รู้สามัญลักษณะ
อีกส่วนหนึ่ง ใช้วิธีคิดให้รู้จักสภาพที่เป็นสามัญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขารทั้งปวง ก็คือของโลกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขันธโลก อายตนะโลก หรือว่าโลกธาตุภายนอกต่างๆ ก็คืออนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์ อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน กล่าวสรุปง่ายๆว่า ลักษณะที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับเวลาที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ เวลาต้องเปลี่ยนไปทุกวินาที จะให้วินาทีนี้ตั้งอยู่ว่าอย่าเปลี่ยนไป ดั่งนี้หาได้ไม่ จะให้นาทีนี้ จะให้ชั่วโมงนี้ จะให้วันนี้ เป็นต้น ตั้งอยู่ ว่าวันนี้จงอยู่ที่นี่ อย่าเป็นพรุ่งนี้ ดั่งนี้หาได้ไม่ เวลาต้องเปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ แม้ว่าจะแบ่ง ย่อยให้ละเอียดไปกว่าวินาทีอีกสักเท่าไหร่ก็ตาม เวลาก็ไม่หยุด เปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ และเมื่อหยุดอยู่ไม่ได้ ต้อง เปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ
ดังนี้ ทุกๆสิ่งเกิดแล้วก็ต้องดับ และถ้าหากว่าจะแบ่งย่อยให้ละเอียดแล้วก็เกิดดับอยู่ทุกวินาที แบ่งเวลาให้ละเอียดอีกก็ยิ่งเกิดดับเร็วเข้าไปอีก แต่ว่ามองด้วยตาเนื้อไม่เห็นละเอียด เห็นได้แต่หยาบๆ แต่ว่าเมื่อมองด้วยตาปัญญาตามเหตุและผล จึงจะเห็นได้อย่างละเอียดถึงความเกิดดับที่เป็นไปพร้อมกับเวลา และเมื่อเป็นดั่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าไม่เที่ยง เพราะถ้าเที่ยงแล้วก็ไม่ต้องดับ เพราะเหตุที่ต้องดับจึงไม่เที่ยง และเพราะไม่เที่ยงจึง เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยน แปลงไป และเพราะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นอนัตตาบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ ถ้าเป็นอัตตาก็จะบังคับกันได้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้ ขอให้อย่าเป็นอย่างนั้น แต่จะบังคับให้เป็นไปดังนั้นไม่ได้ นี้เป็นสภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะ ต้องหาวิธีคิดที่จะให้รู้จักสภาพธรรมดาที่เป็นเหตุผลเป็นไปกับสภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะดั่งนี้ประกอบกัน
ใช้วิธีเทียบเคียง
ต่อจากนี้ก็ต้องหาวิธีคิดต่อไปอีกว่า ก็เมื่อสภาพธรรมดาเป็นดั่งนี้ จึงดูเหมือนว่าเป็นสักแต่ว่าตา สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่าการเห็นรูป สักแต่ว่าหู สักแต่ว่าเสียง สักแต่ว่าการได้ยินเสียง สักแต่ว่าจมูก สักแต่ว่ากลิ่น สักแต่ว่าการทราบกลิ่น สักแต่ว่าลิ้น สักแต่ว่ารส สักแต่ว่าการ รับรส สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าสิ่งที่กายถูกต้อง สักแต่ว่า การทราบสิ่งที่ถูกหรือการถูกต้องนั้น สักแต่ว่ามโนคือใจ สักแต่ว่าเรื่องที่ใจรู้ใจคิด สักแต่ว่าการรู้เรื่องที่ใจรู้ใจคิดนั้น ดูก็จะเป็นของสักแต่ว่าหรือมาตรว่าเท่านั้น
ก็คล้ายๆกับว่า อันรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมคือเรื่องราวที่ได้รู้เหล่านี้ สมมติเอาว่าสิ่งเหล่านี้อันใดที่ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ยินแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้รู้แล้วก็ดี ที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยทราบ ไม่เคยรู้แล้วก็ดี หรือที่มิได้เคยคิด มิได้คิดว่า เราจะพึงเห็น เราจะพึงได้ยิน เราจะพึงทราบ เราจะพึงรู้ ก็ดี
ถามตนเองว่า ฉันทะคือความพอใจก็ดี ราคะคือความ ติดใจยินดีก็ดี ความรักก็ดี จักพึงมีพึงเกิดขึ้นในรูปเสียงเป็นต้นเหล่านั้นหรือไม่ ก็จะตอบได้ว่าไม่เกิด คราวนี้ทำไม จึงเกิดในสิ่งเหล่านี้ที่ได้เห็น ได้ยินหรือได้ทราบ ได้รู้ ทำไมจึงไม่สักแต่ว่าเป็นการเห็น ไม่สักแต่ว่าเป็นการได้ยิน ไม่สักแต่ว่าเป็นการได้ทราบ ไม่สักแต่ว่าเป็นได้รู้
ต้องตั้งปัญหาถามตนเองว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็ต้องหาวิธีคิดตอบ และในการที่หาวิธีคิดตอบนั้น ก็ใช้วิธีีคิดเทียบเคียงได้ด้วยว่า อันความพอใจความติดใจยินดีความรัก หรืออีกด้านหนึ่ง ความไม่พอใจความกระทบกระทั่ง ความชังอันตรงกันข้าม หาได้บังเกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้ทราบ สิ่งที่ได้รู้ทางมโนคือใจไปทุกอย่างไม่ มีเป็นอันมากที่ไม่เกิด เป็น ต้นว่า ลมพัดมาทำให้บ้านเรือนของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้างพังทะลายก็ดี หรือน้ำท่วมมาท่วมบ้านเรือนเรือกสวนไร่นาเสียหายไปก็ดี ไฟเกิดขึ้นไหม้สิ่งต่างๆ ตลอดจนถึงไหม้บ้านไหม้เรือนไหม้สิ่งต่างๆ จะเป็นของตนหรือของ ผู้อื่นก็ดี ก็เห็นก็ได้ยิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ แต่โดยปกตินั้นก็ไม่เกิดรัก ไม่เกิดชังน้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ แม้ไฟจะมาไหม้บ้านของตนเองก็ไม่เกิดการโกรธแค้นชังไฟ น้ำจะพัด มาท่วมก็ไม่โกรธน้ำ ลมจะพัดอะไรพังก็ไม่โกรธลม ทำไมจึงไม่โกรธก็ต้องถามตัวเองว่า ทำไมจึงไม่โกรธสิ่งเหล่านี้ ก็เห็นเหมือนกัน ได้ยินเหมือนกัน ต้องหาคำตอบจากสิ่งเหล่านี้
ถ้าจะตอบตามพระพุทธภาษิตที่เป็นศาสนธรรม ก็เพราะไม่มีสังโยชน์ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่เกิดชอบ ไม่เกิดชัง ถ้ามีสังโยชน์คือความผูกในสิ่งเหล่านี้ ก็เกิดความชอบความชัง ถ้าไม่เกิดสังโยชน์คือความผูกในไฟที่มาไหม้ ในน้ำที่มาท่วม ในลมที่มาพัดบ้านพังเรือน ก็ไม่มีความชอบความชังในน้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ แต่ว่ามีสังโยชน์ขึ้นจึงเกิดความชอบหรือความชังขึ้น อันนี้เป็นคำตอบอันหนึ่งอาศัยศาสนธรรมข้อนี้ และก็มีวิธีคิดประกอบอีกว่ามีอะไรที่มาทำให้เกิดเป็นสังโยชน์ และจะแก้อย่างไรต่อไป
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
อีกส่วนหนึ่ง ใช้วิธีคิดให้รู้จักสภาพที่เป็นสามัญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขารทั้งปวง ก็คือของโลกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขันธโลก อายตนะโลก หรือว่าโลกธาตุภายนอกต่างๆ ก็คืออนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์ อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน กล่าวสรุปง่ายๆว่า ลักษณะที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดต้องดับ ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกับเวลาที่ตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ เวลาต้องเปลี่ยนไปทุกวินาที จะให้วินาทีนี้ตั้งอยู่ว่าอย่าเปลี่ยนไป ดั่งนี้หาได้ไม่ จะให้นาทีนี้ จะให้ชั่วโมงนี้ จะให้วันนี้ เป็นต้น ตั้งอยู่ ว่าวันนี้จงอยู่ที่นี่ อย่าเป็นพรุ่งนี้ ดั่งนี้หาได้ไม่ เวลาต้องเปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ แม้ว่าจะแบ่ง ย่อยให้ละเอียดไปกว่าวินาทีอีกสักเท่าไหร่ก็ตาม เวลาก็ไม่หยุด เปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ และเมื่อหยุดอยู่ไม่ได้ ต้อง เปลี่ยนไปอยู่ทุกขณะ
ดังนี้ ทุกๆสิ่งเกิดแล้วก็ต้องดับ และถ้าหากว่าจะแบ่งย่อยให้ละเอียดแล้วก็เกิดดับอยู่ทุกวินาที แบ่งเวลาให้ละเอียดอีกก็ยิ่งเกิดดับเร็วเข้าไปอีก แต่ว่ามองด้วยตาเนื้อไม่เห็นละเอียด เห็นได้แต่หยาบๆ แต่ว่าเมื่อมองด้วยตาปัญญาตามเหตุและผล จึงจะเห็นได้อย่างละเอียดถึงความเกิดดับที่เป็นไปพร้อมกับเวลา และเมื่อเป็นดั่งนี้ จึงเป็นสิ่งที่เรียกว่าไม่เที่ยง เพราะถ้าเที่ยงแล้วก็ไม่ต้องดับ เพราะเหตุที่ต้องดับจึงไม่เที่ยง และเพราะไม่เที่ยงจึง เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยน แปลงไป และเพราะไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจึงเป็นอนัตตาบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ ถ้าเป็นอัตตาก็จะบังคับกันได้ว่า ขอให้เป็นอย่างนี้ ขอให้อย่าเป็นอย่างนั้น แต่จะบังคับให้เป็นไปดังนั้นไม่ได้ นี้เป็นสภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะ ต้องหาวิธีคิดที่จะให้รู้จักสภาพธรรมดาที่เป็นเหตุผลเป็นไปกับสภาพธรรมดาที่เป็นสามัญลักษณะดั่งนี้ประกอบกัน
ใช้วิธีเทียบเคียง
ต่อจากนี้ก็ต้องหาวิธีคิดต่อไปอีกว่า ก็เมื่อสภาพธรรมดาเป็นดั่งนี้ จึงดูเหมือนว่าเป็นสักแต่ว่าตา สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่าการเห็นรูป สักแต่ว่าหู สักแต่ว่าเสียง สักแต่ว่าการได้ยินเสียง สักแต่ว่าจมูก สักแต่ว่ากลิ่น สักแต่ว่าการทราบกลิ่น สักแต่ว่าลิ้น สักแต่ว่ารส สักแต่ว่าการ รับรส สักแต่ว่ากาย สักแต่ว่าสิ่งที่กายถูกต้อง สักแต่ว่า การทราบสิ่งที่ถูกหรือการถูกต้องนั้น สักแต่ว่ามโนคือใจ สักแต่ว่าเรื่องที่ใจรู้ใจคิด สักแต่ว่าการรู้เรื่องที่ใจรู้ใจคิดนั้น ดูก็จะเป็นของสักแต่ว่าหรือมาตรว่าเท่านั้น
ก็คล้ายๆกับว่า อันรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมคือเรื่องราวที่ได้รู้เหล่านี้ สมมติเอาว่าสิ่งเหล่านี้อันใดที่ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ยินแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้รู้แล้วก็ดี ที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยทราบ ไม่เคยรู้แล้วก็ดี หรือที่มิได้เคยคิด มิได้คิดว่า เราจะพึงเห็น เราจะพึงได้ยิน เราจะพึงทราบ เราจะพึงรู้ ก็ดี
ถามตนเองว่า ฉันทะคือความพอใจก็ดี ราคะคือความ ติดใจยินดีก็ดี ความรักก็ดี จักพึงมีพึงเกิดขึ้นในรูปเสียงเป็นต้นเหล่านั้นหรือไม่ ก็จะตอบได้ว่าไม่เกิด คราวนี้ทำไม จึงเกิดในสิ่งเหล่านี้ที่ได้เห็น ได้ยินหรือได้ทราบ ได้รู้ ทำไมจึงไม่สักแต่ว่าเป็นการเห็น ไม่สักแต่ว่าเป็นการได้ยิน ไม่สักแต่ว่าเป็นการได้ทราบ ไม่สักแต่ว่าเป็นได้รู้
ต้องตั้งปัญหาถามตนเองว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็ต้องหาวิธีคิดตอบ และในการที่หาวิธีคิดตอบนั้น ก็ใช้วิธีีคิดเทียบเคียงได้ด้วยว่า อันความพอใจความติดใจยินดีความรัก หรืออีกด้านหนึ่ง ความไม่พอใจความกระทบกระทั่ง ความชังอันตรงกันข้าม หาได้บังเกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้ทราบ สิ่งที่ได้รู้ทางมโนคือใจไปทุกอย่างไม่ มีเป็นอันมากที่ไม่เกิด เป็น ต้นว่า ลมพัดมาทำให้บ้านเรือนของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้างพังทะลายก็ดี หรือน้ำท่วมมาท่วมบ้านเรือนเรือกสวนไร่นาเสียหายไปก็ดี ไฟเกิดขึ้นไหม้สิ่งต่างๆ ตลอดจนถึงไหม้บ้านไหม้เรือนไหม้สิ่งต่างๆ จะเป็นของตนหรือของ ผู้อื่นก็ดี ก็เห็นก็ได้ยิน น้ำ ไฟ ลมเหล่านี้ แต่โดยปกตินั้นก็ไม่เกิดรัก ไม่เกิดชังน้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ แม้ไฟจะมาไหม้บ้านของตนเองก็ไม่เกิดการโกรธแค้นชังไฟ น้ำจะพัด มาท่วมก็ไม่โกรธน้ำ ลมจะพัดอะไรพังก็ไม่โกรธลม ทำไมจึงไม่โกรธก็ต้องถามตัวเองว่า ทำไมจึงไม่โกรธสิ่งเหล่านี้ ก็เห็นเหมือนกัน ได้ยินเหมือนกัน ต้องหาคำตอบจากสิ่งเหล่านี้
ถ้าจะตอบตามพระพุทธภาษิตที่เป็นศาสนธรรม ก็เพราะไม่มีสังโยชน์ในสิ่งเหล่านี้จึงไม่เกิดชอบ ไม่เกิดชัง ถ้ามีสังโยชน์คือความผูกในสิ่งเหล่านี้ ก็เกิดความชอบความชัง ถ้าไม่เกิดสังโยชน์คือความผูกในไฟที่มาไหม้ ในน้ำที่มาท่วม ในลมที่มาพัดบ้านพังเรือน ก็ไม่มีความชอบความชังในน้ำ ไฟ ลม เหล่านี้ แต่ว่ามีสังโยชน์ขึ้นจึงเกิดความชอบหรือความชังขึ้น อันนี้เป็นคำตอบอันหนึ่งอาศัยศาสนธรรมข้อนี้ และก็มีวิธีคิดประกอบอีกว่ามีอะไรที่มาทำให้เกิดเป็นสังโยชน์ และจะแก้อย่างไรต่อไป
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)