ปัญหาระหว่างครูบาอาจารย์กับนักเรียนและนิสิตนักศึกษา (ซึ่งต่อไปขอเรียกว่าสั้นๆ ว่าครูกับศิษย์) ในสถานศึกษาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และที่ว่านานนั้นก็มิได้หมายความแต่เพียงความสัมพันธ์ในเชิงชู้สาวหรือการล่วงละเมิดทางเพศอย่างที่เป็นข่าวแต่เพียงเรื่องเดียว แต่ยังมีมากกว่านั้นอีกด้วย
พูดอย่างย่อหน้าแรกอาจไม่เห็นภาพ แต่ครั้นจะยกตัวอย่างให้เห็นจากเฉพาะในปัจจุบันก็จะเข้าใจได้ไม่ครอบคลุม ผมจึงอยากจะย้อนไปถึงอดีตในช่วงที่ไม่ใกล้ไม่ไกลมาพอให้เห็น
กล่าวคือ เมื่อสัก 50-60 กว่าปีก่อน (หรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ไกลเกินกว่าตอนที่การศึกษาแบบสมัยใหม่เริ่มเข้ามาในสังคมไทย) เป็นที่รู้กันว่าคนที่เป็นครูนั้นจะได้รับการยกย่องและให้เกียรติจากชุมชนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นรองก็แต่พระสงฆ์องค์เจ้าเท่านั้น ยิ่งพระองค์ไหนมีฐานะเป็นผู้สอน (ในโรงเรียนวัด) ด้วยแล้ว ฐานะที่ว่าก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์แถมพ่วงมาด้วย
แต่ฐานะที่ว่านี้เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะนับแต่ที่มหาวิทยาลัยได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ นับแต่ต้นทศวรรษ 2500 เรื่อยมา การถูกผลิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ นี้มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจของตัวบัณฑิตเอง (รวมถึงครอบครัวของบัณฑิต) บัณฑิตจึงเป็นอะไรที่หลายคนใฝ่ฝันอยากจะไต่ไปให้ถึง
แต่การที่จะผลิตบัณฑิตให้ได้นั้น อย่างน้อยก็ต้องมีหลักประกันก่อนว่า โรงเรียนจะต้องมี “คุณภาพ” ที่สูงพอที่จะทำให้เด็กนักเรียนของตนสอบเอ็นทรานซ์ได้ ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนในกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นที่รวมของโรงเรียน “คุณภาพ” ที่นักเรียนต่างมุ่งที่จะเข้ามาเรียนให้ได้ และจากนั้นก็เกิดโรงเรียนกวดวิชาตามมา
ที่ผมต้องวงเล็บตรงคำว่าคุณภาพเอาไว้ด้วยก็เพราะผมมีพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนมีสมองเท่ากันโดยเฉลี่ย คนที่โง่เรื่องหนึ่งก็อาจฉลาดในเรื่องหนึ่งได้ และคนที่ฉลาดในเรื่องหนึ่งก็อาจโง่ในบางเรื่องได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบเห็นคนที่เรียนเก่งตอนเด็กแต่อาจไม่เก่งตอนโตก็มี และคนที่เราเห็นว่าโง่ตอนเด็กแต่อาจฉลาดตอนโตก็ถมไป เป็นต้น แต่สิ่งที่ทุกคนมีไม่เท่ากันก็คือ โอกาส
ที่สำคัญคือ บ่อยครั้งเจ้าโอกาสนี้มักจะมาพร้อมกับฐานะทางเศรษฐกิจเสียด้วย เรียกว่าคนที่รวยกว่าก็มักมีโอกาสทางการศึกษามากกว่าคนที่จนกว่า
ฉะนั้น ตอนที่โรงเรียนในส่วนกลางยังไม่ไต่ระดับ “คุณภาพ” ของตัวเองดังทุกวันนี้เมื่อราว 40 ปีก่อนเป็นอย่างน้อย ผมจึงมีโอกาสได้เห็นเด็กต่างจังหวัดมาเรียนมหาวิทยาลัยดังๆ ของรัฐในกรุงเทพฯ กันขวักไขว่ไปหมด ซึ่งผิดกับเดี๋ยวนี้ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นเด็กกรุงเทพฯ ส่วนเด็กต่างจังหวัดที่เป็นส่วนน้อยนั้นก็มักเป็นเด็กที่มีฐานะทางบ้านไม่ต่ำกว่าชนชั้นกลางขึ้นไป แต่จะด้วยเหตุนี้หรือไม่สุดปัญญาของผมที่จะรู้ได้ นั่นก็คือว่า เวลานั้นปัญหาอันเลวร้ายที่ครูกระทำต่อศิษย์อย่างที่เป็นข่าวในทุกวันนี้แทบจะไม่มีให้ได้ยินได้เห็น (หรือว่ามี แต่ไม่เป็นข่าว?)
และที่ผมไม่เข้าใจอีกอย่างก็คือ ทำไมคนที่เรียนอยู่มัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จึงมีความเป็นผู้ใหญ่หรือชอบทำตัวเป็นผู้ใหญ่มากกว่าปัจจุบัน และมีไม่น้อยจะแสดงอาการไม่พอใจถ้าหากตนถูกมองว่าเป็นเด็กอีกด้วย
ส่วนในปัจจุบันกลับกัน คือบางคนแม้อายุจะเลย 20 ไปแล้ว แต่ก็ยังชอบทำตัวเป็นเด็กอยู่ร่ำไปไม่รู้เบื่อ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการแสวงหาเครื่องประทินโฉมต่างๆ เพื่อทำให้ตัวเองดูเด็กกว่าวัย ทั้งที่อายุก็เลย 25 หรือ 30 ไปแล้ว ซ้ำบางคนจะโกรธเอามากๆ หากถูกมองว่าเป็น “ผู้ใหญ่” เพราะความหมายของมันก็คือ “แก่”
และหากความเป็นผู้ใหญ่คือมาตรวัดวุฒิภาวะอย่างหนึ่งแล้ว ใช่หรือไม่ว่า เยาวชนในทุกวันนี้มีวุฒิภาวะน้อยกว่าเยาวชนในอดีต?
แต่เพราะระบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปนี้เอง (หรือพูดให้ตรงจุดและดูขลังหน่อยก็คือ ไม่ปฏิรูป) ที่ทำให้เยาวชนจำนวนมากเข้ามหาวิทยาลัยได้มากขึ้นและง่ายขึ้น และที่แย่ก็คือ เสียงบ่นของเพื่อนครูจากแทบทุกภาคของประเทศก็คือ ลูกศิษย์เอาใจใส่การเรียนน้อยลง แต่ต่างก็อยากจะได้เกรดเอกัน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่ไปกับที่ระบบทุนนิยมเองได้ลดค่าความสำคัญของครูลงไป ครูจึงไม่ได้รับความเคารพนับถือจากชุมชนดังเช่นอดีตอีกต่อไป และไปๆมาๆ ความสำคัญของครูในยุคที่ระบบทุนนิยมกำลังเฟื่องฟูเช่นนี้จึงอยู่ตรงที่ว่า ครูคนนั้นรวยหรือเปล่า
และจะแสดงความรวยได้ก็มีแต่หนทางเดียวคือ การใช้ชีวิตที่ทำให้ตนดูดีมีฐานะ ส่วนจะไปหารายได้พิเศษมาจุนเจือด้วยวิธีใด หรือไปกู้หนี้ยืมสินก็ว่ากันไป
ฉะนั้น ครูที่ยังยืนหยัดอยู่บนศักดิ์ศรีและเกียรติยศของความเป็นครู จึงย่อมเป็นครูที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยม และอย่างที่ผมเกริ่นไว้แต่แรกแล้วว่า ครูที่ผมพูดถึงอยู่นี้รวมหมดทุกสถานศึกษาที่รวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าครูที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยมคือครูในมหาวิทยาลัยนะครับ เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็แทบเอาตัวไม่รอดพอๆ กัน โดยเฉพาะครูคนไหนที่รู้เท่าทันมาก ครูคนนั้นก็จะยิ่งถูกระบบทุนนิยมรุมทำลายมากไปด้วย
ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ดูครู (ที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยม) ในยุคที่ระบอบทักษิณครองเมืองเป็นตัวอย่างก็ได้ ที่จะเห็นได้ว่า ไม่มียุคไหนที่ครูจะถูกดูถูกและถูกทำลายจากระบบทุนนิยมมากเท่านี้อีกแล้ว
ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีครูที่ไม่รู้เท่าทันระบบทุนนิยมอยู่ไม่น้อยและมีอยู่แทบทุกที่ และระดับการไม่รู้ของครูแต่ละคนก็ไม่เท่ากันเสียด้วย และเพราะรู้ไม่เท่ากัน ครูแต่ละคนจึงแสดงสิ่งที่แย่ๆ แตกต่างกัน เช่นบางคนไม่ค่อยสอน แต่สามารถแจกเกรดเอให้ศิษย์ของตนได้ ส่วนศิษย์ที่ชอบทำตัวเป็น “เด็ก” ที่ไม่รับผิดชอบอยู่ร่ำไป นี่ย่อมเป็นโอกาสอันดีในการเรียนง่าย จบเร็ว และเกรดเจ๋ง แย่ลงมาหน่อยก็เรียกเอาประโยชน์จากศิษย์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแลกกับเกรด และถ้าแย่มากๆ ก็อย่างที่เป็นข่าวนั่นแหละครับ คือเอาเกรดแลกกับเซ็กซ์ หรือเอาเซ็กซ์แลกกับเกรด
ตัวอย่างข้างต้นไม่ต้องบอกก็รู้นะครับ ว่าสองตัวอย่างแรกนั้นสังคมรู้กันน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก แต่ตัวอย่างหลังนั้นรู้กันง่ายกว่า ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร
แต่ตัวอย่างหลังนี้แสบมากครับ เพราะเป็นเหตุทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องออกมาตรการต่างๆ ที่ออกจะ “เกินไป” ในหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นแล้วเซ็งก็คือ การให้ครูกับศิษย์คุยกันในห้องที่มีกระจกใสเพื่อให้ทุกคนได้เห็น
สำหรับครูและศิษย์ดีๆ ย่อมมีประสบการณ์ร่วมกันอย่างหนึ่งคือ บ่อยครั้งที่ศิษย์มาปรึกษาครูเรื่องปัญหาชีวิตส่วนตัว การที่ศิษย์เลือกที่จะคุยกับครูเพราะเชื่อใจครู ดังนั้น การแสดงออกที่เป็นผลสะเทือนทางอารมณ์และจิตใจของศิษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางครั้ง (เช่นร้องไห้) และเพื่อรักษาเกียรติยศและสิทธิของศิษย์ ครูจึงย่อมไม่อาจเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของศิษย์แก่ใครทั้งนั้น ยกเว้นเป็นเรื่องที่สำคัญ
คิดดูสิครับ แมวที่ไหนจะมาร้องไห้ให้ทุกคนได้เห็นในห้องที่ติดกระจกใสละครับ และถ้าเกิดครูเป็นชายและศิษย์เป็นหญิงแล้ว คนมองโลกในแง่ร้าย (หรือคิดร้าย) ก็จะทำให้ทั้งครูและศิษย์พลอยซวยไปด้วย
การแก้ปัญหาแบบข้างต้นนั้นเป็นการแก้แบบปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง ซึ่งเป็นการแก้ที่ง่ายและหยาบ ไม่ต้องใช้สมองมาก และก็เพราะเหตุนี้ ปลาดีจึงไม่ได้รับคำตอบว่าทำไมตัวต้องมารับเคราะห์ แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือ ปลาเน่าที่เป็นต้นเหตุของปัญหาก็ไม่ถูกตั้งคำถามด้วยว่า ทำไมตนถึงได้เน่าขนาดนี้
ก็เพราะอย่างนี้เอง ปัญหาครูกับศิษย์จะยังคงมีให้เห็นต่อไป
พูดอย่างย่อหน้าแรกอาจไม่เห็นภาพ แต่ครั้นจะยกตัวอย่างให้เห็นจากเฉพาะในปัจจุบันก็จะเข้าใจได้ไม่ครอบคลุม ผมจึงอยากจะย้อนไปถึงอดีตในช่วงที่ไม่ใกล้ไม่ไกลมาพอให้เห็น
กล่าวคือ เมื่อสัก 50-60 กว่าปีก่อน (หรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ไกลเกินกว่าตอนที่การศึกษาแบบสมัยใหม่เริ่มเข้ามาในสังคมไทย) เป็นที่รู้กันว่าคนที่เป็นครูนั้นจะได้รับการยกย่องและให้เกียรติจากชุมชนเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นรองก็แต่พระสงฆ์องค์เจ้าเท่านั้น ยิ่งพระองค์ไหนมีฐานะเป็นผู้สอน (ในโรงเรียนวัด) ด้วยแล้ว ฐานะที่ว่าก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์แถมพ่วงมาด้วย
แต่ฐานะที่ว่านี้เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะนับแต่ที่มหาวิทยาลัยได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ นับแต่ต้นทศวรรษ 2500 เรื่อยมา การถูกผลิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ นี้มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจของตัวบัณฑิตเอง (รวมถึงครอบครัวของบัณฑิต) บัณฑิตจึงเป็นอะไรที่หลายคนใฝ่ฝันอยากจะไต่ไปให้ถึง
แต่การที่จะผลิตบัณฑิตให้ได้นั้น อย่างน้อยก็ต้องมีหลักประกันก่อนว่า โรงเรียนจะต้องมี “คุณภาพ” ที่สูงพอที่จะทำให้เด็กนักเรียนของตนสอบเอ็นทรานซ์ได้ ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนในกรุงเทพฯ จึงกลายเป็นที่รวมของโรงเรียน “คุณภาพ” ที่นักเรียนต่างมุ่งที่จะเข้ามาเรียนให้ได้ และจากนั้นก็เกิดโรงเรียนกวดวิชาตามมา
ที่ผมต้องวงเล็บตรงคำว่าคุณภาพเอาไว้ด้วยก็เพราะผมมีพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนมีสมองเท่ากันโดยเฉลี่ย คนที่โง่เรื่องหนึ่งก็อาจฉลาดในเรื่องหนึ่งได้ และคนที่ฉลาดในเรื่องหนึ่งก็อาจโง่ในบางเรื่องได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบเห็นคนที่เรียนเก่งตอนเด็กแต่อาจไม่เก่งตอนโตก็มี และคนที่เราเห็นว่าโง่ตอนเด็กแต่อาจฉลาดตอนโตก็ถมไป เป็นต้น แต่สิ่งที่ทุกคนมีไม่เท่ากันก็คือ โอกาส
ที่สำคัญคือ บ่อยครั้งเจ้าโอกาสนี้มักจะมาพร้อมกับฐานะทางเศรษฐกิจเสียด้วย เรียกว่าคนที่รวยกว่าก็มักมีโอกาสทางการศึกษามากกว่าคนที่จนกว่า
ฉะนั้น ตอนที่โรงเรียนในส่วนกลางยังไม่ไต่ระดับ “คุณภาพ” ของตัวเองดังทุกวันนี้เมื่อราว 40 ปีก่อนเป็นอย่างน้อย ผมจึงมีโอกาสได้เห็นเด็กต่างจังหวัดมาเรียนมหาวิทยาลัยดังๆ ของรัฐในกรุงเทพฯ กันขวักไขว่ไปหมด ซึ่งผิดกับเดี๋ยวนี้ที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นเด็กกรุงเทพฯ ส่วนเด็กต่างจังหวัดที่เป็นส่วนน้อยนั้นก็มักเป็นเด็กที่มีฐานะทางบ้านไม่ต่ำกว่าชนชั้นกลางขึ้นไป แต่จะด้วยเหตุนี้หรือไม่สุดปัญญาของผมที่จะรู้ได้ นั่นก็คือว่า เวลานั้นปัญหาอันเลวร้ายที่ครูกระทำต่อศิษย์อย่างที่เป็นข่าวในทุกวันนี้แทบจะไม่มีให้ได้ยินได้เห็น (หรือว่ามี แต่ไม่เป็นข่าว?)
และที่ผมไม่เข้าใจอีกอย่างก็คือ ทำไมคนที่เรียนอยู่มัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัยในเวลานั้น จึงมีความเป็นผู้ใหญ่หรือชอบทำตัวเป็นผู้ใหญ่มากกว่าปัจจุบัน และมีไม่น้อยจะแสดงอาการไม่พอใจถ้าหากตนถูกมองว่าเป็นเด็กอีกด้วย
ส่วนในปัจจุบันกลับกัน คือบางคนแม้อายุจะเลย 20 ไปแล้ว แต่ก็ยังชอบทำตัวเป็นเด็กอยู่ร่ำไปไม่รู้เบื่อ ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการแสวงหาเครื่องประทินโฉมต่างๆ เพื่อทำให้ตัวเองดูเด็กกว่าวัย ทั้งที่อายุก็เลย 25 หรือ 30 ไปแล้ว ซ้ำบางคนจะโกรธเอามากๆ หากถูกมองว่าเป็น “ผู้ใหญ่” เพราะความหมายของมันก็คือ “แก่”
และหากความเป็นผู้ใหญ่คือมาตรวัดวุฒิภาวะอย่างหนึ่งแล้ว ใช่หรือไม่ว่า เยาวชนในทุกวันนี้มีวุฒิภาวะน้อยกว่าเยาวชนในอดีต?
แต่เพราะระบบการศึกษาที่เปลี่ยนไปนี้เอง (หรือพูดให้ตรงจุดและดูขลังหน่อยก็คือ ไม่ปฏิรูป) ที่ทำให้เยาวชนจำนวนมากเข้ามหาวิทยาลัยได้มากขึ้นและง่ายขึ้น และที่แย่ก็คือ เสียงบ่นของเพื่อนครูจากแทบทุกภาคของประเทศก็คือ ลูกศิษย์เอาใจใส่การเรียนน้อยลง แต่ต่างก็อยากจะได้เกรดเอกัน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นควบคู่ไปกับที่ระบบทุนนิยมเองได้ลดค่าความสำคัญของครูลงไป ครูจึงไม่ได้รับความเคารพนับถือจากชุมชนดังเช่นอดีตอีกต่อไป และไปๆมาๆ ความสำคัญของครูในยุคที่ระบบทุนนิยมกำลังเฟื่องฟูเช่นนี้จึงอยู่ตรงที่ว่า ครูคนนั้นรวยหรือเปล่า
และจะแสดงความรวยได้ก็มีแต่หนทางเดียวคือ การใช้ชีวิตที่ทำให้ตนดูดีมีฐานะ ส่วนจะไปหารายได้พิเศษมาจุนเจือด้วยวิธีใด หรือไปกู้หนี้ยืมสินก็ว่ากันไป
ฉะนั้น ครูที่ยังยืนหยัดอยู่บนศักดิ์ศรีและเกียรติยศของความเป็นครู จึงย่อมเป็นครูที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยม และอย่างที่ผมเกริ่นไว้แต่แรกแล้วว่า ครูที่ผมพูดถึงอยู่นี้รวมหมดทุกสถานศึกษาที่รวมถึงมหาวิทยาลัยด้วย ดังนั้น อย่าเพิ่งคิดว่าครูที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยมคือครูในมหาวิทยาลัยนะครับ เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็แทบเอาตัวไม่รอดพอๆ กัน โดยเฉพาะครูคนไหนที่รู้เท่าทันมาก ครูคนนั้นก็จะยิ่งถูกระบบทุนนิยมรุมทำลายมากไปด้วย
ถ้าไม่เชื่อก็ขอให้ดูครู (ที่รู้เท่าทันระบบทุนนิยม) ในยุคที่ระบอบทักษิณครองเมืองเป็นตัวอย่างก็ได้ ที่จะเห็นได้ว่า ไม่มียุคไหนที่ครูจะถูกดูถูกและถูกทำลายจากระบบทุนนิยมมากเท่านี้อีกแล้ว
ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีครูที่ไม่รู้เท่าทันระบบทุนนิยมอยู่ไม่น้อยและมีอยู่แทบทุกที่ และระดับการไม่รู้ของครูแต่ละคนก็ไม่เท่ากันเสียด้วย และเพราะรู้ไม่เท่ากัน ครูแต่ละคนจึงแสดงสิ่งที่แย่ๆ แตกต่างกัน เช่นบางคนไม่ค่อยสอน แต่สามารถแจกเกรดเอให้ศิษย์ของตนได้ ส่วนศิษย์ที่ชอบทำตัวเป็น “เด็ก” ที่ไม่รับผิดชอบอยู่ร่ำไป นี่ย่อมเป็นโอกาสอันดีในการเรียนง่าย จบเร็ว และเกรดเจ๋ง แย่ลงมาหน่อยก็เรียกเอาประโยชน์จากศิษย์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อแลกกับเกรด และถ้าแย่มากๆ ก็อย่างที่เป็นข่าวนั่นแหละครับ คือเอาเกรดแลกกับเซ็กซ์ หรือเอาเซ็กซ์แลกกับเกรด
ตัวอย่างข้างต้นไม่ต้องบอกก็รู้นะครับ ว่าสองตัวอย่างแรกนั้นสังคมรู้กันน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก แต่ตัวอย่างหลังนั้นรู้กันง่ายกว่า ซึ่งผมคงไม่ต้องบอกเหตุผลว่าเพราะอะไร
แต่ตัวอย่างหลังนี้แสบมากครับ เพราะเป็นเหตุทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องออกมาตรการต่างๆ ที่ออกจะ “เกินไป” ในหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่ผมเห็นแล้วเซ็งก็คือ การให้ครูกับศิษย์คุยกันในห้องที่มีกระจกใสเพื่อให้ทุกคนได้เห็น
สำหรับครูและศิษย์ดีๆ ย่อมมีประสบการณ์ร่วมกันอย่างหนึ่งคือ บ่อยครั้งที่ศิษย์มาปรึกษาครูเรื่องปัญหาชีวิตส่วนตัว การที่ศิษย์เลือกที่จะคุยกับครูเพราะเชื่อใจครู ดังนั้น การแสดงออกที่เป็นผลสะเทือนทางอารมณ์และจิตใจของศิษย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ในบางครั้ง (เช่นร้องไห้) และเพื่อรักษาเกียรติยศและสิทธิของศิษย์ ครูจึงย่อมไม่อาจเปิดเผยเรื่องส่วนตัวของศิษย์แก่ใครทั้งนั้น ยกเว้นเป็นเรื่องที่สำคัญ
คิดดูสิครับ แมวที่ไหนจะมาร้องไห้ให้ทุกคนได้เห็นในห้องที่ติดกระจกใสละครับ และถ้าเกิดครูเป็นชายและศิษย์เป็นหญิงแล้ว คนมองโลกในแง่ร้าย (หรือคิดร้าย) ก็จะทำให้ทั้งครูและศิษย์พลอยซวยไปด้วย
การแก้ปัญหาแบบข้างต้นนั้นเป็นการแก้แบบปลาเน่าตัวเดียวเหม็นทั้งข้อง ซึ่งเป็นการแก้ที่ง่ายและหยาบ ไม่ต้องใช้สมองมาก และก็เพราะเหตุนี้ ปลาดีจึงไม่ได้รับคำตอบว่าทำไมตัวต้องมารับเคราะห์ แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือ ปลาเน่าที่เป็นต้นเหตุของปัญหาก็ไม่ถูกตั้งคำถามด้วยว่า ทำไมตนถึงได้เน่าขนาดนี้
ก็เพราะอย่างนี้เอง ปัญหาครูกับศิษย์จะยังคงมีให้เห็นต่อไป