ครั้งที่ 57
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
เมื่อภิกษุทั้งหลายให้เรวัตกุมารบรรพชาเป็นสามเณร โดยการให้เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย รับศีล 10 แล้วบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานใหั
อันตจปัญจกกัมมัฏฐานนั้น คือ กรรมฐานซึ่งมีหนังเป็นที่ 5 กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้พิจารณาสิ่งทั้ง 5 นี้โดยความเป็นของปฏิกูลพึงรังเกียจ โดยนัยเป็นต้นว่า-
"อวัยวะซึ่งเห็นได้ง่ายทั้ง 5 ส่วนนี้ ปฏิกูลโสโครกอยู่โดยสภาพธรรมดา ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้สำคัญตนว่าเป็นเจ้าของ จึงต้องชำระล้างหรือขัดถูวันละหลายๆ ครั้ง เพื่อกำจัดความปฏิกูลโดยสภาพธรรมดาของมัน ถ้าวันใดไม่ได้ชำระล้างก็สกปรก มีกลิ่นเหม็น พึงรังเกียจ แม้เจ้าของเองก็ระอาตัวเอง ผมก็ตาม...หนังก็ตาม ที่ปุถุชนเห็นสวยงามนั้น พอส่วนใดส่วนหนึ่งหล่นลงไปในอาหารหรือน้ำดื่มก็รังเกียจไม่ดื่มกิน
อนึ่ง ที่เห็นสวยงามก็เพราะราคะความกำหนัดย้อมใจให้เห็นผิดไปอย่างนั้น ร่างกายนี้โดยทั่วๆ ไปเป็นของหมักหมมด้วยสิ่งปฏิกูลนานาประการ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมาจะหาอะไรสะอาดสักชิ้นหนึ่งก็ไม่มี ร่างกายมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เพียงเพื่อปกปิดน้ำเลือด น้ำเหลืองอันเอิบอาบอยู่ทั่วร่างกาย กายนี้จึงมีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา ในที่สุดก็แก่และตาย สุดจะแก้ไขอีกต่อไป คนที่เกิดมาแล้วจะไม่แก่ไม่ตายนั้นไม่มี...การประคับประคองกายนี้ไว้ จึงเหมือนกลิ้งครกขึ้นภูเขา วางมือไม่ได้ วางเมื่อใด ครกก็กลิ้งลงทันที ร่างกายนี้ก็เหมือนกัน อยู่ได้ด้วยการประคับประคอง จึงน่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก"
สามเณรเรวัตผู้มีใจโน้มเอียงในทางหน่ายโลกีย์เป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังโอวาทของท่านอุปัชฌาย์ดั่งนี้ ก็เพิ่มแรงแห่งความ ปรารถนาที่จะสลัดตนให้พ้นภัยแห่งกันดาร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตายมากขึ้น เปรียบเสมือนน้ำที่พบทางไหลอันไม่มีอุปสรรคขวางกั้น
เมื่อภิกษุทั้งหลายได้บรรพชาให้สามเณรเรวัตแล้วก็ส่งข่าวไปกราบเรียนให้พระสารีบุตรทราบ พระธรรมเสนาบดีพอใจยิ่งนักที่น้องชายคนเล็กก้าวลงสู่มรรคาอันประเสริฐเพื่อเดินทางไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ท่านทูลลาพระผู้มีพระภาคขอไปเยี่ยมสามเณรน้องชาย
พระพุทธองค์ผู้มีอนาคตังสญาณอันแจ่มใส ทรงมองเห็นเหตุการณ์ข้างหน้าเสมือนบุคคลผู้มีตาดีทั้งสองข้างมองดูตนเองในกระจกใส ทรงยับยั้งพระสารีบุตรไว้ว่า "สารีบุตร! ท่านจงยับยั้งอยู่ก่อนเถิด อย่ารีบไปเลย"
อีก 2-3 วันต่อมา พระอัครสาวกเบื้องขวาทูลลาอีก พระศาสดาทรงยับยั้งไว้อย่างเคยพร้อมกับตรัสว่า "สารีบุตร! คอยก่อนเถิด แม้เราก็จะไปเยี่ยมสามเณรน้องชายของท่านเหมือนกัน"
ฝ่ายสามเณรคิดว่า "เราบวชแล้ว ถ้ายังพำนักอยู่ที่นี่ต่อไป ญาติพี่น้องคงต้องมาตามหาและนำเรากลับไปสู่เรือนอีก" จึงตัดสินใจจะหลีกจากที่นั้นไปเร้นอยู่ในป่าลึก เมื่อแน่ใจดังนี้แล้วก็ขอเรียนกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่ต้นจนเพียงพอที่จะบรรลุอรหัตตผล ได้แล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปในป่าลึก เป็นป่าไม้สะแกนั่นเอง พยายามทำความเพียรติดต่อ มอบกายมอบชีวิตให้แก่การปฏิบัติธรรม ได้บรรลุ อรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในพรรษานั่นเอง
การประพฤติธรรม การบรรลุธรรมไม่เกี่ยวกับอายุ แต่เกี่ยวกับบารมี ผู้มีบารมีแม้อายุน้อยก็มีธรรมในใจมากได้ ส่วนผู้ไม่มีบารมี แม้อายุมากแล้วมีเหลนแล้ว ผมหงอกแล้วหงอกอีก ก็หาได้สนใจธรรมไม่ อย่าพูดถึงว่าจะบรรลุธรรมเลย
ในศาสนานี้ ผู้ใดบรรลุอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์แล้ว แม้ยังเป็นสามเณรท่านก็เรียกกันว่า เถระ โดยถือเอาคุณธรรมเป็น เกณฑ์
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน
เมื่อภิกษุทั้งหลายให้เรวัตกุมารบรรพชาเป็นสามเณร โดยการให้เปล่งวาจาถึงพระรัตนตรัย รับศีล 10 แล้วบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานใหั
อันตจปัญจกกัมมัฏฐานนั้น คือ กรรมฐานซึ่งมีหนังเป็นที่ 5 กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้พิจารณาสิ่งทั้ง 5 นี้โดยความเป็นของปฏิกูลพึงรังเกียจ โดยนัยเป็นต้นว่า-
"อวัยวะซึ่งเห็นได้ง่ายทั้ง 5 ส่วนนี้ ปฏิกูลโสโครกอยู่โดยสภาพธรรมดา ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้สำคัญตนว่าเป็นเจ้าของ จึงต้องชำระล้างหรือขัดถูวันละหลายๆ ครั้ง เพื่อกำจัดความปฏิกูลโดยสภาพธรรมดาของมัน ถ้าวันใดไม่ได้ชำระล้างก็สกปรก มีกลิ่นเหม็น พึงรังเกียจ แม้เจ้าของเองก็ระอาตัวเอง ผมก็ตาม...หนังก็ตาม ที่ปุถุชนเห็นสวยงามนั้น พอส่วนใดส่วนหนึ่งหล่นลงไปในอาหารหรือน้ำดื่มก็รังเกียจไม่ดื่มกิน
อนึ่ง ที่เห็นสวยงามก็เพราะราคะความกำหนัดย้อมใจให้เห็นผิดไปอย่างนั้น ร่างกายนี้โดยทั่วๆ ไปเป็นของหมักหมมด้วยสิ่งปฏิกูลนานาประการ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป ตั้งแต่ปลายผมลงมาจะหาอะไรสะอาดสักชิ้นหนึ่งก็ไม่มี ร่างกายมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เพียงเพื่อปกปิดน้ำเลือด น้ำเหลืองอันเอิบอาบอยู่ทั่วร่างกาย กายนี้จึงมีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา ในที่สุดก็แก่และตาย สุดจะแก้ไขอีกต่อไป คนที่เกิดมาแล้วจะไม่แก่ไม่ตายนั้นไม่มี...การประคับประคองกายนี้ไว้ จึงเหมือนกลิ้งครกขึ้นภูเขา วางมือไม่ได้ วางเมื่อใด ครกก็กลิ้งลงทันที ร่างกายนี้ก็เหมือนกัน อยู่ได้ด้วยการประคับประคอง จึงน่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก"
สามเณรเรวัตผู้มีใจโน้มเอียงในทางหน่ายโลกีย์เป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังโอวาทของท่านอุปัชฌาย์ดั่งนี้ ก็เพิ่มแรงแห่งความ ปรารถนาที่จะสลัดตนให้พ้นภัยแห่งกันดาร คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตายมากขึ้น เปรียบเสมือนน้ำที่พบทางไหลอันไม่มีอุปสรรคขวางกั้น
เมื่อภิกษุทั้งหลายได้บรรพชาให้สามเณรเรวัตแล้วก็ส่งข่าวไปกราบเรียนให้พระสารีบุตรทราบ พระธรรมเสนาบดีพอใจยิ่งนักที่น้องชายคนเล็กก้าวลงสู่มรรคาอันประเสริฐเพื่อเดินทางไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ท่านทูลลาพระผู้มีพระภาคขอไปเยี่ยมสามเณรน้องชาย
พระพุทธองค์ผู้มีอนาคตังสญาณอันแจ่มใส ทรงมองเห็นเหตุการณ์ข้างหน้าเสมือนบุคคลผู้มีตาดีทั้งสองข้างมองดูตนเองในกระจกใส ทรงยับยั้งพระสารีบุตรไว้ว่า "สารีบุตร! ท่านจงยับยั้งอยู่ก่อนเถิด อย่ารีบไปเลย"
อีก 2-3 วันต่อมา พระอัครสาวกเบื้องขวาทูลลาอีก พระศาสดาทรงยับยั้งไว้อย่างเคยพร้อมกับตรัสว่า "สารีบุตร! คอยก่อนเถิด แม้เราก็จะไปเยี่ยมสามเณรน้องชายของท่านเหมือนกัน"
ฝ่ายสามเณรคิดว่า "เราบวชแล้ว ถ้ายังพำนักอยู่ที่นี่ต่อไป ญาติพี่น้องคงต้องมาตามหาและนำเรากลับไปสู่เรือนอีก" จึงตัดสินใจจะหลีกจากที่นั้นไปเร้นอยู่ในป่าลึก เมื่อแน่ใจดังนี้แล้วก็ขอเรียนกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่ต้นจนเพียงพอที่จะบรรลุอรหัตตผล ได้แล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปในป่าลึก เป็นป่าไม้สะแกนั่นเอง พยายามทำความเพียรติดต่อ มอบกายมอบชีวิตให้แก่การปฏิบัติธรรม ได้บรรลุ อรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในพรรษานั่นเอง
การประพฤติธรรม การบรรลุธรรมไม่เกี่ยวกับอายุ แต่เกี่ยวกับบารมี ผู้มีบารมีแม้อายุน้อยก็มีธรรมในใจมากได้ ส่วนผู้ไม่มีบารมี แม้อายุมากแล้วมีเหลนแล้ว ผมหงอกแล้วหงอกอีก ก็หาได้สนใจธรรมไม่ อย่าพูดถึงว่าจะบรรลุธรรมเลย
ในศาสนานี้ ผู้ใดบรรลุอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์แล้ว แม้ยังเป็นสามเณรท่านก็เรียกกันว่า เถระ โดยถือเอาคุณธรรมเป็น เกณฑ์