คนเราจะอยู่โดยไม่มีที่พึ่งทางใจนั้นไม่ได้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัส เตือนว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงมีที่พึ่งธรรมะทางใจ” ผู้มีํธรรมะเป็นที่พึ่งทางใจเรียกว่าพึ่งตัวเอง ถ้าไม่มีหลักธรรมะเป็นหลักที่พึ่งทางใจแล้วพึ่งตัวเองไม่ได้ เราจะต้องอบรมเด็กให้รู้จักสิ่งนี้ เพื่อต่อไป ข้างหน้าจะได้มีเกราะป้องกันตัว ไม่ถูกอารมณ์มันทิ่มตำจนเสียผู้เสียคน เด็กที่ไม่มีเกราะป้องกันตัวมันก็เสียหาย เจริญเติบโตขึ้นในสภาพที่ไม่เหมาะไม่ควร และถ้าเป็นเช่นนั้นมากๆ บ้านเมืองก็จะล่มจม
ความรู้สึกนึกคิดในทางที่เป็นสัมมาทิฎฐิ เราต้องให้แก่เด็กวันละน้อยๆ ค่อยให้เรื่อยๆไป ในทุกโอกาสที่เราสามารถจะให้เขาได้ จนกระทั่งว่ามั่นคงในจิตใจของเด็ก พ่อแม่ต้องทำหน้าที่นี้อย่างสำคัญที่สุด ถ้าหวังความเจริญแก่ครอบครัวของเราแล้ว ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องอย่างนี้
ถ้าเราเป็นคนที่มีสมาชิกในครอบครัวมากๆ เช่น เรามีพี่น้องหลายคน พี่น้องทุกคนก็มีลูกด้วยกันทั้งนั้นแหละ ก็ต้องให้มาพบปะกันบ้าง มาร่วมสนทนากัน มา กินอาหารร่วมกัน พาไปเที่ยวร่วมกัน เป็น การฝึกหัดเข้าสมาคม แล้วมีผู้ใหญ่คอยเป็นพี่เลี้ยง คอยแนะแนวทาง เตือนจิตสะกิดใจ เล่าเรื่องเก่าๆ ให้ลูกหลานฟัง
เล่าให้เขาฟังว่าตระกูลของเราเป็นมาอย่างไร ต้นตระกูลมาจากไหน ดำเนินชีวิต อย่างไร จนกระทั่งมีฐานะ เราได้นั่งรถกันอย่างสบาย มีบ้านเรือนอยู่ มีเกียรติ มีชื่อเสียง นี้มันเป็นสบัติของใคร เด็กมันไม่รู้ มันอยู่ในตึกหลังใหญ่กินสบายนอนสบาย ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นใครสร้างไว้ ใครทำไว้ให้ รูปของใครติดอยู่ข้างฝาก็ไม่รู้ ที่โต๊ะบูชามีรูป เห็นคุณแม่จุดธูปบูชาทุกวันๆ มันก็ไม่รู้ว่าไหว้ใคร ไหว้ทำไม
เราต้องเรียกเด็กมาอธิบายว่าเหล่านี้รูปของใคร แต่ละคนมีอะไรเป็นสัญลักษณ์ มีความดีเด่นในเรี่องใด คนนั้นเก่งในเรื่อง อะไร คนนี้เก่งในเรื่องอะไร ที่เขาตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักเป็นฐานก็มีดีทั้งนั้นแหละ เราก็เอามาเล่าให้เด็กฟัง ให้เห็นว่าท่านเป็น บรรพบุรุษของเรา แล้วเป็นบรรพบุรุษที่ดี ที่งาม เป็นคนสร้างเนื้อสร้างตัวไว้เป็นหลัก เป็นฐาน ที่เราได้กินได้อยู่นี่ เป็นฝีไม้ลายมือ ของท่านทั้งนั้น
เด็กๆ มันก็จะเกิดรักมโนภาพนั้น รักคุณค่าที่อยู่เบื้องหลังนั้น เห็นภาพแล้วต้องให้เห็นด้วยว่าข้างหลังภาพนั้นมีอะไร ที่ควรจะกราบ ที่ควรจะนึกถึง มีความดีความงามอย่างไร ควรจะเอามาใช้เป็นหลัก ในชีวิตประจำวันอย่างไร
พูดให้เข้าใจว่าควรเดินตามทางที่ผู้ใหญ่ เดินแล้ว ผู้ใหญ่คือบรรพบุรุษของเราเดิน ทางใด ก็เดินมาทางนั้นเถอะจะเจริญก้าว หน้า แต่ใครไม่เดินตามทางที่ผู้ใหญ่เดิน แต่ว่าชอบเดินออกนอกทาง คล้ายกับคนขับรถซึ่งไม่ไปตามเลน แต่ชอบขับลงไปใน คู แล้วมันจะไปถึงปลายทางได้อย่างไร
เดือนเมษายนนี่ญาติโยมที่มีบรรพ-บุรุษชาวจีนก็ต้องไปเช็งเม้งแล้ว ศพที่ไป ฝังไว้ตามป่าช้าต่างๆ นั้นแหละคือบทเรียนที่ลูกหลานจะได้รับในการไปเช็งเม้ง ถ้าเรา ไปถึง ไปจุดธูปจุดเทียน จุดประทัดบ้าง เผากระดาษเงินกระดาษทอง แล้วก็กินอะไรไปตามเรื่องตามราว มันก็เท่านั้น มันได้ประโยชน์แค่ทางกาย แต่ว่าไม่ได้ประโยชน์ทางจิตวิญญาณ
อันนี้หัวหน้าครอบครัวที่ไปนั่งชุมนุมกันที่สุสาน ก็ต้องพูดกันถึงเรื่องเก่าๆ ที่เป็นมา ให้เด็กรู้ว่า ที่นอนอยู่นี้น่ะคือใครมีคุณสมบัติอย่างไร ท่านสอนพวกเราไว้อย่างไรที่จะต้องทำตามต่อไป แล้วเราทุกคนนี่มาจากต้นตอนี้ จากต้นเดียวกันแตกกิ่งแตกก้านออกไป เหมือนกับไม้ยางต้นใหญ่ แล้วดอกมันหล่น จนเป็นป่ายางขึ้นมา ต้นสักต้นใหญ่กลายเป็นป่าสักขึ้น มา มันมาจากที่เดิมก็ให้รู้จักต้นเดิม แล้วควรจะเคารพบูชาต้นเดิมไว้
เคารพบูชานั้นควรเคารพอะไร เคารพคุณงามความดีของท่านผู้นั้น แล้วเอาคุณงามความดีของท่านผู้นั้นมาบรรจุไว้ในใจของเรา ให้ท่านมาอยู่กับเรา ที่ให้มาอยู่กับเรานั้นคือวิญญาณ แต่ไม่ใช่วิญญาณ ที่เขาเชิญมาทรงแล้วถามเรื่องเลอะเทอะที่เชิญวิญญาณตามสำนักต่างๆ นั้นมันไม่เต็มบาททั้งนั้นแหละ
วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงว่า คุณงามความดี เป็นสิ่งที่เราเชิญเข้ามา วิญญาณที่แท้คือคุณธรรมของบรรพบุรุษที่เราจะต้องเชิญมาใส่ไว้ในตัวของลูกหลานเหลนต่อไป เชิญเข้ามาไว้ในใจ ให้ลูกหลานทุกคนตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าฮวงซุ้ย ว่าเราทุกคนเป็นลูกหลานของคนชื่อนั้น เราจะปฏิญาณตนว่า จะเดินตามทางที่บรรพ-บุรุษเราเดิน เราจะเป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของตระกูล ไม่ประพฤติอะไรที่เป็นความเสื่อมเสียสู่วงศ์ตระกูลเป็นอันขาด ปีหนึ่งก็ไปย้ำกันที่หนึ่ง ย้ำกันอย่างนี้
ส่วนคนไทยเราไม่ได้มีฮวงซุ้ย แต่มีกระดูกใส่โกศน้อยๆ ไว้ที่บ้าน พอเดือนห้า ก็เอากระดูกมาสรงน้ำกันเสียหน่อย แต่บางทีก็เอาเหล้าไปสรงกันเสียด้วย คือว่า กินเหล้าเมา ญาติกับญาติเจอกันเลยเมากันใหญ่ อย่างนี้มันก็ไม่ได้เรื่องอะไร
ในวันที่เราทำบุญให้บรรพบุรุษ วันบุญวันกุศลนี้ ไอ้เรื่องเมาเหล้าเมายาเลิกเสียเถอะ ตัดเสียเถอะ อย่าให้มันมาปนกันเลย มาระลึกถึงบรรพบุรุษเสียบ้าง พูดคุยกันอย่างมีสาระ เป็นแก่นเป็นสาร เปิดโกศขึ้นมาแล้วก็ชี้ให้เด็กดูว่า นี่กระดูกคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย เอามาไว้บูชาสักการะ ไม่ใช่สักการะกระดูกนะ แต่ว่ากระดูกนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้เรานึกถึงคุณงามความดีของท่าน ให้ลูกหลานได้สำนึกในคุณงามความดี แล้วจะได้ชวนเขาให้กระทำความ ดีกัน อันนี้ก็เป็นการผูกจิตใจให้อยู่กับความรักของวงศ์ตระกูลของครอบครัว
ความรักของประเทศมันตั้งต้นตรงนี้แหละ ถ้าเราไม่มีความรักต่อครอบครัวแล้ว จะไปรักชาติรักประเทศได้อย่างไร จะไปรักพระศาสนาได้อย่างไร ความรักของครอบครัว ก็คือความรักของพี่น้อง ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่แก่งแย่งกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เสียสละให้แก่กัน อยู่กัน อย่างพี่น้อง นี่แหละคือความมั่นคงในชาติ
ความมั่นคงของชาติก็คือความมั่นคงของครอบครัว ความมั่นคงของครอบครัวก็คือความมั่นคงของจิตใจ เรามีธรรมะเป็นพื้นฐานที่มั่นต่อกันเป็นสายไป ตัวเรามั่น คง ครอบครัวมั่นคง ทุกครอบครัวมั่นคง ประเทศก็มั่นคง อะไรๆ ก็อยู่ได้
แต่ถ้าเราไม่มีความมั่นคงในเรื่องจิตใจในเรื่องธรรมะ เราก็ไม่มีความมั่นคงในทางนี้แล้วครอบครัวก็ไปไม่รอด ชาติประเทศก็ไปไม่รอด เสียหายหมด นี่มันเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะฉะนั้นเราควรจะได้สร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็กตั้งแต่ตัวน้อยๆ
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
ความรู้สึกนึกคิดในทางที่เป็นสัมมาทิฎฐิ เราต้องให้แก่เด็กวันละน้อยๆ ค่อยให้เรื่อยๆไป ในทุกโอกาสที่เราสามารถจะให้เขาได้ จนกระทั่งว่ามั่นคงในจิตใจของเด็ก พ่อแม่ต้องทำหน้าที่นี้อย่างสำคัญที่สุด ถ้าหวังความเจริญแก่ครอบครัวของเราแล้ว ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องอย่างนี้
ถ้าเราเป็นคนที่มีสมาชิกในครอบครัวมากๆ เช่น เรามีพี่น้องหลายคน พี่น้องทุกคนก็มีลูกด้วยกันทั้งนั้นแหละ ก็ต้องให้มาพบปะกันบ้าง มาร่วมสนทนากัน มา กินอาหารร่วมกัน พาไปเที่ยวร่วมกัน เป็น การฝึกหัดเข้าสมาคม แล้วมีผู้ใหญ่คอยเป็นพี่เลี้ยง คอยแนะแนวทาง เตือนจิตสะกิดใจ เล่าเรื่องเก่าๆ ให้ลูกหลานฟัง
เล่าให้เขาฟังว่าตระกูลของเราเป็นมาอย่างไร ต้นตระกูลมาจากไหน ดำเนินชีวิต อย่างไร จนกระทั่งมีฐานะ เราได้นั่งรถกันอย่างสบาย มีบ้านเรือนอยู่ มีเกียรติ มีชื่อเสียง นี้มันเป็นสบัติของใคร เด็กมันไม่รู้ มันอยู่ในตึกหลังใหญ่กินสบายนอนสบาย ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นใครสร้างไว้ ใครทำไว้ให้ รูปของใครติดอยู่ข้างฝาก็ไม่รู้ ที่โต๊ะบูชามีรูป เห็นคุณแม่จุดธูปบูชาทุกวันๆ มันก็ไม่รู้ว่าไหว้ใคร ไหว้ทำไม
เราต้องเรียกเด็กมาอธิบายว่าเหล่านี้รูปของใคร แต่ละคนมีอะไรเป็นสัญลักษณ์ มีความดีเด่นในเรี่องใด คนนั้นเก่งในเรื่อง อะไร คนนี้เก่งในเรื่องอะไร ที่เขาตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักเป็นฐานก็มีดีทั้งนั้นแหละ เราก็เอามาเล่าให้เด็กฟัง ให้เห็นว่าท่านเป็น บรรพบุรุษของเรา แล้วเป็นบรรพบุรุษที่ดี ที่งาม เป็นคนสร้างเนื้อสร้างตัวไว้เป็นหลัก เป็นฐาน ที่เราได้กินได้อยู่นี่ เป็นฝีไม้ลายมือ ของท่านทั้งนั้น
เด็กๆ มันก็จะเกิดรักมโนภาพนั้น รักคุณค่าที่อยู่เบื้องหลังนั้น เห็นภาพแล้วต้องให้เห็นด้วยว่าข้างหลังภาพนั้นมีอะไร ที่ควรจะกราบ ที่ควรจะนึกถึง มีความดีความงามอย่างไร ควรจะเอามาใช้เป็นหลัก ในชีวิตประจำวันอย่างไร
พูดให้เข้าใจว่าควรเดินตามทางที่ผู้ใหญ่ เดินแล้ว ผู้ใหญ่คือบรรพบุรุษของเราเดิน ทางใด ก็เดินมาทางนั้นเถอะจะเจริญก้าว หน้า แต่ใครไม่เดินตามทางที่ผู้ใหญ่เดิน แต่ว่าชอบเดินออกนอกทาง คล้ายกับคนขับรถซึ่งไม่ไปตามเลน แต่ชอบขับลงไปใน คู แล้วมันจะไปถึงปลายทางได้อย่างไร
เดือนเมษายนนี่ญาติโยมที่มีบรรพ-บุรุษชาวจีนก็ต้องไปเช็งเม้งแล้ว ศพที่ไป ฝังไว้ตามป่าช้าต่างๆ นั้นแหละคือบทเรียนที่ลูกหลานจะได้รับในการไปเช็งเม้ง ถ้าเรา ไปถึง ไปจุดธูปจุดเทียน จุดประทัดบ้าง เผากระดาษเงินกระดาษทอง แล้วก็กินอะไรไปตามเรื่องตามราว มันก็เท่านั้น มันได้ประโยชน์แค่ทางกาย แต่ว่าไม่ได้ประโยชน์ทางจิตวิญญาณ
อันนี้หัวหน้าครอบครัวที่ไปนั่งชุมนุมกันที่สุสาน ก็ต้องพูดกันถึงเรื่องเก่าๆ ที่เป็นมา ให้เด็กรู้ว่า ที่นอนอยู่นี้น่ะคือใครมีคุณสมบัติอย่างไร ท่านสอนพวกเราไว้อย่างไรที่จะต้องทำตามต่อไป แล้วเราทุกคนนี่มาจากต้นตอนี้ จากต้นเดียวกันแตกกิ่งแตกก้านออกไป เหมือนกับไม้ยางต้นใหญ่ แล้วดอกมันหล่น จนเป็นป่ายางขึ้นมา ต้นสักต้นใหญ่กลายเป็นป่าสักขึ้น มา มันมาจากที่เดิมก็ให้รู้จักต้นเดิม แล้วควรจะเคารพบูชาต้นเดิมไว้
เคารพบูชานั้นควรเคารพอะไร เคารพคุณงามความดีของท่านผู้นั้น แล้วเอาคุณงามความดีของท่านผู้นั้นมาบรรจุไว้ในใจของเรา ให้ท่านมาอยู่กับเรา ที่ให้มาอยู่กับเรานั้นคือวิญญาณ แต่ไม่ใช่วิญญาณ ที่เขาเชิญมาทรงแล้วถามเรื่องเลอะเทอะที่เชิญวิญญาณตามสำนักต่างๆ นั้นมันไม่เต็มบาททั้งนั้นแหละ
วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงว่า คุณงามความดี เป็นสิ่งที่เราเชิญเข้ามา วิญญาณที่แท้คือคุณธรรมของบรรพบุรุษที่เราจะต้องเชิญมาใส่ไว้ในตัวของลูกหลานเหลนต่อไป เชิญเข้ามาไว้ในใจ ให้ลูกหลานทุกคนตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าฮวงซุ้ย ว่าเราทุกคนเป็นลูกหลานของคนชื่อนั้น เราจะปฏิญาณตนว่า จะเดินตามทางที่บรรพ-บุรุษเราเดิน เราจะเป็นคนดีของครอบครัว เป็นคนดีของตระกูล ไม่ประพฤติอะไรที่เป็นความเสื่อมเสียสู่วงศ์ตระกูลเป็นอันขาด ปีหนึ่งก็ไปย้ำกันที่หนึ่ง ย้ำกันอย่างนี้
ส่วนคนไทยเราไม่ได้มีฮวงซุ้ย แต่มีกระดูกใส่โกศน้อยๆ ไว้ที่บ้าน พอเดือนห้า ก็เอากระดูกมาสรงน้ำกันเสียหน่อย แต่บางทีก็เอาเหล้าไปสรงกันเสียด้วย คือว่า กินเหล้าเมา ญาติกับญาติเจอกันเลยเมากันใหญ่ อย่างนี้มันก็ไม่ได้เรื่องอะไร
ในวันที่เราทำบุญให้บรรพบุรุษ วันบุญวันกุศลนี้ ไอ้เรื่องเมาเหล้าเมายาเลิกเสียเถอะ ตัดเสียเถอะ อย่าให้มันมาปนกันเลย มาระลึกถึงบรรพบุรุษเสียบ้าง พูดคุยกันอย่างมีสาระ เป็นแก่นเป็นสาร เปิดโกศขึ้นมาแล้วก็ชี้ให้เด็กดูว่า นี่กระดูกคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย เอามาไว้บูชาสักการะ ไม่ใช่สักการะกระดูกนะ แต่ว่ากระดูกนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้เรานึกถึงคุณงามความดีของท่าน ให้ลูกหลานได้สำนึกในคุณงามความดี แล้วจะได้ชวนเขาให้กระทำความ ดีกัน อันนี้ก็เป็นการผูกจิตใจให้อยู่กับความรักของวงศ์ตระกูลของครอบครัว
ความรักของประเทศมันตั้งต้นตรงนี้แหละ ถ้าเราไม่มีความรักต่อครอบครัวแล้ว จะไปรักชาติรักประเทศได้อย่างไร จะไปรักพระศาสนาได้อย่างไร ความรักของครอบครัว ก็คือความรักของพี่น้อง ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่แก่งแย่งกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เสียสละให้แก่กัน อยู่กัน อย่างพี่น้อง นี่แหละคือความมั่นคงในชาติ
ความมั่นคงของชาติก็คือความมั่นคงของครอบครัว ความมั่นคงของครอบครัวก็คือความมั่นคงของจิตใจ เรามีธรรมะเป็นพื้นฐานที่มั่นต่อกันเป็นสายไป ตัวเรามั่น คง ครอบครัวมั่นคง ทุกครอบครัวมั่นคง ประเทศก็มั่นคง อะไรๆ ก็อยู่ได้
แต่ถ้าเราไม่มีความมั่นคงในเรื่องจิตใจในเรื่องธรรมะ เราก็ไม่มีความมั่นคงในทางนี้แล้วครอบครัวก็ไปไม่รอด ชาติประเทศก็ไปไม่รอด เสียหายหมด นี่มันเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะฉะนั้นเราควรจะได้สร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็กตั้งแต่ตัวน้อยๆ
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๐)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 เม.ย. 52 โดยพระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)