สิ่งที่ช่วยปกป้องเท้าของคุณก็คือ รองเท้า ซึ่งควรสวมรองเท้าตลอดเวลาแม้อยู่ในบ้าน เพื่อช่วยรับน้ำหนักและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า หากรองเท้าที่คุณสวมใส่ไม่เหมาะสม เช่นใส่รองเท้าหน้าแคบหรือรองเท้าส้นสูง อาจทำ ให้เกิดอาการปวดเท้าหรือมีความผิดปกติ กับรูปเท้า เนื่องจากเท้าถูกบีบรัด ที่พบบ่อย คือ อาการหัวแม่เท้าเกหรือบิดเข้าสู่นิ้วชี้มากไป จนบางทีเกิดการซ้อนทับ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการรับน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมและปวดเท้านั่นเอง ถ้าคุณมีอาการปวดเท้าอยู่แล้ว แต่ยังเลือกสวมรองเท้าไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้มีอาการปวดเท้าเรื้อรังต่อไปได้อีก เพราะรองเท้านั้นสำคัญ จึงควรเลือกรองเท้าให้เหมาะกับเท้า เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียภายหลัง
• วิธีการเลือกซื้อรองเท้า
- ช่วงบ่ายเหมาะสมที่สุด ถ้าคุณต้องเดินในช่วงกลางวัน ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่ายๆ เพราะเท้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อผ่านการเดินมาตลอดทั้งวัน เนื่องจากเลือดไหล เวียนลงสู่เท้ามากขึ้น จึงเหมาะที่จะเลือกรองเท้าเพื่อป้องกันปัญหารองเท้าคับ แต่ทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและชีวิตประจำวันด้วย
- เลือกคู่ที่ขนาดเหมาะสม คือส้นเท้าจะชิดส้นรองเท้าพอดี และส่วนหัวรองเท้าจะเหลือพื้นที่เท่ากับความกว้างของหัวแม่โป้งมือ เมื่อวัดจากนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วหัวแม่เท้าเสมอไป และส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้าควรตรง และพอดีกับตำแหน่งที่กว้างที่สุดของเท้า
- ใส่แล้วนิ่มสบาย เลือกรองเท้าที่ไม่ มีตะเข็บแข็ง รองเท้าที่ทำจากหนังแท้มักมีความยืดหยุ่นและระบายอากาศดีกว่าหนังเทียม
- ลองก่อนเสมอ เท้าคนเราสองข้างไม่เท่ากัน จึงควรลองรองเท้าทั้งสองข้างและเดินไปมาด้วยว่าสบายเท้าหรือไม่
- เผื่อที่กันคับ อุปกรณ์เสริมในรองเท้า ต่างๆ เช่น แผ่นรองเท้า แผ่นกันรองเท้ากัด ฯลฯ จะทำให้รองเท้าของคุณคับขึ้น หากต้องใช้อุปกรณ์เหล่านั้น ควรเลือกรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
- ไม่คีบดีกว่า การใส่รองเท้าคีบทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณร่องนิ้วเท้า จึงไม่เหมาะในบางคนที่เท้าชา ซึ่งอาจเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
- แบนไปไม่ดี ความแบนราบของพื้นรองเท้า ไม่เหมาะกับสรีระเท้าต่อการรับน้ำหนัก ดังนั้นหากใส่รองเท้าแตะ ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและเสริมบริเวณอุ้งเท้าจะดีกว่า
- รองเท้าสองชั่วโมงการใส่ส้นสูงนานๆ อาจมีปัญหาปวดฝ่าเท้าส่วนหน้า ผิวฝ่าเท้า บริเวณดังกล่าวอาจด้านและแข็งเป็นไต เพราะต้องรับน้ำหนักมาก ดังนั้นควรใส่ ส้นสูงเมื่อจำเป็น เช่น ออกงานกลางคืนและไม่ควรใส่นานเกินสองถึงสามชั่วโมง
• รองเท้าที่เหมาะสมในแต่ละคน
- นักกีฬา ควรเลือกซื้อรองเท้ากีฬา หลังจากเดินสักพักหรือหลังจากเล่นกีฬาเสร็จ เพราะเท้าจะมีขนาดเดียวกันกับขณะเล่นกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับแรงกระแทกได้ดี หากกีฬาที่เล่นใช้ปลายเท้าเป็นส่วนมาก เช่น การวิ่งควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบให้รองรับแรงกระแทกส่วนหน้าโดยเฉพาะ
- คนเท้าแบน เท้าแบนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบถาวรและแบบชั่วคราว ฝ่าเท้าแบนทำให้ปวดบริเวณกลางฝ่าเท้าเนื่องจากเอ็นซึ่งทำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึง ยึด ดังนั้นหากคุณเป็นคนฝ่าเท้าแบนชั่ว คราว (คือเท้าแบนเมื่อเหยียบพื้นเท่านั้น) ควรสวมรองเท้าที่เสริมอุ้งเท้า (บริเวณพื้นรองเท้าด้านในช่วงกลางที่นูนขึ้น)เพื่อช่วยเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้า มีที่หุ้มด้านข้างและหลังเท้า เพื่อพยุงไม่ให้ส้นเท้าบิดและเท้าล้มเข้าด้านในแต่หากฝ่า เท้าแบนถาวรซึ่งมักมีเท้าส่วนกลางกว้างกว่าปกติ ควรเลือกรองเท้าที่ด้านข้างกว้างและมีพื้นนิ่มใส่สบาย
- คนอุ้งเท้าสูงคนอุ้งเท้าสูงจะมีปัญหา ปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า เพราะการรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป รองเท้าจึงควรมีลักษณะเสริมอุ้งเท้าส่วนกลาง (ยกนูนช่วงกลางฝ่าเท้าและเสริมอุ้งเท้า) เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจาก ฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามาที่อุ้งเท้าและควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่น
- คนปวดส้นเท้า การปวดส้นเท้าส่วนใหญ่เกิดจากจุดยึดพังผืดบริเวณส้นเท้าอักเสบ ซึ่งมักปวดมากในการเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน เพราะพังผืดถูกยืดทันทีทันใด รองเท้าที่เหมาะกับปัญหานี้ ควรมีพื้นนิ่ม มีส้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักไปยังเท้า ส่วนหน้า การใส่รองเท้าที่มีการเสริมอุ้งเท้า และนวดฝ่าเท้าก่อนลุกจากเตียง รวมถึงการบริหารยืดเอ็นร้อยหวายซึ่งทำได้โดย การนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า และใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าเอาไว้ ขาอีกข้างชันเข่าขึ้น และออกแรงดึงปลายผ้าทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องตึงค้างไว้ 10 วินาทีนับเป็น1ครั้ง ทำวันละ 10-15 ครั้ง จะช่วยลดการปวดเท้าและลดการเกิดอาการช้ำได้
- คนปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปัญหานี้พบ บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ และผู้ที่มีภาวะหัวแม่เท้าเก ซึ่งหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ภาระจึงตกอยู่กับ ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย เมื่อรับน้ำหนักนานๆ จึงทำให้ปวด ดังนั้นผู้ที่มีอาการ นี้ จึงควรเลือกรองเท้าส้นเตี้ย มีพื้นนิ่ม และมีหน้ารองเท้ากว้าง เพื่อลดการบีบและ เสียดสีของเท้า
- คนเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปลายประสาททำงานผิดปกติ ทำให้เท้าชา มีนิ้วเท้าหงิกงอ ทำให้ฝ่าเท้าด้านหน้ารับน้ำหนักมากและนิ้วเท้าเสียดสีกับหัวรองเท้า จึงควรเลือกใส่รองเท้าพื้นนิ่ม มีหัวลึกและกว้าง ห้ามใช้รองเท้าคีบ เพราะ อาจทำให้เกิดแผลบริเวณร่องนิ้วเท้าได้ ดยไม่รู้ตัว
• วิธีการรักษาสุขภาพเท้า
- หลังจากเท้าต้องทำงานมาทั้งวันการแช่เท้าในน้ำอุ่น หรือนวดฝ่าเท้าช่วยผ่อนคลายความตึงล้าของกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้าได้ แต่ห้ามใช้ในผู้เป็นเบาหวานซึ่งมีผิวเท้าแห้ง เพราะการแช่น้ำทำให้ผิวแห้งมากขึ้น และห้ามใช้ในผู้ที่มีเท้าชาเพราะทำให้ไม่รู้ตัวว่าน้ำนั้นร้อนเกินไป อาจทำให้เท้าพองได้
- ออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า ท่าบริหารทำ ได้โดย
1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้าๆ
2. หมุนข้อเท้าโดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ
3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4. นั่งยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึงแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1-6 ในใจ ถือ เป็น 1 ครั้ง
- หากการปวดเท้ามีการบวมร่วมด้วยและคลำดูเท้าแล้วอุ่นๆ แสดงว่าเป็นอาการอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- หากเลือกรองเท้าดีแล้ว แต่ยังมีอาการปวดเท้าอยู่ สามารถรับการตรวจรักษาได้ที่คลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลศิริราช โทร. 0-2419-7504
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดย ผศ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์ คลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)
• วิธีการเลือกซื้อรองเท้า
- ช่วงบ่ายเหมาะสมที่สุด ถ้าคุณต้องเดินในช่วงกลางวัน ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่ายๆ เพราะเท้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อผ่านการเดินมาตลอดทั้งวัน เนื่องจากเลือดไหล เวียนลงสู่เท้ามากขึ้น จึงเหมาะที่จะเลือกรองเท้าเพื่อป้องกันปัญหารองเท้าคับ แต่ทั้ง นี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและชีวิตประจำวันด้วย
- เลือกคู่ที่ขนาดเหมาะสม คือส้นเท้าจะชิดส้นรองเท้าพอดี และส่วนหัวรองเท้าจะเหลือพื้นที่เท่ากับความกว้างของหัวแม่โป้งมือ เมื่อวัดจากนิ้วเท้าที่ยาวที่สุด ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วหัวแม่เท้าเสมอไป และส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้าควรตรง และพอดีกับตำแหน่งที่กว้างที่สุดของเท้า
- ใส่แล้วนิ่มสบาย เลือกรองเท้าที่ไม่ มีตะเข็บแข็ง รองเท้าที่ทำจากหนังแท้มักมีความยืดหยุ่นและระบายอากาศดีกว่าหนังเทียม
- ลองก่อนเสมอ เท้าคนเราสองข้างไม่เท่ากัน จึงควรลองรองเท้าทั้งสองข้างและเดินไปมาด้วยว่าสบายเท้าหรือไม่
- เผื่อที่กันคับ อุปกรณ์เสริมในรองเท้า ต่างๆ เช่น แผ่นรองเท้า แผ่นกันรองเท้ากัด ฯลฯ จะทำให้รองเท้าของคุณคับขึ้น หากต้องใช้อุปกรณ์เหล่านั้น ควรเลือกรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
- ไม่คีบดีกว่า การใส่รองเท้าคีบทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณร่องนิ้วเท้า จึงไม่เหมาะในบางคนที่เท้าชา ซึ่งอาจเกิดแผลโดยไม่รู้ตัว
- แบนไปไม่ดี ความแบนราบของพื้นรองเท้า ไม่เหมาะกับสรีระเท้าต่อการรับน้ำหนัก ดังนั้นหากใส่รองเท้าแตะ ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและเสริมบริเวณอุ้งเท้าจะดีกว่า
- รองเท้าสองชั่วโมงการใส่ส้นสูงนานๆ อาจมีปัญหาปวดฝ่าเท้าส่วนหน้า ผิวฝ่าเท้า บริเวณดังกล่าวอาจด้านและแข็งเป็นไต เพราะต้องรับน้ำหนักมาก ดังนั้นควรใส่ ส้นสูงเมื่อจำเป็น เช่น ออกงานกลางคืนและไม่ควรใส่นานเกินสองถึงสามชั่วโมง
• รองเท้าที่เหมาะสมในแต่ละคน
- นักกีฬา ควรเลือกซื้อรองเท้ากีฬา หลังจากเดินสักพักหรือหลังจากเล่นกีฬาเสร็จ เพราะเท้าจะมีขนาดเดียวกันกับขณะเล่นกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับแรงกระแทกได้ดี หากกีฬาที่เล่นใช้ปลายเท้าเป็นส่วนมาก เช่น การวิ่งควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบให้รองรับแรงกระแทกส่วนหน้าโดยเฉพาะ
- คนเท้าแบน เท้าแบนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบถาวรและแบบชั่วคราว ฝ่าเท้าแบนทำให้ปวดบริเวณกลางฝ่าเท้าเนื่องจากเอ็นซึ่งทำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึง ยึด ดังนั้นหากคุณเป็นคนฝ่าเท้าแบนชั่ว คราว (คือเท้าแบนเมื่อเหยียบพื้นเท่านั้น) ควรสวมรองเท้าที่เสริมอุ้งเท้า (บริเวณพื้นรองเท้าด้านในช่วงกลางที่นูนขึ้น)เพื่อช่วยเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้า มีที่หุ้มด้านข้างและหลังเท้า เพื่อพยุงไม่ให้ส้นเท้าบิดและเท้าล้มเข้าด้านในแต่หากฝ่า เท้าแบนถาวรซึ่งมักมีเท้าส่วนกลางกว้างกว่าปกติ ควรเลือกรองเท้าที่ด้านข้างกว้างและมีพื้นนิ่มใส่สบาย
- คนอุ้งเท้าสูงคนอุ้งเท้าสูงจะมีปัญหา ปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า เพราะการรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป รองเท้าจึงควรมีลักษณะเสริมอุ้งเท้าส่วนกลาง (ยกนูนช่วงกลางฝ่าเท้าและเสริมอุ้งเท้า) เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจาก ฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามาที่อุ้งเท้าและควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่น
- คนปวดส้นเท้า การปวดส้นเท้าส่วนใหญ่เกิดจากจุดยึดพังผืดบริเวณส้นเท้าอักเสบ ซึ่งมักปวดมากในการเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน เพราะพังผืดถูกยืดทันทีทันใด รองเท้าที่เหมาะกับปัญหานี้ ควรมีพื้นนิ่ม มีส้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักไปยังเท้า ส่วนหน้า การใส่รองเท้าที่มีการเสริมอุ้งเท้า และนวดฝ่าเท้าก่อนลุกจากเตียง รวมถึงการบริหารยืดเอ็นร้อยหวายซึ่งทำได้โดย การนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า และใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าเอาไว้ ขาอีกข้างชันเข่าขึ้น และออกแรงดึงปลายผ้าทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องตึงค้างไว้ 10 วินาทีนับเป็น1ครั้ง ทำวันละ 10-15 ครั้ง จะช่วยลดการปวดเท้าและลดการเกิดอาการช้ำได้
- คนปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปัญหานี้พบ บ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ และผู้ที่มีภาวะหัวแม่เท้าเก ซึ่งหัวแม่เท้าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ภาระจึงตกอยู่กับ ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วชี้ถึงนิ้วก้อย เมื่อรับน้ำหนักนานๆ จึงทำให้ปวด ดังนั้นผู้ที่มีอาการ นี้ จึงควรเลือกรองเท้าส้นเตี้ย มีพื้นนิ่ม และมีหน้ารองเท้ากว้าง เพื่อลดการบีบและ เสียดสีของเท้า
- คนเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปลายประสาททำงานผิดปกติ ทำให้เท้าชา มีนิ้วเท้าหงิกงอ ทำให้ฝ่าเท้าด้านหน้ารับน้ำหนักมากและนิ้วเท้าเสียดสีกับหัวรองเท้า จึงควรเลือกใส่รองเท้าพื้นนิ่ม มีหัวลึกและกว้าง ห้ามใช้รองเท้าคีบ เพราะ อาจทำให้เกิดแผลบริเวณร่องนิ้วเท้าได้ ดยไม่รู้ตัว
• วิธีการรักษาสุขภาพเท้า
- หลังจากเท้าต้องทำงานมาทั้งวันการแช่เท้าในน้ำอุ่น หรือนวดฝ่าเท้าช่วยผ่อนคลายความตึงล้าของกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้าได้ แต่ห้ามใช้ในผู้เป็นเบาหวานซึ่งมีผิวเท้าแห้ง เพราะการแช่น้ำทำให้ผิวแห้งมากขึ้น และห้ามใช้ในผู้ที่มีเท้าชาเพราะทำให้ไม่รู้ตัวว่าน้ำนั้นร้อนเกินไป อาจทำให้เท้าพองได้
- ออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า ท่าบริหารทำ ได้โดย
1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้าๆ
2. หมุนข้อเท้าโดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ
3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4. นั่งยกขาขึ้น เหยียดเข่าตึงแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1-6 ในใจ ถือ เป็น 1 ครั้ง
- หากการปวดเท้ามีการบวมร่วมด้วยและคลำดูเท้าแล้วอุ่นๆ แสดงว่าเป็นอาการอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
- หากเลือกรองเท้าดีแล้ว แต่ยังมีอาการปวดเท้าอยู่ สามารถรับการตรวจรักษาได้ที่คลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลศิริราช โทร. 0-2419-7504
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 98 ม.ค. 52 โดย ผศ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์ คลินิกสุขภาพเท้า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)