๒. ชาณุโสณีพราหมณ์ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม ที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค สูตรที่ ๗ จูฬหัตถิปโทปมสูตร อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง มีความโดยพิสดารดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี
ได้ยินว่า ทุก ๖ เดือน ชาณุโสณีพราหมณ์จะทำประทักษิณพระนครครั้งหนึ่ง จะมีการโฆษณาล่วงหน้าไว้ว่า พราหมณ์จะทำประทักษิณพระนครวันเท่านี้นับจากวันนี้ คนทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว พวกที่ไม่ไปจากพระนครก็ไม่ไป แม้พวกที่ไปแล้วก็กลับมาด้วยหมายจะชมสิริสมบัติของ ผู้มีบุญ วันใดชาณุโสณีพราหมณ์ทำประทักษิณพระนคร วันนั้นแต่เช้าตรู่ ผู้คนก็จะกวาดถนนในพระนคร เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้พร้อมข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม ยกต้นกล้วยและธง ทำพระนครทั้งสิ้นให้หอมตรลบไปด้วย กลิ่นธูป
เช้าตรู่วันนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ก็อาบน้ำดำเกล้า กินอาหารเบาก่อนอาหารหนัก แต่งตัวด้วยผ้าขาว ลูบไล้เครื่องไล้ขาว ประดับมาลัยขาว สวมแหวนทั้ง ๑๐ นิ้ว ติดตุ้มหูทั้ง ๒ ข้าง แล้วลงจากปราสาทมาขึ้นรถ ซึ่งล้อ หน้าต่างและธูปรถ ขลิบด้วยเงิน ลาเทียมรถตามปกติก็สีขาว แม้เครื่องประดับลาเหล่านั้นก็ทำด้วยเงิน แม้เชือกที่ชุบน้ำประสานเงิน แม้แส้ก็ขลิบด้วยเงิน ในรถจะมีพราหมณ์บริวาร ประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้และมาลาขาวทั้งสิ้น ถือร่มขาว ล้อมชาณุโสณิพราหมณ์นั้น
ต่อแต่นั้นเหล่าพราหมณ์ก็แจกผลไม้น้อยใหญ่แก่พวกเด็กรุ่นๆ ก่อน เพื่อให้มหาชนประชุมกัน แล้วก็โปรยมาสกและกหาปณะ มหาชนก็ชุมนุมกัน ต่างก็ส่งเสียงโห่ร้องกึกก้องและยกผ้าโบกสะบัดไปทั่ว
ลำดับนั้น เมื่อมังคลิกพราหมณ์และโสวัตถิกพราหมณ์เป็นต้นทำการมงคลและสวัสดิ์มงคล ทำประทักษิณพระนครด้วยสมบัติอันใหญ่ มนุษย์ผู้มีบุญทั้งหลายก็ขึ้นไปปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น เปิดหน้าต่างและประตูเสมือนภาชนะขาวมองดู
ชาณุโสณีพราหมณ์มุ่งหน้าไปทางประตูด้านทิศใต้ ประหนึ่งครอบพระนครไว้ด้วยสมบัติ คือยสและสิริของตน
สมัยนั้นแล ขณะที่ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากนครสาวัตถี ได้เห็นปีโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล จึงกล่าวทักว่า “เออแน่ะ ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ มาจากไหน แต่เที่ยงวันเทียว?”
ปีโลติก ตอบว่า : “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้า)”
ชาณุโสณี : “บัณฑิตย่อมสำคัญความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร?”
ปีโลติก : “ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะพึงรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว”
ชาณุโสณี : “ท่านสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
ปิโลติก : “ข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระสมณโคดมผู้เจริญนั้น ใครๆก็สรรเสริญเยินยอแล้ว ว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
ชาณุโสณี : “ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า จึงเป็น ผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้ ?”
ปิโลติก : “ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนหมอช้างผู้ฉลาด เข้าไปในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง พึงเห็นรอยเท้าช้างอันใหญ่ในป่าช้าง เขาพึงสันนิษฐานได้ว่า ช้างนี้ใหญ่จริงหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันเหมือนกันแล เมื่อได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว ก็สันนิษฐานได้ว่าพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ร่องรอย ๔ เป็นไฉน?
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็น ขัตติยบัณฑิต (ผู้ประกอบด้วย ความเป็นบัณฑิต) ๑, พราหมณ์บัณฑิต ๑, คฤหบดีบัณฑิต ๑, สมณบัณฑิต ๑ บางพวกในโลกนี้ ประหนึ่งว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) เขาเหล่า นั้นได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น เขาก็พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมจักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ เมื่อเขาเหล่านั้นได้ฟังว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว เขาก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา บัณฑิตเหล่านั้นก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดย แท้ เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยของบัณฑิตเหล่านี้แล้ว ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้”
เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวจบแล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้ลงจากรถ แล้วทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (ขอ นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
แล้วคิดว่า “เราพึงสมาคมกับพระสมณโคดมพระองค์นั้น การสนทนาปราศรัยอย่างนั้นแหละจะพึงมี”
แล้วชาณุโสณีพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลเล่าถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับปีโลติกปริพาชก แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้าง ยังมิได้บริบูรณ์โดยพิสดาร ท่านจงฟังข้อความโดยที่บริบูรณ์โดยพิสดาร จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว”
ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์ว่า “ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนหมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ในป่าช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ย่อมไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น
หมอช้างเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่าช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่า ช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากฬาริกา มีรอยเท้าใหญ่ รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังอุจจากฬาริกา เหล่านั้น
หมอช้างเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร?เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังอุจจากเณรุกาเหล่านั้น
หมอช้างรอยเท้าช้างใหญ่ ที่ซึ่งถูกเบียดสีในที่สูง ที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้นไปที่โคนต้นไม้ ไปในที่แจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หรือนอน แล้ว เขาย่อมถึงความตกลงใจว่าช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้
ดูกรพราหมณ์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว เป็น ผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ เป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิดแล้ว ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธา แม้นั้นย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจอันใครๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด ต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
กุลบุตรนั้นบรรพชาแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย (พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า สิกขากล่าวคืออธิศีล และสาชีพกล่าวคือสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมกัน มีชีวิตเป็นอันเดียวกัน มีความประพฤติเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สิกขาสาชีวสมาปันนะ) คือเว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังผลประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน เว้นขาดจากการพูดเท็จ มีปกติพูดความจริง มีคำพูดมั่นคง มีคำพูดที่ควรเชื่อถือ ไม่พูดให้คลาดเคลื่อนต่อชาวโลก เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้ว กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รัก จับใจเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่ คำมีหลักฐาน ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควรเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบแตลง
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอไปทางทิสาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษมิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วฯ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายในภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติ สัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ในเวลาภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจากความเพ่งเล็ง อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-มิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต)บ้าง ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว)บ้าง ว่าตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว)บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ เป็นผู้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ภิกษุนั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก แม้ข้อนี้ เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น มีจิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัยนี้ อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ข้อนี้เรากล่าวว่าตถาคตบทบ้าง ฯ
เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี แม้ข้อนี้เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ฯ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อริยสาวกย่อมถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสจบแล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งนัก บุคคลพึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิดของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปที่โพลงด้วยน้ำมันในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด
พรรณนาเรื่อง ชาณุโสณีพราหมณ์ ใน จูฬหัตถิปโทปมสูตร โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์ ๒ ประการคือ ๑. แสดงถึงประโยชน์แห่งการสนทนาธรรม ดังที่ ชาณุโสณีพราหมณ์ สนทนากับ ปีโลติกปริพาชก จนทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ๒. แสดงให้เห็นถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงอรรถาธิบายขยายความแห่งธรรมที่ชาณุโสณีพราหมณ์ได้สดับมาแล้ว ให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น จนทำให้ชาณุโสณีพราหมณ์ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แสดงตนเป็นอุบาสกไปจนตลอดชีวิต
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนผู้ได้สดับธรรมจากบุคคลใดก็ตาม ก็ควรจะปรึกษากับพระสงฆ์ผู้ทรงรู้ธรรมนั้น เพื่อจักได้รับคำอธิบายให้เข้าใจในธรรมนั้น ได้ตรงตามพระพุทโธวาท อันจะทำให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และทำให้ทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองสืบไป
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน นครสาวัตถี
ได้ยินว่า ทุก ๖ เดือน ชาณุโสณีพราหมณ์จะทำประทักษิณพระนครครั้งหนึ่ง จะมีการโฆษณาล่วงหน้าไว้ว่า พราหมณ์จะทำประทักษิณพระนครวันเท่านี้นับจากวันนี้ คนทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว พวกที่ไม่ไปจากพระนครก็ไม่ไป แม้พวกที่ไปแล้วก็กลับมาด้วยหมายจะชมสิริสมบัติของ ผู้มีบุญ วันใดชาณุโสณีพราหมณ์ทำประทักษิณพระนคร วันนั้นแต่เช้าตรู่ ผู้คนก็จะกวาดถนนในพระนคร เกลี่ยทราย โปรยดอกไม้พร้อมข้าวตอก ตั้งหม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม ยกต้นกล้วยและธง ทำพระนครทั้งสิ้นให้หอมตรลบไปด้วย กลิ่นธูป
เช้าตรู่วันนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ก็อาบน้ำดำเกล้า กินอาหารเบาก่อนอาหารหนัก แต่งตัวด้วยผ้าขาว ลูบไล้เครื่องไล้ขาว ประดับมาลัยขาว สวมแหวนทั้ง ๑๐ นิ้ว ติดตุ้มหูทั้ง ๒ ข้าง แล้วลงจากปราสาทมาขึ้นรถ ซึ่งล้อ หน้าต่างและธูปรถ ขลิบด้วยเงิน ลาเทียมรถตามปกติก็สีขาว แม้เครื่องประดับลาเหล่านั้นก็ทำด้วยเงิน แม้เชือกที่ชุบน้ำประสานเงิน แม้แส้ก็ขลิบด้วยเงิน ในรถจะมีพราหมณ์บริวาร ประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้และมาลาขาวทั้งสิ้น ถือร่มขาว ล้อมชาณุโสณิพราหมณ์นั้น
ต่อแต่นั้นเหล่าพราหมณ์ก็แจกผลไม้น้อยใหญ่แก่พวกเด็กรุ่นๆ ก่อน เพื่อให้มหาชนประชุมกัน แล้วก็โปรยมาสกและกหาปณะ มหาชนก็ชุมนุมกัน ต่างก็ส่งเสียงโห่ร้องกึกก้องและยกผ้าโบกสะบัดไปทั่ว
ลำดับนั้น เมื่อมังคลิกพราหมณ์และโสวัตถิกพราหมณ์เป็นต้นทำการมงคลและสวัสดิ์มงคล ทำประทักษิณพระนครด้วยสมบัติอันใหญ่ มนุษย์ผู้มีบุญทั้งหลายก็ขึ้นไปปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น เปิดหน้าต่างและประตูเสมือนภาชนะขาวมองดู
ชาณุโสณีพราหมณ์มุ่งหน้าไปทางประตูด้านทิศใต้ ประหนึ่งครอบพระนครไว้ด้วยสมบัติ คือยสและสิริของตน
สมัยนั้นแล ขณะที่ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากนครสาวัตถี ได้เห็นปีโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล จึงกล่าวทักว่า “เออแน่ะ ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ มาจากไหน แต่เที่ยงวันเทียว?”
ปีโลติก ตอบว่า : “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้า)”
ชาณุโสณี : “บัณฑิตย่อมสำคัญความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร?”
ปีโลติก : “ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะพึงรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว”
ชาณุโสณี : “ท่านสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง”
ปิโลติก : “ข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระสมณโคดมผู้เจริญนั้น ใครๆก็สรรเสริญเยินยอแล้ว ว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
ชาณุโสณี : “ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า จึงเป็น ผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้ ?”
ปิโลติก : “ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนหมอช้างผู้ฉลาด เข้าไปในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง พึงเห็นรอยเท้าช้างอันใหญ่ในป่าช้าง เขาพึงสันนิษฐานได้ว่า ช้างนี้ใหญ่จริงหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันเหมือนกันแล เมื่อได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว ก็สันนิษฐานได้ว่าพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ร่องรอย ๔ เป็นไฉน?
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็น ขัตติยบัณฑิต (ผู้ประกอบด้วย ความเป็นบัณฑิต) ๑, พราหมณ์บัณฑิต ๑, คฤหบดีบัณฑิต ๑, สมณบัณฑิต ๑ บางพวกในโลกนี้ ประหนึ่งว่าเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) เขาเหล่า นั้นได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น เขาก็พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมจักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ เมื่อเขาเหล่านั้นได้ฟังว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว เขาก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา บัณฑิตเหล่านั้นก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดย แท้ เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยของบัณฑิตเหล่านี้แล้ว ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้”
เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวจบแล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้ลงจากรถ แล้วทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ แล้วเปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า
“นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (ขอ นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น)
แล้วคิดว่า “เราพึงสมาคมกับพระสมณโคดมพระองค์นั้น การสนทนาปราศรัยอย่างนั้นแหละจะพึงมี”
แล้วชาณุโสณีพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลเล่าถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับปีโลติกปริพาชก แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้าง ยังมิได้บริบูรณ์โดยพิสดาร ท่านจงฟังข้อความโดยที่บริบูรณ์โดยพิสดาร จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว”
ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์ว่า “ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนหมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ในป่าช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ย่อมไม่ตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น
หมอช้างเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่าช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่า ช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากฬาริกา มีรอยเท้าใหญ่ รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังอุจจากฬาริกา เหล่านั้น
หมอช้างเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ เป็นเหตุแห่งอะไร?เพราะว่าช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังอุจจากเณรุกาเหล่านั้น
หมอช้างรอยเท้าช้างใหญ่ ที่ซึ่งถูกเบียดสีในที่สูง ที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้นไปที่โคนต้นไม้ ไปในที่แจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หรือนอน แล้ว เขาย่อมถึงความตกลงใจว่าช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้
ดูกรพราหมณ์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว เป็น ผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ เป็นไปกับด้วยเทวโลก มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิดแล้ว ในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่งศรัทธา แม้นั้นย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส เพียงดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจอันใครๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตเถิด ต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
กุลบุตรนั้นบรรพชาแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุทั้งหลาย (พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า สิกขากล่าวคืออธิศีล และสาชีพกล่าวคือสิกขาบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ร่วมกัน มีชีวิตเป็นอันเดียวกัน มีความประพฤติเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า สิกขาสาชีวสมาปันนะ) คือเว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังผลประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน เว้นขาดจากการพูดเท็จ มีปกติพูดความจริง มีคำพูดมั่นคง มีคำพูดที่ควรเชื่อถือ ไม่พูดให้คลาดเคลื่อนต่อชาวโลก เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้ว กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะหู ชวนให้รัก จับใจเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่ คำมีหลักฐาน ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควรเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบแตลง
ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอไปทางทิสาภาคใดๆก็ถือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษมิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ดมกลิ่นด้วยฆานะ ลิ้มรสด้วยชิวหา ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วฯ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายในภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติ สัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ในเวลาภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจากความเพ่งเล็ง อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-มิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณของตถาคต)บ้าง ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว)บ้าง ว่าตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว)บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ เป็นผู้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ไม่มีกิเลส ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ภิกษุนั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก แม้ข้อนี้ เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น มีจิตเป็นสมาธิอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ฯ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัยนี้ อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ข้อนี้เรากล่าวว่าตถาคตบทบ้าง ฯ
เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี แม้ข้อนี้เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ฯ
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อริยสาวกย่อมถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสจบแล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งนัก บุคคลพึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิดของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปที่โพลงด้วยน้ำมันในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด
พรรณนาเรื่อง ชาณุโสณีพราหมณ์ ใน จูฬหัตถิปโทปมสูตร โดยพิสดารเช่นนี้ ด้วยประสงค์ ๒ ประการคือ ๑. แสดงถึงประโยชน์แห่งการสนทนาธรรม ดังที่ ชาณุโสณีพราหมณ์ สนทนากับ ปีโลติกปริพาชก จนทำให้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ๒. แสดงให้เห็นถึงการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธเจ้าทรงอรรถาธิบายขยายความแห่งธรรมที่ชาณุโสณีพราหมณ์ได้สดับมาแล้ว ให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น จนทำให้ชาณุโสณีพราหมณ์ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา แสดงตนเป็นอุบาสกไปจนตลอดชีวิต
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนผู้ได้สดับธรรมจากบุคคลใดก็ตาม ก็ควรจะปรึกษากับพระสงฆ์ผู้ทรงรู้ธรรมนั้น เพื่อจักได้รับคำอธิบายให้เข้าใจในธรรมนั้น ได้ตรงตามพระพุทโธวาท อันจะทำให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และทำให้ทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองสืบไป
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 99 ก.พ. 52 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)