xs
xsm
sm
md
lg

บทความ

x

ตามพรลิงค์ : สมาพันธรัฐที่โลกลืม ตอน เคดาห์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

บทนำ
เคดาห์เป็นเมืองปริศนาในสมาพันธรัฐตามพรลิงค์ เคดาห์ถูกบันทึกในจารึกอินเดีย เอกสารจีนและบันทึกนักเดินเรือชาวอาหรับและเปอร์เซียมาตั้งแต่ก่อนสมัยศรีวิชัยราวพุทธศตวรรษที่ 9 และ 10 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งหลังจากนั้นก็ไม่มีเอกสารจากต่างประเทศกล่าวถึงเมืองนี้อีกเลยจนกระทั่งถูกกล่าวถึงในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและประชุมพงศาวดารไทยที่แปลมาจากฮิกายัต มะหรง มหาวงศ์ซึ่งต้นฉบับเป็นภาษามลายูอีกทีซึ่งกล่าวว่ารัฐสุลต่านเคดาห์ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.1679 เคดาห์ถูกบันทึกในภาษาทมิฬว่าคฑารัม (கடாரம்) หรือคฑะหะ (قتح ) หรือคาลัชบาร์ (قلحبر) ในภาษาอาหรับและไทรบุรีในภาษาไทยเมื่อครั้งยังเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ [Skinner 1965; Miksic & Geok 2017] เป็นเมืองที่เคยเป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐศรีวิชัยและที่ประทับของราชวงศ์ไศเลนทร์ในช่วงปลายราชวงศ์ ดังนั้นจึงเคยเป็นเมืองขึ้นของศรีวิชัย โจฬะ ตามพรลิงค์และมัชปาหิตมาก่อน พงศาวดารเมืองไทรบุรีจากประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศกเล่มที่ 6 พระองค์มหาวังษาเสด็จจากโรมมาตั้งเมืองเคดาห์ที่ภาษาอาหรับแปลว่าจานดอกไม้ กษัตริย์จากองค์ที่ 1-6 นับถือพุทธศาสนา แต่จากองค์ที่ 7 มหาวังษาเป็นต้นมาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามซื่อว่าสุลต่านมูลฟานซะ เนื้อหาของพงศาวดารไทรบุรีคล้ายกับอิกายัตมะหรงมหาวงศ์ฉบับภาษามลายู แต่ก็ยังไม่ตรงกับหลักฐานทางโบราณคดี เอกสารจีนและอาหรับ จารึกอินเดียใต้เช่น โจฬะ ปาณฑัย เอกสารฝั่งมาเลเซียอื่นๆ [กรมศิลปากร พ.ศ.2545: 362-363]

หลักฐานโบราณคดีที่เคดาห์
เคดาห์เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่มีศิลาจารึก ซากวัดและท่าเรือ เช่นที่เป็งกาลัน บูจัง (สุไหง บูจัง) สุไหง มาส บูกิต มีเรียมและจันฑิ บูกิต บาตูปาหัต ในรัฐนี้ หุบเขาบูจังมีซากโบราณสถานในพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู มีเตาหลอมเหล็กและนำเข้าเหล็กจากจีน จันฑิ บูกิต บาตู ปาหัต เป็นซากโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดในหุบเขาแห่งนี้ ประมาณ 245 ปีก่อนพุทธกาล มีการถิ่นฐานขนาดใหญ่เป็นบริเวณกว้างในหุบเขาบูจังคุ้งน้ำฝั่งเหนือของสุไหงเมอร์บอก ครอบคลุมถึงต้นน้ำสาขาของสุไหงเมอร์บอกและสุไหงมุดาที่มีพื้นที่ราว 2560 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการตั้งถิ่นฐานอยู่ตรงปากแม่น้ำสุไหงบาตูที่ไหลลงสู่แม่น้ำเมอร์บอก (มหาวิทยาลัย เซน มาเลเซีย) หลักฐานโบราณคดีที่พบในหุบเขา (เลมบะห์ในภาษามลายู) บูจัง เผยให้เห็นผู้ตั้งถิ่นฐานที่บูชาวิญญาณสิ่งสักดิ์สิทธิ์ต่างๆเริ่มมาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ราวปีพ.ศ.433 การค้นพบซากวัดและโบราณสถานต่างๆ เตาถลุงเหล็กและสถูปดินเหนียวอาจย้อนไปถึงปีพ.ศ.4733 บ่งชี้ว่ามีการค้าขายทางทะเลกับอาณาจักรทมิฬทางใต้ของอินเดีย ซึ่งการค้นพบนี้ทำให้ทราบว่าเคดาห์โบราณเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในอุษาคเนย์ ประมาณปีพ.ศ.713 ชาวฮินดูได้เดินทางมาถึงเคดาห์ตามมาด้วยชาวเกาะในบริเวณใกล้เคียงและกลุ่มคนที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร (ออสโตรเอเชียติก) และมีพ่อค้าจากอินเดีย เปอร์เซียและคาบสมุทรอารเบียเข้ามาค้าขายในบริเวณช่องแคบมะละกาโดยใช้ยอดเขากุนุง เจอไรเป็นจุดสังเกตการณ์ ซึ่งเมืองเคดาห์โบราณครอบคลุมถึงกัวลา บาหัง กัวลา บารา กัวลา ปิล่าและเมร์ปาร์ [Hussein, Sand & Usman 2011]

ควอริตซ์ เวลส์และโดโรธีภรรยาของเขาเริ่มต้นการขุดค้นที่หุบเขาบูจังในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เคดาห์เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างอนุทวีปเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะเมืองท่านานาชาติที่นับถือพุทธ-ฮินดู ประมาณปีพ.ศ.2373-2383 พันเอกเจมส์ โลว์ชาวอังกฤษได้ค้นพบหุบเขาบูจังพร้อมกับศิลาจารึกพุทธคุปตะ เอฟ ดับบลิว เอร์บี้ค้นพบซากวัดบนเขากูนุง เจอไรในราวปีพ.ศ.2413-2423 เอช เอ็น อีแวน เริ่มรวบรวมรายชื่อโบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณนั้นในปีพ.ศ.2463-2473 ในปีพ.ศ.2551 ศาสตราจารย์มอคตาร์ ไซดินแห่งศูนย์วิจัยโบราณคดีโลกแห่งมหาวิทยาลัย เซน มาเลเซีย ได้เริ่มทำการสำรวจบริเวณหุบเข้าบูจงเน้นบริเวณสุไหงบาตูที่เป็นต้นน้ำสาขาของสุไหงเมอร์บอกและเริ่มขุดพบเตาถลุงเหล็ก โครงสร้างอิฐที่น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมฮินดูหรือพุทธ ศาสตราจารย์ไซดินกล่าวว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาย้อนไปถึงพุทธศตวรรษที่ 10 หุบเข้าบูจังครอบคลุมแม่น้ำ 3 สาย ปากแม่น้ำและอ่าว แม่น้ำหลัก 2 สายคือสุไหงเมอร์บอกและสุไหงมุดา และสุไหงบูจังเป็นต้นน้ำสาขาของสุไหงเมอร์บอกซึ่งไหลผ่านกุนุงเจอไรสูง 1300 เมตร ลงทะเลที่ช่องแคบมะละกา หุบเขานี้มีอาณาบริเวณ 224 ตารางเมตรและเป็นแหล่งโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียโบราณสถานกลุ่มที่ 2 กระจุกตัวอยู่ที่แม่น้ำสุไหงมาสที่ไหลลงสู่สุไหงมุดา กลุ่มที่ 3 อยู่ที่เป็งกาลัน บูจังแถวสุไหงบูจัง [Murphy 2018]

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในหุบเขาบูจัง เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 ถึง พุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเวลากว่า 1,100 ปีโดยตั้งต้นจากสถานีการค้าตามชายฝั่งทะเลธรรมดาจนกลาย เป็นเมืองท่าขนถ่ายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในชายฝั่งตะวันตกของแหลมมลายูที่มีปากแม่น้ำและอ่าวที่ดี จากเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดจากอินเดียใต้และศรีลังกามาแหลมมลายูและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดในทิศทางตรงกันข้ามจากเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมทำให้หุบเขาบูจังเป็นจุดแวะพักที่สำคัญตามธรรมชาติทางชายฝั่งทะเลอันดามันโดยที่สินค้าอาจจะส่งข้ามแหลมมลายูทางบทไปยังเมืองท่าในอ่าวไทย เช่น ลังกาสุกะ ตามพรลิงค์ หรือรักตมฤติกา (เมืองดินแดง) ในบริเวณทะเลสาบสงขลา[Murphy 2018]

พระภิกษุอี้จิงเรียกเมืองนี้ว่าเกียต-ต้า (เจี้ย-ฉา) ในปีพ.ศ.1214 และเอกสารอาหรับในพุทธศตวรรษที่ 15 เรียกเมืองนี้ว่ากา-ล่าห์หริอคฑะหะห์ เป็นเมืองท่าสำคัญในเส้นทางเดินเรือทะเลหลัก หลังจากปีพ.ศ.2551 คณะขุดค้นได้ร่างแผนผังโบราณสถานเอาไว้ 97 จุด ที 10 จุดที่เริ่มต้นขุดค้นในปีพ.ศ.2553 มีซากสถูปและเขื่อนกั้นทรายและคลื่นอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 และ 7 มีเตาถลุงเหล็กจากศตวรรษที่ 8 ถึง 11 จากพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 16 ศูนย์กลางได้ย้ายไปที่สุไหงมาสและจากพุทธศตวรรษที่ 16 ถึง 20 ได้ย้ายไปที่เป็งกาลันบูจัง[Murphy 2018]

มีการค้นพบโบราณวัตถุที่มีคาถาเย ธัมมา คำถามของสักการะมติเกี่ยวกับปริปรัชญา(ปชา) และศิลาจารึกตั้งแต่พุทธศตวรราที่ 11 ถึง 14 ในปีพ.ศ. 2550 ยุคพุทธศาสนาตอนต้น (พ.ศ.843-1093) ตามมาด้วยยุคฮินดูในต้นพุทธศตวรรษที่ 12 ด้วยอักษรปัลลวะ ปีเตอร์ สคีลลิง ได้อ่านศิลาจารึกเคดาห์จากแหล่งโบราณคดีสุไหงมาส [Skilling 2023] อาจจะเป็นช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์อาจย้ายจากจัมบิมาที่เป็งกาลันบูจัง จันฑิ บูกิต บาตู ปาหัต ตั้งอยู่บนตีนเขากุนุง เจอไร มีการค้นพบเครื่องกระเบื้องจีน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 ถึง 16 เป็งกาลันบูจังเริ่มมีความสำคัญและลัทธิไศวะในศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่พุทธศาสนา (ถูกโจฬะปกครอง) พุทธศาสนารุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 15 มีการพบเครื่องกระเบื้องจีนในสมัยราชวงศ์ถึงและซ่งและเครื่องใช้เปอร์เซีย ฌัคค์ เอกวลช์ แบ่งเขตโบราณสถานที่เคดาห์ออกเป็น 4 เขต 1) กัมปง สุไหงมาส 2) เป็งกาลันบูจัง 3) กัมปงซิมโบร์และกัมปง ซิเระห์ กัมปง ซิมโบร์อยู่ทางตะวันออกของสุไหงมาสบนสุไหงซิมโบร์ที่เป็นสาขาของสุไหงเตรุส มีซากกำแพงศิลาแลงที่ระบุว่าเป็นสถานีการค้าและมีการค้นพบเครื่องกระเบื้องจีนจากพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 ลูกปัดและแก้ว อาจจะเป็นจุดเคลื่อนย้ายสินค้าไปเป็งกาลันบูจัง มีการค้นพบถ้วยชามสังคโลกจากประเทศไทยในสมัยพุทะศตวรรษที่ 19 ถึง 20 และเครื่องใช้จีนและอาหรับในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ถึง 17 กัมปง ซิเระห์อยู่ทางทิศตะวันออกของกำปง สุไหงมาสบนแม่น้ำมุดา มีการขุดค้นพบฐานกำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 11 x 9 เมตรตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือในปีพ.ศ.2529-2531 ซึ่งต่างจากที่อื่นในหุบเขาบูจัง มีการค้นพบเครื่องสังคโลกจีนในยุคพุทธสตวรรษที่ 17 [มีการค้นพบวัตถุโบราณสมัยราชวงศ์ถังที่กำปงสุไหงมาส จารึกที่กำปง สุไหงมาสและจารึกที่บูกิตมิเรียม คริสต์ศตวรรษที่ 4-5 [Jacq-Hergoual’ch 2002; Murphy 2018]

สุไหงบาตูมีซากโบราณสถานที่มีอายุประมาณ 1800-1900 ปีจากพุทธสตวรรษที่ 9 ถึง 7 ซึ่งถือว่าเป็นโบรารสถานในพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในอุษาคเนย์ มีซากฐานกำแพงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสคล้ายกับสถูป อาจเป็นโบราณสถานฮินดูที่ไม่เหมือนที่อื่นในอุษาคเนย์คล้ายๆกับโบราณสถานในพุทธศาสนายุคแรกๆ ช่วงฐานสร้างตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 7 แต่ถึงตรงยอดสถูปในพุทธศตวรรษที่ 11 ซึ่งใช้เวลาสร้างนานากว่า 5 ศตวรรษ กุนุง เจอไรอาจเป็นที่สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สะพานเรืออาจสร้างในสมัยพุทธศตวรรษที่ 8 หุบเขาบูจังเป็นสถานีการค้าที่สลับซับซ้อนและไม่มีการปลูกข้าวก่อนปีพ.ศ.1743 (ราชวงศ์เมาลิก่อนยุคตามพรลิงค์) การย้ายถิ่นฐานเกิดจากการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำจากสุไหงบาตูไปสุไหงมาสและไปที่เป็งกาลันบูจังในที่สุด จากพุทธศตวรรษที่ 10 ถึง 18 มีวัดขนาดเล็กๆต่างจากในกัมพูชา เมียนมาร์ ชวาหรือจามปาในเวียดนาม พ่อค้าต่างชาติและท้องถิ่นเป็นผู้อุปถัมภ์วัดเหล่านี้ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรถือว่าเป็นผู้คุ้มครองชาวเรือในพุทธศตวรรษที่ 9 แต่พระพุทธเจ้าทีปังกรเป็นผู้คุ้มครองในพุทธศตวรรษที่ 10 หุบเขาบูจังขยายตัวไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการวางผังที่ดี และพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูอยู่รวมกันเป็นเมืองท่านานาชาติที่มีคนหลายเชื่อชาติอาศัยอยู่ เช่นอินเดีย มลายู อาหรับ เปอร์เซีย ชาวพราหมณ์และชาวพุทธ [Murphy 2018] ทางใต้ของเคดาห์ไม่พบงานปฏิมากรรมในยุคพุทธศตวรรษที่ 14 เลย พบแต่เครื่องแก้วจากตะวันออกกลางและลูกปัดที่กัมปงซิมปอร์ เทมเบลิง กัมปงซิเระห์ นักโบราณคดีมาเลเซียเริ่มขุดที่เคดาห์ในปี พ.ศ.2528 และปี พ.ศ.2534 [Jacq-Hergoual’ch 2002]

มีการค้นพบซากวัดฮินดูและพุทธโบราณที่หุบเขาบูจัง (เล็มบะห์บูจัง) ใกล้เมนโซก สุไหงมาส ที่เคดาห์ การขุดค้นพบโบราณสถานเป็งกาลันบูจังและแท่นบูชาพระศิวะที่โบราณสถานจันทิ บูกิต บาตู ปาหัตที่ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ในปีพ.ศ.2553 ได้มีการขุดค้นเพิ่มเติมที่เคดาห์ทำให้ทราบว่าเริ่มก่อตั้งเมื่อพ.ศ.433 [Miksic 2013: 39, 59] กัมปง ปาดัง ซีจัก จาเมรี ซิก เคดาห์คือที่ถลุงโลหะที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยขุดค้นมาโดยคณะนักวิจัยจากศูนย์การวิจัยโบราณคดีของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย ศาสตราจารย์ ดาโต๊ะ ดร.มอคตาร์ ไซดินว่าพวกเขาได้ค้นพบที่ถลุงเหล็กที่สุไหงบาตูดังนั้นเคดาห์เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในแหลมมลายู [Khaw & Gooi 2021]

เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร (2545). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเศก (เล่มที่ 6). กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

Hussein, M., Akhtar, S. S., & Usmani, B. D. (2011). A Concise History of Islam. New Delhi: Vij Publishing Books India.

Jacq-Hergoualc’h, M. (2002). The Malay Peninsula: Crossroads of the Maritime Silkroad: 100BC-1300AD. Leiden: E J Brill.

Miksic, J. N. (2013). Singapore and the Silk Road of the Sea 1300-1800. Singapore: NUS Press.

Miksic, J. N. & Yian Goh Geok. (2017). Ancient Southeast Asia. World Archeology. London: Routledge.

Murphy, S. A. (2018). Revisiting the Bujang Valley: A Southeast Asian Entrepôt Complex on the Maritime Trade Route. Journal of the Royal Asiatic Society, 28(2), 335–389.

Nazar Rodziadi Khaw & Gooi Liang Jun (2021). The Sungai Batu Archeological Complex: Re-Assessing the Emergence of Ancient Kedah. Kajian Malaysia 39 (2):117--152

Skilling, P. (2023). Buddhist Textuality in Kedah, Malaysia: An Anthology. Journal of the Centre for Buddhist Studies, Sri Lanka 20 (1): 37–57.

Skinner, C. (1985). The Battle for Junk Ceylon: The Syair Sultan Maulana. Dordrecht, The Netherlands: Foris Publication.



กำลังโหลดความคิดเห็น