สำหรับเรื่องของสัมมาสมาธิ มีแง่มุมที่ควรทราบ เพิ่มเติมดังนี้คือ
๔.๔.๑ ความหมายของสมาธิ ก่อนที่จะกล่าวถึงประเภทและการทำงานของ “สัมมาสมาธิ” อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พวกเราควรทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “สมาธิ” เสียก่อน ดังนี้
องค์ธรรมของสมาธิได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เอกัคคตาเจตสิก (๑) มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (๒) มีการรวบ รวมสหชาตธรรมเป็นกิจ คือสมาธิเป็นที่รวมของสภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน เช่น เป็นที่รวมองค์ทั้ง ๗ ของมรรคให้ทำกิจร่วมกันในการรู้รูปนามตามความเป็นจริง จนเกิดอริยมรรคขึ้น เป็นต้น (๓) มีความสงบ (อุปสมะ) เป็นผล และ (๔) มีสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิก (หรือสภาวธรรมที่ประกอบกับจิต) ชนิดที่เรียกว่าสัพพจิตสาธารณเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกชนิดที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง จึงเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่จิตเป็น อกุศล ดังนั้นพวกเราจึงควรระมัดระวัง
ในเรื่องการทำสมาธิกันให้ดี เพราะไม่จำเป็นว่า ถ้าทำสมาธิได้แล้วจะเกิดปัญญาเสมอไป ต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ส่วนสมาธิประเภทที่เกิดร่วมกับอกุศล เช่นเกิดร่วมกับโมหะคือสมาธิประเภทลืมเนื้อลืมตัว หรือจิตเที่ยวฟุ้งซ่านออกไปรู้อะไรๆภายนอก และสมาธิที่เกิดร่วมกับโลภะคือสมาธิประเภทเพลิดเพลินยินดีไปในความสุขความสงบ สมาธิเหล่านี้ไม่ส
๔.๔.๒ ประเภทของสมาธิ สมาธิจำแนกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิธรรมดาโดยทั่วไปหรือมิจฉาสมาธิ กับสมาธิในองค์มรรคหรือสัมมาสมาธิ
สมาธิธรรมดาหรือ มิจฉาสมาธิไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเลวในตัวของมันเอง เพราะสมาธิสามารถเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศลแต่ขาดปัญญาก็ได้ ความหมายของสมาธิประเภทนี้มีตั้งแต่อย่างกว้าง คือ
(๑) หมายถึงเอกัคคตาเจตสิกที่ทำให้จิตทุกดวงสามารถรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือทำให้จิตจับหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว เช่น จิตที่ทำหน้าที่ฟังก็ฟังได้อย่างเดียว คือรู้เสียงได้อย่างเดียว จะคิดไม่ได้ เป็นต้น สมาธิในความหมายนี้เกิดร่วมกับจิตได้ทุกดวงทุกประเภท เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านจึงมองข้ามความสำคัญของสัมมาสมาธิ เพราะไปคิดว่าเอกัคคตาเจตสิกคือสัมมาสมาธิ จึงเห็นว่าแม้ไม่ต้องอบรมสัมมาสมาธิ ก็มีสัมมาสมาธิอยู่แล้ว ความจริง ถ้าสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องทรงสอนเรื่อง จิตสิกขาเอาไว้เลย ในความเป็นจริง สัมมาสมาธิไม่ได้เป็นเพียงเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง หากแต่มีลักษณะเฉพาะบางประการ ซึ่งยากมากที่จะเกิดขึ้นได้
และ (๒) ความหมายของสมาธิในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับการงานอันใดอันหนึ่ง เช่นตั้งมั่นในการอ่านหนังสือ ทำให้อ่านได้รู้เรื่องเป็นอย่างดี และตั้งมั่นในการขับรถ ทำให้ขับได้ดี เป็นต้น สมาธิในลักษณะนี้แหละที่ทำให้พวกเรามักพูดกันว่า วันนี้จิตมีสมาธิ วันนี้จิตไม่มีสมาธิ หรือพูดว่า เด็กคนนี้มีสมาธิสั้น ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งมีสมาธิดี เป็นต้น สมาธิในความหมายนี้จึงไม่ได้ เกิดขึ้นตลอดเวลากับจิตทุกดวง แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ต้องพัฒนาให้มีขึ้น อย่างไรก็ตามสมาธิอย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอย่างโลกๆ ธรรมดาๆ และเอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่กับโลกเท่านั้นเอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๔.๔.๑ ความหมายของสมาธิ ก่อนที่จะกล่าวถึงประเภทและการทำงานของ “สัมมาสมาธิ” อันเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พวกเราควรทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “สมาธิ” เสียก่อน ดังนี้
องค์ธรรมของสมาธิได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก คือความตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
เอกัคคตาเจตสิก (๑) มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ (๒) มีการรวบ รวมสหชาตธรรมเป็นกิจ คือสมาธิเป็นที่รวมของสภาวธรรมที่เกิดร่วมกัน เช่น เป็นที่รวมองค์ทั้ง ๗ ของมรรคให้ทำกิจร่วมกันในการรู้รูปนามตามความเป็นจริง จนเกิดอริยมรรคขึ้น เป็นต้น (๓) มีความสงบ (อุปสมะ) เป็นผล และ (๔) มีสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เอกัคคตาเจตสิก เป็นเจตสิก (หรือสภาวธรรมที่ประกอบกับจิต) ชนิดที่เรียกว่าสัพพจิตสาธารณเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกชนิดที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง จึงเกิดขึ้นได้แม้ในขณะที่จิตเป็น อกุศล ดังนั้นพวกเราจึงควรระมัดระวัง
ในเรื่องการทำสมาธิกันให้ดี เพราะไม่จำเป็นว่า ถ้าทำสมาธิได้แล้วจะเกิดปัญญาเสมอไป ต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ส่วนสมาธิประเภทที่เกิดร่วมกับอกุศล เช่นเกิดร่วมกับโมหะคือสมาธิประเภทลืมเนื้อลืมตัว หรือจิตเที่ยวฟุ้งซ่านออกไปรู้อะไรๆภายนอก และสมาธิที่เกิดร่วมกับโลภะคือสมาธิประเภทเพลิดเพลินยินดีไปในความสุขความสงบ สมาธิเหล่านี้ไม่ส
๔.๔.๒ ประเภทของสมาธิ สมาธิจำแนกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ สมาธิธรรมดาโดยทั่วไปหรือมิจฉาสมาธิ กับสมาธิในองค์มรรคหรือสัมมาสมาธิ
สมาธิธรรมดาหรือ มิจฉาสมาธิไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเลวในตัวของมันเอง เพราะสมาธิสามารถเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นกุศลแต่ขาดปัญญาก็ได้ ความหมายของสมาธิประเภทนี้มีตั้งแต่อย่างกว้าง คือ
(๑) หมายถึงเอกัคคตาเจตสิกที่ทำให้จิตทุกดวงสามารถรู้อารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว คือทำให้จิตจับหรือตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียว เช่น จิตที่ทำหน้าที่ฟังก็ฟังได้อย่างเดียว คือรู้เสียงได้อย่างเดียว จะคิดไม่ได้ เป็นต้น สมาธิในความหมายนี้เกิดร่วมกับจิตได้ทุกดวงทุกประเภท เพื่อนนักปฏิบัติบางท่านจึงมองข้ามความสำคัญของสัมมาสมาธิ เพราะไปคิดว่าเอกัคคตาเจตสิกคือสัมมาสมาธิ จึงเห็นว่าแม้ไม่ต้องอบรมสัมมาสมาธิ ก็มีสัมมาสมาธิอยู่แล้ว ความจริง ถ้าสัมมาสมาธิเกิดได้ง่ายอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่ต้องทรงสอนเรื่อง จิตสิกขาเอาไว้เลย ในความเป็นจริง สัมมาสมาธิไม่ได้เป็นเพียงเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง หากแต่มีลักษณะเฉพาะบางประการ ซึ่งยากมากที่จะเกิดขึ้นได้
และ (๒) ความหมายของสมาธิในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่จิตตั้งมั่นจดจ่ออยู่กับการงานอันใดอันหนึ่ง เช่นตั้งมั่นในการอ่านหนังสือ ทำให้อ่านได้รู้เรื่องเป็นอย่างดี และตั้งมั่นในการขับรถ ทำให้ขับได้ดี เป็นต้น สมาธิในลักษณะนี้แหละที่ทำให้พวกเรามักพูดกันว่า วันนี้จิตมีสมาธิ วันนี้จิตไม่มีสมาธิ หรือพูดว่า เด็กคนนี้มีสมาธิสั้น ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งมีสมาธิดี เป็นต้น สมาธิในความหมายนี้จึงไม่ได้ เกิดขึ้นตลอดเวลากับจิตทุกดวง แต่เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ต้องพัฒนาให้มีขึ้น อย่างไรก็ตามสมาธิอย่างนี้ก็ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิอีกเช่นกัน แต่เป็นสมาธิอย่างโลกๆ ธรรมดาๆ และเอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่กับโลกเท่านั้นเอง
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)