โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน
กลันตันน่าจะเป็นอิสระจากมัชปาหิตหลังจากที่พระเจ้าฮายัมวูรุค สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1931 จากนั้นประมาณปีพ.ศ.1954 มีผู้ปกครองฮินดู-พุทธชื่อราชากุมารและกลันตันเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญผู้ปกครองไม่ใช้มุสลิมตามที่นักวิชาการตะวันตกและมาเลเซียส่วนใหญ่เข้าใจ
5 สิงหาคม พ.ศ.1954 กษัตริย์มหาราชากุมาร (หมา-ฮา-ล่า-จา-กู้-หม่า-เอ๋อ 麻哈剌查苦馬兒) แห่งกลันตันส่งทูตพร้อมบรรณาการ จักรพรรดิหมิงไท่จงพระราชทานหมวกและเข็มขัด ผ้าไหมหลากสีและตั๋วเงินเป็นการตอบแทนโดยให้เจ้ากรมพิธีการจัดงานเลี้ยงรับรองหลังจากที่ รัฐกลันตันเลิกส่งบรรณาการให้กรุงศรีอยุธยาในปีเดียวกัน [Wade 2004: 33; Watanabe 1975: 347]
18 ธันวาคม พ.ศ.1955 เจิ้งเหอและคณะได้เดินทางไปพร้อมกับพระราชโองการไปหลายเมืองรวมทั้งกลันตัน เพื่อพระราชทานผ้าไหมปัก ผ้าไหมม้วน ผ้าไหมหลากสีและของพระราชทานอื่นๆให้กับกษัตริย์เมืองต่างๆที่ส่งทูตมา [Wade 2004: 33; Watanabe 1975: 347]
สุลต่านอิสคานดาห์ ชาห์ หรือ เกมาส จิวะ แต่งงานกับพระนางสุหิตาแห่งมัชปาหิตในปีพ.ศ.1970 และขึ้นครองราชย์แทนสุลต่านซาดิก มูฮัมหมัด ชาห์ที่สวรรคตในปีพ.ศ.1972และประกาศว่า กลันตันเป็นมัชปาหิตแห่งที่ 2 เพื่อให้มัชปาหิตคุ้มครองจากการรุกรานของกรุงศรีอยุธยา กลันตันไม่อยู่ในรายชื่อเมืองประเทศราชตามกฎมณเทียรบาลของกรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ.2011
ในปีพ.ศ.2042 กลันตันกลายเป็นเมืองขึ้นของมะละกา ในปีพ.ศ.2054 หลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาได้ กลันตันถูกแบ่งแยกปกครองโดยผู้ปกครองย่อยๆ และส่งบรรณาการให้ปัตตานี และในกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ผู้ปกครองกลันตันส่วนใหญ่ขึ้นกับปัตตานี [Bradley 2009] แผนที่เม่าคุ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 จากบันทึกอู๋เป่ยจื้อซึ่งร่างจากบันทึกการเดินเรือของเจิ้งเหอในกลางพุทธศตวรรษที่ 20 แสดงปากแม่น้ำกลันตันแถวโกตา บาห์รู (吉蘭丹港) พงศาวดารมลายูไม่กล่าวว่าปัตตานี กลันตันและปาหังเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา แต่บอกว่ากลันตันและปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของมะละกาในสมัยมาห์มูด ซยาร์และปาหังในสมัยมันซูร์ ซยาห์ แต่จะพูดถึงกรุงศรีอยุธยาและนครศรีธรรมราชอย่างคร่าวๆ [De Jong & Van Wijk 1960] พรรณงาม เง่าธรรมสาร [Gothamasan 1984] กล่าวว่ากลันตันและตรังกานูใหม่กว่าเคดาห์และราชวงศ์ที่ปกครองทั้ง 2 เมืองนี้มีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา ตำแหน่งบันดาหรา ดาโต๊ะและศรีมหาราชาปรากฏขึ้นเป็นครั้งคราว กัวลา ตรังกานูเป็นที่ตั้งวังของกษัตริย์ กลันตันเกี่ยวข้องกับปัตตานี้เพราะว่าประวัติศาสตร์กลันตันต้องอ้างปัตตานี
ตรังกานูถูกบันทึกเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁家盧) ในเต้าอี้จื้อเลื่อยและเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁机宜) ในพงศาวดารหมิงสือ และเป็นเมืองขึ้นของมัชปาหิตตามบทกวีนครเขตรคาม พ.ศ.1908ต่อมาตรังกานูกลายเป็นเมืองขึ้นของมะละกาแต่มีอำนาจปกครองตัวเองมากพร้อมกับการเกิดขึ้นของรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์
三角嶼對境港,已通其津要。山高曠,田中下,民食足。春多雨,氣候微熱。風俗尚怪。男女椎髻,穿綠頡布短衫,繫遮里絹。刻木為神,殺人血和酒祭之。每水旱疫癘,禱之立應。及婚姻病喪,則卜其吉凶,亦驗。今酋長主事貪禁,勤儉守土。
地產降眞、腦子、黃蠟、玳瑁。貨用靑白花磁器、占城布、小紅絹、斗錫、酒之屬。
[Chinese Text Project: ctext.org]
เกาะสามเหลี่ยมสามารถเข้าถึงเส้นทางน้ำใหญ่ที่ท่าเรือซาไก (จิง) มีภูเขาสูงตระหง่านและท้องทุ่งกว้างแต่ชาวบ้านมีอาหารพอกิน ฝนตกในฤดูใบไม้ผลิและอากาศค่อนข้างร้อน พวกเขาเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาก ประชาชนทั้งชายและหญิงไว้มวยผมข้างหลัง (ผู้ชายไว้มวยด้านล่าง ผู้หญิงไว้มวยด้านบน) และนุ่งผ้าสั้นๆที่ผูกด้วยผ้าผูกสีเขียวที่คลุมด้วยผ้าไหม พวกเขาแกะสลักไม้เป็นรูปเทพเจ้าและบูชายัญด้วยเลือดมนุษย์และสุรา เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุเภทภัยต่างๆเช่นน้ำท่วม ภัยแล้งหรือโรคระบาด การสวดอ้อนวอนของพวกเขาจะได้รับการตอบสนองในทันทีทันใด และสามารถทำนายทายทักในเรื่องแต่งงาน ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความตาย โชคดีหรือโชคร้าย หัวหน้าของพวกเขาดูแลเรื่องต่างๆและต้องยับยั้งชั่งใจในเรื่องความโลภและสนับสนุนให้ขุนนางของเขาขยันหมั่นเพียรและมัธยัสถ์ ประเทศนี้ผลิตไม้กระซิก การบูร ขี้ผึ้งและกระดองเต่า สินค้านำเข้าได้แก่ เครื่องถ้วยชามกระบื้องจีน เสื้อผ้าของจามปา ผ้าไหมชิ้นเล็ก ๆ สีแดง แท่งดีบุกและสุรา (แปลโดยผู้เขียน)
ในปีพ.ศ.1846 มีการประกาศใช้กฎหมายอิสลามที่ตรังกานูแต่เมื่อวังต้าหยวนเขียนบันทึกเกี่ยวกับตรังกานูในปีพ.ศ.1890 ว่าตรังกานูยังมีการบูชายัญด้วยเลือดมนุษย์และมีการดื่มสุราอยู่ จึงมีคำถามว่าทำไมประเพณีที่ขัดกับหลักกฎหมายอิสลามยังคงมีอยู่ในตรังกานูหลังจากการประกาศกฎหมายนี้ ตรังกานูไม่ใช่เมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาตามกฎมณเทียรบาล พ.ศ.2011 ตรังกานูอาจเป็นบริวารของกลันตัน ในปี พ.ศ.2020 ตุนเตลาไนเป็นกษัตริย์ตรังกานู สุลต่านอาหมัดส่ง ศรี อาการาร์ ราชาไปสังหารตุนตลาไน ความขัดแย้งระหว่างปะหังและมะละกาจึงเกิดขึ้น สุลต่านอะเลาดินแห่งมะละกาถึงแก่กรรมที่ปาโกห์บนสุไหงมัวร์ ตุน เตจา ลูกสาวของบันดาหราแห่งปะหังสวยมาก ฮิกายัต ฮัง ตัวห์กล่าวว่าเธอเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างเมกัตปันจิอาลัม เจ้าชายแห่งตรังกานูและสุลต่านแห่งมะละกา แต่เซอจาราห์ มลายูในกล่าวว่าเธอเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างปะหังและมะละกา ชาวจีนมุสลิมบางส่วนอพยพจากยูนนาน กวางโจว และฝูเจี้ยนไปยังตรังกานู พวกเขาเป็นลูกหลานของผู้อพยพชาวอาหรับในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงค่อนข้างถูกกลืนกลายเป็นคนจีนเหมือนคนจีนฮั่นทั่วไป [Tan 1991] อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานว่าตรังกานูส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หมิงในหมิงสือลู่ แม้ว่าหมิงสือ บันทึกการเดินเรือของหม่าหวนและเฟยซิ่นยังคงบันทึกชื่อตรังกานู
ความสัมพันธ์ระหว่างกลันตันกับจามปา
จามปามีความสัมพันธ์กับนครรัฐมลายูตั้งแต่ก่อนพุทธสตวรรษที่ 7 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีวิชัยและมัชปาหิต จามปาส่งทูตไปศรีวิชัยในปีพ.ศ.1383 พระเจ้าชัยสิงหวรมันส่งทูตไปราชวงศ์สัญชัยที่มะธะรัมในเกาะชวา 2 ครั้ง และทูตศรีวิชัยเคยแวะหลบภัยจากการโจมตีของชวาที่จามปาในปีพ.ศ.1535 จามปาค้าขายและรับศาสนาอิสลามจากปัตตานีและกลันตันเผยแผ่ศาสนาอิสลามไปจามปา [Po Dharma 2000] นครรัฐมลายูมีความสัมพันธ์กับจามปามาช้านานแล้ว ชาวมลายูยอมรับว่าชาวจามเป็นเผ่าพันธุ์พี่น้องแต่นักวิชาการฝรั่งเศสมักจะมองข้ามความสัมพันธ์นี้ บลัสต์ [Blust 2009] ยืนยันทฤษฎีอพยพออกจากไต้หวันของปีเตอร์ เบลวูดจากหลักฐานทางโบราณคดีและนิรุกติศาสตร์ ชาวจามเรียกหมู่เกาะมลายูว่า ชาวา ความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายซึ่งเป็นชาวออสโตรเนเซียนเหมือนกันเกิดจากความเชื่อในศาสนาฮินดู-พุทธ วัฒนธรรมและภาษาร่วมกัน แต่จามปาเป็นอาณาจักรที่รวมศูนย์มากกว่ามลายู [Zakharov 2019] ชาวจามและมลายูชื่นชอบในมหากาพย์รามายณะ ฮิกายัต เทวะมโน และฮิกายัต อินทรบุตรและตำนานพื้นบ้านอย่าง สิ บังเกาในเต้าอี้จื้อเลื่อยกล่าวว่าชาวบ้านในกลันตันและตรังกานูนิยมนำเข้าผ้าจากจามปา
การแต่งงานระหว่างราชวงศ์จามปาและมัชปาหิตเกิดขึ้นก่อนการล่มสลายของเมืองวิชัยในปีพ.ศ.2014 ชาวจามจึงอพยพไปกัมพูชาและนครรัฐในแหลมมลายูเช่น มะละกา ปัตตานี กลันตันและตรังกานูและอาเจะห์ในเกาะสุมาตรา หลังจากนั้นทางจามปาและนครรัฐในแหลมมลายูก็เริ่มหันมานับถือศาสนาอิสลาม กษัตริย์ปาณฑุรังค์แห่งจามปานำศาสนาอิสลามกลับจากกลันตันและปัตตานี และกลันตันกลายเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ศาสนาอิสลามหลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาในปีพ.ศ.2084 กษัตริย์จามปาส่งทหารไปช่วยนครรัฐเหล่านี้สู้กับโปรตุเกสโดยไม่สนใจกรุงศรีอยุธยา [Wong 2008] ความสัมพันธ์ระหว่างจามปากับนครรัฐในแหลมมลายูหลังจากปีพ.ศ.2041 เกิดจากความเชื่อในศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมลายูร่วมกัน สุลต่านแห่งมะละกาแต่งตั้งเจ้าชายจามปาเป็นขุนนางในราชสำนักและมีชุมชนชาวจามที่นั่น เซอจาระห์ มลายู เซอจาระห์ ยะโฮร์ เพลงยาวสิติ ซุไปดาห์ และฮิกายัต กลันตันกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจามปากับโลกมลายู (นูซันตารา) และระหว่างราชวงศ์มลายูกับเชื้อสายขุนนางจามปาและผู้อพยพชาวจาม [Wong 2008] โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในกลันตันและปัตตานีสอนศาสนาอิสลามให้ชาวจามมากว่า 200 ปี หลังจากปีพ.ศ.2014 ชาวจามหนีไปกัมพูชาและนครรัฐมลายูในทะเลใต้ สมาพันธรัฐศรีวิชัยและราชวงศ์ไศเลนทร์เคยโจมตีจามปาในปีพ.ศ.1317 และพ.ศ.1330 จามปาติดต่อกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยและมัชปาหิตในเครือข่ายการค้าในโลกมลายูจนถึงฟิลิปปินส์ เมื่อจามปาตกต่ำศาสนาอิสลามเผยแผ่ไปทั่วทั้งโลกมลายู ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนและญี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย อาเจะห์นับถือศาสนาอิสลามเป็นรัฐแรก ตามมาด้วยตรังกานู มะละกา ปาหัง กลันตัน ปัตตานีและเมืองทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราโดยมีภาษามลายูเป็นภาษากลาง
หลังจากโปรตุเกสยึดมะละกาได้ในปีพ.ศ.2054 ก็ยังไม่สามารถแทนที่เครือข่ายการค้าในโลกมลายูได้ทั้งหมดรวมทั้งภาษาโปรตุเกสก็ไม่ใช่ภาษากลางในการติดต่อการค้า ปัตตานีกลายเป็นศูนย์กลางการค้า เมื่อชาวจามอพยพมากลันตัน ตรังกานูและปัตตานี พวกเขาก็รับเอาศาสนาอิสลามจากเมืองเหล่านี้ไปด้วย [Guérlin 2004]
เอกสารอ้างอิง
Blust, R. (2009). The Austronesian languages. Canberra: Pacific Linguistics, Research School of Pacific and Asian Studies, The Australian National University.
Bradley, F. R. (2009). Moral Order in a Time of Damnation: The “Hikayat Patani” in Historical Context. Journal of Southeast Asian Studies, 40(2), 274–275.
De Josselin De Jong, P. E., & Van Wijk, H. L. A. (1960). The Malacca Sultanate. Journal of Southeast Asian History, 1(2), 20–29.
Guérin, M. (2004). Les Cam e leur "Véranda sur La Mecque” L’influence des Malais de Patani et du Kelantan sur I’islam de Cam du Cambodge. Aséanie, 14, 29–67.
Phan-Ngam Gothamasan. (1984). Some Aspects of the Political and Economic Systems of the Nineteenth Century of Northern Malay States: Kedah, Kelantan and Trengganu: Comparative View. Journal of the Siam Society, 72, 146–165.
Po Dharma. (2000). L’Insulinde mailaise et le Campā. Bulletin de l’École Française d’Extrême-Orient, 87(1), 183–192.
Tan, Chee-Beng. 1991. “A Note on the Orang Yunnan in Terengganu.” Archipel 42:93–120.
Wade, G. (2004a). From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts. In D. Perret, A. Sisuchat, & T. Sombun, Études sur l'histoire du sultanat de Patani (pp. 37-78). Paris: EFEO.
Watanabe, H. (1975). An Index of Embassies and Tribute Missions from Islamic Countries to Ming China (1368-1466) as Record in the Ming Shih-Lu: Classified According to Geographical Area. Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko, 33, 285–347.
Wong Tze-Ken, D. (2008). Research on Cham History in Malaysia. Asian Research Trends New Series, 3, 25–44.
Zakharov, A. O. (2019). Was the Early History of Campa Really Revised: A Reassessment of the Classical Narratives of Linyi and the 6th-8th Century Campa Kingdom. In A. Griffiths, A. Hardy, & G. Wade, Champa Territories and Networks of a Southeast Asian Kingdom (pp. 147-157). Paris: EFEO.
กลันตันน่าจะเป็นอิสระจากมัชปาหิตหลังจากที่พระเจ้าฮายัมวูรุค สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ.1931 จากนั้นประมาณปีพ.ศ.1954 มีผู้ปกครองฮินดู-พุทธชื่อราชากุมารและกลันตันเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญผู้ปกครองไม่ใช้มุสลิมตามที่นักวิชาการตะวันตกและมาเลเซียส่วนใหญ่เข้าใจ
5 สิงหาคม พ.ศ.1954 กษัตริย์มหาราชากุมาร (หมา-ฮา-ล่า-จา-กู้-หม่า-เอ๋อ 麻哈剌查苦馬兒) แห่งกลันตันส่งทูตพร้อมบรรณาการ จักรพรรดิหมิงไท่จงพระราชทานหมวกและเข็มขัด ผ้าไหมหลากสีและตั๋วเงินเป็นการตอบแทนโดยให้เจ้ากรมพิธีการจัดงานเลี้ยงรับรองหลังจากที่ รัฐกลันตันเลิกส่งบรรณาการให้กรุงศรีอยุธยาในปีเดียวกัน [Wade 2004: 33; Watanabe 1975: 347]
18 ธันวาคม พ.ศ.1955 เจิ้งเหอและคณะได้เดินทางไปพร้อมกับพระราชโองการไปหลายเมืองรวมทั้งกลันตัน เพื่อพระราชทานผ้าไหมปัก ผ้าไหมม้วน ผ้าไหมหลากสีและของพระราชทานอื่นๆให้กับกษัตริย์เมืองต่างๆที่ส่งทูตมา [Wade 2004: 33; Watanabe 1975: 347]
สุลต่านอิสคานดาห์ ชาห์ หรือ เกมาส จิวะ แต่งงานกับพระนางสุหิตาแห่งมัชปาหิตในปีพ.ศ.1970 และขึ้นครองราชย์แทนสุลต่านซาดิก มูฮัมหมัด ชาห์ที่สวรรคตในปีพ.ศ.1972และประกาศว่า กลันตันเป็นมัชปาหิตแห่งที่ 2 เพื่อให้มัชปาหิตคุ้มครองจากการรุกรานของกรุงศรีอยุธยา กลันตันไม่อยู่ในรายชื่อเมืองประเทศราชตามกฎมณเทียรบาลของกรุงศรีอยุธยาปี พ.ศ.2011
ในปีพ.ศ.2042 กลันตันกลายเป็นเมืองขึ้นของมะละกา ในปีพ.ศ.2054 หลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาได้ กลันตันถูกแบ่งแยกปกครองโดยผู้ปกครองย่อยๆ และส่งบรรณาการให้ปัตตานี และในกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ผู้ปกครองกลันตันส่วนใหญ่ขึ้นกับปัตตานี [Bradley 2009] แผนที่เม่าคุ้นในต้นพุทธศตวรรษที่ 22 จากบันทึกอู๋เป่ยจื้อซึ่งร่างจากบันทึกการเดินเรือของเจิ้งเหอในกลางพุทธศตวรรษที่ 20 แสดงปากแม่น้ำกลันตันแถวโกตา บาห์รู (吉蘭丹港) พงศาวดารมลายูไม่กล่าวว่าปัตตานี กลันตันและปาหังเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา แต่บอกว่ากลันตันและปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของมะละกาในสมัยมาห์มูด ซยาร์และปาหังในสมัยมันซูร์ ซยาห์ แต่จะพูดถึงกรุงศรีอยุธยาและนครศรีธรรมราชอย่างคร่าวๆ [De Jong & Van Wijk 1960] พรรณงาม เง่าธรรมสาร [Gothamasan 1984] กล่าวว่ากลันตันและตรังกานูใหม่กว่าเคดาห์และราชวงศ์ที่ปกครองทั้ง 2 เมืองนี้มีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา ตำแหน่งบันดาหรา ดาโต๊ะและศรีมหาราชาปรากฏขึ้นเป็นครั้งคราว กัวลา ตรังกานูเป็นที่ตั้งวังของกษัตริย์ กลันตันเกี่ยวข้องกับปัตตานี้เพราะว่าประวัติศาสตร์กลันตันต้องอ้างปัตตานี
ตรังกานูถูกบันทึกเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁家盧) ในเต้าอี้จื้อเลื่อยและเป็นติง-เจีย-ลู่ (丁机宜) ในพงศาวดารหมิงสือ และเป็นเมืองขึ้นของมัชปาหิตตามบทกวีนครเขตรคาม พ.ศ.1908ต่อมาตรังกานูกลายเป็นเมืองขึ้นของมะละกาแต่มีอำนาจปกครองตัวเองมากพร้อมกับการเกิดขึ้นของรัฐสุลต่านแห่งยะโฮร์
三角嶼對境港,已通其津要。山高曠,田中下,民食足。春多雨,氣候微熱。風俗尚怪。男女椎髻,穿綠頡布短衫,繫遮里絹。刻木為神,殺人血和酒祭之。每水旱疫癘,禱之立應。及婚姻病喪,則卜其吉凶,亦驗。今酋長主事貪禁,勤儉守土。
地產降眞、腦子、黃蠟、玳瑁。貨用靑白花磁器、占城布、小紅絹、斗錫、酒之屬。
[Chinese Text Project: ctext.org]
เกาะสามเหลี่ยมสามารถเข้าถึงเส้นทางน้ำใหญ่ที่ท่าเรือซาไก (จิง) มีภูเขาสูงตระหง่านและท้องทุ่งกว้างแต่ชาวบ้านมีอาหารพอกิน ฝนตกในฤดูใบไม้ผลิและอากาศค่อนข้างร้อน พวกเขาเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาก ประชาชนทั้งชายและหญิงไว้มวยผมข้างหลัง (ผู้ชายไว้มวยด้านล่าง ผู้หญิงไว้มวยด้านบน) และนุ่งผ้าสั้นๆที่ผูกด้วยผ้าผูกสีเขียวที่คลุมด้วยผ้าไหม พวกเขาแกะสลักไม้เป็นรูปเทพเจ้าและบูชายัญด้วยเลือดมนุษย์และสุรา เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุเภทภัยต่างๆเช่นน้ำท่วม ภัยแล้งหรือโรคระบาด การสวดอ้อนวอนของพวกเขาจะได้รับการตอบสนองในทันทีทันใด และสามารถทำนายทายทักในเรื่องแต่งงาน ความเจ็บไข้ได้ป่วย ความตาย โชคดีหรือโชคร้าย หัวหน้าของพวกเขาดูแลเรื่องต่างๆและต้องยับยั้งชั่งใจในเรื่องความโลภและสนับสนุนให้ขุนนางของเขาขยันหมั่นเพียรและมัธยัสถ์ ประเทศนี้ผลิตไม้กระซิก การบูร ขี้ผึ้งและกระดองเต่า สินค้านำเข้าได้แก่ เครื่องถ้วยชามกระบื้องจีน เสื้อผ้าของจามปา ผ้าไหมชิ้นเล็ก ๆ สีแดง แท่งดีบุกและสุรา (แปลโดยผู้เขียน)
ในปีพ.ศ.1846 มีการประกาศใช้กฎหมายอิสลามที่ตรังกานูแต่เมื่อวังต้าหยวนเขียนบันทึกเกี่ยวกับตรังกานูในปีพ.ศ.1890 ว่าตรังกานูยังมีการบูชายัญด้วยเลือดมนุษย์และมีการดื่มสุราอยู่ จึงมีคำถามว่าทำไมประเพณีที่ขัดกับหลักกฎหมายอิสลามยังคงมีอยู่ในตรังกานูหลังจากการประกาศกฎหมายนี้ ตรังกานูไม่ใช่เมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาตามกฎมณเทียรบาล พ.ศ.2011 ตรังกานูอาจเป็นบริวารของกลันตัน ในปี พ.ศ.2020 ตุนเตลาไนเป็นกษัตริย์ตรังกานู สุลต่านอาหมัดส่ง ศรี อาการาร์ ราชาไปสังหารตุนตลาไน ความขัดแย้งระหว่างปะหังและมะละกาจึงเกิดขึ้น สุลต่านอะเลาดินแห่งมะละกาถึงแก่กรรมที่ปาโกห์บนสุไหงมัวร์ ตุน เตจา ลูกสาวของบันดาหราแห่งปะหังสวยมาก ฮิกายัต ฮัง ตัวห์กล่าวว่าเธอเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างเมกัตปันจิอาลัม เจ้าชายแห่งตรังกานูและสุลต่านแห่งมะละกา แต่เซอจาราห์ มลายูในกล่าวว่าเธอเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างปะหังและมะละกา ชาวจีนมุสลิมบางส่วนอพยพจากยูนนาน กวางโจว และฝูเจี้ยนไปยังตรังกานู พวกเขาเป็นลูกหลานของผู้อพยพชาวอาหรับในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงค่อนข้างถูกกลืนกลายเป็นคนจีนเหมือนคนจีนฮั่นทั่วไป [Tan 1991] อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานว่าตรังกานูส่งบรรณาการให้ราชวงศ์หมิงในหมิงสือลู่ แม้ว่าหมิงสือ บันทึกการเดินเรือของหม่าหวนและเฟยซิ่นยังคงบันทึกชื่อตรังกานู
ความสัมพันธ์ระหว่างกลันตันกับจามปา
จามปามีความสัมพันธ์กับนครรัฐมลายูตั้งแต่ก่อนพุทธสตวรรษที่ 7 มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศรีวิชัยและมัชปาหิต จามปาส่งทูตไปศรีวิชัยในปีพ.ศ.1383 พระเจ้าชัยสิงหวรมันส่งทูตไปราชวงศ์สัญชัยที่มะธะรัมในเกาะชวา 2 ครั้ง และทูตศรีวิชัยเคยแวะหลบภัยจากการโจมตีของชวาที่จามปาในปีพ.ศ.1535 จามปาค้าขายและรับศาสนาอิสลามจากปัตตานีและกลันตันเผยแผ่ศาสนาอิสลามไปจามปา [Po Dharma 2000] นครรัฐมลายูมีความสัมพันธ์กับจามปามาช้านานแล้ว ชาวมลายูยอมรับว่าชาวจามเป็นเผ่าพันธุ์พี่น้องแต่นักวิชาการฝรั่งเศสมักจะมองข้ามความสัมพันธ์นี้ บลัสต์ [Blust 2009] ยืนยันทฤษฎีอพยพออกจากไต้หวันของปีเตอร์ เบลวูดจากหลักฐานทางโบราณคดีและนิรุกติศาสตร์ ชาวจามเรียกหมู่เกาะมลายูว่า ชาวา ความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายซึ่งเป็นชาวออสโตรเนเซียนเหมือนกันเกิดจากความเชื่อในศาสนาฮินดู-พุทธ วัฒนธรรมและภาษาร่วมกัน แต่จามปาเป็นอาณาจักรที่รวมศูนย์มากกว่ามลายู [Zakharov 2019] ชาวจามและมลายูชื่นชอบในมหากาพย์รามายณะ ฮิกายัต เทวะมโน และฮิกายัต อินทรบุตรและตำนานพื้นบ้านอย่าง สิ บังเกาในเต้าอี้จื้อเลื่อยกล่าวว่าชาวบ้านในกลันตันและตรังกานูนิยมนำเข้าผ้าจากจามปา
การแต่งงานระหว่างราชวงศ์จามปาและมัชปาหิตเกิดขึ้นก่อนการล่มสลายของเมืองวิชัยในปีพ.ศ.2014 ชาวจามจึงอพยพไปกัมพูชาและนครรัฐในแหลมมลายูเช่น มะละกา ปัตตานี กลันตันและตรังกานูและอาเจะห์ในเกาะสุมาตรา หลังจากนั้นทางจามปาและนครรัฐในแหลมมลายูก็เริ่มหันมานับถือศาสนาอิสลาม กษัตริย์ปาณฑุรังค์แห่งจามปานำศาสนาอิสลามกลับจากกลันตันและปัตตานี และกลันตันกลายเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ศาสนาอิสลามหลังจากที่โปรตุเกสยึดมะละกาในปีพ.ศ.2084 กษัตริย์จามปาส่งทหารไปช่วยนครรัฐเหล่านี้สู้กับโปรตุเกสโดยไม่สนใจกรุงศรีอยุธยา [Wong 2008] ความสัมพันธ์ระหว่างจามปากับนครรัฐในแหลมมลายูหลังจากปีพ.ศ.2041 เกิดจากความเชื่อในศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมลายูร่วมกัน สุลต่านแห่งมะละกาแต่งตั้งเจ้าชายจามปาเป็นขุนนางในราชสำนักและมีชุมชนชาวจามที่นั่น เซอจาระห์ มลายู เซอจาระห์ ยะโฮร์ เพลงยาวสิติ ซุไปดาห์ และฮิกายัต กลันตันกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจามปากับโลกมลายู (นูซันตารา) และระหว่างราชวงศ์มลายูกับเชื้อสายขุนนางจามปาและผู้อพยพชาวจาม [Wong 2008] โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในกลันตันและปัตตานีสอนศาสนาอิสลามให้ชาวจามมากว่า 200 ปี หลังจากปีพ.ศ.2014 ชาวจามหนีไปกัมพูชาและนครรัฐมลายูในทะเลใต้ สมาพันธรัฐศรีวิชัยและราชวงศ์ไศเลนทร์เคยโจมตีจามปาในปีพ.ศ.1317 และพ.ศ.1330 จามปาติดต่อกับสมาพันธรัฐศรีวิชัยและมัชปาหิตในเครือข่ายการค้าในโลกมลายูจนถึงฟิลิปปินส์ เมื่อจามปาตกต่ำศาสนาอิสลามเผยแผ่ไปทั่วทั้งโลกมลายู ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนและญี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย อาเจะห์นับถือศาสนาอิสลามเป็นรัฐแรก ตามมาด้วยตรังกานู มะละกา ปาหัง กลันตัน ปัตตานีและเมืองทางชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราโดยมีภาษามลายูเป็นภาษากลาง
หลังจากโปรตุเกสยึดมะละกาได้ในปีพ.ศ.2054 ก็ยังไม่สามารถแทนที่เครือข่ายการค้าในโลกมลายูได้ทั้งหมดรวมทั้งภาษาโปรตุเกสก็ไม่ใช่ภาษากลางในการติดต่อการค้า ปัตตานีกลายเป็นศูนย์กลางการค้า เมื่อชาวจามอพยพมากลันตัน ตรังกานูและปัตตานี พวกเขาก็รับเอาศาสนาอิสลามจากเมืองเหล่านี้ไปด้วย [Guérlin 2004]
เอกสารอ้างอิง
Blust, R. (2009). The Austronesian languages. Canberra: Pacific Linguistics, Research School of Pacific and Asian Studies, The Australian National University.
Bradley, F. R. (2009). Moral Order in a Time of Damnation: The “Hikayat Patani” in Historical Context. Journal of Southeast Asian Studies, 40(2), 274–275.
De Josselin De Jong, P. E., & Van Wijk, H. L. A. (1960). The Malacca Sultanate. Journal of Southeast Asian History, 1(2), 20–29.
Guérin, M. (2004). Les Cam e leur "Véranda sur La Mecque” L’influence des Malais de Patani et du Kelantan sur I’islam de Cam du Cambodge. Aséanie, 14, 29–67.
Phan-Ngam Gothamasan. (1984). Some Aspects of the Political and Economic Systems of the Nineteenth Century of Northern Malay States: Kedah, Kelantan and Trengganu: Comparative View. Journal of the Siam Society, 72, 146–165.
Po Dharma. (2000). L’Insulinde mailaise et le Campā. Bulletin de l’École Française d’Extrême-Orient, 87(1), 183–192.
Tan, Chee-Beng. 1991. “A Note on the Orang Yunnan in Terengganu.” Archipel 42:93–120.
Wade, G. (2004a). From Chaiya to Pahang: The Eastern Seaboard of the Peninsula as Recorded in Classical Chinese Texts. In D. Perret, A. Sisuchat, & T. Sombun, Études sur l'histoire du sultanat de Patani (pp. 37-78). Paris: EFEO.
Watanabe, H. (1975). An Index of Embassies and Tribute Missions from Islamic Countries to Ming China (1368-1466) as Record in the Ming Shih-Lu: Classified According to Geographical Area. Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko, 33, 285–347.
Wong Tze-Ken, D. (2008). Research on Cham History in Malaysia. Asian Research Trends New Series, 3, 25–44.
Zakharov, A. O. (2019). Was the Early History of Campa Really Revised: A Reassessment of the Classical Narratives of Linyi and the 6th-8th Century Campa Kingdom. In A. Griffiths, A. Hardy, & G. Wade, Champa Territories and Networks of a Southeast Asian Kingdom (pp. 147-157). Paris: EFEO.