ปุจฉา
วิธีปฏิบัติตนเมื่อห่างไกลครู
กราบนมัสการองค์หลวงปู่ที่เคารพรัก ตั้งใจที่จะเป็นฆราวาส ผู้ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ฝึกจิต ให้ สะอาด สว่าง สงบ ในขณะที่ ต้องทำงานอยู่ในปัจจุบันท่ามกลางสิ่งแวดล้อม อันแตกต่างที่ฉุดดึงออกไปให้ห่างครู เนื่องจากยังไม่เข้มแข็งพอ และจะมีวิธีใดบ้างที่จะน้อมนำให้สามารถปฏิบัติได้ดีเหมือนตอนที่อยู่ใกล้ครู
วิสัชนา
เป็นธรรมชาติของจิตแหละคุณ จิตนี้เหมือนกระแสน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ จิตนี้เหมือนน้ำมันบรรจุลงใน หม้อดิน บุคคลผู้นำพาหม้อดินที่มีน้ำมันบรรจุอยู่เต็มย่อมต้องพยายามประคับประคองมิให้น้ำมันในหม้อกระฉอกกระเพื่อมหกฉันใด การฝึกจิตนี้จะต้องพยายามประคับประคอง มิให้กระฉอกกระเพื่อมไปตามขบวนการหลอกล่อ ทั้งภายในภายนอก ฉันนั้น
คุณต้องหาทางสร้างแรงจูงใจสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะฝึกหัดดัดจิตนี้ให้ซื่อตรง มีสติระลึกได้อยู่เสมอ ต้องค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ทำบ่อยๆ ทำแบบเต็มใจทำ อย่าทำแบบจำใจ
เพราะอย่างนี้แหละบรรดาพระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 คือ ทานบารมี ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจอธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องพยุงจิตให้กล้าแข็งต่อการฝึกหัด ค่อยๆบำเพ็ญบารมีไปสักวันหนึ่งชัยชนะจะเป็นของคุณ
ปุจฉา
สติ อนุสติ กับ มหาสติ
สติ อนุสติ (เช่น พุทธานุสติ มรณานุสติ) มหาสติ แตกต่างกันอย่างไร ? จะใช้สติที่แตกต่าง กันเหล่านี้ มากำกับจิตที่แตกต่าง กันหรือไม่? การมีสติมากำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ คือสติตัวไหน? ทำได้อย่างไร ?
วิสัชนา
สติ คือ ความระลึกได้ อนุสติ คือ อารมณ์ที่ควรระลึกถึง เหตุปัจจัยที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ ตลอดเวลามี 10 อย่าง พุทธานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ธรรมานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรมสังฆานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ สีลานุสติ คือ ระลึกถึงศีล จาคานุสติ คือ ระลึกถึงประโยชน์ในการบริจาคทาน เทวตานุสติ คือ ระลึกถึง คุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา มรณานุสติ คือ ระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน และคนอื่นสัตว์อื่น กายคตาสติ คือ ระลึกถึงความจริงแท้มีอยู่ในกายนี้ อานาปานัสติ คือ ระลึกถึงลมหายใจที่เข้าและออก อุปสมานุสติ คือ ระลึกถึงธรรมที่เป็นเหตุทำให้กิเลสระงับ
ส่วน มหาสติ คือ สติที่กำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ มีสติรู้สภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ให้เกิดสติรับรู้ทุกขณะลมหายใจ เข้าออก ทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกปรือ อบรม บ่มเพาะ อย่างจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ และจับจ้อง
ปุจฉา
นั่งภาวนาแล้วง่วงนอน
ทำอย่างไรจะชนะความ ขี้เกียจได้ตลอดไป และทำอย่างไรจะชนะความโกรธได้ตลอดกาล ดิฉันชอบนอนมากๆ ทำอย่างไรถึงจะแก้ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการภาวนามาก นั่งภาวนาไม่คอยปวดเมื่อยแต่ง่วงนอนอย่างเดียว และไม่ชอบเดินจงกรมด้วย เมตตาตอบด้วยเจ้าค่ะ
วิสัชนา
ขอตอบว่า เจริญสติ ฝึกสติ ทำให้เกิดสติทุกลมหายใจ รายละเอียดในการฝึกสติ ขอให้ หาอ่านดูในหนังสือ 'วิถีแห่งพุทธะ' เพราะถ้าจะตอบตรงนี้คงจะใช้เวลามากพอสมควร
สำหรับคำถามที่ว่า ภาวนาทีไรง่วงนอนทุกที แสดงว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่ได้ภาวนา ถ้าภาวนาอยู่จักไม่ง่วง ที่ง่วงเพราะไม่ได้ภาวนา เหตุที่ไม่รู้ว่า ภาวนาหรือไม่ เพราะคุณขาดสติ
อยากจะแนะนำคุณว่า ถ้านั่งอยู่แล้วมันง่วงก็ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ยืนก็มีสติรับรู้ รูปยืน กิริยาที่ยืน สำรวจตรวจดูว่าคุณยืนตรงหรือไม่ ยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า
ถ้ารับรู้ได้ว่า คุณยืน ด้วยอาการลักษณะเช่นไร นั่นแหละคือตัวสติแล้วล่ะ คุณจักหายง่วงเอง
ปุจฉา
แสงมาจากไหน
บางครั้งหลังจากสวดมนต์แล้ว ดิฉันก็ลองนั่งสมาธิเพื่อสำรวจใจตนเอง และเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ในการนั่งสงบจิตสงบใจนี้ บางครั้งรู้สึกว่าสว่างไสว มาก ไม่ทราบว่าแสงมาจากไหน ในครั้งต่อไป ถ้าเห็นแสงสว่างนี้อีก ดิฉันควรที่จะกำหนดจิตอย่างไรหรือไม่ หรือควรปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง?
วิสัชนา
แสง มาจากจิตที่สงบ ไม่ควรใส่ใจ เพราะแสงนั้นเป็นเพียงแค่มายาการแห่งจิตที่สงบชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น คุณควรจะรับรู้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสงบอันนั้นต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน และจริงจัง โดยไม่สนใจต่อเหตุปัจจัยอื่นใดทั้งหมด
วิธีปฏิบัติตนเมื่อห่างไกลครู
กราบนมัสการองค์หลวงปู่ที่เคารพรัก ตั้งใจที่จะเป็นฆราวาส ผู้ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ฝึกจิต ให้ สะอาด สว่าง สงบ ในขณะที่ ต้องทำงานอยู่ในปัจจุบันท่ามกลางสิ่งแวดล้อม อันแตกต่างที่ฉุดดึงออกไปให้ห่างครู เนื่องจากยังไม่เข้มแข็งพอ และจะมีวิธีใดบ้างที่จะน้อมนำให้สามารถปฏิบัติได้ดีเหมือนตอนที่อยู่ใกล้ครู
วิสัชนา
เป็นธรรมชาติของจิตแหละคุณ จิตนี้เหมือนกระแสน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ จิตนี้เหมือนน้ำมันบรรจุลงใน หม้อดิน บุคคลผู้นำพาหม้อดินที่มีน้ำมันบรรจุอยู่เต็มย่อมต้องพยายามประคับประคองมิให้น้ำมันในหม้อกระฉอกกระเพื่อมหกฉันใด การฝึกจิตนี้จะต้องพยายามประคับประคอง มิให้กระฉอกกระเพื่อมไปตามขบวนการหลอกล่อ ทั้งภายในภายนอก ฉันนั้น
คุณต้องหาทางสร้างแรงจูงใจสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะฝึกหัดดัดจิตนี้ให้ซื่อตรง มีสติระลึกได้อยู่เสมอ ต้องค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ทำบ่อยๆ ทำแบบเต็มใจทำ อย่าทำแบบจำใจ
เพราะอย่างนี้แหละบรรดาพระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 คือ ทานบารมี ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจอธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องพยุงจิตให้กล้าแข็งต่อการฝึกหัด ค่อยๆบำเพ็ญบารมีไปสักวันหนึ่งชัยชนะจะเป็นของคุณ
ปุจฉา
สติ อนุสติ กับ มหาสติ
สติ อนุสติ (เช่น พุทธานุสติ มรณานุสติ) มหาสติ แตกต่างกันอย่างไร ? จะใช้สติที่แตกต่าง กันเหล่านี้ มากำกับจิตที่แตกต่าง กันหรือไม่? การมีสติมากำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ คือสติตัวไหน? ทำได้อย่างไร ?
วิสัชนา
สติ คือ ความระลึกได้ อนุสติ คือ อารมณ์ที่ควรระลึกถึง เหตุปัจจัยที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ ตลอดเวลามี 10 อย่าง พุทธานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ธรรมานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระธรรมสังฆานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ สีลานุสติ คือ ระลึกถึงศีล จาคานุสติ คือ ระลึกถึงประโยชน์ในการบริจาคทาน เทวตานุสติ คือ ระลึกถึง คุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา มรณานุสติ คือ ระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน และคนอื่นสัตว์อื่น กายคตาสติ คือ ระลึกถึงความจริงแท้มีอยู่ในกายนี้ อานาปานัสติ คือ ระลึกถึงลมหายใจที่เข้าและออก อุปสมานุสติ คือ ระลึกถึงธรรมที่เป็นเหตุทำให้กิเลสระงับ
ส่วน มหาสติ คือ สติที่กำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ มีสติรู้สภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ให้เกิดสติรับรู้ทุกขณะลมหายใจ เข้าออก ทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกปรือ อบรม บ่มเพาะ อย่างจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ และจับจ้อง
ปุจฉา
นั่งภาวนาแล้วง่วงนอน
ทำอย่างไรจะชนะความ ขี้เกียจได้ตลอดไป และทำอย่างไรจะชนะความโกรธได้ตลอดกาล ดิฉันชอบนอนมากๆ ทำอย่างไรถึงจะแก้ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการภาวนามาก นั่งภาวนาไม่คอยปวดเมื่อยแต่ง่วงนอนอย่างเดียว และไม่ชอบเดินจงกรมด้วย เมตตาตอบด้วยเจ้าค่ะ
วิสัชนา
ขอตอบว่า เจริญสติ ฝึกสติ ทำให้เกิดสติทุกลมหายใจ รายละเอียดในการฝึกสติ ขอให้ หาอ่านดูในหนังสือ 'วิถีแห่งพุทธะ' เพราะถ้าจะตอบตรงนี้คงจะใช้เวลามากพอสมควร
สำหรับคำถามที่ว่า ภาวนาทีไรง่วงนอนทุกที แสดงว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่ได้ภาวนา ถ้าภาวนาอยู่จักไม่ง่วง ที่ง่วงเพราะไม่ได้ภาวนา เหตุที่ไม่รู้ว่า ภาวนาหรือไม่ เพราะคุณขาดสติ
อยากจะแนะนำคุณว่า ถ้านั่งอยู่แล้วมันง่วงก็ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ยืนก็มีสติรับรู้ รูปยืน กิริยาที่ยืน สำรวจตรวจดูว่าคุณยืนตรงหรือไม่ ยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า
ถ้ารับรู้ได้ว่า คุณยืน ด้วยอาการลักษณะเช่นไร นั่นแหละคือตัวสติแล้วล่ะ คุณจักหายง่วงเอง
ปุจฉา
แสงมาจากไหน
บางครั้งหลังจากสวดมนต์แล้ว ดิฉันก็ลองนั่งสมาธิเพื่อสำรวจใจตนเอง และเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ในการนั่งสงบจิตสงบใจนี้ บางครั้งรู้สึกว่าสว่างไสว มาก ไม่ทราบว่าแสงมาจากไหน ในครั้งต่อไป ถ้าเห็นแสงสว่างนี้อีก ดิฉันควรที่จะกำหนดจิตอย่างไรหรือไม่ หรือควรปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง?
วิสัชนา
แสง มาจากจิตที่สงบ ไม่ควรใส่ใจ เพราะแสงนั้นเป็นเพียงแค่มายาการแห่งจิตที่สงบชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น คุณควรจะรับรู้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสงบอันนั้นต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน และจริงจัง โดยไม่สนใจต่อเหตุปัจจัยอื่นใดทั้งหมด