแอกลูตินินของไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ไม่สามารถจับกับโปรตีนบริเวณผิวเซลล์มนุษย์ได้ ด้วยลักษณะบางประการที่แตกต่างระหว่างโปรตีนบนผิวเซลล์ของสัตว์ปีกและมนุษย์ เชื้อจึงทำได้เพียงแค่ก่อโรคในคน ส่วนการแพร่จากคนสู่คนนั้นยังคงเป็นไปได้ยาก
• การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่นๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
• อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
• การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดยรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็น พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม นอนหลับพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้อง รับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา
• การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือ บ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิ.ย. 52 โดยกองบรรณาธิการ)
กระทรวงสาธารณสุขได้สรุปรายงานขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึง 22 พฤษภาคม 2552 ว่า จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) รายงานอย่างเป็นทางการใน 41 ประเทศ รวมผู้ป่วยทั้งสิ้น 11,034 ราย เสียชีวิต 85 ราย(เม็กซิโก 75 ราย สหรัฐอเมริกา 8 ราย แคนาดา 1 ราย และคอสตาริก้า 1 ราย) อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.77 จำนวนผู้ป่วยเพิ่ม 791 ราย เสียชีวิต 5 ราย
และเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้จัดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน + 3 โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การป้องกันควบคุมการระบาดของโรคในระดับภูมิภาค เพื่อจำกัดวงการแพร่ระบาด โดยร่วมประกาศสู้ภัยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชูข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ มาตรการป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่ระดับประเทศ 6 ข้อ มาตรการระดับภูมิภาค 4 ข้อ พร้อมเสนอ 5 ข้อ เข้าที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก เน้นแบ่งปันเชื้อไวรัส สนับสนุนแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีผลิตยา วัคซีน ให้ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเท่าเทียม
สำหรับแนวทางการรับมือที่ทุกฝ่ายต่างเร่งดำเนินการขณะนี้ คือ
1. การพัฒนาชุดตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่สามารถให้ผลตรวจอย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำ
2. การผลิตวัคซีนที่มีความจำเพาะต่อเชื้อไวรัสไข้หวัด ใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างรวดเร็ว ซึ่งปกติจะต้องใช้เวลาการผลิตประมาณ 6 เดือน
3. การพัฒนายาต้านไวรัส ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า โอเซลทามิเวีย (Oseltamivir) หรือเร่งดำเนินการผลิตยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียให้มากเพียงพอ เพื่อเตรียมรับมือกับการระบาดที่อาจเกิดขึ้นให้มากที่สุด
• สาเหตุ
สาเหตุที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แพร่จากคนสู่คนได้ดี เนื่องจากชิ้นส่วนพันธุกรรม ทั้ง 8 ท่อน ของไวรัสสายพันธุ์นี้ มีความคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ของคน หมู และสัตว์ปีก โดยจุดสำคัญคือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้ มีส่วนของโปรตีนฮีมแอกลูตินิน (Hemagglutinin) หรือ HA ที่อยู่บนผิวไวรัส เป็นชนิด H1 ซึ่งมีความคล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดทั่วไปในคน ด้วยเหตุนี้โปรตีน H1 ของไวรัสจึงเข้าจับกับโปรตีนที่อยู่บริเวณผิวของเซลล์มนุษย์ได้อย่างดี และส่งผลให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
การไอหรือจาม ที่แม้จะมีเชื้อไวรัสเพียงเล็กน้อย แต่เชื้อไวรัสก็สามารถแพร่เข้าสู่ ร่างกายผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ไข้หวัดนกยังไม่พบการแพร่จากคนสู่คน เนื่องจากชนิดของโปรตีนฮีมแอกลูตินินของไวรัสไข้หวัดนก เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ไม่สามารถจับกับโปรตีนบริเวณผิวเซลล์มนุษย์ได้ ด้วยลักษณะบางประการที่แตกต่างระหว่างโปรตีนบนผิวเซลล์ของสัตว์ปีกและมนุษย์ เชื้อจึงทำได้เพียงแค่ก่อโรคในคน ส่วนการแพร่จากคนสู่คนนั้นยังคงเป็นไปได้ยาก
• การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ติดต่อไปยังคนอื่นๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
• อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1-3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
• การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ และยังรับประทานอาหารได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน โดยรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็น พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย อาจต้องได้รับวิตามินเสริม นอนหลับพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี และไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้อง รับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา
• การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ หากต้องดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ควรใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น หมั่นล้างมือ บ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 103 มิ.ย. 52 โดยกองบรรณาธิการ)