ครั้งที่ 79
การเลือกกรรมฐานให้ถูกอัธยาศัย
ช่วยให้บรรลุธรรมง่าย
ดูก่อนภราดา! ปฏิปทาของพระธรรมเสนาบดีที่ปฏิบัติ ต่อคนทั้งหลายผู้เกี่ยวข้องกับตนในฐานะต่างๆ นั้น น่าอัศจรรย์ น่าเลื่อมใส เป็นไปเพื่อคุณความดีแก่ท่านผู้เลื่อมใสแล้วดำเนินตาม
บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี มีรูปงาม บวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระ พระสารีบุตรคิดว่าคนหนุ่ม มีราคะมาก จึงบอกอสุภกัมมัฏฐานให้เพื่อกำจัดราคะ แต่กัมมัฏฐาน นั้นไม่เป็นที่สบายแก่เธอ คือไม่ถูกกับอัธยาศัย เพราะฉะนั้น แม้ท่านจะพยายามทำกัมมัฏฐานอยู่ในป่าถึง 3 เดือนก็ไม่ได้ คุณพิเศษอะไร แม้ใจแน่วแน่เป็นเอกัคคตาก็ไม่ได้ จึงกลับมาสู่ สำนักของพระเถระอีก กราบเรียนให้ท่านทราบว่า ทำกัมมัฏฐาน ไม่ขึ้น พระเถระบอกอสุภกัมมัฏฐานให้ดีขึ้นละเอียดขึ้นอีก แม้ใน วาระที่ 2 ภิกษุรูปนั้นก็ไม่อาจทำคุณวิเศษอะไรให้เกิดขึ้นได้ กลับมาบอกพระเถระอีก พระเถระบอกกัมมัฏฐานอย่างเดิมให้อีก แต่เพิ่มเหตุ เพิ่มอุปมาให้ละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อนำกัมมัฏฐานนั้นไป ทำอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ภิกษุนั้นกลับมาบอกพระเถระอีกว่า ไม่ได้ผล
พระสารีบุตรเถระคิดว่า 'ภิกษุผู้ทำความเพียรย่อมทราบนิวรณ์ มีความพอใจในกามเป็นต้น ที่มีในตนว่า 'มี' ที่ไม่มีในตนว่า 'ไม่มี' ก็ภิกษุนี้เป็นผู้ทำความเพียร มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของเธอ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าควรแนะนำ ชะรอยพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะแนะนำเธอได้' ดังนี้แล้วในเวลาเย็น พาไปเฝ้าพระศาสดา ทูลเล่าเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า 'ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีมาอย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมมีอาสยานุสยญาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้อัธยาศัยของปวงสัตว์)'
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพิจารณาดูอัตตภาพที่ล่วงมาแล้วของเธอ ทรงเห็นว่าภิกษุนั้นเกิดในสกุลช่างทองมา 500 ชาติ ชอบหลอมทองให้เป็นดอกไม้มีดอกบัวและดอกกรรณิการ์เป็นต้น ดังนั้น อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐาน จึงไม่เหมาะแก่อัธยาศัยของเธอ ทรงเห็นกัมมัฏฐานอื่นอันเหมาะแก่อัธยาศัยของเธอแล้วตรัสกับพระสารีบุตรว่า 'สารีบุตร! เธอให้ภิกษุนี้ลำบากมาเป็นเวลาถึง 4 เดือน ด้วยบอก กัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่อัธยาศัยของเขา เธอไปก่อนเถิด เธอจักได้เห็นภิกษุนี้บรรลุพระอรหัตตผลในไม่ช้า'
พระพุทธองค์ทรงเนรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนมีหยาดน้ำจากใบและก้านแล้ว ได้ประทานให้ภิกษุนั้น พร้อมตรัสว่า 'เอาเถิดภิกษุ จงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิแล้วบริกรรมว่า 'โลหิตกํ โลหิตกํ คือ สีแดง สีแดง"
เมื่อเธอรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้นใจก็เลื่อมใสและผ่องใส ได้ทำตามที่พระศาสดารับสั่ง
นิวรณ์ทั้งหลายระงับไปในขณะนั้นเอง อุปจารฌานเกิดขึ้น ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้นถึงความเป็น ผู้ชำนาญเกี่ยวกับ ฌาน 5 อย่าง คือชำนาญในการนึก ในการเข้า ในการออก ในการตั้งอยู่ และการพิจารณา นั่งอยู่ที่เดียวนั่นเอง บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌาน เป็นต้น นั่งเล่นจตุตถฌานที่ชำนาญแล้วอยู่
พระศาสดาทรงทราบว่า ฌานทั้งหลายเกิดแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาต่อไปว่า 'เธอจักอาจเพิ่งยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นโดยลำพังตนเองหรือไม่หนอ' ทรงทราบว่า 'เธอจักไม่อาจ' แล้วทรงอธิษฐานว่า 'ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป'
ดอกปทุมนั้นเหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือ ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้วแลดูดอกปทุมเห็นอนิจจลักษณะว่า 'ทำไมหนอ ดอกปทุมจึงเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ เมื่ออนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีใจครอง) ยังถูกความชราครอบงำอย่างนี้แล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงอุปาทินนกสังขาร'
เมื่อท่านเห็นอนิจจลักษณะแล้ว ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะก็เป็นอันเห็นด้วย ภพทั้ง 3 ปรากฏแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้วและดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ
ขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่งไม่ไกลจากที่ภิกษุนั้นนั่งอยู่นัก เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้วกองไว้บนบก ภิกษุนั้นแลดู ดอกโกมุททั้งบนบกและในน้ำ เห็นดอกโกมุทในน้ำสวยงาม แต่ดอกโกมุทบนบกเหี่ยวแห้ง เธอเห็นอนิจจลักษณะและถึงความสลดใจว่า
'ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมเล่าจะไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า'
พระศาสดาทรงทราบว่า 'บัดนี้กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฏีเปล่งพระรัศมีไปพระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น เธอพิจารณาอยู่ว่า "อะไรหนอ!" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับอยู่ตรงหน้าท่านลุกขึ้นประคองอัญชลี ลำดับนั้นพระศาสดากำหนดอัธยาศัยของเธอ แล้วตรัสว่า 'จงตัดหรือถอนความเยื่อใยของตน เหมือนบุคคลถอนหรือตัดดอกบัวในสารทกาลด้วยมือ จงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะพระนิพพานพระสุคตก็ทรงแสดงไว้แล้ว'
เมื่อจบเทศนาภิกษุรูปนั้นได้บรรลุอรหัตตผล
การเลือกกรรมฐานให้ถูกอัธยาศัย
ช่วยให้บรรลุธรรมง่าย
ดูก่อนภราดา! ปฏิปทาของพระธรรมเสนาบดีที่ปฏิบัติ ต่อคนทั้งหลายผู้เกี่ยวข้องกับตนในฐานะต่างๆ นั้น น่าอัศจรรย์ น่าเลื่อมใส เป็นไปเพื่อคุณความดีแก่ท่านผู้เลื่อมใสแล้วดำเนินตาม
บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี มีรูปงาม บวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระ พระสารีบุตรคิดว่าคนหนุ่ม มีราคะมาก จึงบอกอสุภกัมมัฏฐานให้เพื่อกำจัดราคะ แต่กัมมัฏฐาน นั้นไม่เป็นที่สบายแก่เธอ คือไม่ถูกกับอัธยาศัย เพราะฉะนั้น แม้ท่านจะพยายามทำกัมมัฏฐานอยู่ในป่าถึง 3 เดือนก็ไม่ได้ คุณพิเศษอะไร แม้ใจแน่วแน่เป็นเอกัคคตาก็ไม่ได้ จึงกลับมาสู่ สำนักของพระเถระอีก กราบเรียนให้ท่านทราบว่า ทำกัมมัฏฐาน ไม่ขึ้น พระเถระบอกอสุภกัมมัฏฐานให้ดีขึ้นละเอียดขึ้นอีก แม้ใน วาระที่ 2 ภิกษุรูปนั้นก็ไม่อาจทำคุณวิเศษอะไรให้เกิดขึ้นได้ กลับมาบอกพระเถระอีก พระเถระบอกกัมมัฏฐานอย่างเดิมให้อีก แต่เพิ่มเหตุ เพิ่มอุปมาให้ละเอียดยิ่งขึ้น เมื่อนำกัมมัฏฐานนั้นไป ทำอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ภิกษุนั้นกลับมาบอกพระเถระอีกว่า ไม่ได้ผล
พระสารีบุตรเถระคิดว่า 'ภิกษุผู้ทำความเพียรย่อมทราบนิวรณ์ มีความพอใจในกามเป็นต้น ที่มีในตนว่า 'มี' ที่ไม่มีในตนว่า 'ไม่มี' ก็ภิกษุนี้เป็นผู้ทำความเพียร มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ แต่เราไม่รู้อัธยาศัยของเธอ ภิกษุนั้นเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าควรแนะนำ ชะรอยพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะแนะนำเธอได้' ดังนี้แล้วในเวลาเย็น พาไปเฝ้าพระศาสดา ทูลเล่าเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า 'ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีมาอย่างเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมมีอาสยานุสยญาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้อัธยาศัยของปวงสัตว์)'
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพิจารณาดูอัตตภาพที่ล่วงมาแล้วของเธอ ทรงเห็นว่าภิกษุนั้นเกิดในสกุลช่างทองมา 500 ชาติ ชอบหลอมทองให้เป็นดอกไม้มีดอกบัวและดอกกรรณิการ์เป็นต้น ดังนั้น อสุภปฏิกูลกัมมัฏฐาน จึงไม่เหมาะแก่อัธยาศัยของเธอ ทรงเห็นกัมมัฏฐานอื่นอันเหมาะแก่อัธยาศัยของเธอแล้วตรัสกับพระสารีบุตรว่า 'สารีบุตร! เธอให้ภิกษุนี้ลำบากมาเป็นเวลาถึง 4 เดือน ด้วยบอก กัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่อัธยาศัยของเขา เธอไปก่อนเถิด เธอจักได้เห็นภิกษุนี้บรรลุพระอรหัตตผลในไม่ช้า'
พระพุทธองค์ทรงเนรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้เป็นเหมือนมีหยาดน้ำจากใบและก้านแล้ว ได้ประทานให้ภิกษุนั้น พร้อมตรัสว่า 'เอาเถิดภิกษุ จงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร นั่งขัดสมาธิแล้วบริกรรมว่า 'โลหิตกํ โลหิตกํ คือ สีแดง สีแดง"
เมื่อเธอรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่านั้นใจก็เลื่อมใสและผ่องใส ได้ทำตามที่พระศาสดารับสั่ง
นิวรณ์ทั้งหลายระงับไปในขณะนั้นเอง อุปจารฌานเกิดขึ้น ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นในลำดับแห่งอุปจารฌานนั้นถึงความเป็น ผู้ชำนาญเกี่ยวกับ ฌาน 5 อย่าง คือชำนาญในการนึก ในการเข้า ในการออก ในการตั้งอยู่ และการพิจารณา นั่งอยู่ที่เดียวนั่นเอง บรรลุฌานทั้งหลายมีทุติยฌาน เป็นต้น นั่งเล่นจตุตถฌานที่ชำนาญแล้วอยู่
พระศาสดาทรงทราบว่า ฌานทั้งหลายเกิดแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรงพิจารณาต่อไปว่า 'เธอจักอาจเพิ่งยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นโดยลำพังตนเองหรือไม่หนอ' ทรงทราบว่า 'เธอจักไม่อาจ' แล้วทรงอธิษฐานว่า 'ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป'
ดอกปทุมนั้นเหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือ ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้วแลดูดอกปทุมเห็นอนิจจลักษณะว่า 'ทำไมหนอ ดอกปทุมจึงเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ เมื่ออนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีใจครอง) ยังถูกความชราครอบงำอย่างนี้แล้ว ไม่ต้องกล่าวถึงอุปาทินนกสังขาร'
เมื่อท่านเห็นอนิจจลักษณะแล้ว ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะก็เป็นอันเห็นด้วย ภพทั้ง 3 ปรากฏแก่ท่านดุจไฟติดทั่วแล้วและดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ
ขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่งไม่ไกลจากที่ภิกษุนั้นนั่งอยู่นัก เด็ดดอกโกมุททั้งหลายแล้วกองไว้บนบก ภิกษุนั้นแลดู ดอกโกมุททั้งบนบกและในน้ำ เห็นดอกโกมุทในน้ำสวยงาม แต่ดอกโกมุทบนบกเหี่ยวแห้ง เธอเห็นอนิจจลักษณะและถึงความสลดใจว่า
'ชราย่อมกระทบอนุปาทินนกสังขารอย่างนี้ ทำไมเล่าจะไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า'
พระศาสดาทรงทราบว่า 'บัดนี้กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว ประทับนั่งในพระคันธกุฏีเปล่งพระรัศมีไปพระรัศมีนั้นกระทบหน้าภิกษุนั้น เธอพิจารณาอยู่ว่า "อะไรหนอ!" พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับอยู่ตรงหน้าท่านลุกขึ้นประคองอัญชลี ลำดับนั้นพระศาสดากำหนดอัธยาศัยของเธอ แล้วตรัสว่า 'จงตัดหรือถอนความเยื่อใยของตน เหมือนบุคคลถอนหรือตัดดอกบัวในสารทกาลด้วยมือ จงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะพระนิพพานพระสุคตก็ทรงแสดงไว้แล้ว'
เมื่อจบเทศนาภิกษุรูปนั้นได้บรรลุอรหัตตผล