ครั้งที่ 019
ฝึกรู้ขันธ์ตามจริง
อย่าไปปรุงแต่งขันธ์
สังเกตมั้ยหลวงพ่อพูดวนไปวนมา แต่เชื่อเหอะพวกเราเก็บไม่หมดหรอก เก็บไม่ได้หมดหรอกนะ วันหนึ่งๆ เก็บไปได้นิดๆ หน่อยๆ นะ เหมือนเราโยนเพชรโยนทองให้ตะกร้าหนึ่งนะ แต่เก็บได้วันละนิดๆ หน่อยๆ แต่เก็บไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันหนึ่งเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อพูดแล้วจะรู้ว่าง่ายที่สุดเลย แล้วจะรู้ว่าโง่แท้ๆ เลยที่ทำให้ยากน่ะ มันง่ายสุดๆ เลยนะ ไม่ได้ทำอะไรน่ะ ไม่ได้ทำอะไร เราหยุดความปรุงแต่งของจิตลงไป จิตมันหยุดปรุงแต่งเพราะมันฉลาดขึ้นมา แค่นั้นเอง จิตมันหยุดปรุงแต่งเพราะมันมีความรู้ความฉลาด แล้วมรรคผลนิพพานก็เกิดแล้ว
ที่มรรคผลนิพพานเกิดไม่ได้ก็เพราะปรุงแต่งไม่เลิก นิพพานเป็นวิสังขารเป็นความไม่ปรุงแต่ง นิพพานเป็นความไม่อยาก เป็นวิราคะ ไม่อยาก เราอยากปฏิบัติ แล้วเราก็ปรุงแต่งการปฏิบัตินะ กำหนดรูป กำหนดนามอะไรนี่ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการบรรลุมรรคผลนิพพานเลย เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาล้วนๆ เลย
วิธีปฏิบัติที่ง่ายๆ ก็คือ มันปรุงขึ้นมาก็รู้ว่าปรุง การปรุงแต่งมีสองอันนะ อันหนึ่งขันธ์มันปรุงแต่ง ขันธ์มันปรุงแต่งน่ะขันธ์มันเป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม ขันธ์มีหน้าที่ปรุงแต่งอยู่แล้ว เราก็ชอบไปคิดว่าทำยังไงขันธ์จะไม่ปรุงแต่ง เช่น ทำยังไงใจจะไม่คิด ใจมีหน้าที่คิดนะ ไม่ใช่ไปปรุงแต่งไม่ให้คิด งั้นที่ว่าพ้นความปรุงแต่งไม่ใช่ไปทำ ขันธ์ไม่ให้ปรุงแต่งนะ ขันธ์มีหน้าที่ปรุงแต่งเพราะขันธ์เป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่ง หน้าที่เราก็คือรู้ขันธ์ตามความเป็นจริงแล้วอย่าไปปรุงแต่งขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่สำคัญ เราอย่าไปปรุงแต่งขันธ์ซะเอง อย่างเช่นจิตมันปรุงกิเลสขึ้นมา เรารู้ทัน เช่นมันปรุงความโกรธขึ้นมาเรารู้ทันนะ ไม่ต้องไปปรุงว่าทำยังไงจะหายโกรธ ปรุงว่าทำยังไงจะไม่โกรธอีก อันนี้เราปรุงแล้วนะ เราปรุง เราไปแทรกแซงขันธ์แล้ว อย่าแทรกแซงขันธ์นะ ให้รู้ขันธ์ตาม ที่เขาเป็น เช่นเรานั่งๆ อยู่ใจลอยไป ไม่ต้องฝึกว่าทำยังไงจะไม่ใจลอย ยังไงก็ลอย เพราะว่าขันธ์ก็จะปรุงแต่งความใจลอยมันก็เรื่องของเขา พอขันธ์ปรุงความใจลอย เราก็ปรุงไม่ให้ใจลอยนะ บางคนรีบกำหนดใหญ่ รีบบริกรรมใหญ่ รีบเพ่งใหญ่ จะไม่ให้ใจลอย หารู้ไม่ว่าตรงนั้นน่ะกิเลสเกิดเรียบร้อยแล้ว ตรงที่กลัวจะใจลอยกิเลสก็เกิดแล้ว ตรงอยากไม่ให้ใจลอยกิเลสก็เกิดแล้ว ตรงที่ลงมือประคับประคองไม่ให้หลงไป นั่นก็ทำไปด้วยอำนาจบงการของกิเลสอีกนั่นแหละ
ธรรมะจริงๆ ง่ายสุดๆ เลยนะ ง่ายมาก ให้รู้ความปรุงแต่งของกายของใจนี่แหละ มันปรุงของมัน เช่นร่างกายหายใจเข้า หายใจออก ไม่ต้องไปฝืนมัน มันจะยืนมันจะเดินจะนั่งจะนอน ไม่ต้องไปห้ามมัน เราไม่ใช่คนง่อยนี่ ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะต้องไปนั่งนิ่งๆ ห้ามกระดุกกระดิก ให้มันเมื่อยขึ้นมาแล้วคอยศึกษาธรรมะจากความเมื่อย ทำไมไม่ศึกษาธรรมะจากความจริง จากของจริงๆ
ถ้าไปแต่งขึ้นมา ใจมันไม่เชื่อหรอกนะ ว่ากายมันเป็นทุกข์จริงๆ หรือบังคับไม่ได้จริงๆ แทนที่จะเห็นไตรลักษณ์ กลับรู้สึกว่าเราควบคุมกายได้ เช่นเราแกล้งนั่งไปนานๆ ให้เมื่อย ในใจลึกๆ จะคิดว่าเพราะฉันนั่งเฉยๆ น่ะสิแกถึงเมื่อย ถ้าฉันขยับเมื่อไรแกก็หายเมื่อย ฉันทำได้ ฉันทำได้ ฉันทำได้นะ ไม่ใช่ฉันทำไม่ได้นะ คือฉันแกล้งนั่งนานๆ แกก็เมื่อย ฉันขยับตัวแกก็หายเมื่อย ร่างกายนี้อยู่ในอำนาจบังคับของฉันแท้ๆ
ครูบาอาจารย์แต่ละรูปที่หลวงพ่อไปเรียนด้วย ส่วนมากท่านไม่ชอบปรุงแต่งอะไรแล้ว ท่านจะบอกง่ายนะ ง่าย บางรูปก็บอกเป็นภาษาอีสานว่า 'ง่ายแท้น้อๆ' อย่างนี้นะ บางรูปก็พูดภาษาภาคกลาง 'มันง่าย นะปราโมทย์ ง่ายจริงๆ นะ' สมัยที่เรายังเที่ยวค้นคว้าหาอยู่เราก็รู้สึกว่ายากสิ ทีนี้ภาวนาไปนะ วันไหนรู้สึกยากนะ เฉลียวใจถึงคำครูบาอาจารย์ เอ๊ะวันนี้ทำไมรู้สึกภาวนายากผิดปกติ หยุดเลย ต้องผิดแล้วล่ะ ต้องผิดแล้ว ผิดแล้วห้ามขยัน ผิดแล้วขยันดันทุรังไปเรื่อย จะยิ่งหลงหนักเข้าไปอีก
มันง่ายมากๆ ให้ตาเรามองเห็นรูปไป ยากมั้ยที่ตามองเห็นรูป ถ้าตาไม่บอดก็ไม่ยากอะไรนะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ให้ลิ้นรู้รสไป ไม่ต้องเลือกรสด้วยนะ ไม่ใช่ว่าต้องกินแต่ของไม่อร่อยถึงจะดีนะ ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นจะต้องเลือกด้วยว่าจะดูแต่ของไม่สวย ดูของสวยก็ได้ บางคนจะเลือกสัมผัสแต่ของที่เกิดจากอกุศลคือของไม่ดีไม่งามทั้งหลายอย่างเดียวนะ นึกว่าภาวนาต้องสัมผัสแต่ของไม่ดีอันเป็นผลของอกุศลวิบาก รู้มั้ยการที่เราสัมผัสอารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายน่ะ เกิดจากอกุศลวิบาก ถ้ามีบุญเราก็ได้สัมผัสอารมณ์ที่ดีอันเป็นกุศลวิบาก ดังนั้นไม่ต้องเลือกอารมณ์ มันแล้วแต่กุศลหรืออกุศลจะให้ผลมา อารมณ์ดีก็รู้ไปด้วยจิตที่เป็นกลาง อารมณ์เลวก็รู้ไปด้วยจิตที่เป็นกลาง
รู้มั้ยว่าความเครียด หนัก แน่น แข็ง ของจิตใจในเวลาลงมือปฏิบัติ เป็นวิบากที่เกิดจากอกุศลตัวไหนให้ผล อ๋อทิฏฐิให้ผล คือมีความเห็นผิดว่าการปฏิบัติต้องทำอย่างนี้ๆ เพราะมีมิจฉาทิฏฐินี่แหละ ถึงได้ลงมือทำตัวเองให้ลำบาก ไม่ใช่ต้องรับอกุศลวิบากจากชาติก่อนเสมอไปหรอกนะ
จริงๆ ง่ายนะ ง่ายมาก ปล่อยให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา เมื่อกระทบอารมณ์ตามธรรมดาแล้ว ก็ปล่อยให้ใจเขาเกิดปฏิกิริยาตามธรรมดา เช่น เห็นสาวสวยเดินมา ใจมีราคะขึ้นมา ก็รู้ไปว่าใจมันมีราคะ ใจตะกี้ไม่มีราคะตอนนี้มีแล้ว นี่ก็แสดงไตรลักษณ์ให้ดูได้แล้ว ของง่ายๆ แค่นี้เอง เห็นหน้าเพื่อนเดินมาดีใจ เห็นมั้ย ใจตะกี้มันเฉยๆ ตอนนี้ดีใจขึ้นมา ไปคุยกับเพื่อนนะ เพื่อนมันขัดคอ ดีใจหายไปแล้วนะ เป็นโทสะแล้ว ใจพลิกไป เรารู้ไปอย่างที่เป็นน่ะ สัมผัสโลกไปอย่างที่มันเป็นแล้วก็ปล่อยให้ใจนี่เกิดความรู้สึกไปอย่างที่มันเป็น เกิดปฏิกิริยาไปอย่างที่มันเป็น เราจะได้เรียนรู้ความจริงของมัน มันทำงานของมันได้เอง มันทำงานทั้งวันทั้งคืน ทำงานทั้งวันทั้งคืนนี่มันแสดงความไม่เที่ยง มันทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ มันแสดงความทุกข์ให้ดู มันบังคับไม่ได้ๆ เลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้ มันแสดงอนัตตาให้ดู นี่ดูจากของจริง ดูง่ายๆ ดูไปเรื่อยๆ นะ เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปี ง่ายๆ แต่ถ้าคิดว่าต้องทำอย่างโน้น คิดว่า ต้องทำอย่างนี้ ต้องเฉลียวใจนิดหนึ่งนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนนะ แต่อาจารย์ชอบสอน พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนนะ ว่าเดินจงกรมนี่ ต้องยกเท้ากี่จังหวะ จะขยับมือ จะต้องรู้กี่จังหวะ ไม่มี นั่นแค่อุบายเท่านั้น อุบายที่อาจารย์ทำมา อาจารย์เคยทดลองด้วยอุบายอย่างนี้แล้วสติเกิดบ่อย อาจารย์ก็บอกนี่ดี วิธีนี้ดี อาจารย์ก็เอามาสอน ถ้าจริตนิสัยของเราตรงกับอาจารย์นะ เราทำตามอาจารย์ก็ได้ผล ถ้าจริตนิสัยไม่ตรงกันก็ไม่ได้ผล ทำอย่างเดียวกันก็ไม่ได้ผล
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
เอกายนมรรค ทางเฉพาะตัว)
ฝึกรู้ขันธ์ตามจริง
อย่าไปปรุงแต่งขันธ์
สังเกตมั้ยหลวงพ่อพูดวนไปวนมา แต่เชื่อเหอะพวกเราเก็บไม่หมดหรอก เก็บไม่ได้หมดหรอกนะ วันหนึ่งๆ เก็บไปได้นิดๆ หน่อยๆ นะ เหมือนเราโยนเพชรโยนทองให้ตะกร้าหนึ่งนะ แต่เก็บได้วันละนิดๆ หน่อยๆ แต่เก็บไปเรื่อยๆ เดี๋ยววันหนึ่งเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อพูดแล้วจะรู้ว่าง่ายที่สุดเลย แล้วจะรู้ว่าโง่แท้ๆ เลยที่ทำให้ยากน่ะ มันง่ายสุดๆ เลยนะ ไม่ได้ทำอะไรน่ะ ไม่ได้ทำอะไร เราหยุดความปรุงแต่งของจิตลงไป จิตมันหยุดปรุงแต่งเพราะมันฉลาดขึ้นมา แค่นั้นเอง จิตมันหยุดปรุงแต่งเพราะมันมีความรู้ความฉลาด แล้วมรรคผลนิพพานก็เกิดแล้ว
ที่มรรคผลนิพพานเกิดไม่ได้ก็เพราะปรุงแต่งไม่เลิก นิพพานเป็นวิสังขารเป็นความไม่ปรุงแต่ง นิพพานเป็นความไม่อยาก เป็นวิราคะ ไม่อยาก เราอยากปฏิบัติ แล้วเราก็ปรุงแต่งการปฏิบัตินะ กำหนดรูป กำหนดนามอะไรนี่ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการบรรลุมรรคผลนิพพานเลย เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาล้วนๆ เลย
วิธีปฏิบัติที่ง่ายๆ ก็คือ มันปรุงขึ้นมาก็รู้ว่าปรุง การปรุงแต่งมีสองอันนะ อันหนึ่งขันธ์มันปรุงแต่ง ขันธ์มันปรุงแต่งน่ะขันธ์มันเป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม ขันธ์มีหน้าที่ปรุงแต่งอยู่แล้ว เราก็ชอบไปคิดว่าทำยังไงขันธ์จะไม่ปรุงแต่ง เช่น ทำยังไงใจจะไม่คิด ใจมีหน้าที่คิดนะ ไม่ใช่ไปปรุงแต่งไม่ให้คิด งั้นที่ว่าพ้นความปรุงแต่งไม่ใช่ไปทำ ขันธ์ไม่ให้ปรุงแต่งนะ ขันธ์มีหน้าที่ปรุงแต่งเพราะขันธ์เป็นธรรมะฝ่ายปรุงแต่ง หน้าที่เราก็คือรู้ขันธ์ตามความเป็นจริงแล้วอย่าไปปรุงแต่งขันธ์ ตัวนี้ต่างหากที่สำคัญ เราอย่าไปปรุงแต่งขันธ์ซะเอง อย่างเช่นจิตมันปรุงกิเลสขึ้นมา เรารู้ทัน เช่นมันปรุงความโกรธขึ้นมาเรารู้ทันนะ ไม่ต้องไปปรุงว่าทำยังไงจะหายโกรธ ปรุงว่าทำยังไงจะไม่โกรธอีก อันนี้เราปรุงแล้วนะ เราปรุง เราไปแทรกแซงขันธ์แล้ว อย่าแทรกแซงขันธ์นะ ให้รู้ขันธ์ตาม ที่เขาเป็น เช่นเรานั่งๆ อยู่ใจลอยไป ไม่ต้องฝึกว่าทำยังไงจะไม่ใจลอย ยังไงก็ลอย เพราะว่าขันธ์ก็จะปรุงแต่งความใจลอยมันก็เรื่องของเขา พอขันธ์ปรุงความใจลอย เราก็ปรุงไม่ให้ใจลอยนะ บางคนรีบกำหนดใหญ่ รีบบริกรรมใหญ่ รีบเพ่งใหญ่ จะไม่ให้ใจลอย หารู้ไม่ว่าตรงนั้นน่ะกิเลสเกิดเรียบร้อยแล้ว ตรงที่กลัวจะใจลอยกิเลสก็เกิดแล้ว ตรงอยากไม่ให้ใจลอยกิเลสก็เกิดแล้ว ตรงที่ลงมือประคับประคองไม่ให้หลงไป นั่นก็ทำไปด้วยอำนาจบงการของกิเลสอีกนั่นแหละ
ธรรมะจริงๆ ง่ายสุดๆ เลยนะ ง่ายมาก ให้รู้ความปรุงแต่งของกายของใจนี่แหละ มันปรุงของมัน เช่นร่างกายหายใจเข้า หายใจออก ไม่ต้องไปฝืนมัน มันจะยืนมันจะเดินจะนั่งจะนอน ไม่ต้องไปห้ามมัน เราไม่ใช่คนง่อยนี่ ไม่ใช่ว่าจู่ๆ จะต้องไปนั่งนิ่งๆ ห้ามกระดุกกระดิก ให้มันเมื่อยขึ้นมาแล้วคอยศึกษาธรรมะจากความเมื่อย ทำไมไม่ศึกษาธรรมะจากความจริง จากของจริงๆ
ถ้าไปแต่งขึ้นมา ใจมันไม่เชื่อหรอกนะ ว่ากายมันเป็นทุกข์จริงๆ หรือบังคับไม่ได้จริงๆ แทนที่จะเห็นไตรลักษณ์ กลับรู้สึกว่าเราควบคุมกายได้ เช่นเราแกล้งนั่งไปนานๆ ให้เมื่อย ในใจลึกๆ จะคิดว่าเพราะฉันนั่งเฉยๆ น่ะสิแกถึงเมื่อย ถ้าฉันขยับเมื่อไรแกก็หายเมื่อย ฉันทำได้ ฉันทำได้ ฉันทำได้นะ ไม่ใช่ฉันทำไม่ได้นะ คือฉันแกล้งนั่งนานๆ แกก็เมื่อย ฉันขยับตัวแกก็หายเมื่อย ร่างกายนี้อยู่ในอำนาจบังคับของฉันแท้ๆ
ครูบาอาจารย์แต่ละรูปที่หลวงพ่อไปเรียนด้วย ส่วนมากท่านไม่ชอบปรุงแต่งอะไรแล้ว ท่านจะบอกง่ายนะ ง่าย บางรูปก็บอกเป็นภาษาอีสานว่า 'ง่ายแท้น้อๆ' อย่างนี้นะ บางรูปก็พูดภาษาภาคกลาง 'มันง่าย นะปราโมทย์ ง่ายจริงๆ นะ' สมัยที่เรายังเที่ยวค้นคว้าหาอยู่เราก็รู้สึกว่ายากสิ ทีนี้ภาวนาไปนะ วันไหนรู้สึกยากนะ เฉลียวใจถึงคำครูบาอาจารย์ เอ๊ะวันนี้ทำไมรู้สึกภาวนายากผิดปกติ หยุดเลย ต้องผิดแล้วล่ะ ต้องผิดแล้ว ผิดแล้วห้ามขยัน ผิดแล้วขยันดันทุรังไปเรื่อย จะยิ่งหลงหนักเข้าไปอีก
มันง่ายมากๆ ให้ตาเรามองเห็นรูปไป ยากมั้ยที่ตามองเห็นรูป ถ้าตาไม่บอดก็ไม่ยากอะไรนะ หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ให้ลิ้นรู้รสไป ไม่ต้องเลือกรสด้วยนะ ไม่ใช่ว่าต้องกินแต่ของไม่อร่อยถึงจะดีนะ ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นจะต้องเลือกด้วยว่าจะดูแต่ของไม่สวย ดูของสวยก็ได้ บางคนจะเลือกสัมผัสแต่ของที่เกิดจากอกุศลคือของไม่ดีไม่งามทั้งหลายอย่างเดียวนะ นึกว่าภาวนาต้องสัมผัสแต่ของไม่ดีอันเป็นผลของอกุศลวิบาก รู้มั้ยการที่เราสัมผัสอารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายน่ะ เกิดจากอกุศลวิบาก ถ้ามีบุญเราก็ได้สัมผัสอารมณ์ที่ดีอันเป็นกุศลวิบาก ดังนั้นไม่ต้องเลือกอารมณ์ มันแล้วแต่กุศลหรืออกุศลจะให้ผลมา อารมณ์ดีก็รู้ไปด้วยจิตที่เป็นกลาง อารมณ์เลวก็รู้ไปด้วยจิตที่เป็นกลาง
รู้มั้ยว่าความเครียด หนัก แน่น แข็ง ของจิตใจในเวลาลงมือปฏิบัติ เป็นวิบากที่เกิดจากอกุศลตัวไหนให้ผล อ๋อทิฏฐิให้ผล คือมีความเห็นผิดว่าการปฏิบัติต้องทำอย่างนี้ๆ เพราะมีมิจฉาทิฏฐินี่แหละ ถึงได้ลงมือทำตัวเองให้ลำบาก ไม่ใช่ต้องรับอกุศลวิบากจากชาติก่อนเสมอไปหรอกนะ
จริงๆ ง่ายนะ ง่ายมาก ปล่อยให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์ไปตามธรรมดา เมื่อกระทบอารมณ์ตามธรรมดาแล้ว ก็ปล่อยให้ใจเขาเกิดปฏิกิริยาตามธรรมดา เช่น เห็นสาวสวยเดินมา ใจมีราคะขึ้นมา ก็รู้ไปว่าใจมันมีราคะ ใจตะกี้ไม่มีราคะตอนนี้มีแล้ว นี่ก็แสดงไตรลักษณ์ให้ดูได้แล้ว ของง่ายๆ แค่นี้เอง เห็นหน้าเพื่อนเดินมาดีใจ เห็นมั้ย ใจตะกี้มันเฉยๆ ตอนนี้ดีใจขึ้นมา ไปคุยกับเพื่อนนะ เพื่อนมันขัดคอ ดีใจหายไปแล้วนะ เป็นโทสะแล้ว ใจพลิกไป เรารู้ไปอย่างที่เป็นน่ะ สัมผัสโลกไปอย่างที่มันเป็นแล้วก็ปล่อยให้ใจนี่เกิดความรู้สึกไปอย่างที่มันเป็น เกิดปฏิกิริยาไปอย่างที่มันเป็น เราจะได้เรียนรู้ความจริงของมัน มันทำงานของมันได้เอง มันทำงานทั้งวันทั้งคืน ทำงานทั้งวันทั้งคืนนี่มันแสดงความไม่เที่ยง มันทนอยู่ในสภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ มันแสดงความทุกข์ให้ดู มันบังคับไม่ได้ๆ เลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้ มันแสดงอนัตตาให้ดู นี่ดูจากของจริง ดูง่ายๆ ดูไปเรื่อยๆ นะ เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปี ง่ายๆ แต่ถ้าคิดว่าต้องทำอย่างโน้น คิดว่า ต้องทำอย่างนี้ ต้องเฉลียวใจนิดหนึ่งนะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนนะ แต่อาจารย์ชอบสอน พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนนะ ว่าเดินจงกรมนี่ ต้องยกเท้ากี่จังหวะ จะขยับมือ จะต้องรู้กี่จังหวะ ไม่มี นั่นแค่อุบายเท่านั้น อุบายที่อาจารย์ทำมา อาจารย์เคยทดลองด้วยอุบายอย่างนี้แล้วสติเกิดบ่อย อาจารย์ก็บอกนี่ดี วิธีนี้ดี อาจารย์ก็เอามาสอน ถ้าจริตนิสัยของเราตรงกับอาจารย์นะ เราทำตามอาจารย์ก็ได้ผล ถ้าจริตนิสัยไม่ตรงกันก็ไม่ได้ผล ทำอย่างเดียวกันก็ไม่ได้ผล
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
เอกายนมรรค ทางเฉพาะตัว)