ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์ ดร.วิศรุต สำลีอ่อน
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์คมสัน โพธิ์คง
นักวิชาการอิสระ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นกัมพูชารังแกรุกรานแผ่นดินไทยนั้นมีมาแต่โบราณกาล เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อแผ่นดินไทยอ่อนแอหรือติดพันศึกสงครามกับพม่า แต่ในประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่ นักการเมืองกัมพูชานิยมนำประเด็นเรื่องดินแดนมาเพื่อหาเสียงกับประชาชน อันแสดงให้เห็นได้ว่าประชาชนกัมพูชาส่วนใหญ่ไม่ได้สมาทานลัทธิชังชาติแบบประชาชนชาวไทยบางคนบางกลุ่ม ยังคงมีความรักชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติ (National interest) และความมั่นคงของชาติ (National security) อยู่เป็นหลักใหญ่ใจความ อันเป็นลักษณะทั่วไปของประเทศมหาอำนาจ
การกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในประเด็นเรื่องดินแดน (Territory) นั้นมีมาตลอดทั้งทางบกและทางทะเล เริ่มตั้งแต่ประเด็นเขาพระวิหาร แต่ที่น่าคิดคือไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบและพ่ายแพ้อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่กับเวียดนามนั้น กัมพูชาต้องยอมหมอบศิโรราบอย่างไม่กล้าหือกล้าอือแต่ประการใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ข้อพิพาทในประเด็นพระราชอาณาเขตทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เกิดขึ้นในพ.ศ. 2515 เมื่อนายพลลอนนอลของกัมพูชาได้ตราพระราชกฤษฎีกาที่ 439-72/PRK โดยประกาศขยายทะเลอาณาเขต (Territorial sea) ไหล่ทวีป (Continental shelf) และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) ออกมา 200 ไมล์ทะเล (1 ไมล์ทะเล (Nautical mile: NM) เท่ากับ 1.85 กิโลเมตร) โดยอ้างอนุสัญญาทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ. 1958 และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวของนายพลลอนนอลทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทย และกัมพูชากับเวียดนามใต้ (ก่อนเวียดนามใต้แตกในพ.ศ. 2518) เรามาอ่านรายละเอียดของพระราชกฤษฎีกาอันเป็นปัญหาดังกล่าวกัน (ผู้เขียนคนที่หนึ่งสามารถอ่านภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง เพราะเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาฝรั่งเศส โดยมีอาจารย์วัฒนพร วัฒนพงศ์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นครูผู้สอน) ว่าทำไมกัมพูชาจึงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนเองลงนามให้สัตยาบัน ทำไมกัมพูชาจึงรุกรานพระราชอาณาจักรไทย ทำไมกัมพูชาจึงรังแกประเทศไทย ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะนักการเมืองไทยขายชาติหรือไม่? ในบทความนี้ และมาอภิปรายกันว่าทำไมกัมพูชาถึงรุกรานรังแกไทยเรื่องดินแดน แต่ไม่กล้าหือกล้าอือยอมเวียดนามอย่างศิโรราบในบทความถัดไป
ปัญหาพระราชอาณาเขตทางทะเลของราชอาณาจักรไทยเกิดจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่สุดชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดตราด อันเป็นจุดสิ้นสุดของสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่ตกลงทะเลในอ่าวไทย ซึ่งพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชากำหนดให้เป็น จุด A ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นลองติจูดที่ 102 องศาตะวันออก 54 ลิปดา 81 ฟิลิปดา และละติจูที่ 11 องศาเหนือ 38 ลิปดา 88 ฟิลิปดา แต่กลับลากขยายทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เข้ามาในเขตประเทศไทย โดยลากไปยังจุด P กลางอ่าวไทย ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นลองติจูดที่ 101 องศาตะวันออก 20 ลิปดา 00 ฟิลิปดา และละติจูที่ 11 องศาเหนือ 32 ลิปดา 00 ฟิลิปดา (โปรดอ่านพระราชกฤษฎีกาและดูแผนที่ 1 แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 ประกอบ) ผ่ากลางเกาะกูด ณ จุดที่อยู่บนยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เท่ากับประกาศอาณาเขตทางทะเล รุกล้ำเข้ามายังพระราชอาณาเขตของประเทศไทยโดยมิชอบอย่างชัดเจน
พระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 นั้นมีปัญหาสองประการ
ประการแรก กัมพูชาละเมิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 125 ลงพระนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของสยามและนายวี คอลแลง เดอปลังซี ของฝรั่งเศส ในข้อสอง (Article 2) ที่เขียนไว้ว่า
“Le Gouvernement Francais cède au Siam les territoires de Dan-Sai et de Kratt dons les frontières sont définies par les clauses I & II du dit protocole, ainsi que touts lesiles situées au sud du Cap Lemling, jusques et y compri Koh-Kut.”
และสนธิสัญญาภาษาไทยที่ลงนามร่วมกันนั้นแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสเอาไว้ว่า
“รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิง ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อสองของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว”
ทั้งนี้สนธิสัญญาดังกล่าวฉบับภาษาไทยได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ. 126 เล่มที่ 24 ในสนธิสัญญาดังกล่าวในข้อแปด ยังระบุไว้ว่า
“ถ้ามีข้อเถียงกันขึ้นในการแปลความหมายของหนังสือสัญญานี้ที่ได้ทำไว้ทั้งภาษาไทยแลภาษาฝรั่งเศสนั้น จะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก”
ในอนุประโยคสุดท้ายของสนธิสัญญาข้อสองดังกล่าวได้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า jusques et y compri Koh-Kut คำว่า "jusques" เป็นคำภาษาฝรั่งเศสโบราณที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้กันแพร่หลายนั้น แต่ใช้ใช้ในลักษณะเดียวกับ "jusqu'à" โดยอาจเขียนร่วมกับคำนามหรือสถานที่ เช่น "jusques à ce point" แปลว่า จนถึงจุดนี้ ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษคือคำว่า until
คำว่า "jusques" อาจถือว่าล้าสมัยในบริบททั่วไป ปัจจุบันผู้พูดภาษาฝรั่งเศสมักใช้ "jusqu'à" แทนในบทสนทนาและงานเขียนทั่วไป เช่น "jusqu'à Paris" แปลว่า จนถึงปารีส หรือ "jusqu'à ce jour" แปลว่า จนถึงวันนี้
คำว่า "jusques et y compris" แปลว่า จนถึงและรวมถึง เป็นคำที่ใช้ในข้อความทางกฎหมายหรือเป็นทางการ
ดังนั้นคำว่า "jusques et y compris Koh-Kut" แปลว่า "จนถึงและรวมทั้งเกาะกูด" หรือ until and including Koh-Kut อันเป็นการเน้นว่าเกาะกูดเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่กล่าวถึงว่าเป็นของสยาม ดังนั้นเกาะกูดทั้งเกาะจึงเป็นของสยามหรือของไทย กัมพูชาจะมาลากเส้นไปแบ่งผ่ากลางเกาะกูดมิได้ จะเป็นการขัดกับสัญญาประธานที่สยามกับฝรั่งเศสลงนามกันไว้
ประการสอง กัมพูชาไม่ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ทางกัมพูชาเองอ้างถึงคืออนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 ซึ่งแม้ในเวลานั้นจะยังไม่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล แต่สังคมระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและกัมพูชา ยอมรับว่ามีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล (ประเทศไทยและกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างความกว้างทะเลอาณาเขตเกิน 12 ไมล์ทะเลเลย) ดังนั้นทะเลอาณาเขตของประเทศไทยจึงนับไปอีก 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดินสุดท้ายของไทยคือปลายสุดของเกาะกูด แล้วจึงหาเส้นมัธยะ (Median line) ระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อหาให้เกิดระยะทางที่เท่ากัน (equidistant) ระหว่างสองประเทศ
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 เป็นหนึ่งในกฎหมายสี่ฉบับที่เกิดจาการประชุม UNCLOS I นั้น ประเทศไทยลงนามวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) และให้สัตยาบันวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) โดยมีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล 4 ฉบับ ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2512 หรือ ค.ศ. 1969 โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
กัมพูชาภาคยานุวัติ (เป็นภาคีภายหลัง) วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1960 หรือพ.ศ. 2503 ดังนั้นทั้งไทยและกัมพูชาเป็นภาคีอนุสัญญานี้ทั้งคู่ กัมพูชาจึงต้องปฏิบัติตามหลักการลากเส้นมัธยะตั้งแต่พ.ศ. 2503 แล้ว
ก่อนที่จะมีการลากเส้นมัธยะ (Median line) เพื่อแบ่งอาณาเขตทางทะเลนั้นต้องมีการลากเส้นฐานตรง (Base line) ของแต่ละประเทศก่อน สำหรับผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดโดยพิสดารของเส้นฐานตรงสามารถศึกษาได้จากเอกสารขององค์การสหประชาชาติตามลิงค์นี้ https://www.un.org/depts/los/doalos_publications/publicationstexts/The%20Law%20of%20the%20Sea_Baselines.pdf
อธิบายอย่างง่ายที่สุด การลากเส้นฐานตรง คือการลากเส้นต่อจุดบนแผนที่ริมชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่งให้รวมเกาะเล็ก เกาะน้อย ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งของรัฐนั้น รวมเข้าไปด้วย และเพื่อที่จะใช้เส้นฐานตรงในการลากเส้นมัธยะในการกำหนดอาณาเขตทางทะเลระหว่างสองรัฐอีกที
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 มาตรา 4 กำหนดหลักการลากเส้นฐานตรงว่า
################
1. In localities where the coastline is deeply indented and cut into, or if there is a fringe of islands along the coast in its immediate vicinity, the method of straight baselines joining appropriate points may be employed in drawing the baseline from which the breadth of the territorial sea is measured.
2. The drawing of such baselines must not depart to any appreciable extent from the general direction of the coast, and the sea areas lying within the lines must be sufficiently closely linked to the land domain to be subject to the regime of internal waters.
3. Baselines shall not be drawn to and from low-tide elevations, unless lighthouses or similar installations which are permanently above sea level have been built on them.
4. Where the method of straight baselines is applicable under the provisions of paragraph 1, account may be taken, in determining particular baselines, of economic interests peculiar to the region concerned, the reality and the importance of which are clearly evidenced by a long usage.
5. The system of straight baselines may not be applied by a State in such a manner as to cut off from the high seas the territorial sea of another State.
6. The coastal State must clearly indicate straight baselines on charts, to which due publicity must be given.
################
ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และมีพระบรมราชโองการ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
1. ในท้องถิ่นที่แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามามาก หรือถ้ามีเกาะเรียงรายตามฝั่งทะเลในบริเวณใกล้ชิดติดกับฝั่งทะเลนั้น อาจนำวิธีการลากเส้นฐานตรงเชื่อมจุดที่เหมาะสมมาใช้ในการลากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตก็ได้
2. การลากเส้นฐานตรงต่าง ๆ จะต้องไม่หันเหไปจากทิศทางโดยทั่วไปของฝั่งทะเลจนเกินสมควร และบริเวณทะเลซึ่งอยู่ภายในเส้นเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินอย่างใกล้ชิดเพียงพอที่จะอยู่ใต้บังคับแห่งระบอบน่านน้ำภายในได้
3. เส้นฐานตรงจะต้องไม่ลากไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่จะได้สร้างประภาคาร หรือสิ่งติดตั้งที่คล้ายคลึงกันซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลอย่างถาวรบนพื้นที่นั้น
4. ในกรณีที่สามารถใช้วิธีการลากเส้นฐานตรงตามวรรค 1 ได้ การกำหนดเส้นฐานในแต่ละกรณี อาจกระทำโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะสำหรับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความเป็นจริงและความสำคัญของผลประโยชน์นั้น มีหลักฐานเห็นได้ชัดแจ้งจากการถือปฏิบัติที่มีมาช้านาน
5. ระบบเส้นฐานตรงนั้น รัฐมิอาจนำมาใช้ในทำนองที่จะปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวงได้
6. รัฐชายฝั่งต้องแสดงเส้นฐานตรงไว้ให้ชัดแจ้งบนแผนที่ และจะต้องโฆษณาให้ทราบตามสมควร
################
หลักการเดิมเรื่องเส้นฐานตรงยังคงสืบทอดมายังอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 มาตรา 7 ดังนี้
################
1. In localities where the coastline is deeply indented and cut into, or if there is a fringe of islands along the coast in its immediate vicinity, the method of straight baselines joining appropriate points may be employed in drawing the baseline from which the breadth of the territorial sea is measured.
2. Where because of the presence of a delta and other natural conditions the coastline is highly unstable, the appropriate points may be selected along the furthest seaward extent of the low-water line and, notwithstanding subsequent regression of the low-water line, the straight baselines shall remain effective until changed by the coastal State in accordance with this Convention.
3. The drawing of straight baselines must not depart to any appreciable extent from the general direction of the coast, and the sea areas lying within the lines must be sufficiently closely linked to the land domain to be subject to the regime of internal waters.
4. Straight baselines shall not be drawn to and from low-tide elevations, unless lighthouses or similar installations which are permanently above sea level have been built on them or except in instances where the drawing of baselines to and from such elevations has received general international recognition.
5. Where the method of straight baselines is applicable under paragraph 1, account may be taken, in determining particular baselines, of economic interests peculiar to the region concerned, the reality and the importance of which are clearly evidenced by long usage.
6. The system of straight baselines may not be applied by a State in such a manner as to cut off the territorial sea of another State from the high seas or an exclusive economic zone.
################
โดยกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แปล UNCLOS ค.ศ. 1982 มาตรา 7 ไว้ดังนี้
################
ข้อ 7 เส้นฐานตรง
1. ในท้องถิ่นที่แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามามาก หรือถ้ามีเกาะเรียงรายตามฝั่งทะเลในบริเวณใกล้ชิดติดกับฝั่งทะเลนั้น อาจนำวิธีการลากเส้นฐานตรงเชื่อมจุดที่เหมาะสมมาใช้ในการลากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตก็ได้
2. ในบริเวณที่แนวฝั่งทะเลไม่คงที่อย่างมากเนื่องจากมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและสภาพทางธรรมชาติอื่น อาจเลือกจุดที่เหมาะสมตามเส้นแนวน้ำลดทางด้านทะเลระยะที่ไกลที่สุด และถึงแม้ว่าเส้นแนวน้ำลดจะร่นเข้ามาในภายหลัง เส้นฐานตรงนั้นจะยังคงมีผล อยู่จนกว่ารัฐชายฝั่งจะเปลี่ยนแปลงโดยสอดคล้องกับอนุสัญญานี้
3. การลากเส้นฐานตรงต่าง ๆ จะต้องไม่หันเหไปจากทิศทางโดยทั่วไปของฝั่งทะเลจนเกินสมควร และบริเวณทะเลซึ่งอยู่ภายในเส้นเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินอย่างใกล้ชิดเพียงพอที่จะอยู่ใต้บังคับแห่งระบอบน่านน้ำภายในได้
4. เส้นฐานตรงจะต้องไม่ลากไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่จะได้สร้างประภาคาร หรือสิ่งติดตั้งที่คล้ายคลึงกันซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลอย่างถาวรบนพื้นที่นั้น หรือยกเว้นในกรณีที่การลากเส้นฐานไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำดังกล่าวได้รับการยอมรับระหว่างประเทศโดยทั่วไป
5. ในกรณีที่สามารถใช้วิธีการลากเส้นฐานตรงตามวรรค 1 การกำหนดเส้นฐานเฉพาะบางกรณี อาจต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพิเศษของภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความเป็นจริงและความสำคัญของผลประโยชน์นั้น มีหลักฐานเห็นได้ชัดแจ้งจากการถือปฏิบัติที่มีมาช้านาน
6. รัฐมิอาจนำระบบเส้นฐานตรงมาใช้ในลักษณะเช่นที่จะปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวงหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
################
ทั้งนี้ การลากเส้นมัธยะ (median line) เป็นหลักกฎหมายที่ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ความว่า
################
Where the coasts of two States are opposite or adjacent to each other, neither of the two States is entitled, failing agreement between them to the contrary, to extend its territorial sea beyond the median line every point of which is equidistant from the nearest points on the baselines from which the breadth of the territorial seas of each of the two States is measured. The provisions of this paragraph shall not apply, however, where it is necessary by reason of historic title or other special circumstances to delimit the territorial seas of the two States in a way which is at variance with this provision.
################
อันแปลเป็นภาษาไทยตามที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
ในกรณีที่ฝั่งทะเลของรัฐสองรัฐอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน ถ้าไม่มีความตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐไม่มีสิทธิที่จะขยายทะเลอาณาเขตของตนเลยเส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองแต่ละรัฐ อย่างไรก็ดี มิให้ใช้บทแห่งวรรคนี้ ในกรณีที่เป็นการจำเป็นโดยเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ หรือพฤติการณ์พิเศษอย่างอื่นในอันที่จะกำหนดเขตทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองในทางที่แตกต่างไปจากบทนี้
################
เช่นเดียวกับอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายสี่ฉบับจากที่ประชุม UNCLOS I มาตรา 6 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า
################
Where the same continental shelf is adjacent to the territories of two adjacent States, the boundary of the continental shelf shall be determined by agreement between them. In the absence of agreement, and unless another boundary line is justified by special circumstances, the boundary shall be determined by application of the principle of equidistance from the nearest points of the baselines from which the breadth of the territorial sea of each State is measured.
################
อันแปลเป็นภาษาไทยตามที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
ในกรณีที่ไหล่ทวีปเดียวกันตั้งอยู่ประชิดกับอาณาเขตของรัฐสองรัฐหรือมากกว่า ซึ่งมีฝั่งทะเลอยู่ตรงกันข้าม เขตแดนของไหล่ทวีปที่เป็นของรัฐเช่นว่านั้นจะกำหนดโดยความตกลงระหว่างกัน หากไม่มีการตกลงกันและนอกจากว่าพฤติการณ์พิเศษจะทำให้เป็นการสมควรที่จะใช้เส้นเขตแดนอื่น เขตแดนนั้นได้แก่เส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตแต่ละรัฐ
################
จากสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสและกลุ่มอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เรามาลองพิจารณาลากเส้นฐานตรง (Base line) ของไทยกับกัมพูชากันบนแผนที่ หลังจากนั้นก็ลากเส้นมัธยะกันตามกฎหมายระหว่างประเทศดังแผนที่ 2 ด้านล่างนี้
เส้น AB คือเส้นฐานตรงของประเทศไทย ลากจากหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราดตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ไปยังปลายด้านทิศใต้สุดของเกาะกูดอันเป็นพระราชอาณาเขตของประเทศไทยอย่างชัดเจน
เส้น BC คือเส้นฐานตรงของกัมพูชาลากจากหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราดไปด้านตะวันตกสุดของเกาะกงหรือประจันตคีรีเขตที่เคยเป็นของไทย มีคนไทยอาศัย และพูดภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นเมืองคู่กับประจวบคีรีขันธ์มาก่อน แต่ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 สยามไม่สามารถรักษาเกาะกงเอาไว้ได้ เส้นฐานตรงที่ถูกต้องของกัมพูชาคือเส้นนี้
โจทย์เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เส้นมัธยะจะต้องแบ่งครึ่งมุม ∠ABC
ประเทศไทยส่งคำตอบเป็นเส้นในแผนที่ 2 ที่เขียนกำกับด้วยคำว่าไทย ระหว่างเส้นฐานตรงของไทยกับกัมพูชา โดยกองรังวัด กรมทรัพยากรธรณี ในพ.ศ. 2510 หรือค.ศ. 1967 และมีประกาศกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ลงนามโดยนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2511 ให้อาชญาบัตรผูกขาดในการสำรวจปิโตรเลียมและประทานบัตรในการทำเหมืองปิโตรเลียม ตามพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2511 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 11 โดยแนบท้ายแผนที่ที่จัดทำโดยกองรังวัด กรมทรัพยากรธรณี ในพ.ศ. 2510 (โปรดดูแผนที่ 3)
โดยในพ.ศ. 2511 หรือค.ศ. 1968 บริษัทยูเนี่ยนออยล์ (ต่อมาบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด และต่อมาบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด) อันเป็นบรรษัทข้ามชาติ (Multinational company) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมประมูลจนได้อาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทย แปลงที่ 12 และ 13 ตามแผนที่ของกองรังวัด ในพ.ศ. 2510 และตามประกาศกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของไทยในพ.ศ. 2511 อันแสดงให้เห็นว่าชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกายอมรับว่าพื้นที่ที่ลากแบ่งระหว่างมุม ∠ABC ของไทยว่าถูกต้อง ของแผนที่ 3
เพราะหลักกฎหมายระหว่างประเทศถือว่าอาณาเขตอยู่เหนือทรัพยากร (Territory over resource) ประเทศใดจะเป็นเจ้าของทรัพยากรได้ย่อมต้องได้อาณาเขตเสียก่อน ปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย เป็นทรัพยากรของไทยก็เพราะว่าไทยเป็นเจ้าของอาณาเขตในบริเวณนั้น ทำให้เก็บเงินสร้างรายได้จากทรัพยากรในอาณาเขตของไทยได้ ชาติที่ยอมเสียเงินให้กับไทยและยอมรับแผนที่ 4 ว่าเป็นอาณาเขตทางทะเลของไทยก็คือชาติมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทสัญชาติอเมริกันนั่นเอง
ไทยได้ประกาศใช้เส้นฐานตรง (Baseline) ดังเส้น AB ในแผนที่ 3 อีกครั้ง โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2513 หรือ ค.ศ. 1970 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 87 ตอนที่ 52 ลงนามโดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดังแสดงในแผนที่ 4 อันลากเส้นฐานตรงจากสุดชายแดนไทยที่จังหวัดตราด หลักเขตที่ 73 ไปยังจุดใต้สุดของเกาะกูด ซึ่งตามประกาศดังกล่าวเรียกว่าบริเวณที่ 1
ในพ.ศ. 2514 ไทยได้มีประกาศ กรมทรัพยากรธรณี เรื่องเขตพื้นที่ แปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลของไทย ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514 หรือค.ศ. 1971 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 88 ตอนที่ 102 ในวันที่ 23 กันยายน 2514 ดังแผนที่ 5 อันเป็นการยืนยันการกำหนดเส้นฐานตรงของไทยเส้น AB และเส้นมัธยะที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแผนที่ 2 ที่จัดทำโดยผู้เขียน และไทยได้ประกาศในแผนที่ 3 ที่จัดทำขึ้นในพ.ศ. 2510 และประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2511 และประกาศเส้นฐานตามแผนที่ 4 ในพ.ศ. 2511 ก่อนที่กัมพูชาจะเคลมอย่างไม่ถูกต้องล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยตามแผนที่ 1
แต่กัมพูชาส่งคำตอบเป็นเส้นสีแดงในการแบ่งมุม ∠ABC ใน แผนที่ 2 ตามที่มีพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาโดยนายพลลอนนอลในพ.ศ. 2515 ดังแสดงใน แผนที่ 1 จึงทำให้เกิดปัญหากระทบรุกล้ำพระราชอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย
กัมพูชานั้นออกพระราชกฤษฎีกาในพ.ศ. 2515 โดยอ้างเส้นไหล่ทวีปนี้มีที่มาโดยอาศัยแผนที่แนบท้ายในสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 โดยกัมพูชาตีความเอาเองว่า “เส้นเล็ง”จากยอดสูงสุดของเกาะกูด เพื่อหาหลักเขตแดนทางบกชายฝั่งของระหว่างกัมพูชา คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชายึดถือด้วย
เส้นเล็งดังกล่าวปรากฏใน แผนที่ 8 ที่ลากจากยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูดไปยังหลักเขตที่ 73 อันแบ่งอาณาเขตระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ตามที่มีสัญญาปักปันเขตแดนแนบท้ายสัญญาประธานใน ค.ศ. 1907 ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตีพิมพ์แผนที่ดังกล่าวในวารสารอาณานิคม Dépêche Coloniale Illustrée โปรดอ่านรายละเอียดได้จากบทความนักสืบประวัติศาสตร์ เปิดแผนที่เกาะกูดอยู่ในสยาม มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ภายหลังสนธิสัญญาไทยฝรั่งเศส https://mgronline.com/politics/detail/9670000019148
และด้วยเพราะฝ่ายราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 1907 เพราะเห็นว่าไม่สามารถจะตีความไปเป็นเส้นไหล่ทวีปได้เลย เนื่องจากในสมัยนั้นการกำหนดพระราชอาณาเขต (Territory) กำหนดเฉพาะทางบก ถือว่าเป็นยุคสมัยของเสรีภาพแห่งทะเลหลวง (Freedom of the high sea) ทะเลแทบทั้งหมดเป็นทะเลหลวงหรือ High sea ดังนั้น
ประการแรก การที่กัมพูชานำสัญญาปักปันเขตแดนแนบท้ายสัญญาประธาน มาเฉพาะส่วนของเส้นเล็ง ย่อมขัดกับเนื้อความในสัญญาประธาน ย่อมมิอาจจะมีผลบังคับใช้ เพราะขัดแย้งกับตัวสัญญาประธานอย่างชัดเจน
ประการที่สอง กัมพูชาอ้างไหล่ทวีปในค.ศ. 1907 ในยุคสมัยเสรีภาพแห่งทะเลหลวง (Freedom of the high sea) อันเป็นยุคที่นานาประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ยอมรับการกำหนดอาณาเขตในท้องทะเลแต่อย่างใด ย่อมเป็นการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศย้อนหลังในทางที่ไม่เป็นคุณกับสยาม ย่อมมิอาจกระทำได้ เพราะเป็นการย้อนบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศไปในอดีต ในเวลาที่ยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศเช่นนั้น กล่าวคือยังไม่มีทะเลอาณาเขต (Territorial sea) ยังไม่มีไหล่ทวีป (Continental shelf) หรือแม้แต่เส้นฐานตรง (Base line) ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ การกระทำเช่นนี้ของกัมพูชา จึงเป็น การย้อนใช้กฎหมายที่ยังไม่มีแม้แต่บรรทัดฐานระหว่างประเทศ (International norms) ในเรื่องดังกล่าว ในทางที่ตนเองจะได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวย่อมมิอาจจะเป็นที่ยอมรับได้เลย
เนื้อความของสัญญาปักปันเขตรแดนแนบท้ายสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ในส่วนนี้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเอาไว้ว่า
################
Protocol Concernant la délimitation des frontières et annexé au traité du 23 Mars 1907
CLAUSE I
La frontières entre l’Indo-Chine Francaise et le Siam part de la mer en un point situé en face du plus haut sommet de l’île de Koh-Kut. Elle suit à partir de ce point une direction Nord-Est jusqu’ à la crête des Pnom-Krevanh. Il est formellement convenu que, dans tous les cas, les versants Est de ces montagmes y compris la totalité du bassin du Klong-Kopo, doivent rester à l’Indo-Chine francaise.
################
อันมีเนื้อความภาษาไทยเอาไว้ว่า
################
สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือ สัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125
ข้อ 1 เขตรแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดชินของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูด เปนหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแลเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไร ๆ ก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ฟากทิศตวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องคงเป็นดินแดนของฝ่ายอินโดชินฝรั่งเศสแล้ว
################
วัตถุประสงค์ของเส้นที่ลากไปยังเขาที่สูงสุดบนเกาะกูดนั้น แท้จริงเป็นเส้นเล็งเพื่อกำหนดหลักเขตที่ 73 อันแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา หากข้ามหลักเขตที่ 73 ไปทางคลองเกาะปอ (หรือข้ามสันปันน้ำ) ไปแล้วย่อมเป็นอาณาเขตของกัมพูชา ด้วยเหตุนี้เองทำให้ไทยต้องเสียเกาะกงหรือเมืองประจันตคีรีเขตเพราะอยู่ข้ามสันปันน้ำดังกล่าวอันมาจากเส้นเล็งบนเกาะกูด
การอ้างเส้นเล็ง กลายเป็นไหล่ทวีปของกัมพูชา โดยนายพลลอนนอล โดยอ้างสัญญาปักปันเขตรแดนแนบท้ายสัญญาประธานค.ศ. 1907 นั้น ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่นอน และทำให้กระทบกระเทือนพระราชอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยอย่างรุนแรง จนไทยเรามิอาจจะนิ่งเฉยหรือยอมรับได้ ร้อนถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องส่งจอมพลประภาส จารุเสถียรไปเจรจากับนายพลลอนนอล โดยพลเรือเอกถนอม เจริญลาภอดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้บันทึกเอาไว้ว่านายพลลอนนอลได้กล่าวว่า ได้ประกาศไปแล้ว หากเปลี่ยนประกาศจะเกิดความวุ่นวายในกัมพูชาในทางการเมือง ให้ไทยไปหาทางแก้ไขกันเอาเอง โปรดอ่านได้จากบทความ คุณูปการของจอมพลถนอม-จอมพลประภาสในการปกป้องเกาะกูดและอธิปไตยทางทะเลของไทย https://mgronline.com/daily/detail/9670000019330
จอมพลถนอม กิตติขจรได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 หรือค.ศ. 1973 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 90 ตอนที่ 60 วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยใช้เส้นฐานตรงของไทยคือเส้น AB ดังแผนที่ 2 และเส้นมัธยะตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอันชอบธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาที่กัมพูชาลากเส้นมัธยะตามอำเภอใจ ในพ.ศ. 2515 ดังแสดงในแผนที่ 1 ละเมิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และละเมิดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ณ กรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาต่างลงนามและให้สัตยาบันแล้ว แผนที่แนบท้ายประกาศพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 และ 18 จุดของไหล่ทวีปในอ่าวไทยดังแสดงในแผนที่ 6
ขอให้สังเกตว่า 18 จุดไหล่ทวีปในอ่าวไทยตามพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 ในแผนที่ 6 นั้นตรงกับแผนที่ 3 ที่สำรวจในพ.ศ. 2510 และประกาศใช้ในพ.ศ. 2511 เมื่อมีการให้อาชญาบัตรและประทานบัตรในการสำรวจและขุดปิโตรเลียมในอ่าวไทย และตรงกันกับแผนที่ 4 ที่ประกาศใช้ในพ.ศ. 2513 อันเป็นการประกาศเส้นฐานตรงของไทย และแผนที่ 5 อันเป็นการประกาศกำหนดเขตแปลงสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยในพ.ศ. 2514
ที่สำคัญที่สุดคือ ทั้งแผนที่ 3, 4, 5, และ 6 นั้นกำหนดเส้นฐานตรง ใช้เส้นมัธยะ และกำหนด 18 จุดไหล่ทวีป 18 จุด ตรงกับ ส.ค.ส. พระราชทาน พ.ศ. 2547 โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังแสดงในแผนที่ 7
ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาเองจึงอ้างกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนเองได้ภาคยานุวัติแล้ว แต่กลับละเมิดไม่ปฏิบัติตามเสียเอง
อย่างไรก็ตามไม่กี่วันก่อน มีไอ้ขี้หูดนอกคอกในกระทรวงบัวแก้ว ออกมาแถรับใช้คนขายชาติว่ากัมพูชาไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS แต่อย่างใด สนธิสัญญา(หมายถึง MOU44 และ JC44) จึงเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น MOU44 และ JC44 เป็นโมฆะ ขัดพระบรมราชโองการ ก้าวล่วงพระราชอำนาจ ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ล้มล้างการปกครอง ควรมีโทษประหารชีวิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000118065
ข้อเท็จจริงคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS นั้นผ่านการลงมติรับรองของรัฐสภาไทย และอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) มาตรา 15 ได้บัญญัติเรื่องไหล่ทวีปไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 15 ซึ่งสืบทอดแนวทางเรื่องเส้นมัธยะ ตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ให้สัตยาบันแล้ว และมีผลผูกพันทั้งสองชาติอย่างแน่นอน ดังนี้
################
Where the coasts of two States are opposite or adjacent to each other, neither of the two States is entitled, failing agreement between them to the contrary, to extend its territorial sea beyond the median line every point of which is equidistant from the nearest points on the baselines from which the breadth of the territorial seas of each of the two States is measured. The above provision does not apply, however, where it is necessary by reason of historic title or other special circumstances to delimit the territorial seas of the two States in a way which is at variance therewith.
################
โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้แปลมาตรา 15 ของ UNCLOS เอาไว้ว่า
################
ข้อ 15 การกำหนดขอบเขตของทะเลอาณาเขตระหว่างรัฐซึ่งมีฝั่งทะเลอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน
ในกรณีที่ฝั่งทะเลของรัฐสองรัฐอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน ถ้าไม่มีความตกลงระหว่างกันเป็นอย่างอื่น รัฐใดรัฐหนึ่งของสองรัฐนั้นย่อมไม่มีสิทธิจะขยายทะเลอาณาเขตของตนเลยเส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นมัธยะนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองแต่ละรัฐ อย่างไรก็ดี บทบัญญัติข้างต้นนี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่มีความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุผลแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์หรือสภาวการณ์พิเศษอย่างอื่นในอันที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเลของรัฐทั้งสองในลักษณะที่แตกต่างไปจากบทบัญญัตินี้
################
เราจะเห็นได้ว่าประเด็นเส้นมัธยะและทะเลอาณาเขตของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 นั้นต้องตรงกันทุกประการอย่างไร้ข้อกังขาใดๆ ในเมื่อกัมพูชาและไทยต่างได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 และลงนามไว้เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันกับทั้งสองชาติอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงในประเด็น ทะเลอาณาเขต เส้นฐานตรง ไหล่ทวีป และเส้นมัธยะ แม้กัมพูชาจะมิได้ให้สัตยาบันใน UNCLOS ค.ศ. 1982 ก็ตาม
ข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่ว่า ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1982 (ลงนามตั้งแต่วันแรก) และให้สัตยาบัน วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 หรือ พ.ศ. 2554 และมีการลงมติในรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว
กัมพูชาลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 หรือพ.ศ. 2526 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
อย่างไรก็ตามตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สหประชาชาติได้อธิบายเอาไว้ว่า
################
Signing a treaty does, however, indicate the State’s intention to take steps to express its consent to be bound by the treaty at a later date. Signature also creates an obligation on a State, in the period between signature and ratification, acceptance or approval, to refrain in good faith from acts that would defeat the object and purpose of the treaty.
################
https://treaties.un.org/doc/source/events/2010/press_kit/fact_sheet_5_english.pdf
ซึ่งแปลได้ว่า
################
การลงนามในสนธิสัญญา เป็นการบ่งชี้แสดงเจตนาของรัฐในการยินยอมอนุวัติปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ลงนามภายหลังจากวันที่ลงนามนั้น การลงนามเป็นภาระผูกพันของรัฐ แม้ในระหว่างระยะเวลาที่ลงนามไปจนกระทั่งถึงเวลาที่ให้สัตยาบันนั้น การยอมรับหรือการอนุมัติเพื่อหลีกเลี่ยงเจตจำนงอันดีในการปฏิบัติตามสนธิสัญญาย่อมเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ของสัญญา
################
แม้ว่าการให้สัตยาบันจะเป็นการทำให้สนธิสัญญาที่ลงนามไว้ผูกพันโดยสมบูรณ์ก็จริง แต่การลงนาม (Signature) ก็มีความหมายมาก เพราะรัฐที่ลงนามจะต้องแสดงถึงความสุจริตและจริงใจที่จะปฏิบัติตามสนธิสัญญานั้น ๆ ที่ลงนามไว้ตามหลักสุจริต
ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่ากัมพูชาไม่ได้ให้สัตยาบันกับ UNCLOS ค.ศ. 1982 จึงไม่ผูกพันตามมาตรา 15 ของ UNCLOS จึงไม่ถูกต้อง เพราะกัมพูชาจะต้องแสดงออกอย่างสุจริตในการลากเส้นมัธยะ ซึ่งแท้จริงมีผลผูกพันนับแต่ อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 แล้ว
เพราะประเทศไทยเองก็เคยมีช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน UNCLOS 1982 หลังจากการลงนามในสัญญาเช่นกัน คือระหว่างปี ค.ศ. 1982 - 2011 แต่ไทยก็ยึดถือหลักการตาม UNCLOS มาโดยตลอดโดยสุจริตไม่บิดพลิ้ว ดังนั้นหลักการลากเส้นมัธยะที่มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 ดังนั้นอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 มาตรา 12 วรรค 1 จึงผูกพันกับกัมพูชาอย่างเต็มที่
การที่กัมพูชาลากเส้นมัธยะล้ำน่านน้ำภายในและอ้อมปลายเกาะกูดแบบนี้เป็นการไม่สุจริตและบิดพลิ้วไม่ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ นับแต่ ค.ศ. 1958 หรือ พ.ศ. 2501 โดยไทยได้ลงนามในปีนั้น และประกาศพระบรมราชโองการของในหลวง ร.9 หรือประกาศอื่น ๆ นับแต่ พ.ศ. 2510 และแผนที่ 3-7 เป็นการยืนยันว่าไทยเคารพและปฏิบัติตามหลักการว่าด้วยทะเลอาณาเขต เส้นฐาน ไหล่ทวีป ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) ที่ลงนามโดยนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับ นายซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย กับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) ที่รับรอง MOU 2544 เอาไว้ในวันเดียวกัน นั้นกำลังนำไปสู่ “การไม่ปฏิเสธ” เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ไทยเราปฏิเสธมาโดยตลอดนับแต่ พ.ศ. 2515
การกล่าวอ้างจากนายนพดล ปัทมะ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้ประชาชนชาวไทยหลงเชื่อว่า MOU 2544 นั้น แปลว่าฝ่ายไทยยังคงยึดถือเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 อยู่ทุกประการ ในขณะเดียวกันยังอวดอ้างสรรพคุณของ MOU 2544 ด้วยว่า จะเป็นการบังคับให้กัมพูชายึดตามกฎหมายทะเลสากลเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นการแอบอ้างเบื้องสูงโดยการโกหกไม่พูดความจริง
การกล่าวอ้างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาในข้อความของกัมพูชาที่อ้างว่าการประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชานั้น ก็ยึดหลักกฎหมายอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เช่นเดียวกับที่ไทยยึดถือ
กล่าวโดยให้เข้าใจโดยง่ายโดยสรุปคือ
ฝ่ายราชอาณาจักรไทยซึ่งประกาศตามพระบรมราชโองการ ให้ยึดถือหลักการ ”เส้นมัธยะ“ (Median Line) ตามข้อ 12 ของอนุสัญญาของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และข้อ 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งรัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ“ เพียงหลักการเดียว
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมฝ่ายราชอาณาจักรไทยจึงได้มีประกาศภายใต้พระบรมราชโองการ ถึงได้ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ออกมาโดยใช้หลักเส้นมัธยะ คือ ลากเส้นออกมาโดยแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย กับ เกาะกงของกัมพูชา
ส่วนฝ่ายกัมพูชาซึ่งประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ได้ยึดถือหลักการ “เส้นเขตแดนอย่างอื่น” หากทั้งสองรัฐตกลงกัน ที่จะไม่ใช่หลัก “เส้นมัธยะ”อย่างเดียว
นั่นคือ MOU 2544 ได้เปิดช่องให้กัมพูชาอาศัย “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ที่ฝ่ายไทย “ไม่ปฏิเสธแผนที่แนบท้าย“ ตามข้อยกเว้นที่อนุญาตให้ไม่ต้องใช้เส้นมัธยะ ของข้อ 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และข้อ 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งฝ่ายราชอาณาจักรไทยและกัมพูชาได้อ้างนั้นได้พยายามอ้างบทบัญญัติเดียวกัน หากแต่เมื่อพิจารณาพิเคราะห์แล้ว หากไม่มี MOU 2544 เกิดขึ้น ประเทศไทยและกัมพูชาย่อมต้องถือ “หลักเส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ทั้งมาตรา 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และ มาตรา 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ได้บัญญัติประเด็นเส้นมัธยะเอาไว้อย่างชัดเจน ว่าต้องยึดเส้นฐานเป็นหลักก่อนจึงจะไปยึดหลักการอื่น ๆ เช่น สิทธิแห่งประวัติศาสตร์ หรือพฤติการณ์พิเศษ
ความหมายดังที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “หากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น” หรือ “พฤติการณ์พิเศษที่จะทำให้ใช้เส้นเขตแดนอื่น” จะต้องใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” เพียงหลักการเดียวเท่านั้น
และถ้าไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ก็จะเป็นไปตามหลักเส้นมัธยะอย่างเดียว คือเป็นไปตามตามพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ทุกประการ
แต่เมื่อเกิดเหตุการลงนามตาม MOU 2544 และรับรองโดย JC 2544 ทำให้เกิดการเจรจาตกลงกันโดย “หลักการอื่น” คือรับรู้โดยไม่ปฏิเสธ พระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เมื่อปี 2515 และ พระบรมราชโองการ ประกาศเส้นไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย 2516 ให้เกิดการเจรจาอยู่นอกเหนือหลัก “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียว
โดยของราชอาณาจักรไทยนั้นยึดหลักความเป็นธรรมโดยอาศัยเส้นหลักมัธยะเท่านั้น
แต่การที่มี MOU 2544 ได้เกิดการรับรู้โดยไม่ปฏิเสธ พระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อย่างเดียว อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน” เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
และกัมพูชาอ้างเส้นไหล่ทวีปนี้มีที่มาโดยอาศัยแผนที่แนบท้ายในสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 โดยกัมพูชาตีความเอาเองว่า “เส้นเล็ง”จากยอดสูงสุดของเกาะกูด เพื่อหาหลักเขตแดนทางบกชายฝั่งของระหว่างกัมพูชา คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชายึดถือด้วย
และด้วยเพราะฝ่ายราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 1907 เพราะเห็นว่าไม่สามารถจะตีความไปเป็นเส้นไหล่ทวีปได้เลย
แต่การที่ราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาภายใต้ MOU 2544 ที่ได้กลายเป็นการรับรู้ “เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา” ที่ยกระดับสถานภาพ“เส้นเล็ง” ให้กลายเป็น “เส้นไหล่ทวีป”ของกัมพูชา และกลายเป็น “สิทธิแห่งประวัติศาสตร์” ที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธมาเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึง 23 ปีแล้ว ภายใต้ MOU 2544
และนี้อาจทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่เพราะกฎหมายปิดปากซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 มาแล้ว
สถานภาพนี้เกิดความเสี่ยงอย่างยิ่งหากกัมพูชาเดินหมากรุกฆาตสร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในอ่าวไทยเรื่อยๆ ซ้ำรอยการสร้างวัด ชุมชน ตลาด และถนนรุกล้ำเข้าไปยังปราสาทพระวิหารให้ฝ่ายไทยประท้วงด้วยกระดาษทางการทูตไปเรื่อย ๆ จนฝ่ายไทยทนไม่ได้เกิดการปะทะ แล้วอ้างเหตุนี้ขึ้นสู่การตัดสินของศาลโลกอีกครั้ง และไทยก็แพ้ในที่สุด
ใครจะเป็นผู้รับประกันว่าประเทศไทยจะชนะศาลระหว่างประเทศได้ภายใต้หลักเส้นมัธยะ เพราะฝ่ายกัมพูชามีกระบวนการล็อบบี้และแลกผลประโยชน์ระหว่างประเทศเหนือกว่าประเทศไทยมาโดยตลอดจริงหรือไม่
อย่าอ้างเด็ดขาดว่า มี MOU 2544 แล้วจะไม่ทำให้ไทยต้องไปศาลโลก เพราะแม้แต่การตีความของศาลโลกให้ไทยต้องสูญเสียขยายพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมเมื่อพ.ศ. 2556 ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยกับกัมพูชาก็มีบันทึกความเข้าใจในการเจรจาตกลงทางบก MOU 2543 กันแล้วด้วยซ้ำ
ด้วยเหตุผลนี้นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงกล้าประกาศว่ากัมพูชาจะได้พื้นที่จากฝ่ายไทยมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน และยังไม่เจรจาด้วยซ้ำไปว่าเกาะกูดเป็นของชาติใด
ด้วยเหตุผลนี้คนไทยทุกคนควรต้องหาทางในการเพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ประเทศไทยจะเพลี่ยงพล้ำเสียทีไปมากกว่านี้
ขอให้ผู้อ่านจงช่วยกันตั้งข้อสังเกตว่าพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2515 ของกัมพูชาโดยนายพลลอนนอล ก็ได้สร้างปัญหาให้กับเวียดนามเช่นกัน โดยลากเส้นไปล้ำน่านน้ำของเวียดนามใต้ ไปครอบครองเกาฟูโกว๊กทั้งเกาะ แต่นักการเมืองและผู้นำเวียดนามมีความเข้มแข็ง รักชาติ ไม่ยอมอ่อนข้อให้กัมพูชา จนทำให้เกิดสงครามระหว่างกัมพูชากับเวียดนามในพ.ศ. 2522 และอีกหลายครั้ง นับแต่นั้นมาเวียดนามก็ยึดครองเกาะฟูโกว๊กในอ่าวไทย ฉีกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2515 ทิ้ง เราต้องไม่ลืมว่ากองทัพของเวียดนามนั้นเคยเข้มแข็งและได้รับการจัดอันดับว่าเป็นกองทัพอันดับหนึ่งในสิบของโลก แม้สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ก็เคยแพ้พ่ายให้กับกองทัพของเวียดนามมาแล้ว
ส่วนไทยนั้น เรามีนักการเมืองขายชาติ แสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง กัมพูชาจึงรุกรานรังแกไทย รุกล้ำพระราชอาณาเขตได้ตามอำเภอใจ เพราะเรามีไส้ศึกภายใน มีคนขายชาติ ทรยศประเทศไทย นี่คือความแตกต่างระหว่างไทยกับเวียดนาม และทำให้ไทยได้รับการปฏิบัติจากกัมพูชาแตกต่างจากเวียดนามโดยสิ้นเชิง ประเทศไทยนั้นไร้ศักดิ์ศรีและอ่อนแอมากในสายตาของผู้นำกัมพูชา
คำถามคือคนไทยจะยอมแบบนี้ได้หรือ ศักดิ์ศรีของประเทศอยู่ที่ไหน
บทความถัดไป เราจะมาพูดถึงปัญหาพรมแดน อาณาเขตทางทะเลของเวียดนามกับกัมพูชา เปรียบเทียบเกาะกูดของไทย กับ เกาะฟูโกว๊กของเวียดนาม ให้ชัดเจนกันไปเลยว่าทำไม ไทยในสายตาของผู้นำกัมพูชาถึงได้กระจอก อ่อนแอ ไร้ศักดิ์ศรี และขายชาติได้ถึงเพียงนี้
สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
อาจารย์ ดร.วิศรุต สำลีอ่อน
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อาจารย์คมสัน โพธิ์คง
นักวิชาการอิสระ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเด็นกัมพูชารังแกรุกรานแผ่นดินไทยนั้นมีมาแต่โบราณกาล เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อแผ่นดินไทยอ่อนแอหรือติดพันศึกสงครามกับพม่า แต่ในประวัติศาสตร์กัมพูชาสมัยใหม่ นักการเมืองกัมพูชานิยมนำประเด็นเรื่องดินแดนมาเพื่อหาเสียงกับประชาชน อันแสดงให้เห็นได้ว่าประชาชนกัมพูชาส่วนใหญ่ไม่ได้สมาทานลัทธิชังชาติแบบประชาชนชาวไทยบางคนบางกลุ่ม ยังคงมีความรักชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติ (National interest) และความมั่นคงของชาติ (National security) อยู่เป็นหลักใหญ่ใจความ อันเป็นลักษณะทั่วไปของประเทศมหาอำนาจ
การกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยกับกัมพูชาในประเด็นเรื่องดินแดน (Territory) นั้นมีมาตลอดทั้งทางบกและทางทะเล เริ่มตั้งแต่ประเด็นเขาพระวิหาร แต่ที่น่าคิดคือไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบและพ่ายแพ้อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่กับเวียดนามนั้น กัมพูชาต้องยอมหมอบศิโรราบอย่างไม่กล้าหือกล้าอือแต่ประการใด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ข้อพิพาทในประเด็นพระราชอาณาเขตทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เกิดขึ้นในพ.ศ. 2515 เมื่อนายพลลอนนอลของกัมพูชาได้ตราพระราชกฤษฎีกาที่ 439-72/PRK โดยประกาศขยายทะเลอาณาเขต (Territorial sea) ไหล่ทวีป (Continental shelf) และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone - EEZ) ออกมา 200 ไมล์ทะเล (1 ไมล์ทะเล (Nautical mile: NM) เท่ากับ 1.85 กิโลเมตร) โดยอ้างอนุสัญญาทะเลของสหประชาชาติ ค.ศ. 1958 และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวของนายพลลอนนอลทำให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทย และกัมพูชากับเวียดนามใต้ (ก่อนเวียดนามใต้แตกในพ.ศ. 2518) เรามาอ่านรายละเอียดของพระราชกฤษฎีกาอันเป็นปัญหาดังกล่าวกัน (ผู้เขียนคนที่หนึ่งสามารถอ่านภาษาฝรั่งเศสได้บ้าง เพราะเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์-ภาษาฝรั่งเศส โดยมีอาจารย์วัฒนพร วัฒนพงศ์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นครูผู้สอน) ว่าทำไมกัมพูชาจึงละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนเองลงนามให้สัตยาบัน ทำไมกัมพูชาจึงรุกรานพระราชอาณาจักรไทย ทำไมกัมพูชาจึงรังแกประเทศไทย ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะนักการเมืองไทยขายชาติหรือไม่? ในบทความนี้ และมาอภิปรายกันว่าทำไมกัมพูชาถึงรุกรานรังแกไทยเรื่องดินแดน แต่ไม่กล้าหือกล้าอือยอมเวียดนามอย่างศิโรราบในบทความถัดไป
ปัญหาพระราชอาณาเขตทางทะเลของราชอาณาจักรไทยเกิดจากการประกาศพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่สุดชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดตราด อันเป็นจุดสิ้นสุดของสันปันน้ำของเทือกเขาบรรทัดที่ตกลงทะเลในอ่าวไทย ซึ่งพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชากำหนดให้เป็น จุด A ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นลองติจูดที่ 102 องศาตะวันออก 54 ลิปดา 81 ฟิลิปดา และละติจูที่ 11 องศาเหนือ 38 ลิปดา 88 ฟิลิปดา แต่กลับลากขยายทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เข้ามาในเขตประเทศไทย โดยลากไปยังจุด P กลางอ่าวไทย ซึ่งระบุไว้ว่าเป็นลองติจูดที่ 101 องศาตะวันออก 20 ลิปดา 00 ฟิลิปดา และละติจูที่ 11 องศาเหนือ 32 ลิปดา 00 ฟิลิปดา (โปรดอ่านพระราชกฤษฎีกาและดูแผนที่ 1 แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 ประกอบ) ผ่ากลางเกาะกูด ณ จุดที่อยู่บนยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เท่ากับประกาศอาณาเขตทางทะเล รุกล้ำเข้ามายังพระราชอาณาเขตของประเทศไทยโดยมิชอบอย่างชัดเจน
พระราชกฤษฎีกาของกัมพูชา พ.ศ. 2515 นั้นมีปัญหาสองประการ
ประการแรก กัมพูชาละเมิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 หรือ รัตนโกสินทร์ศก 125 ลงพระนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของสยามและนายวี คอลแลง เดอปลังซี ของฝรั่งเศส ในข้อสอง (Article 2) ที่เขียนไว้ว่า
“Le Gouvernement Francais cède au Siam les territoires de Dan-Sai et de Kratt dons les frontières sont définies par les clauses I & II du dit protocole, ainsi que touts lesiles situées au sud du Cap Lemling, jusques et y compri Koh-Kut.”
และสนธิสัญญาภาษาไทยที่ลงนามร่วมกันนั้นแปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสเอาไว้ว่า
“รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิง ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ ในข้อสองของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนดังกล่าวมาแล้ว”
ทั้งนี้สนธิสัญญาดังกล่าวฉบับภาษาไทยได้นำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ. 126 เล่มที่ 24 ในสนธิสัญญาดังกล่าวในข้อแปด ยังระบุไว้ว่า
“ถ้ามีข้อเถียงกันขึ้นในการแปลความหมายของหนังสือสัญญานี้ที่ได้ทำไว้ทั้งภาษาไทยแลภาษาฝรั่งเศสนั้น จะต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก”
ในอนุประโยคสุดท้ายของสนธิสัญญาข้อสองดังกล่าวได้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเอาไว้อย่างชัดเจนว่า jusques et y compri Koh-Kut คำว่า "jusques" เป็นคำภาษาฝรั่งเศสโบราณที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้กันแพร่หลายนั้น แต่ใช้ใช้ในลักษณะเดียวกับ "jusqu'à" โดยอาจเขียนร่วมกับคำนามหรือสถานที่ เช่น "jusques à ce point" แปลว่า จนถึงจุดนี้ ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษคือคำว่า until
คำว่า "jusques" อาจถือว่าล้าสมัยในบริบททั่วไป ปัจจุบันผู้พูดภาษาฝรั่งเศสมักใช้ "jusqu'à" แทนในบทสนทนาและงานเขียนทั่วไป เช่น "jusqu'à Paris" แปลว่า จนถึงปารีส หรือ "jusqu'à ce jour" แปลว่า จนถึงวันนี้
คำว่า "jusques et y compris" แปลว่า จนถึงและรวมถึง เป็นคำที่ใช้ในข้อความทางกฎหมายหรือเป็นทางการ
ดังนั้นคำว่า "jusques et y compris Koh-Kut" แปลว่า "จนถึงและรวมทั้งเกาะกูด" หรือ until and including Koh-Kut อันเป็นการเน้นว่าเกาะกูดเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่กล่าวถึงว่าเป็นของสยาม ดังนั้นเกาะกูดทั้งเกาะจึงเป็นของสยามหรือของไทย กัมพูชาจะมาลากเส้นไปแบ่งผ่ากลางเกาะกูดมิได้ จะเป็นการขัดกับสัญญาประธานที่สยามกับฝรั่งเศสลงนามกันไว้
ประการสอง กัมพูชาไม่ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ทางกัมพูชาเองอ้างถึงคืออนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 ซึ่งแม้ในเวลานั้นจะยังไม่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรว่ามีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล แต่สังคมระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและกัมพูชา ยอมรับว่ามีความกว้าง 12 ไมล์ทะเล (ประเทศไทยและกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างความกว้างทะเลอาณาเขตเกิน 12 ไมล์ทะเลเลย) ดังนั้นทะเลอาณาเขตของประเทศไทยจึงนับไปอีก 12 ไมล์ทะเลจากแผ่นดินสุดท้ายของไทยคือปลายสุดของเกาะกูด แล้วจึงหาเส้นมัธยะ (Median line) ระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อหาให้เกิดระยะทางที่เท่ากัน (equidistant) ระหว่างสองประเทศ
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 เป็นหนึ่งในกฎหมายสี่ฉบับที่เกิดจาการประชุม UNCLOS I นั้น ประเทศไทยลงนามวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) และให้สัตยาบันวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) โดยมีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทางทะเล 4 ฉบับ ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2512 หรือ ค.ศ. 1969 โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
กัมพูชาภาคยานุวัติ (เป็นภาคีภายหลัง) วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1960 หรือพ.ศ. 2503 ดังนั้นทั้งไทยและกัมพูชาเป็นภาคีอนุสัญญานี้ทั้งคู่ กัมพูชาจึงต้องปฏิบัติตามหลักการลากเส้นมัธยะตั้งแต่พ.ศ. 2503 แล้ว
ก่อนที่จะมีการลากเส้นมัธยะ (Median line) เพื่อแบ่งอาณาเขตทางทะเลนั้นต้องมีการลากเส้นฐานตรง (Base line) ของแต่ละประเทศก่อน สำหรับผู้ที่สนใจศึกษารายละเอียดโดยพิสดารของเส้นฐานตรงสามารถศึกษาได้จากเอกสารขององค์การสหประชาชาติตามลิงค์นี้ https://www.un.org/depts/los/doalos_publications/publicationstexts/The%20Law%20of%20the%20Sea_Baselines.pdf
อธิบายอย่างง่ายที่สุด การลากเส้นฐานตรง คือการลากเส้นต่อจุดบนแผนที่ริมชายฝั่งทะเลที่เว้าแหว่งให้รวมเกาะเล็ก เกาะน้อย ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งของรัฐนั้น รวมเข้าไปด้วย และเพื่อที่จะใช้เส้นฐานตรงในการลากเส้นมัธยะในการกำหนดอาณาเขตทางทะเลระหว่างสองรัฐอีกที
อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 มาตรา 4 กำหนดหลักการลากเส้นฐานตรงว่า
################
1. In localities where the coastline is deeply indented and cut into, or if there is a fringe of islands along the coast in its immediate vicinity, the method of straight baselines joining appropriate points may be employed in drawing the baseline from which the breadth of the territorial sea is measured.
2. The drawing of such baselines must not depart to any appreciable extent from the general direction of the coast, and the sea areas lying within the lines must be sufficiently closely linked to the land domain to be subject to the regime of internal waters.
3. Baselines shall not be drawn to and from low-tide elevations, unless lighthouses or similar installations which are permanently above sea level have been built on them.
4. Where the method of straight baselines is applicable under the provisions of paragraph 1, account may be taken, in determining particular baselines, of economic interests peculiar to the region concerned, the reality and the importance of which are clearly evidenced by a long usage.
5. The system of straight baselines may not be applied by a State in such a manner as to cut off from the high seas the territorial sea of another State.
6. The coastal State must clearly indicate straight baselines on charts, to which due publicity must be given.
################
ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และมีพระบรมราชโองการ ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
1. ในท้องถิ่นที่แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามามาก หรือถ้ามีเกาะเรียงรายตามฝั่งทะเลในบริเวณใกล้ชิดติดกับฝั่งทะเลนั้น อาจนำวิธีการลากเส้นฐานตรงเชื่อมจุดที่เหมาะสมมาใช้ในการลากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตก็ได้
2. การลากเส้นฐานตรงต่าง ๆ จะต้องไม่หันเหไปจากทิศทางโดยทั่วไปของฝั่งทะเลจนเกินสมควร และบริเวณทะเลซึ่งอยู่ภายในเส้นเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินอย่างใกล้ชิดเพียงพอที่จะอยู่ใต้บังคับแห่งระบอบน่านน้ำภายในได้
3. เส้นฐานตรงจะต้องไม่ลากไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่จะได้สร้างประภาคาร หรือสิ่งติดตั้งที่คล้ายคลึงกันซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลอย่างถาวรบนพื้นที่นั้น
4. ในกรณีที่สามารถใช้วิธีการลากเส้นฐานตรงตามวรรค 1 ได้ การกำหนดเส้นฐานในแต่ละกรณี อาจกระทำโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะสำหรับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความเป็นจริงและความสำคัญของผลประโยชน์นั้น มีหลักฐานเห็นได้ชัดแจ้งจากการถือปฏิบัติที่มีมาช้านาน
5. ระบบเส้นฐานตรงนั้น รัฐมิอาจนำมาใช้ในทำนองที่จะปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวงได้
6. รัฐชายฝั่งต้องแสดงเส้นฐานตรงไว้ให้ชัดแจ้งบนแผนที่ และจะต้องโฆษณาให้ทราบตามสมควร
################
หลักการเดิมเรื่องเส้นฐานตรงยังคงสืบทอดมายังอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 มาตรา 7 ดังนี้
################
1. In localities where the coastline is deeply indented and cut into, or if there is a fringe of islands along the coast in its immediate vicinity, the method of straight baselines joining appropriate points may be employed in drawing the baseline from which the breadth of the territorial sea is measured.
2. Where because of the presence of a delta and other natural conditions the coastline is highly unstable, the appropriate points may be selected along the furthest seaward extent of the low-water line and, notwithstanding subsequent regression of the low-water line, the straight baselines shall remain effective until changed by the coastal State in accordance with this Convention.
3. The drawing of straight baselines must not depart to any appreciable extent from the general direction of the coast, and the sea areas lying within the lines must be sufficiently closely linked to the land domain to be subject to the regime of internal waters.
4. Straight baselines shall not be drawn to and from low-tide elevations, unless lighthouses or similar installations which are permanently above sea level have been built on them or except in instances where the drawing of baselines to and from such elevations has received general international recognition.
5. Where the method of straight baselines is applicable under paragraph 1, account may be taken, in determining particular baselines, of economic interests peculiar to the region concerned, the reality and the importance of which are clearly evidenced by long usage.
6. The system of straight baselines may not be applied by a State in such a manner as to cut off the territorial sea of another State from the high seas or an exclusive economic zone.
################
โดยกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แปล UNCLOS ค.ศ. 1982 มาตรา 7 ไว้ดังนี้
################
ข้อ 7 เส้นฐานตรง
1. ในท้องถิ่นที่แนวฝั่งทะเลเว้าแหว่งและตัดลึกเข้ามามาก หรือถ้ามีเกาะเรียงรายตามฝั่งทะเลในบริเวณใกล้ชิดติดกับฝั่งทะเลนั้น อาจนำวิธีการลากเส้นฐานตรงเชื่อมจุดที่เหมาะสมมาใช้ในการลากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตก็ได้
2. ในบริเวณที่แนวฝั่งทะเลไม่คงที่อย่างมากเนื่องจากมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและสภาพทางธรรมชาติอื่น อาจเลือกจุดที่เหมาะสมตามเส้นแนวน้ำลดทางด้านทะเลระยะที่ไกลที่สุด และถึงแม้ว่าเส้นแนวน้ำลดจะร่นเข้ามาในภายหลัง เส้นฐานตรงนั้นจะยังคงมีผล อยู่จนกว่ารัฐชายฝั่งจะเปลี่ยนแปลงโดยสอดคล้องกับอนุสัญญานี้
3. การลากเส้นฐานตรงต่าง ๆ จะต้องไม่หันเหไปจากทิศทางโดยทั่วไปของฝั่งทะเลจนเกินสมควร และบริเวณทะเลซึ่งอยู่ภายในเส้นเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์กับผืนแผ่นดินอย่างใกล้ชิดเพียงพอที่จะอยู่ใต้บังคับแห่งระบอบน่านน้ำภายในได้
4. เส้นฐานตรงจะต้องไม่ลากไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำขณะน้ำลด เว้นแต่จะได้สร้างประภาคาร หรือสิ่งติดตั้งที่คล้ายคลึงกันซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลอย่างถาวรบนพื้นที่นั้น หรือยกเว้นในกรณีที่การลากเส้นฐานไปยังและมาจากพื้นที่เหนือน้ำดังกล่าวได้รับการยอมรับระหว่างประเทศโดยทั่วไป
5. ในกรณีที่สามารถใช้วิธีการลากเส้นฐานตรงตามวรรค 1 การกำหนดเส้นฐานเฉพาะบางกรณี อาจต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะพิเศษของภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งความเป็นจริงและความสำคัญของผลประโยชน์นั้น มีหลักฐานเห็นได้ชัดแจ้งจากการถือปฏิบัติที่มีมาช้านาน
6. รัฐมิอาจนำระบบเส้นฐานตรงมาใช้ในลักษณะเช่นที่จะปิดกั้นทะเลอาณาเขตของอีกรัฐหนึ่งจากทะเลหลวงหรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
################
ทั้งนี้ การลากเส้นมัธยะ (median line) เป็นหลักกฎหมายที่ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ความว่า
################
Where the coasts of two States are opposite or adjacent to each other, neither of the two States is entitled, failing agreement between them to the contrary, to extend its territorial sea beyond the median line every point of which is equidistant from the nearest points on the baselines from which the breadth of the territorial seas of each of the two States is measured. The provisions of this paragraph shall not apply, however, where it is necessary by reason of historic title or other special circumstances to delimit the territorial seas of the two States in a way which is at variance with this provision.
################
อันแปลเป็นภาษาไทยตามที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
ในกรณีที่ฝั่งทะเลของรัฐสองรัฐอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน ถ้าไม่มีความตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐไม่มีสิทธิที่จะขยายทะเลอาณาเขตของตนเลยเส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองแต่ละรัฐ อย่างไรก็ดี มิให้ใช้บทแห่งวรรคนี้ ในกรณีที่เป็นการจำเป็นโดยเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ หรือพฤติการณ์พิเศษอย่างอื่นในอันที่จะกำหนดเขตทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองในทางที่แตกต่างไปจากบทนี้
################
เช่นเดียวกับอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายสี่ฉบับจากที่ประชุม UNCLOS I มาตรา 6 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ว่า
################
Where the same continental shelf is adjacent to the territories of two adjacent States, the boundary of the continental shelf shall be determined by agreement between them. In the absence of agreement, and unless another boundary line is justified by special circumstances, the boundary shall be determined by application of the principle of equidistance from the nearest points of the baselines from which the breadth of the territorial sea of each State is measured.
################
อันแปลเป็นภาษาไทยตามที่มีพระบรมราชโองการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 86 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ความว่า
################
ในกรณีที่ไหล่ทวีปเดียวกันตั้งอยู่ประชิดกับอาณาเขตของรัฐสองรัฐหรือมากกว่า ซึ่งมีฝั่งทะเลอยู่ตรงกันข้าม เขตแดนของไหล่ทวีปที่เป็นของรัฐเช่นว่านั้นจะกำหนดโดยความตกลงระหว่างกัน หากไม่มีการตกลงกันและนอกจากว่าพฤติการณ์พิเศษจะทำให้เป็นการสมควรที่จะใช้เส้นเขตแดนอื่น เขตแดนนั้นได้แก่เส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐาน ซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตแต่ละรัฐ
################
จากสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสและกลุ่มอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เรามาลองพิจารณาลากเส้นฐานตรง (Base line) ของไทยกับกัมพูชากันบนแผนที่ หลังจากนั้นก็ลากเส้นมัธยะกันตามกฎหมายระหว่างประเทศดังแผนที่ 2 ด้านล่างนี้
เส้น AB คือเส้นฐานตรงของประเทศไทย ลากจากหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราดตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ไปยังปลายด้านทิศใต้สุดของเกาะกูดอันเป็นพระราชอาณาเขตของประเทศไทยอย่างชัดเจน
เส้น BC คือเส้นฐานตรงของกัมพูชาลากจากหลักเขตที่ 73 ที่จังหวัดตราดไปด้านตะวันตกสุดของเกาะกงหรือประจันตคีรีเขตที่เคยเป็นของไทย มีคนไทยอาศัย และพูดภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นเมืองคู่กับประจวบคีรีขันธ์มาก่อน แต่ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 สยามไม่สามารถรักษาเกาะกงเอาไว้ได้ เส้นฐานตรงที่ถูกต้องของกัมพูชาคือเส้นนี้
โจทย์เหมือนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เส้นมัธยะจะต้องแบ่งครึ่งมุม ∠ABC
ประเทศไทยส่งคำตอบเป็นเส้นในแผนที่ 2 ที่เขียนกำกับด้วยคำว่าไทย ระหว่างเส้นฐานตรงของไทยกับกัมพูชา โดยกองรังวัด กรมทรัพยากรธรณี ในพ.ศ. 2510 หรือค.ศ. 1967 และมีประกาศกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ลงนามโดยนายพจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ลงวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2511 ให้อาชญาบัตรผูกขาดในการสำรวจปิโตรเลียมและประทานบัตรในการทำเหมืองปิโตรเลียม ตามพระราชบัญญัติเหมืองแร่ พ.ศ. 2511 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 85 ตอนที่ 11 โดยแนบท้ายแผนที่ที่จัดทำโดยกองรังวัด กรมทรัพยากรธรณี ในพ.ศ. 2510 (โปรดดูแผนที่ 3)
โดยในพ.ศ. 2511 หรือค.ศ. 1968 บริษัทยูเนี่ยนออยล์ (ต่อมาบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด และต่อมาบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด) อันเป็นบรรษัทข้ามชาติ (Multinational company) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมประมูลจนได้อาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทย แปลงที่ 12 และ 13 ตามแผนที่ของกองรังวัด ในพ.ศ. 2510 และตามประกาศกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติของไทยในพ.ศ. 2511 อันแสดงให้เห็นว่าชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกายอมรับว่าพื้นที่ที่ลากแบ่งระหว่างมุม ∠ABC ของไทยว่าถูกต้อง ของแผนที่ 3
เพราะหลักกฎหมายระหว่างประเทศถือว่าอาณาเขตอยู่เหนือทรัพยากร (Territory over resource) ประเทศใดจะเป็นเจ้าของทรัพยากรได้ย่อมต้องได้อาณาเขตเสียก่อน ปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย เป็นทรัพยากรของไทยก็เพราะว่าไทยเป็นเจ้าของอาณาเขตในบริเวณนั้น ทำให้เก็บเงินสร้างรายได้จากทรัพยากรในอาณาเขตของไทยได้ ชาติที่ยอมเสียเงินให้กับไทยและยอมรับแผนที่ 4 ว่าเป็นอาณาเขตทางทะเลของไทยก็คือชาติมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทสัญชาติอเมริกันนั่นเอง
ไทยได้ประกาศใช้เส้นฐานตรง (Baseline) ดังเส้น AB ในแผนที่ 3 อีกครั้ง โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2513 หรือ ค.ศ. 1970 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 87 ตอนที่ 52 ลงนามโดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น ดังแสดงในแผนที่ 4 อันลากเส้นฐานตรงจากสุดชายแดนไทยที่จังหวัดตราด หลักเขตที่ 73 ไปยังจุดใต้สุดของเกาะกูด ซึ่งตามประกาศดังกล่าวเรียกว่าบริเวณที่ 1
ในพ.ศ. 2514 ไทยได้มีประกาศ กรมทรัพยากรธรณี เรื่องเขตพื้นที่ แปลงสำรวจปิโตรเลียมในทะเลของไทย ลงวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514 หรือค.ศ. 1971 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 88 ตอนที่ 102 ในวันที่ 23 กันยายน 2514 ดังแผนที่ 5 อันเป็นการยืนยันการกำหนดเส้นฐานตรงของไทยเส้น AB และเส้นมัธยะที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ตามแผนที่ 2 ที่จัดทำโดยผู้เขียน และไทยได้ประกาศในแผนที่ 3 ที่จัดทำขึ้นในพ.ศ. 2510 และประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2511 และประกาศเส้นฐานตามแผนที่ 4 ในพ.ศ. 2511 ก่อนที่กัมพูชาจะเคลมอย่างไม่ถูกต้องล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยตามแผนที่ 1
แต่กัมพูชาส่งคำตอบเป็นเส้นสีแดงในการแบ่งมุม ∠ABC ใน แผนที่ 2 ตามที่มีพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาโดยนายพลลอนนอลในพ.ศ. 2515 ดังแสดงใน แผนที่ 1 จึงทำให้เกิดปัญหากระทบรุกล้ำพระราชอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย
กัมพูชานั้นออกพระราชกฤษฎีกาในพ.ศ. 2515 โดยอ้างเส้นไหล่ทวีปนี้มีที่มาโดยอาศัยแผนที่แนบท้ายในสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 โดยกัมพูชาตีความเอาเองว่า “เส้นเล็ง”จากยอดสูงสุดของเกาะกูด เพื่อหาหลักเขตแดนทางบกชายฝั่งของระหว่างกัมพูชา คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชายึดถือด้วย
เส้นเล็งดังกล่าวปรากฏใน แผนที่ 8 ที่ลากจากยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูดไปยังหลักเขตที่ 73 อันแบ่งอาณาเขตระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส ตามที่มีสัญญาปักปันเขตแดนแนบท้ายสัญญาประธานใน ค.ศ. 1907 ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสได้ตีพิมพ์แผนที่ดังกล่าวในวารสารอาณานิคม Dépêche Coloniale Illustrée โปรดอ่านรายละเอียดได้จากบทความนักสืบประวัติศาสตร์ เปิดแผนที่เกาะกูดอยู่ในสยาม มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ภายหลังสนธิสัญญาไทยฝรั่งเศส https://mgronline.com/politics/detail/9670000019148
และด้วยเพราะฝ่ายราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 1907 เพราะเห็นว่าไม่สามารถจะตีความไปเป็นเส้นไหล่ทวีปได้เลย เนื่องจากในสมัยนั้นการกำหนดพระราชอาณาเขต (Territory) กำหนดเฉพาะทางบก ถือว่าเป็นยุคสมัยของเสรีภาพแห่งทะเลหลวง (Freedom of the high sea) ทะเลแทบทั้งหมดเป็นทะเลหลวงหรือ High sea ดังนั้น
ประการแรก การที่กัมพูชานำสัญญาปักปันเขตแดนแนบท้ายสัญญาประธาน มาเฉพาะส่วนของเส้นเล็ง ย่อมขัดกับเนื้อความในสัญญาประธาน ย่อมมิอาจจะมีผลบังคับใช้ เพราะขัดแย้งกับตัวสัญญาประธานอย่างชัดเจน
ประการที่สอง กัมพูชาอ้างไหล่ทวีปในค.ศ. 1907 ในยุคสมัยเสรีภาพแห่งทะเลหลวง (Freedom of the high sea) อันเป็นยุคที่นานาประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ยอมรับการกำหนดอาณาเขตในท้องทะเลแต่อย่างใด ย่อมเป็นการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศย้อนหลังในทางที่ไม่เป็นคุณกับสยาม ย่อมมิอาจกระทำได้ เพราะเป็นการย้อนบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศไปในอดีต ในเวลาที่ยังไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศเช่นนั้น กล่าวคือยังไม่มีทะเลอาณาเขต (Territorial sea) ยังไม่มีไหล่ทวีป (Continental shelf) หรือแม้แต่เส้นฐานตรง (Base line) ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ การกระทำเช่นนี้ของกัมพูชา จึงเป็น การย้อนใช้กฎหมายที่ยังไม่มีแม้แต่บรรทัดฐานระหว่างประเทศ (International norms) ในเรื่องดังกล่าว ในทางที่ตนเองจะได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวย่อมมิอาจจะเป็นที่ยอมรับได้เลย
เนื้อความของสัญญาปักปันเขตรแดนแนบท้ายสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ในส่วนนี้เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสเอาไว้ว่า
################
Protocol Concernant la délimitation des frontières et annexé au traité du 23 Mars 1907
CLAUSE I
La frontières entre l’Indo-Chine Francaise et le Siam part de la mer en un point situé en face du plus haut sommet de l’île de Koh-Kut. Elle suit à partir de ce point une direction Nord-Est jusqu’ à la crête des Pnom-Krevanh. Il est formellement convenu que, dans tous les cas, les versants Est de ces montagmes y compris la totalité du bassin du Klong-Kopo, doivent rester à l’Indo-Chine francaise.
################
อันมีเนื้อความภาษาไทยเอาไว้ว่า
################
สัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือ สัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125
ข้อ 1 เขตรแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดชินของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาที่สูงที่สุดของเกาะกูด เปนหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแลเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไร ๆ ก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ฟากทิศตวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะปอด้วยนั้นต้องคงเป็นดินแดนของฝ่ายอินโดชินฝรั่งเศสแล้ว
################
วัตถุประสงค์ของเส้นที่ลากไปยังเขาที่สูงสุดบนเกาะกูดนั้น แท้จริงเป็นเส้นเล็งเพื่อกำหนดหลักเขตที่ 73 อันแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา หากข้ามหลักเขตที่ 73 ไปทางคลองเกาะปอ (หรือข้ามสันปันน้ำ) ไปแล้วย่อมเป็นอาณาเขตของกัมพูชา ด้วยเหตุนี้เองทำให้ไทยต้องเสียเกาะกงหรือเมืองประจันตคีรีเขตเพราะอยู่ข้ามสันปันน้ำดังกล่าวอันมาจากเส้นเล็งบนเกาะกูด
การอ้างเส้นเล็ง กลายเป็นไหล่ทวีปของกัมพูชา โดยนายพลลอนนอล โดยอ้างสัญญาปักปันเขตรแดนแนบท้ายสัญญาประธานค.ศ. 1907 นั้น ผิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างแน่นอน และทำให้กระทบกระเทือนพระราชอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยอย่างรุนแรง จนไทยเรามิอาจจะนิ่งเฉยหรือยอมรับได้ ร้อนถึงจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องส่งจอมพลประภาส จารุเสถียรไปเจรจากับนายพลลอนนอล โดยพลเรือเอกถนอม เจริญลาภอดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้บันทึกเอาไว้ว่านายพลลอนนอลได้กล่าวว่า ได้ประกาศไปแล้ว หากเปลี่ยนประกาศจะเกิดความวุ่นวายในกัมพูชาในทางการเมือง ให้ไทยไปหาทางแก้ไขกันเอาเอง โปรดอ่านได้จากบทความ คุณูปการของจอมพลถนอม-จอมพลประภาสในการปกป้องเกาะกูดและอธิปไตยทางทะเลของไทย https://mgronline.com/daily/detail/9670000019330
จอมพลถนอม กิตติขจรได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 หรือค.ศ. 1973 ลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 90 ตอนที่ 60 วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยใช้เส้นฐานตรงของไทยคือเส้น AB ดังแผนที่ 2 และเส้นมัธยะตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอันชอบธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาที่กัมพูชาลากเส้นมัธยะตามอำเภอใจ ในพ.ศ. 2515 ดังแสดงในแผนที่ 1 ละเมิดสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และละเมิดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ณ กรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาต่างลงนามและให้สัตยาบันแล้ว แผนที่แนบท้ายประกาศพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 และ 18 จุดของไหล่ทวีปในอ่าวไทยดังแสดงในแผนที่ 6
ขอให้สังเกตว่า 18 จุดไหล่ทวีปในอ่าวไทยตามพระบรมราชโองการ พ.ศ. 2516 ในแผนที่ 6 นั้นตรงกับแผนที่ 3 ที่สำรวจในพ.ศ. 2510 และประกาศใช้ในพ.ศ. 2511 เมื่อมีการให้อาชญาบัตรและประทานบัตรในการสำรวจและขุดปิโตรเลียมในอ่าวไทย และตรงกันกับแผนที่ 4 ที่ประกาศใช้ในพ.ศ. 2513 อันเป็นการประกาศเส้นฐานตรงของไทย และแผนที่ 5 อันเป็นการประกาศกำหนดเขตแปลงสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยในพ.ศ. 2514
ที่สำคัญที่สุดคือ ทั้งแผนที่ 3, 4, 5, และ 6 นั้นกำหนดเส้นฐานตรง ใช้เส้นมัธยะ และกำหนด 18 จุดไหล่ทวีป 18 จุด ตรงกับ ส.ค.ส. พระราชทาน พ.ศ. 2547 โดยในหลวงรัชกาลที่ 9 ดังแสดงในแผนที่ 7
ดังนั้นพระราชกฤษฎีกาของกัมพูชาเองจึงอ้างกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนเองได้ภาคยานุวัติแล้ว แต่กลับละเมิดไม่ปฏิบัติตามเสียเอง
อย่างไรก็ตามไม่กี่วันก่อน มีไอ้ขี้หูดนอกคอกในกระทรวงบัวแก้ว ออกมาแถรับใช้คนขายชาติว่ากัมพูชาไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS แต่อย่างใด สนธิสัญญา(หมายถึง MOU44 และ JC44) จึงเป็นประโยชน์กับประเทศไทย ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น MOU44 และ JC44 เป็นโมฆะ ขัดพระบรมราชโองการ ก้าวล่วงพระราชอำนาจ ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลาย ล้มล้างการปกครอง ควรมีโทษประหารชีวิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000118065
ข้อเท็จจริงคือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ UNCLOS นั้นผ่านการลงมติรับรองของรัฐสภาไทย และอนุสัญญา UNCLOS ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) มาตรา 15 ได้บัญญัติเรื่องไหล่ทวีปไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 15 ซึ่งสืบทอดแนวทางเรื่องเส้นมัธยะ ตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ให้สัตยาบันแล้ว และมีผลผูกพันทั้งสองชาติอย่างแน่นอน ดังนี้
################
Where the coasts of two States are opposite or adjacent to each other, neither of the two States is entitled, failing agreement between them to the contrary, to extend its territorial sea beyond the median line every point of which is equidistant from the nearest points on the baselines from which the breadth of the territorial seas of each of the two States is measured. The above provision does not apply, however, where it is necessary by reason of historic title or other special circumstances to delimit the territorial seas of the two States in a way which is at variance therewith.
################
โดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้แปลมาตรา 15 ของ UNCLOS เอาไว้ว่า
################
ข้อ 15 การกำหนดขอบเขตของทะเลอาณาเขตระหว่างรัฐซึ่งมีฝั่งทะเลอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน
ในกรณีที่ฝั่งทะเลของรัฐสองรัฐอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกัน ถ้าไม่มีความตกลงระหว่างกันเป็นอย่างอื่น รัฐใดรัฐหนึ่งของสองรัฐนั้นย่อมไม่มีสิทธิจะขยายทะเลอาณาเขตของตนเลยเส้นมัธยะ ซึ่งจุดทุกจุดบนเส้นมัธยะนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดบนเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของรัฐทั้งสองแต่ละรัฐ อย่างไรก็ดี บทบัญญัติข้างต้นนี้ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่มีความจำเป็นอันเนื่องมาจากเหตุผลแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์หรือสภาวการณ์พิเศษอย่างอื่นในอันที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเลของรัฐทั้งสองในลักษณะที่แตกต่างไปจากบทบัญญัตินี้
################
เราจะเห็นได้ว่าประเด็นเส้นมัธยะและทะเลอาณาเขตของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 นั้นต้องตรงกันทุกประการอย่างไร้ข้อกังขาใดๆ ในเมื่อกัมพูชาและไทยต่างได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 และลงนามไว้เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันกับทั้งสองชาติอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงในประเด็น ทะเลอาณาเขต เส้นฐานตรง ไหล่ทวีป และเส้นมัธยะ แม้กัมพูชาจะมิได้ให้สัตยาบันใน UNCLOS ค.ศ. 1982 ก็ตาม
ข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่ว่า ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1982 (ลงนามตั้งแต่วันแรก) และให้สัตยาบัน วันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 หรือ พ.ศ. 2554 และมีการลงมติในรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว
กัมพูชาลงนามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS) ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 หรือพ.ศ. 2526 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน
อย่างไรก็ตามตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ สหประชาชาติได้อธิบายเอาไว้ว่า
################
Signing a treaty does, however, indicate the State’s intention to take steps to express its consent to be bound by the treaty at a later date. Signature also creates an obligation on a State, in the period between signature and ratification, acceptance or approval, to refrain in good faith from acts that would defeat the object and purpose of the treaty.
################
https://treaties.un.org/doc/source/events/2010/press_kit/fact_sheet_5_english.pdf
ซึ่งแปลได้ว่า
################
การลงนามในสนธิสัญญา เป็นการบ่งชี้แสดงเจตนาของรัฐในการยินยอมอนุวัติปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่ลงนามภายหลังจากวันที่ลงนามนั้น การลงนามเป็นภาระผูกพันของรัฐ แม้ในระหว่างระยะเวลาที่ลงนามไปจนกระทั่งถึงเวลาที่ให้สัตยาบันนั้น การยอมรับหรือการอนุมัติเพื่อหลีกเลี่ยงเจตจำนงอันดีในการปฏิบัติตามสนธิสัญญาย่อมเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ของสัญญา
################
แม้ว่าการให้สัตยาบันจะเป็นการทำให้สนธิสัญญาที่ลงนามไว้ผูกพันโดยสมบูรณ์ก็จริง แต่การลงนาม (Signature) ก็มีความหมายมาก เพราะรัฐที่ลงนามจะต้องแสดงถึงความสุจริตและจริงใจที่จะปฏิบัติตามสนธิสัญญานั้น ๆ ที่ลงนามไว้ตามหลักสุจริต
ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่ากัมพูชาไม่ได้ให้สัตยาบันกับ UNCLOS ค.ศ. 1982 จึงไม่ผูกพันตามมาตรา 15 ของ UNCLOS จึงไม่ถูกต้อง เพราะกัมพูชาจะต้องแสดงออกอย่างสุจริตในการลากเส้นมัธยะ ซึ่งแท้จริงมีผลผูกพันนับแต่ อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 แล้ว
เพราะประเทศไทยเองก็เคยมีช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน UNCLOS 1982 หลังจากการลงนามในสัญญาเช่นกัน คือระหว่างปี ค.ศ. 1982 - 2011 แต่ไทยก็ยึดถือหลักการตาม UNCLOS มาโดยตลอดโดยสุจริตไม่บิดพลิ้ว ดังนั้นหลักการลากเส้นมัธยะที่มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่อนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ ค.ศ. 1958 ดังนั้นอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 มาตรา 12 วรรค 1 จึงผูกพันกับกัมพูชาอย่างเต็มที่
การที่กัมพูชาลากเส้นมัธยะล้ำน่านน้ำภายในและอ้อมปลายเกาะกูดแบบนี้เป็นการไม่สุจริตและบิดพลิ้วไม่ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศ
ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตฯ นับแต่ ค.ศ. 1958 หรือ พ.ศ. 2501 โดยไทยได้ลงนามในปีนั้น และประกาศพระบรมราชโองการของในหลวง ร.9 หรือประกาศอื่น ๆ นับแต่ พ.ศ. 2510 และแผนที่ 3-7 เป็นการยืนยันว่าไทยเคารพและปฏิบัติตามหลักการว่าด้วยทะเลอาณาเขต เส้นฐาน ไหล่ทวีป ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศเป็นอย่างดีมาโดยตลอด
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) ที่ลงนามโดยนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับ นายซก อาน รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย กับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) ที่รับรอง MOU 2544 เอาไว้ในวันเดียวกัน นั้นกำลังนำไปสู่ “การไม่ปฏิเสธ” เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ไทยเราปฏิเสธมาโดยตลอดนับแต่ พ.ศ. 2515
การกล่าวอ้างจากนายนพดล ปัทมะ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้ประชาชนชาวไทยหลงเชื่อว่า MOU 2544 นั้น แปลว่าฝ่ายไทยยังคงยึดถือเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 อยู่ทุกประการ ในขณะเดียวกันยังอวดอ้างสรรพคุณของ MOU 2544 ด้วยว่า จะเป็นการบังคับให้กัมพูชายึดตามกฎหมายทะเลสากลเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรก เป็นการแอบอ้างเบื้องสูงโดยการโกหกไม่พูดความจริง
การกล่าวอ้างดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านายนพดล ปัทมะ ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาในข้อความของกัมพูชาที่อ้างว่าการประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชานั้น ก็ยึดหลักกฎหมายอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เช่นเดียวกับที่ไทยยึดถือ
กล่าวโดยให้เข้าใจโดยง่ายโดยสรุปคือ
ฝ่ายราชอาณาจักรไทยซึ่งประกาศตามพระบรมราชโองการ ให้ยึดถือหลักการ ”เส้นมัธยะ“ (Median Line) ตามข้อ 12 ของอนุสัญญาของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และข้อ 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งรัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ“ เพียงหลักการเดียว
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมฝ่ายราชอาณาจักรไทยจึงได้มีประกาศภายใต้พระบรมราชโองการ ถึงได้ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ออกมาโดยใช้หลักเส้นมัธยะ คือ ลากเส้นออกมาโดยแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย กับ เกาะกงของกัมพูชา
ส่วนฝ่ายกัมพูชาซึ่งประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา ได้ยึดถือหลักการ “เส้นเขตแดนอย่างอื่น” หากทั้งสองรัฐตกลงกัน ที่จะไม่ใช่หลัก “เส้นมัธยะ”อย่างเดียว
นั่นคือ MOU 2544 ได้เปิดช่องให้กัมพูชาอาศัย “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ที่ฝ่ายไทย “ไม่ปฏิเสธแผนที่แนบท้าย“ ตามข้อยกเว้นที่อนุญาตให้ไม่ต้องใช้เส้นมัธยะ ของข้อ 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และข้อ 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยเขตไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทั้งฝ่ายราชอาณาจักรไทยและกัมพูชาได้อ้างนั้นได้พยายามอ้างบทบัญญัติเดียวกัน หากแต่เมื่อพิจารณาพิเคราะห์แล้ว หากไม่มี MOU 2544 เกิดขึ้น ประเทศไทยและกัมพูชาย่อมต้องถือ “หลักเส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ทั้งมาตรา 12 ของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง และ มาตรา 6 ของอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ได้บัญญัติประเด็นเส้นมัธยะเอาไว้อย่างชัดเจน ว่าต้องยึดเส้นฐานเป็นหลักก่อนจึงจะไปยึดหลักการอื่น ๆ เช่น สิทธิแห่งประวัติศาสตร์ หรือพฤติการณ์พิเศษ
ความหมายดังที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “หากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น” หรือ “พฤติการณ์พิเศษที่จะทำให้ใช้เส้นเขตแดนอื่น” จะต้องใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” เพียงหลักการเดียวเท่านั้น
และถ้าไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ก็จะเป็นไปตามหลักเส้นมัธยะอย่างเดียว คือเป็นไปตามตามพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ทุกประการ
แต่เมื่อเกิดเหตุการลงนามตาม MOU 2544 และรับรองโดย JC 2544 ทำให้เกิดการเจรจาตกลงกันโดย “หลักการอื่น” คือรับรู้โดยไม่ปฏิเสธ พระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เมื่อปี 2515 และ พระบรมราชโองการ ประกาศเส้นไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย 2516 ให้เกิดการเจรจาอยู่นอกเหนือหลัก “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียว
โดยของราชอาณาจักรไทยนั้นยึดหลักความเป็นธรรมโดยอาศัยเส้นหลักมัธยะเท่านั้น
แต่การที่มี MOU 2544 ได้เกิดการรับรู้โดยไม่ปฏิเสธ พระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา เมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อย่างเดียว อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน” เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
และกัมพูชาอ้างเส้นไหล่ทวีปนี้มีที่มาโดยอาศัยแผนที่แนบท้ายในสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 โดยกัมพูชาตีความเอาเองว่า “เส้นเล็ง”จากยอดสูงสุดของเกาะกูด เพื่อหาหลักเขตแดนทางบกชายฝั่งของระหว่างกัมพูชา คือ เส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชายึดถือด้วย
และด้วยเพราะฝ่ายราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ดังกล่าวเมื่อปี ค.ศ. 1907 เพราะเห็นว่าไม่สามารถจะตีความไปเป็นเส้นไหล่ทวีปได้เลย
แต่การที่ราชอาณาจักรไทย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาภายใต้ MOU 2544 ที่ได้กลายเป็นการรับรู้ “เส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา” ที่ยกระดับสถานภาพ“เส้นเล็ง” ให้กลายเป็น “เส้นไหล่ทวีป”ของกัมพูชา และกลายเป็น “สิทธิแห่งประวัติศาสตร์” ที่ฝ่ายไทยไม่ปฏิเสธมาเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึง 23 ปีแล้ว ภายใต้ MOU 2544
และนี้อาจทำให้ไทยสูญเสียพื้นที่เพราะกฎหมายปิดปากซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 มาแล้ว
สถานภาพนี้เกิดความเสี่ยงอย่างยิ่งหากกัมพูชาเดินหมากรุกฆาตสร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำเข้ามาในอ่าวไทยเรื่อยๆ ซ้ำรอยการสร้างวัด ชุมชน ตลาด และถนนรุกล้ำเข้าไปยังปราสาทพระวิหารให้ฝ่ายไทยประท้วงด้วยกระดาษทางการทูตไปเรื่อย ๆ จนฝ่ายไทยทนไม่ได้เกิดการปะทะ แล้วอ้างเหตุนี้ขึ้นสู่การตัดสินของศาลโลกอีกครั้ง และไทยก็แพ้ในที่สุด
ใครจะเป็นผู้รับประกันว่าประเทศไทยจะชนะศาลระหว่างประเทศได้ภายใต้หลักเส้นมัธยะ เพราะฝ่ายกัมพูชามีกระบวนการล็อบบี้และแลกผลประโยชน์ระหว่างประเทศเหนือกว่าประเทศไทยมาโดยตลอดจริงหรือไม่
อย่าอ้างเด็ดขาดว่า มี MOU 2544 แล้วจะไม่ทำให้ไทยต้องไปศาลโลก เพราะแม้แต่การตีความของศาลโลกให้ไทยต้องสูญเสียขยายพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเพิ่มเติมเมื่อพ.ศ. 2556 ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยกับกัมพูชาก็มีบันทึกความเข้าใจในการเจรจาตกลงทางบก MOU 2543 กันแล้วด้วยซ้ำ
ด้วยเหตุผลนี้นายฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงกล้าประกาศว่ากัมพูชาจะได้พื้นที่จากฝ่ายไทยมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน และยังไม่เจรจาด้วยซ้ำไปว่าเกาะกูดเป็นของชาติใด
ด้วยเหตุผลนี้คนไทยทุกคนควรต้องหาทางในการเพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ประเทศไทยจะเพลี่ยงพล้ำเสียทีไปมากกว่านี้
ขอให้ผู้อ่านจงช่วยกันตั้งข้อสังเกตว่าพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2515 ของกัมพูชาโดยนายพลลอนนอล ก็ได้สร้างปัญหาให้กับเวียดนามเช่นกัน โดยลากเส้นไปล้ำน่านน้ำของเวียดนามใต้ ไปครอบครองเกาฟูโกว๊กทั้งเกาะ แต่นักการเมืองและผู้นำเวียดนามมีความเข้มแข็ง รักชาติ ไม่ยอมอ่อนข้อให้กัมพูชา จนทำให้เกิดสงครามระหว่างกัมพูชากับเวียดนามในพ.ศ. 2522 และอีกหลายครั้ง นับแต่นั้นมาเวียดนามก็ยึดครองเกาะฟูโกว๊กในอ่าวไทย ฉีกพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2515 ทิ้ง เราต้องไม่ลืมว่ากองทัพของเวียดนามนั้นเคยเข้มแข็งและได้รับการจัดอันดับว่าเป็นกองทัพอันดับหนึ่งในสิบของโลก แม้สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ก็เคยแพ้พ่ายให้กับกองทัพของเวียดนามมาแล้ว
ส่วนไทยนั้น เรามีนักการเมืองขายชาติ แสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง กัมพูชาจึงรุกรานรังแกไทย รุกล้ำพระราชอาณาเขตได้ตามอำเภอใจ เพราะเรามีไส้ศึกภายใน มีคนขายชาติ ทรยศประเทศไทย นี่คือความแตกต่างระหว่างไทยกับเวียดนาม และทำให้ไทยได้รับการปฏิบัติจากกัมพูชาแตกต่างจากเวียดนามโดยสิ้นเชิง ประเทศไทยนั้นไร้ศักดิ์ศรีและอ่อนแอมากในสายตาของผู้นำกัมพูชา
คำถามคือคนไทยจะยอมแบบนี้ได้หรือ ศักดิ์ศรีของประเทศอยู่ที่ไหน
บทความถัดไป เราจะมาพูดถึงปัญหาพรมแดน อาณาเขตทางทะเลของเวียดนามกับกัมพูชา เปรียบเทียบเกาะกูดของไทย กับ เกาะฟูโกว๊กของเวียดนาม ให้ชัดเจนกันไปเลยว่าทำไม ไทยในสายตาของผู้นำกัมพูชาถึงได้กระจอก อ่อนแอ ไร้ศักดิ์ศรี และขายชาติได้ถึงเพียงนี้