เรื่องที่ 68 วิธีรวย
ในภาวะเศรษฐกิจฝืด จนมีโอกาสได้รู้จักคำว่า การต้องประหยัดนั้น แท้จริงเขาทำกันอย่างไร มีผู้ห่วงใย และปรารถนาดีต่อสังคม ส่งข้อคิดบทความมาให้มากมาย บทความหนึ่งที่เป็น เสมือนมนต์และคาถา เขียนโดย คุณชิริน วิเศษภักดี เศรษฐีบุญ ที่เคยจัดพิมพ์หนังสือพุทธคาถาบำบัดแจกมานับหมื่นเล่มแล้ว เขียนบทความได้ความครบถ้วน ทั้งภาคหลักการ และหลักปฏิบัติ
ขอเชิญอ่าน และนำไปปฏิบัติ เพิ่มระดับความรวยตามดีกรี ที่ต้องการเถิด เธอเขียนว่า ...
*ชีวิตนี้มีใครบ้างที่ไม่อยากรวย ไม่ว่าจะเป็นรวยเงิน รวยทอง รวยที่ รวยบริวาร รวยปัญญา แล้วเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง จึงจะรวย ทำอย่างไรจึงมีกินมีใช้ไม่มีวันหมด
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เป็นเศรษฐีได้ คือการท่องคาถา และต้องเป็น คาถาหัวใจเศรษฐีของพระพุทธเจ้า คาถานี้เป็นที่ฮือฮาตอนที่ พระพยอมออกขนมจตุคำ ในขณะที่องค์จตุคามมาแรง
จตุ แปลว่าสี่ จตุคำของพระพยอม จึงหมายถึง คำสี่คำ คือ อุ อา กะ สะ ซึ่งที่จริงก็คือ คาถาหัวใจเศรษฐี ของพระพุทธเจ้า
คำว่า อุ อา กะ สะ จะทำให้เป็นเศรษฐีได้อย่างไรกัน ท่องแค่สี่คำนี้ก็เป็นเถ้าแก่ได้แล้วหรือ เปล่าหรอก ไม่ใช่เช่นนั้น แต่การเข้าใจและทำตามธรรมะที่เป็นหัวใจเศรษฐีนี้ต่างหากที่จะทำให้เป็นเศรษฐีได้
1. อุ ย่อจาก อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ขยันหมั่นเพียรในการงาน ในทางสุจริตต่างๆ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ไม่เกียจคร้าน มีความกระตือรือร้น รักในงานที่ทำ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
มีเถ้าแก่คนใดบ้างที่เกียจคร้านในการทำงาน (แต่ถ้าเป็น ลูกเถ้าแก่ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะเกิดบนกองเงินกองทอง) ถ้าอยากรวย แต่ไม่มีตัวแรกในคาถานี้ ก็ไม่ต้องฝันที่จะรวย
แต่ขณะเดียวกัน คำว่าขยันนั้น ต้องมีสมดุลด้วยเช่นกัน พ่อแม่บางคนขยันทำมาหากิน จนลืมทำหน้าที่อื่น เช่น เป็นพ่อแม่ ที่ดีของลูก ซึ่งต้องดูแลไม่ใช่เฉพาะกายของลูก แต่ดูแลใจของเขาด้วย
2. อา ย่อจาก อารักขสัมปทา แปลว่า ให้รักษาเงินทอง ทรัพย์สินที่หามาได้ ระมัดระวังการใช้จ่าย อย่าให้ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความเพียรหายไปในทางที่มิชอบ เช่น เล่นการพนัน หรือชอปแหลก เพราะชอบลดแลกแจกแถม จนตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้าล้นแล้วล้นอีก แต่การรักษาทรัพย์นี้ก็ไม่ได้แปลว่าให้เป็นคนเค็ม ไม่มีน้ำใจต่อครอบครัว ไม่ช่วยเหลือสังคม ไม่ทำทาน และการให้นี้ควรทำตามกำลังที่เราศรัทธา
3. กะ ย่อจาก กัลยาณมิตตตา คือ การคบคนดี หลีกเลี่ยง มิตรเทียม ซึ่งมีลักษณะดังนี้
3.1 เพื่อนปอกลอก เอาแต่ได้ ยอมเสียน้อยแต่หวังมาก คบเพื่อน หวังผลประโยชน์
3.2 เพื่อนดีแต่พูด เช่น เมื่อยามเราทุกข์ต้องการความช่วยเหลือก็มีแต่ข้ออ้างต่างๆ หรือเวลาให้อะไรเราก็ให้แต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์
3.3 เพื่อนจอมประจบ คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรที่ดีหรือไม่ดีก็เออออ ต่อหน้าสรรเสริญเราแต่ลับหลังก็นินทา
3.4 เพื่อนชวนฉิบหาย คือ ชวนให้เราทำอบายมุขต่างๆ เช่น ดื่มน้ำเมา สิ่งเสพติดต่างๆ เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน
การมีเพื่อนดีเป็นมงคลชีวิต และเป็นมงคลชีวิตข้อแรกจาก 38 ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
มงคลชีวิต หมายถึง สิ่งทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า และเป็นสุข การมีเพื่อนดีเป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะเพื่อนจะชักชวนไปในทางที่ดี คอยเตือนเรา ให้กำลังใจเราในทางที่ถูกที่ควร ในทางกลับกัน เพื่อนไม่ดี จะนำเราไปสู่ความเสียหายต่างๆ นานา และถ้าเรามีแต่เพื่อนไม่ดี เราจะรวยได้อย่างไร
4. สะ ย่อจาก สมชีวิตา คือ การเลี้ยงชีวิตให้สมฐานะของตน พวกประเภทรสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำคงยากที่จะรวย เพราะหามาเท่าไหร่ ก็ละลายไปกับรสนิยมหมด
คนที่ซื้อของแบรนด์เนมนั้น ลืมคิดในเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ คุณค่าแท้และคุณค่าเทียมของสิ่งที่เราบริโภค เช่นคุณค่าแท้ของนาฬิกา คือ การบอกเวลา คุณค่าเทียม คือ รูปลักษณ์ วัสดุ หรือชื่อยี่ห้อ นาฬิกาแฟชั่นราคาหลักพัน ก็บอกเวลาได้เที่ยงตรงเท่ากับนาฬิกาหลักล้าน
คนที่เรียนวิชาการตลาด ขณะที่เรียนปริญญาด้านการบริหาร ธุรกิจ จะถูกสอนเรื่องการสร้างมูลค่าให้สินค้า สินค้าชนิดหนึ่งอาจมีคุณค่าแท้เท่ากับลูกปิงปอง แต่จากการออกแบบแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ การออกแบบหีบห่อที่บรรจุ ฯลฯ คุณค่ารวม (แท้+เทียม) ของสินค้าจะขยายจากลูกปิงปอง เป็นลูกบาสทันที
ดังนั้น รถยนต์ที่มีหน้าที่เคลื่อนย้ายคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจึงมีราคาแตกต่างกันมากนัก และเพราะวิชาการตลาดนี้ ทีเดียว แม้กระเป๋าหนังของสุภาพสตรี ที่มีคุณค่าแท้คือการบรรจุสิ่งของ แต่เพราะคุณค่าเทียมที่สร้างขึ้น ทำให้มีคนหลงใหลสามารถซื้อกระเป๋าถือใบละล้านกว่าบาทได้ และพวกกระเป๋าถือ (หรือรถยนต์ นาฬิกา) เหล่านั้นก็จะมีรุ่นใหม่ๆ ออกมาให้เราเสียเงินกันเป็นประจำ ถ้าเป็นแบบนี้มีเท่าไหร่จึงจะพอ จึงจะรวย
มีเรื่องเล่าว่า มีญาติโยม ไปกราบหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมที่นครปฐม เพื่อขอพร (หลวงพ่อรูปนี้มรณภาพปี พ.ศ.2520) หลวงพ่อท่านถามคนเหล่านั้นว่าต้องการพรอะไร ญาติโยมตอบหลวงพ่อว่า อยากรวย หลวงพ่อตอบว่า เมื่อไหร่พอ เมื่อนั้นก็รวย ช่างเป็นคำพูดที่ฟังเข้าใจง่ายๆ เสียจริงๆ แต่กระนั้นก็มีบางคนที่รวยเป็นหมื่นล้านแล้วแต่ก็ไม่รู้จักพอ ดิ้นรนเพื่อกอบโกยจนไม่สามารถอาศัยอยู่บนแผ่นดินแม่ได้เงินหมื่นล้าน ไม่ได้ทำให้เขามีความสุขเลย
คนที่มีความสุขจากข้างใน เราสามารถดูได้ เพราะความสุขจะออกมาจากสีหน้าและแววตา นี่ก็แสดงว่า ความพอต่างหากที่สร้างสุข ไม่ใช่ความรวยตามตัวเลขในบัญชีธนาคาร
สรุปว่า คาถา อุ อา กะ สะ นั้น หากเราเข้าใจความหมาย และทำตามเราก็สามารถรวยได้ แต่ใจเราเองต้องมีความพอด้วยจึงจะรวยอย่างแท้จริง
นอกจากคาถานี้แล้วมีวิธีใดอีกบ้างที่ทำให้รวย วิธีต่อไปนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านคาดไม่ถึง หรืออาจคิดว่าเกี่ยวกันด้วยหรือ วิธีนั้นคือ การรักษาศีล 5 ข้อ 1 เว้นจากการฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ ข้อ 2 เว้นจากการลักทรัพย์ ข้อ 3 เว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ข้อ 4 เว้นจากการพูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและนินทาว่าร้าย ข้อ 5 เว้นจากการเสพของมึนเมาต่างๆ
แต่ ศีลเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรวย เรามาดูกัน
เวลาที่ชาวพุทธเราไปทำบุญที่วัด พระภิกษุสงฆ์จะให้เราสมาทาน หรือการรับศีลห้า ซึ่งเมื่อเรารับศีลห้าแล้ว พระภิกษุจะสรุปอานิสงส์ของศีลว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ
นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
แปลว่า ศีลยังให้สู่สุคติ ศีลยังให้เกิดโภคทรัพย์ และศีลยังให้ถึงพระนิพพาน
การรักษาศีลห้าเกี่ยวกับความรวยโดยตรง เพราะศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ ในการแสดงธรรมของหลวงปู่พุทธะอิสระ แห่ง วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ท่านถามญาติธรรมเสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีคนไทยสักกี่คนที่รักษาศีลจนได้โภคทรัพย์ อาจเพราะเห็นเป็นเรื่องจิ๊บๆ และไม่ทราบถึงอานิสงส์ หรือผลของศีล
ดังนั้นถ้าท่านใดอยากรวย ท่านจงตั้งใจรักษาศีลให้ดีที่สุด แล้วสิ่งดีๆ รวมทั้งความรวยจะบังเกิดแก่ตัวท่านเอง รักษาศีลแล้วก็อย่าลืมทำตาม คาถาหัวใจเศรษฐี ด้วย เพราะแค่รักษาศีลอย่างเดียว แล้วขี้เกียจทำงาน ก็คงไม่รวยอยู่ดี
นอกจากการรักษาศีลจะทำให้เกิดโภคทรัพย์แล้ว สิ่งที่ทำให้เรามีกินมีใช้ไม่มีวันหมด คือ การให้ การยิ่งให้ด้วยใจจริง และให้ด้วยปัญญานั้นทำให้เรายิ่งได้ และผู้ที่เราต้องให้ก่อนคือ พระอรหันต์ในบ้าน คือ คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ที่มีพระคุณที่ได้ให้ปัจจัยสี่แก่เรา เมื่อเราดูแลเขาทั้งกายและใจ ไม่ทำให้ท่านช้ำใจ เราจะเป็นผู้ที่มีไม่มีวันหมด นอกจากการรู้คุณและตอบแทนผู้มีพระคุณแล้ว การให้แก่สังคมและศาสนาตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาก็จะเป็นการสร้างทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกแก่เรา
หลวงปู่พุทธะอิสระท่านพูดเสมอว่า บุญคือแก้วสารพัดนึก แก้วสารพัดนึกนั้น คงไม่มีใครไม่อยากได้ และการสร้างบุญนั้นก็ไม่ได้หมายความต้องทำด้วยเงินเสมอไป เพราะบุญกิริยาวัตถุมีถึง 10 วิธี มีแค่ข้อแรกข้อเดียวเท่านั้นที่ต้องใช้เงิน
บุญกิริยาวัตถุ 10 มีดังต่อไปนี้
1. บุญที่ได้จากการทำทาน คือการบริจาคให้วัด มูลนิธิ องค์กรต่างๆ การให้อภัย
2. บุญที่ได้จากการรักษาศีล (คนทั่วไปก็ศีล 5 พระก็ศีล 227 ข้อ)
3. บุญที่ได้จากการภาวนา (สวดมนต์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน)
4. บุญที่ได้จากความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์
5. บุญที่ได้จากการทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
6. บุญที่ได้จากการเชิญชวน เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ทำบุญ การแผ่เมตตา
7. บุญที่ได้จากการยินดีกับความดีหรือการทำบุญของผู้อื่น/ การอนุโมทนาบุญ
8. บุญที่ได้จากการฟังธรรม
9. บุญที่ได้จากการให้ธรรมเป็นทาน
10. บุญที่ได้จากการทำความเข้าใจในเรื่องที่เป็นสาระ รู้ดี รู้ชั่ว เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง
การจะทำให้บุญเป็นแก้วสารพัดนึกได้ ต้องทำถี่ๆ ไม่ใช่นานๆ ทำที บางคนบอกว่าตัวเองเป็นคนทำบุญ แต่ปรากฏว่า ใส่บาตรปีละหนสองถึงสามหน สวดมนต์ก็สวดบ้างไม่สวดบ้าง อ้างว่า ไม่มีเวลา หรือง่วง ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่เคยมีอยู่ในความคิด เลยไม่รู้ว่าทำอย่างไร
บางคนบอกว่านั่งสมาธิบ่อย แบบนั่งดริงก์อยู่ในผับกับเพื่อนๆ เป็นประจำ จนมีความคิดอยากเปิดผับ ก็เป็นกันเสียอย่างนี้ แล้วยังมาบ่นว่าชีวิตไม่แจ่มใส ไม่ได้ดั่งใจ ก็มัวมั่วสร้างเหตุอย่างนี้ แล้วจะหวังบุญแบบแก้วสารพัดนึกได้อย่างไร เฮ้อ...
บุญที่จะเป็นแก้วสารพัดนึกได้ ต้องประกอบเหตุอันเป็นกุศล คือ
1. ทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัย เช่น รักษาศีลเป็นหลัก สวดมนต์หรือปฏิบัติธรรมทุกวัน ทำทาน ใส่บาตร บริจาคทานทุกๆ เดือน ฟังธรรมบ้าง และแผ่เมตตาทุกครั้งที่ทำบุญ
2. ตั้งใจทำจากใจจริง เต็มใจทำทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ไม่ใช่ทำตามๆ เพื่อน หรือทำเพื่อเอาหน้า หรือทำไปเพราะตัดรำคาญ ฯลฯ เวลาสวดมนต์ก็มีความตั้งใจสวด ไม่ใช่สวดแบบนกแก้วนกขุนทอง เป็นต้น
3. ทำด้วยปัญญา เช่นเวลาทำสังฆทานก็เลือกถวายสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องซื้อถังเหลืองที่เต็มไปด้วยของใกล้หมดอายุ
อีกตัวอย่างหนึ่งของการทำบุญ คือการปล่อยสัตว์ต่างๆ ไปซื้อปลาในตลาดที่กำลังจะถูกฆ่า แล้วนำไปปล่อย วิธีนี้ได้อานิสงส์มาก
สรุปว่า ถ้าท่องคาถาหัวใจเศรษฐีจนเข้าใจ และตั้งใจทำตามให้ครบ ด้วยการรักษาศีล ฝึกตนเป็นผู้ให้ สร้างบุญสร้างกุศลเสมอ จะบังเกิดเป็นแก้วสารพัดนึก และเมื่อไหร่ไม่ลืมคำว่ารู้จักพอ เมื่อนั้นแหละ รวยแน่ ขอฟันธงค่ะ
ในภาวะเศรษฐกิจฝืด จนมีโอกาสได้รู้จักคำว่า การต้องประหยัดนั้น แท้จริงเขาทำกันอย่างไร มีผู้ห่วงใย และปรารถนาดีต่อสังคม ส่งข้อคิดบทความมาให้มากมาย บทความหนึ่งที่เป็น เสมือนมนต์และคาถา เขียนโดย คุณชิริน วิเศษภักดี เศรษฐีบุญ ที่เคยจัดพิมพ์หนังสือพุทธคาถาบำบัดแจกมานับหมื่นเล่มแล้ว เขียนบทความได้ความครบถ้วน ทั้งภาคหลักการ และหลักปฏิบัติ
ขอเชิญอ่าน และนำไปปฏิบัติ เพิ่มระดับความรวยตามดีกรี ที่ต้องการเถิด เธอเขียนว่า ...
*ชีวิตนี้มีใครบ้างที่ไม่อยากรวย ไม่ว่าจะเป็นรวยเงิน รวยทอง รวยที่ รวยบริวาร รวยปัญญา แล้วเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง จึงจะรวย ทำอย่างไรจึงมีกินมีใช้ไม่มีวันหมด
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เป็นเศรษฐีได้ คือการท่องคาถา และต้องเป็น คาถาหัวใจเศรษฐีของพระพุทธเจ้า คาถานี้เป็นที่ฮือฮาตอนที่ พระพยอมออกขนมจตุคำ ในขณะที่องค์จตุคามมาแรง
จตุ แปลว่าสี่ จตุคำของพระพยอม จึงหมายถึง คำสี่คำ คือ อุ อา กะ สะ ซึ่งที่จริงก็คือ คาถาหัวใจเศรษฐี ของพระพุทธเจ้า
คำว่า อุ อา กะ สะ จะทำให้เป็นเศรษฐีได้อย่างไรกัน ท่องแค่สี่คำนี้ก็เป็นเถ้าแก่ได้แล้วหรือ เปล่าหรอก ไม่ใช่เช่นนั้น แต่การเข้าใจและทำตามธรรมะที่เป็นหัวใจเศรษฐีนี้ต่างหากที่จะทำให้เป็นเศรษฐีได้
1. อุ ย่อจาก อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ให้ขยันหมั่นเพียรในการงาน ในทางสุจริตต่างๆ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ไม่เกียจคร้าน มีความกระตือรือร้น รักในงานที่ทำ ไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
มีเถ้าแก่คนใดบ้างที่เกียจคร้านในการทำงาน (แต่ถ้าเป็น ลูกเถ้าแก่ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะเกิดบนกองเงินกองทอง) ถ้าอยากรวย แต่ไม่มีตัวแรกในคาถานี้ ก็ไม่ต้องฝันที่จะรวย
แต่ขณะเดียวกัน คำว่าขยันนั้น ต้องมีสมดุลด้วยเช่นกัน พ่อแม่บางคนขยันทำมาหากิน จนลืมทำหน้าที่อื่น เช่น เป็นพ่อแม่ ที่ดีของลูก ซึ่งต้องดูแลไม่ใช่เฉพาะกายของลูก แต่ดูแลใจของเขาด้วย
2. อา ย่อจาก อารักขสัมปทา แปลว่า ให้รักษาเงินทอง ทรัพย์สินที่หามาได้ ระมัดระวังการใช้จ่าย อย่าให้ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความเพียรหายไปในทางที่มิชอบ เช่น เล่นการพนัน หรือชอปแหลก เพราะชอบลดแลกแจกแถม จนตู้เสื้อผ้า ตู้รองเท้าล้นแล้วล้นอีก แต่การรักษาทรัพย์นี้ก็ไม่ได้แปลว่าให้เป็นคนเค็ม ไม่มีน้ำใจต่อครอบครัว ไม่ช่วยเหลือสังคม ไม่ทำทาน และการให้นี้ควรทำตามกำลังที่เราศรัทธา
3. กะ ย่อจาก กัลยาณมิตตตา คือ การคบคนดี หลีกเลี่ยง มิตรเทียม ซึ่งมีลักษณะดังนี้
3.1 เพื่อนปอกลอก เอาแต่ได้ ยอมเสียน้อยแต่หวังมาก คบเพื่อน หวังผลประโยชน์
3.2 เพื่อนดีแต่พูด เช่น เมื่อยามเราทุกข์ต้องการความช่วยเหลือก็มีแต่ข้ออ้างต่างๆ หรือเวลาให้อะไรเราก็ให้แต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์
3.3 เพื่อนจอมประจบ คือ ไม่ว่าเราจะทำอะไรที่ดีหรือไม่ดีก็เออออ ต่อหน้าสรรเสริญเราแต่ลับหลังก็นินทา
3.4 เพื่อนชวนฉิบหาย คือ ชวนให้เราทำอบายมุขต่างๆ เช่น ดื่มน้ำเมา สิ่งเสพติดต่างๆ เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน
การมีเพื่อนดีเป็นมงคลชีวิต และเป็นมงคลชีวิตข้อแรกจาก 38 ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
มงคลชีวิต หมายถึง สิ่งทำให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า และเป็นสุข การมีเพื่อนดีเป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะเพื่อนจะชักชวนไปในทางที่ดี คอยเตือนเรา ให้กำลังใจเราในทางที่ถูกที่ควร ในทางกลับกัน เพื่อนไม่ดี จะนำเราไปสู่ความเสียหายต่างๆ นานา และถ้าเรามีแต่เพื่อนไม่ดี เราจะรวยได้อย่างไร
4. สะ ย่อจาก สมชีวิตา คือ การเลี้ยงชีวิตให้สมฐานะของตน พวกประเภทรสนิยมสูงแต่รายได้ต่ำคงยากที่จะรวย เพราะหามาเท่าไหร่ ก็ละลายไปกับรสนิยมหมด
คนที่ซื้อของแบรนด์เนมนั้น ลืมคิดในเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ คุณค่าแท้และคุณค่าเทียมของสิ่งที่เราบริโภค เช่นคุณค่าแท้ของนาฬิกา คือ การบอกเวลา คุณค่าเทียม คือ รูปลักษณ์ วัสดุ หรือชื่อยี่ห้อ นาฬิกาแฟชั่นราคาหลักพัน ก็บอกเวลาได้เที่ยงตรงเท่ากับนาฬิกาหลักล้าน
คนที่เรียนวิชาการตลาด ขณะที่เรียนปริญญาด้านการบริหาร ธุรกิจ จะถูกสอนเรื่องการสร้างมูลค่าให้สินค้า สินค้าชนิดหนึ่งอาจมีคุณค่าแท้เท่ากับลูกปิงปอง แต่จากการออกแบบแบรนด์ การสร้างภาพลักษณ์ การออกแบบหีบห่อที่บรรจุ ฯลฯ คุณค่ารวม (แท้+เทียม) ของสินค้าจะขยายจากลูกปิงปอง เป็นลูกบาสทันที
ดังนั้น รถยนต์ที่มีหน้าที่เคลื่อนย้ายคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งจึงมีราคาแตกต่างกันมากนัก และเพราะวิชาการตลาดนี้ ทีเดียว แม้กระเป๋าหนังของสุภาพสตรี ที่มีคุณค่าแท้คือการบรรจุสิ่งของ แต่เพราะคุณค่าเทียมที่สร้างขึ้น ทำให้มีคนหลงใหลสามารถซื้อกระเป๋าถือใบละล้านกว่าบาทได้ และพวกกระเป๋าถือ (หรือรถยนต์ นาฬิกา) เหล่านั้นก็จะมีรุ่นใหม่ๆ ออกมาให้เราเสียเงินกันเป็นประจำ ถ้าเป็นแบบนี้มีเท่าไหร่จึงจะพอ จึงจะรวย
มีเรื่องเล่าว่า มีญาติโยม ไปกราบหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมที่นครปฐม เพื่อขอพร (หลวงพ่อรูปนี้มรณภาพปี พ.ศ.2520) หลวงพ่อท่านถามคนเหล่านั้นว่าต้องการพรอะไร ญาติโยมตอบหลวงพ่อว่า อยากรวย หลวงพ่อตอบว่า เมื่อไหร่พอ เมื่อนั้นก็รวย ช่างเป็นคำพูดที่ฟังเข้าใจง่ายๆ เสียจริงๆ แต่กระนั้นก็มีบางคนที่รวยเป็นหมื่นล้านแล้วแต่ก็ไม่รู้จักพอ ดิ้นรนเพื่อกอบโกยจนไม่สามารถอาศัยอยู่บนแผ่นดินแม่ได้เงินหมื่นล้าน ไม่ได้ทำให้เขามีความสุขเลย
คนที่มีความสุขจากข้างใน เราสามารถดูได้ เพราะความสุขจะออกมาจากสีหน้าและแววตา นี่ก็แสดงว่า ความพอต่างหากที่สร้างสุข ไม่ใช่ความรวยตามตัวเลขในบัญชีธนาคาร
สรุปว่า คาถา อุ อา กะ สะ นั้น หากเราเข้าใจความหมาย และทำตามเราก็สามารถรวยได้ แต่ใจเราเองต้องมีความพอด้วยจึงจะรวยอย่างแท้จริง
นอกจากคาถานี้แล้วมีวิธีใดอีกบ้างที่ทำให้รวย วิธีต่อไปนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายๆ ท่านคาดไม่ถึง หรืออาจคิดว่าเกี่ยวกันด้วยหรือ วิธีนั้นคือ การรักษาศีล 5 ข้อ 1 เว้นจากการฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ ข้อ 2 เว้นจากการลักทรัพย์ ข้อ 3 เว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ข้อ 4 เว้นจากการพูดปด พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและนินทาว่าร้าย ข้อ 5 เว้นจากการเสพของมึนเมาต่างๆ
แต่ ศีลเกี่ยวข้องอย่างไรกับการรวย เรามาดูกัน
เวลาที่ชาวพุทธเราไปทำบุญที่วัด พระภิกษุสงฆ์จะให้เราสมาทาน หรือการรับศีลห้า ซึ่งเมื่อเรารับศีลห้าแล้ว พระภิกษุจะสรุปอานิสงส์ของศีลว่า
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา สีเลนะ
นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
แปลว่า ศีลยังให้สู่สุคติ ศีลยังให้เกิดโภคทรัพย์ และศีลยังให้ถึงพระนิพพาน
การรักษาศีลห้าเกี่ยวกับความรวยโดยตรง เพราะศีลทำให้เกิดโภคทรัพย์ ในการแสดงธรรมของหลวงปู่พุทธะอิสระ แห่ง วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ท่านถามญาติธรรมเสมอว่า ในอดีตที่ผ่านมา มีคนไทยสักกี่คนที่รักษาศีลจนได้โภคทรัพย์ อาจเพราะเห็นเป็นเรื่องจิ๊บๆ และไม่ทราบถึงอานิสงส์ หรือผลของศีล
ดังนั้นถ้าท่านใดอยากรวย ท่านจงตั้งใจรักษาศีลให้ดีที่สุด แล้วสิ่งดีๆ รวมทั้งความรวยจะบังเกิดแก่ตัวท่านเอง รักษาศีลแล้วก็อย่าลืมทำตาม คาถาหัวใจเศรษฐี ด้วย เพราะแค่รักษาศีลอย่างเดียว แล้วขี้เกียจทำงาน ก็คงไม่รวยอยู่ดี
นอกจากการรักษาศีลจะทำให้เกิดโภคทรัพย์แล้ว สิ่งที่ทำให้เรามีกินมีใช้ไม่มีวันหมด คือ การให้ การยิ่งให้ด้วยใจจริง และให้ด้วยปัญญานั้นทำให้เรายิ่งได้ และผู้ที่เราต้องให้ก่อนคือ พระอรหันต์ในบ้าน คือ คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ที่มีพระคุณที่ได้ให้ปัจจัยสี่แก่เรา เมื่อเราดูแลเขาทั้งกายและใจ ไม่ทำให้ท่านช้ำใจ เราจะเป็นผู้ที่มีไม่มีวันหมด นอกจากการรู้คุณและตอบแทนผู้มีพระคุณแล้ว การให้แก่สังคมและศาสนาตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาก็จะเป็นการสร้างทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกแก่เรา
หลวงปู่พุทธะอิสระท่านพูดเสมอว่า บุญคือแก้วสารพัดนึก แก้วสารพัดนึกนั้น คงไม่มีใครไม่อยากได้ และการสร้างบุญนั้นก็ไม่ได้หมายความต้องทำด้วยเงินเสมอไป เพราะบุญกิริยาวัตถุมีถึง 10 วิธี มีแค่ข้อแรกข้อเดียวเท่านั้นที่ต้องใช้เงิน
บุญกิริยาวัตถุ 10 มีดังต่อไปนี้
1. บุญที่ได้จากการทำทาน คือการบริจาคให้วัด มูลนิธิ องค์กรต่างๆ การให้อภัย
2. บุญที่ได้จากการรักษาศีล (คนทั่วไปก็ศีล 5 พระก็ศีล 227 ข้อ)
3. บุญที่ได้จากการภาวนา (สวดมนต์ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน)
4. บุญที่ได้จากความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้มีพระคุณ ครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์
5. บุญที่ได้จากการทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม
6. บุญที่ได้จากการเชิญชวน เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ทำบุญ การแผ่เมตตา
7. บุญที่ได้จากการยินดีกับความดีหรือการทำบุญของผู้อื่น/ การอนุโมทนาบุญ
8. บุญที่ได้จากการฟังธรรม
9. บุญที่ได้จากการให้ธรรมเป็นทาน
10. บุญที่ได้จากการทำความเข้าใจในเรื่องที่เป็นสาระ รู้ดี รู้ชั่ว เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง
การจะทำให้บุญเป็นแก้วสารพัดนึกได้ ต้องทำถี่ๆ ไม่ใช่นานๆ ทำที บางคนบอกว่าตัวเองเป็นคนทำบุญ แต่ปรากฏว่า ใส่บาตรปีละหนสองถึงสามหน สวดมนต์ก็สวดบ้างไม่สวดบ้าง อ้างว่า ไม่มีเวลา หรือง่วง ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่เคยมีอยู่ในความคิด เลยไม่รู้ว่าทำอย่างไร
บางคนบอกว่านั่งสมาธิบ่อย แบบนั่งดริงก์อยู่ในผับกับเพื่อนๆ เป็นประจำ จนมีความคิดอยากเปิดผับ ก็เป็นกันเสียอย่างนี้ แล้วยังมาบ่นว่าชีวิตไม่แจ่มใส ไม่ได้ดั่งใจ ก็มัวมั่วสร้างเหตุอย่างนี้ แล้วจะหวังบุญแบบแก้วสารพัดนึกได้อย่างไร เฮ้อ...
บุญที่จะเป็นแก้วสารพัดนึกได้ ต้องประกอบเหตุอันเป็นกุศล คือ
1. ทำบ่อยๆ จนเป็นนิสัย เช่น รักษาศีลเป็นหลัก สวดมนต์หรือปฏิบัติธรรมทุกวัน ทำทาน ใส่บาตร บริจาคทานทุกๆ เดือน ฟังธรรมบ้าง และแผ่เมตตาทุกครั้งที่ทำบุญ
2. ตั้งใจทำจากใจจริง เต็มใจทำทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ไม่ใช่ทำตามๆ เพื่อน หรือทำเพื่อเอาหน้า หรือทำไปเพราะตัดรำคาญ ฯลฯ เวลาสวดมนต์ก็มีความตั้งใจสวด ไม่ใช่สวดแบบนกแก้วนกขุนทอง เป็นต้น
3. ทำด้วยปัญญา เช่นเวลาทำสังฆทานก็เลือกถวายสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องซื้อถังเหลืองที่เต็มไปด้วยของใกล้หมดอายุ
อีกตัวอย่างหนึ่งของการทำบุญ คือการปล่อยสัตว์ต่างๆ ไปซื้อปลาในตลาดที่กำลังจะถูกฆ่า แล้วนำไปปล่อย วิธีนี้ได้อานิสงส์มาก
สรุปว่า ถ้าท่องคาถาหัวใจเศรษฐีจนเข้าใจ และตั้งใจทำตามให้ครบ ด้วยการรักษาศีล ฝึกตนเป็นผู้ให้ สร้างบุญสร้างกุศลเสมอ จะบังเกิดเป็นแก้วสารพัดนึก และเมื่อไหร่ไม่ลืมคำว่ารู้จักพอ เมื่อนั้นแหละ รวยแน่ ขอฟันธงค่ะ