๕.๒ การลงมือเดินทาง
ทางสายกลางเส้นนี้มีจุดเริ่มต้นจน ถึงปลายทางดังนี้
๕.๒.๑ การเจริญสติปัฏฐานอย่างเป็นอนุปัสสนาหรือการตามรู้กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นต้นทางของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ เพราะเป็นวิธีการที่จะทำให้สติเกิดขึ้นเนืองๆ เนื่องจากจิตจดจำสภาวะ ของรูปนามได้ ในขั้นตอนนี้ขอขยายความสักเล็กน้อยดังนี้
ลำพังการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ศึกษารู้จักรูปนาม ดังนั้นก่อนที่พวกเรา จะเริ่มลงมือเจริญวิปัสสนา เราจะต้องศึกษาให้รู้จักรูปนามของจริงในตนเองให้ได้เสียก่อน ถ้าไม่เห็นหรือไม่รู้จักสภาวะของรูปนาม เราจะไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องต่อไปได้
การศึกษาจนมองเห็นรูปนามของจริงในตนเอง เป็นเครื่องทำลายความเห็นผิดขั้นพื้นฐานที่เห็นว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ หรืออัตตามีอยู่จริงๆ วิธีการก็คือ การหัดมองตัวเราเองอย่างมีการจำแนก (หมายเหตุ การมองสิ่งต่างๆ อย่างมีการจำแนกเรียกว่าวิภัชชวิธี เป็นวิธีการ ค้นหาความจริงหรือสภาวะที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น ถ้าใครคิดว่ารถยนต์มีอยู่จริงๆ ก็ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาดูรถจริงๆ จะพบว่ารถไม่มีจริง มีแต่ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์จำนวนมากมาประกอบกันขึ้นเท่านั้น เป็นต้น)การมองตนเองอย่างมีการจำแนกนี้ อย่าใช้วิธีคิดเอาเองว่าตัวเรามีหรือไม่มี แต่ให้รู้ลงไปที่สภาวะจริงๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าตัวเราให้ได้
ในขั้นแรกสุดไม่ต้องทำอะไรมากนักหรอก ในขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี้ ให้พวกเรารู้สึกลงในร่างกายที่กำลังนั่งอยู่ ขอย้ำว่าต้องรู้สึกเอาว่าที่นั่งอยู่นี้เป็นรูป ไม่ใช่คิดเอาว่านี่คือรูปนั่งไม่ใช่เรานั่ง จากนั้นค่อยๆ สังเกตให้ออกว่า รูปกาย ที่อยู่ในอาการนั่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง จิต ใจที่เป็นผู้ไปรู้รูปนั่งก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อเดินก็รู้ว่ารูปกายที่อยู่ในอาการเดินนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง และจิตใจที่เป็นผู้ไปรู้รูปเดินก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น
ถัดจากนั้นหัดสังเกตและแยกแยะนามธรรมต่อไป คือเมื่อแรกนั่งใหม่ๆ ความรู้สึกสบายมีอยู่ก็รู้ จิตใจที่เป็นผู้ไปรู้ความสบายก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อนั่งนานความรู้สึกสบายหายไป กลายเป็นความรู้สึกปวดเมื่อย ก็รู้ความรู้สึกปวดเมื่อยนั้น และรู้ว่าจิตใจที่เป็นผู้ไปรู้ความปวดเมื่อยนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
หรือในเวลาที่เราได้เห็นภาพที่สวย งามหรือภาพที่น่าพอใจ เช่นภาพลูกของ เรา หรือได้ยินเสียงที่ดีๆ ได้กลิ่นหอม ได้รสอร่อย ได้รับสัมผัสที่ไม่ร้อนหนาว เกินควร ไม่หยาบกระด้างเกินควร หรือได้คิดถึงเรื่องที่ดีๆ จิตใจของเราเกิดความสุขก็ให้รู้ และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความสุขใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และเมื่อได้รับสัมผัสที่ไม่ดี ความรู้สึกทุกข์ใจเกิดขึ้นก็ให้รู้ และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความทุกข์ใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
เมื่อเกิดความปวดเมื่อย หรือได้รับอารมณ์ที่ไม่ดีแล้วเกิดความทุกข์กายทุกข์ใจขึ้นนั้น ค่อยๆสังเกตก็จะพบว่า จิตใจเริ่มจะมีความรู้สึกหงุดหงิดขัด เคือง ก็ให้รู้ว่าความหงุดหงิดขัดเคืองนั้นเป็นส่วนหนึ่ง และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความขัดเคืองนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
เมื่อร่างกายสุขสบายหรือจิตใจมีความสุขสบาย ค่อยๆ สังเกตก็จะพบว่า จิตใจมีความรู้สึกเพลิดเพลินพอใจในอารมณ์ที่มากระทบเหล่านั้น และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความเพลิดเพลินพอใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ ไม่นานก็จะสามารถจำแนกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆออกได้ ว่าประกอบด้วยรูปธรรมส่วนหนึ่ง และนามธรรมอีกส่วนหนึ่ง ในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นก็ยังจำแนกออกไปได้อีก เป็นธรรมชาติ ที่รู้อารมณ์หรือ จิตใจส่วนหนึ่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ส่วนหนึ่ง สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลอีกส่วนหนึ่ง นี้เป็นต้นทางสำคัญของการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือการหัดทำความรู้จักกับสภาวธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา เพื่อที่จะเรียนรู้สภาวธรรมเหล่านี้ให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไป จนสามารถทำลายความเห็นผิดและความยึดถือในความเป็นตัวตนของตนลงได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นจากอาสวกิเลสเพราะความไม่ถือมั่นในรูปนามในที่สุด
การรู้จักสภาวะของรูป ไม่ใช่เป็นเพียงการจำแนกได้ว่าร่างกายนี้ประกอบ ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ เพราะความรู้สึกว่านี่ผม นี่ขน นี่เล็บ นี่ฟัน นี่หนัง เป็น ต้นนั้น ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ต่อเมื่อรู้สึกลงไปได้จริงๆ ว่ากายเราไม่มี ผมขนเล็บฟันหนังก็ไม่มี มีแต่ก้อนธาตุ หรือมีแต่รูปธรรมบางอย่างที่ยืนเดินนั่ง นอนคู้เหยียดไปตามเหตุตามปัจจัย อย่างนี้จึงจะเรียกว่าการรู้จักรูป บางท่าน คิดว่าการรู้รูปเป็นของง่าย แต่ผู้เขียนกลับรู้สึกว่าการรู้รูปจริงๆ เป็นของยาก ถ้าหากจิตไม่มีกำลังของสมถกรรมฐาน เพียงพอแล้ว จะรู้เห็นรูปปรมัตถ์ไม่ได้ สิ่งที่รู้ได้คือบัญญัติเรื่องรูปเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็ทำได้แค่การเพ่งกาย เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง เป็นต้น ดังนั้นถ้าต้องการรู้รูปปรมัตถ์ ให้ชัดเจน ควรทำความสงบจิตในระดับ อัปปนาสมาธิ หรืออย่างน้อยก็ควรได้อุปจารสมาธิ จะช่วยให้เกิดจิตผู้รู้ แล้วเห็นรูปปรมัตถ์ได้ชัดเจนตรงตามเป็นจริงได้โดยง่าย
ส่วนนามธรรมหรือความรู้สึกต่างๆ นั้น บางท่านเห็นว่ารู้ได้ยาก ทั้งที่นามธรรมเป็นของที่ปรากฏตัวตรงๆอยู่แล้ว ผู้เขียนมักถามเพื่อนนักปฏิบัติที่บ่นว่าการดูจิตเป็นของยากเสมอๆว่า รู้จักความรู้สึกโกรธไหม รู้จักความรู้สึกกลัว เกลียด กังวล ไม่สบายใจ อิจฉา และพยาบาทไหม รู้จักความรู้สึกโลภไหม รู้จักความรู้สึกรัก ใคร่ ผูกพัน ห่วง หวง หึงไหม รู้จักความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านไหม รู้จักความรู้สึกที่ใจลอยลืมเนื้อลืมตัว ความหดหู่ ความเซื่องซึม และรู้จักความรู้สึกลังเลสงสัยไหม เป็นต้น ถามใครใครก็รู้จักทั้งนั้น แล้วจะกล่าวว่านามธรรมเป็นสิ่งที่รู้ยากได้อย่างไร แท้ จริงไม่ยากเลยถ้าคิดจะรู้ เพียงแค่ว่าความรู้สึกของเราเองในขณะนี้เป็นอย่างไรก็รู้ไปตามนั้นเท่านั้นเอง
หรือถ้าดูตรงๆไม่ออกก็อย่าตกใจ ลองนึกดูเถิดว่าความรู้สึกของเราในขณะนี้ กับความรู้สึกก่อนหน้านี้เหมือน กันไหม เช่น เมื่อกี้นี้รู้สึกงงๆ ตอนนี้รู้สึกว่าเข้าใจ เมื่อกี้นี้ฟุ้งซ่าน ตอนนี้เริ่ม จะสงบ เป็นต้น หัดตามสังเกตด้วยการเปรียบเทียบความรู้สึกเสมอๆ ไม่นานก็จะรู้จักสภาวธรรมในฝ่ายนามธรรมได้ตั้งมากมาย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค 52 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
ทางสายกลางเส้นนี้มีจุดเริ่มต้นจน ถึงปลายทางดังนี้
๕.๒.๑ การเจริญสติปัฏฐานอย่างเป็นอนุปัสสนาหรือการตามรู้กาย เวทนา จิต และธรรม เป็นต้นทางของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ เพราะเป็นวิธีการที่จะทำให้สติเกิดขึ้นเนืองๆ เนื่องจากจิตจดจำสภาวะ ของรูปนามได้ ในขั้นตอนนี้ขอขยายความสักเล็กน้อยดังนี้
ลำพังการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ศึกษารู้จักรูปนาม ดังนั้นก่อนที่พวกเรา จะเริ่มลงมือเจริญวิปัสสนา เราจะต้องศึกษาให้รู้จักรูปนามของจริงในตนเองให้ได้เสียก่อน ถ้าไม่เห็นหรือไม่รู้จักสภาวะของรูปนาม เราจะไม่สามารถปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องต่อไปได้
การศึกษาจนมองเห็นรูปนามของจริงในตนเอง เป็นเครื่องทำลายความเห็นผิดขั้นพื้นฐานที่เห็นว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ หรืออัตตามีอยู่จริงๆ วิธีการก็คือ การหัดมองตัวเราเองอย่างมีการจำแนก (หมายเหตุ การมองสิ่งต่างๆ อย่างมีการจำแนกเรียกว่าวิภัชชวิธี เป็นวิธีการ ค้นหาความจริงหรือสภาวะที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น ถ้าใครคิดว่ารถยนต์มีอยู่จริงๆ ก็ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาดูรถจริงๆ จะพบว่ารถไม่มีจริง มีแต่ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์จำนวนมากมาประกอบกันขึ้นเท่านั้น เป็นต้น)การมองตนเองอย่างมีการจำแนกนี้ อย่าใช้วิธีคิดเอาเองว่าตัวเรามีหรือไม่มี แต่ให้รู้ลงไปที่สภาวะจริงๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าตัวเราให้ได้
ในขั้นแรกสุดไม่ต้องทำอะไรมากนักหรอก ในขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี้ ให้พวกเรารู้สึกลงในร่างกายที่กำลังนั่งอยู่ ขอย้ำว่าต้องรู้สึกเอาว่าที่นั่งอยู่นี้เป็นรูป ไม่ใช่คิดเอาว่านี่คือรูปนั่งไม่ใช่เรานั่ง จากนั้นค่อยๆ สังเกตให้ออกว่า รูปกาย ที่อยู่ในอาการนั่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง จิต ใจที่เป็นผู้ไปรู้รูปนั่งก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อเดินก็รู้ว่ารูปกายที่อยู่ในอาการเดินนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง และจิตใจที่เป็นผู้ไปรู้รูปเดินก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น
ถัดจากนั้นหัดสังเกตและแยกแยะนามธรรมต่อไป คือเมื่อแรกนั่งใหม่ๆ ความรู้สึกสบายมีอยู่ก็รู้ จิตใจที่เป็นผู้ไปรู้ความสบายก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อนั่งนานความรู้สึกสบายหายไป กลายเป็นความรู้สึกปวดเมื่อย ก็รู้ความรู้สึกปวดเมื่อยนั้น และรู้ว่าจิตใจที่เป็นผู้ไปรู้ความปวดเมื่อยนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
หรือในเวลาที่เราได้เห็นภาพที่สวย งามหรือภาพที่น่าพอใจ เช่นภาพลูกของ เรา หรือได้ยินเสียงที่ดีๆ ได้กลิ่นหอม ได้รสอร่อย ได้รับสัมผัสที่ไม่ร้อนหนาว เกินควร ไม่หยาบกระด้างเกินควร หรือได้คิดถึงเรื่องที่ดีๆ จิตใจของเราเกิดความสุขก็ให้รู้ และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความสุขใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และเมื่อได้รับสัมผัสที่ไม่ดี ความรู้สึกทุกข์ใจเกิดขึ้นก็ให้รู้ และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความทุกข์ใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
เมื่อเกิดความปวดเมื่อย หรือได้รับอารมณ์ที่ไม่ดีแล้วเกิดความทุกข์กายทุกข์ใจขึ้นนั้น ค่อยๆสังเกตก็จะพบว่า จิตใจเริ่มจะมีความรู้สึกหงุดหงิดขัด เคือง ก็ให้รู้ว่าความหงุดหงิดขัดเคืองนั้นเป็นส่วนหนึ่ง และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความขัดเคืองนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
เมื่อร่างกายสุขสบายหรือจิตใจมีความสุขสบาย ค่อยๆ สังเกตก็จะพบว่า จิตใจมีความรู้สึกเพลิดเพลินพอใจในอารมณ์ที่มากระทบเหล่านั้น และรู้ว่าจิตใจที่ไปรู้ความเพลิดเพลินพอใจนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
หัดรู้อย่างนี้บ่อยๆ ไม่นานก็จะสามารถจำแนกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆออกได้ ว่าประกอบด้วยรูปธรรมส่วนหนึ่ง และนามธรรมอีกส่วนหนึ่ง ในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นก็ยังจำแนกออกไปได้อีก เป็นธรรมชาติ ที่รู้อารมณ์หรือ จิตใจส่วนหนึ่ง ความรู้สึกสุขทุกข์ส่วนหนึ่ง สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลอีกส่วนหนึ่ง นี้เป็นต้นทางสำคัญของการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา คือการหัดทำความรู้จักกับสภาวธรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวเรา เพื่อที่จะเรียนรู้สภาวธรรมเหล่านี้ให้ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นต่อไป จนสามารถทำลายความเห็นผิดและความยึดถือในความเป็นตัวตนของตนลงได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นจากอาสวกิเลสเพราะความไม่ถือมั่นในรูปนามในที่สุด
การรู้จักสภาวะของรูป ไม่ใช่เป็นเพียงการจำแนกได้ว่าร่างกายนี้ประกอบ ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ เพราะความรู้สึกว่านี่ผม นี่ขน นี่เล็บ นี่ฟัน นี่หนัง เป็น ต้นนั้น ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ต่อเมื่อรู้สึกลงไปได้จริงๆ ว่ากายเราไม่มี ผมขนเล็บฟันหนังก็ไม่มี มีแต่ก้อนธาตุ หรือมีแต่รูปธรรมบางอย่างที่ยืนเดินนั่ง นอนคู้เหยียดไปตามเหตุตามปัจจัย อย่างนี้จึงจะเรียกว่าการรู้จักรูป บางท่าน คิดว่าการรู้รูปเป็นของง่าย แต่ผู้เขียนกลับรู้สึกว่าการรู้รูปจริงๆ เป็นของยาก ถ้าหากจิตไม่มีกำลังของสมถกรรมฐาน เพียงพอแล้ว จะรู้เห็นรูปปรมัตถ์ไม่ได้ สิ่งที่รู้ได้คือบัญญัติเรื่องรูปเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็ทำได้แค่การเพ่งกาย เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งมือ เพ่งเท้า เพ่งท้อง เป็นต้น ดังนั้นถ้าต้องการรู้รูปปรมัตถ์ ให้ชัดเจน ควรทำความสงบจิตในระดับ อัปปนาสมาธิ หรืออย่างน้อยก็ควรได้อุปจารสมาธิ จะช่วยให้เกิดจิตผู้รู้ แล้วเห็นรูปปรมัตถ์ได้ชัดเจนตรงตามเป็นจริงได้โดยง่าย
ส่วนนามธรรมหรือความรู้สึกต่างๆ นั้น บางท่านเห็นว่ารู้ได้ยาก ทั้งที่นามธรรมเป็นของที่ปรากฏตัวตรงๆอยู่แล้ว ผู้เขียนมักถามเพื่อนนักปฏิบัติที่บ่นว่าการดูจิตเป็นของยากเสมอๆว่า รู้จักความรู้สึกโกรธไหม รู้จักความรู้สึกกลัว เกลียด กังวล ไม่สบายใจ อิจฉา และพยาบาทไหม รู้จักความรู้สึกโลภไหม รู้จักความรู้สึกรัก ใคร่ ผูกพัน ห่วง หวง หึงไหม รู้จักความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านไหม รู้จักความรู้สึกที่ใจลอยลืมเนื้อลืมตัว ความหดหู่ ความเซื่องซึม และรู้จักความรู้สึกลังเลสงสัยไหม เป็นต้น ถามใครใครก็รู้จักทั้งนั้น แล้วจะกล่าวว่านามธรรมเป็นสิ่งที่รู้ยากได้อย่างไร แท้ จริงไม่ยากเลยถ้าคิดจะรู้ เพียงแค่ว่าความรู้สึกของเราเองในขณะนี้เป็นอย่างไรก็รู้ไปตามนั้นเท่านั้นเอง
หรือถ้าดูตรงๆไม่ออกก็อย่าตกใจ ลองนึกดูเถิดว่าความรู้สึกของเราในขณะนี้ กับความรู้สึกก่อนหน้านี้เหมือน กันไหม เช่น เมื่อกี้นี้รู้สึกงงๆ ตอนนี้รู้สึกว่าเข้าใจ เมื่อกี้นี้ฟุ้งซ่าน ตอนนี้เริ่ม จะสงบ เป็นต้น หัดตามสังเกตด้วยการเปรียบเทียบความรู้สึกเสมอๆ ไม่นานก็จะรู้จักสภาวธรรมในฝ่ายนามธรรมได้ตั้งมากมาย
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค 52 โดย พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)