xs
xsm
sm
md
lg

อโรคยาสถาน : ความคิดจินตนาการบำบัดโรค พุทธธรรมบำบัด ตอนที่ 16

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ปัจจุบันวิธีจินตนาการบำบัด ได้รับการนำมาใช้ทางการแพทย์อย่างกว้างขวางและได้ผลดีมาก ผู้ที่บุกเบิกงานทางด้านนี้ คือ นพ. โอ คาล ไซมอนตัน (O Carl Simonton) นักรังสีบำบัดโรคมะเร็ง และ สเตฟานี่ แมททิวส์ ไซมอนตัน (Stephanie Matthews Simonton) ภรรยาของเขาซึ่งเป็นนักจิต บำบัด ทั้งสองได้เริ่มทำงานทางด้านนี้ ในปีค.ศ. 1978 เขาริเริ่มใช้การ รักษาโดยจิน- ตนาการบำบัดและเทคนิคสร้างความผ่อนคลายร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันในผู้ป่วยมะเร็ง เขาอธิบายให้คนไข้เห็นถึงการทำงานของเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีพลังในการทำลายเซลล์มะเร็ง เซลล์มะเร็งไม่มี พลัง และอยู่กันอย่างไม่เป็นระเบียบระบบ หลังจากใช้เทคนิคให้เกิดความผ่อนคลายแก่ผู้ป่วยแล้ว เขาให้คนไข้ใช้จินตนาการว่า เม็ดเลือดขาวอันทรงพลังกำลังบุกเข้าโจมตีเซลล์มะเร็งและกัดกินเซลล์มะเร็ง เหมือนปลาฉลามเข้าโจมตีและกัดกินชิ้นเนื้อที่หย่อนลงไปในน้ำ
ไซมอนตัน ได้ทำงานวิจัยทางคลินิก โดยใช้เทคนิค นี้ในผู้ป่วยมะเร็ง 159 คน ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายและจะอยู่ได้เพียงปีเดียว เขาได้ดู แลในเรื่องอาหาร ให้ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย ใช้เทคนิคการจินตนาการทำลายเซลล์มะเร็ง ผลการวิจัยพบว่า คนไข้ของเขา 63 ราย สามารถอยู่ต่อมาได้ ถึง 2 ปีมากกว่าที่คาดไว้ 1 ปี ในจำนวนนี้ ร้อยละ 22.2 ไม่พบร่องรอยของมะเร็ง ร้อยละ 19.1 พบว่ามะเร็งมีขนาดเล็กลง ร้อยละ 27.1 มะเร็งยังคงเหมือนเดิม
เขากล่าวว่า วิธีการของเขาช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น เมื่อคนไข้ผ่อนคลาย ฮอร์โมนที่เกิดจากความ เครียดลดลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ไปกดภูมิคุ้มกันของร่างกายเอาไว้ ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ ทำหน้าที่ได้ลดลง เขาพบว่าโดยวิธีการของเขาช่วยให้คนไข้มีอายุยืนยาวขึ้นได้มากกว่าเดิม คุณภาพชีวิตดีขึ้น คนไข้มีความเครียดและความกังวลน้อยลง ซึ่งเรื่องนี้ศาส- ตราจารย์คีโคลท์- เกลเซอร์และคณะ (Kiecolt-Glaser, et al) ได้ทำวิจัยต่อมาในปี 1985 พบว่าการใช้เทคนิคความผ่อนคลายและจินตนา-การบำบัด ทำให้ภูมิต้านทานดีขึ้นทางเม็ดเลือดขาวชนิดที-เซลล์ และเสริมการทำงานของเซลล์ชนิด Natural killer cell โดยศึกษาในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นมะเร็ง
ไซมอนตัน เขียนเล่าถึงแนวคิดและวิธีการของเขาในหนังสือชื่อ Getting Well Again อย่างไรก็ตามวิธีการของเขายังมีการโต้แย้งในหมู่นักวิจัยถึงวิธีการวิจัยและผลการรักษาของเขา ปัจจุบันนี้เขาได้ตั้งสถาบันวิจัยเพื่อบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งโปรแกรมของเขาเป็นที่ดึงดูดผู้ป่วยและผู้ที่ทำงานทางด้านมะเร็งบำบัดให้เข้ามาอบรมอย่างมากมาย สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ใน www.simontoncenter.com
งานของ ดร. จีนนี่ แอชเทอร์เบอร์ก (Jeane Achterberg) นักจิตวิทยา ซึ่งเคยร่วมงานกับไซ- มอนตันมาก่อน ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า การทำจินตนาการบำบัดมีผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆ เช่น นิวโตรฟิล และที-ลิมโฟไซต์ นอกจากนั้นเธอยังได้สร้างมาตรฐานสำหรับตรวจสอบผลลัพธ์ของการใช้จินตนาการบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง และเขียนหนังสือ ชื่อ Imagery in Healing ในปี 1985
ในแง่ของการบำบัดโรคมะเร็ง การทำจินตนาการบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วอคเกอร์และคณะ (Walker et al) ได้ศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่เป็นมากแล้ว 96 ราย ซึ่งวินิจฉัยได้ใหม่ๆ โดยกลุ่มหนึ่งให้การรักษาตามแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน อีกกลุ่มหนึ่งรักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการฝึกความผ่อนคลายและจินตนาการบำบัด ติด ตามผู้ป่วยไป 18 เดือน พบว่าในกลุ่มที่มีการฝึกความ ผ่อนคลายและจินตนาการบำบัด ผู้ป่วยจะมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ลดความเก็บกดทางอารมณ์ได้ดีกว่าในระหว่างการให้เคมีบำบัด นอกจากนั้นการทำจินตนา-การบำบัดยังช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนลงในผู้ป่วย มะเร็งในระหว่างให้เคมีบำบัด และลดความเครียดลงได้
จินตนาการบำบัดยังได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอาการปวด เรื้อรัง งานวิจัยพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนไขกระดูก กลุ่มที่มีการทำจินตนาการบำบัดจะมีอาการปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทำจินตนาการบำบัด
ในสหรัฐอเมริกาในทุกๆ ปี จะมีการผ่าตัด 40 ล้านครั้ง ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดมักจะประสบกับอาการ เครียด เจ็บปวดจากการผ่าตัด มีอัตราการตายและทุพพลภาพเสมอ มีการทำวิจัยในผู้ป่วย 130 รายที่เข้ารับการผ่าตัดทางช่องท้อง ด้วยโรคลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กลุ่มหนึ่งให้ฟังเทปจินตนาการบำบัดเช้าและเย็น 3 วัน ก่อนผ่าตัด และ 6 วันหลังจากนั้น ในระหว่างก่อนดมยาสลบ ระหว่างผ่าตัดหรือหลังผ่าตัดใหม่ ในห้องพักฟื้นให้ฟังเพลงอย่างเดียว อีกกลุ่มหนึ่งให้ผ่าตัดตามปกติ พบว่ากลุ่มที่มีการทำจินตนา-การบำบัด อาการปวดลดลง ความกังวลใจน้อยลง การฟื้นตัวเร็วขึ้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
กำลังโหลดความคิดเห็น