ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ในปี 2516 นายพลลอนนอล นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ประกาศเส้นเขตแดนใหม่ของกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในประเทศไทย โดยลากเส้นจากหลักเขตแดนหลักที่ 73 ที่บ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด อันเป็นสุดเขตชายแดนไทยบนบกตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส รัตนโกสินทร์ศก 1907 แต่สิ่งที่นายพลลอนนอลทำนั้นประหลาดคือลากเส้นเขตแดนจากหลักเขตที่ 73 พาดผ่านเข้ามาในทะเลไทยไปยังกลางเกาะกูดบนยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด แบ่งเฉือนผ่าเกาะกูดออกเป็นสองฟาก ให้ฟากหนึ่งเป็นดินแดนกันพูชา อีกฟากหนึ่งเป็นดินแดนไทย แล้วประกาศขยายอาณาเขตและอธิปไตยทางทะเลเข้ามาในท้องทะเลอ่าวไทยอันเป็นดินแดนไทย
จอมพลถนอม-จอมพลประภาส ผู้เรืองอำนาจในเวลานั้น มีความรักชาติรักแผ่นดินเยี่ยงชายชาติทหาร ไม่อาจยอมในสิ่งที่ทำให้ไทยเสียดินแดนเช่นนี้ของนายพลลอนนอลได้ ตัดสินใจส่งจอมพลประภาส จารุเสถียร ไปเจรจากับนายพลลอนนอล ทั้งจอมพลถนอม-จอมพลประภาส ตลอดจนนายพลลอนนอลในเวลานั้นต่างก็เป็นมหามิตรกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ทำให้ยอมเจรจากันง่ายๆ
นายพลลอนนอล ก็พูดกับจอมพลประภาสไปตรงๆ ว่าประกาศไปแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ เป็นเรื่องของคะแนนเสียงทางการเมือง เพื่อสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนชาวกัมพูชา จอมพลประภาสท่านก็ไม่ว่าอะไร ท่านก็บอกว่าไทยจะดำเนินการต่อไปนะ แล้วก็กลับมารายงานจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี
จอมพลถนอม กิตติขจรก็รีบดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ในทันที โดยนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเป็นธรรม คือ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ณ กรุงเจวีนา ในปี ค.ศ. 1958 โดยประกาศพิกัดภูมิศาสตร์ของไหล่ทวีปในอ่าวไทยทั้งสิ้น 18 จุด ลากเส้นผ่านอ่าวไทยจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดตราด ไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่จังหวัดนราธิวาส ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 มิถุนายน 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จุดพิกัดภูมิศาสตร์ไหล่ทวีป 18 จุดนี้เป็นการกำหนดพื้นที่อธิปไตยทางทะเลของไทย และต้องถือว่าต่อเนื่องจากหลักเขตจำนวน 73 หลักบนบกระหว่างไทยกับกัมพูชา
จอมพลถนอม กิตติขจรได้สั่งการให้กองทัพเรือไทยใช้เรือรบของราชนาวีไทยเข้าปกป้องพิทักษ์รักษาบูรณภาพแห่งดินแดนไทยในทันที และกองทัพเรือไทยก็ได้ทำหน้าที่ปกป้องรักษาท้องทะเลไทยอันเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มิให้ใครเข้ามารุกรานได้นับตั้งแต่บัดนั้นจนปัจจุบันเป็นเวลาผ่านไปกว่า 51 ปีแล้ว
มีความพยายามของนักการเมืองไทย-นักการเมืองกัมพูชาที่พยายามจะบิดเบือนจุดพิกัดภูมิศาสตร์ไหล่ทวีป 18 จุดนี้ เพื่อจะได้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน (Joint development area: JDA) หรือพื้นที่ทับซ้อนใดๆ ก็ตามแต่ ซึ่งไม่เคยมีอยู่แต่อย่างใด พยายามทำข้อตกลงที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น ข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of understanding: MOU) ข้ออ้างอิง (Term of reference: TOR) การสื่อสารร่วม (Joint Communique) หรือ การจัดเตรียมชั่วคราว (Provisional arrangement: PA) เพื่อให้เกิดการผลักดันให้เกิดการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว อันมีมูลค่านับแสนล้านและบรรษัทข้ามชาติของมหาอำนาจจ้องตาเป็นมัน โดยที่นักการเมืองสองประเทศคือไทย-กัมพูชาจะได้ผลประโยชน์ไปหรือไม่ นี่คือการกระทำที่ขายชาติใช่หรือไม่
หลังจากนั้นเพียงสี่เดือนเศษก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจรตัดสินใจกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรแล้วในทันที และเดินทางออกไปยังต่างประเทศ โดยที่จอมพลประภาส จารุเสถียรก็ต้องเดินทางออกไปยังต่างประเทศด้วยเช่นเดียวกัน
จอมพลถนอม-จอมพลประภาส อาจจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นเผด็จการทหาร แต่สิ่งที่ท่านทั้งสองทำเพื่อชาติคือการรักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยก็ควรได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการต่อแผ่นดินไทย
แม้จอมพลถนอม-จอมพลประภาส จะหมดอำนาจไป แต่กองทัพเรือไทยก็ยังคงรักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยไว้จนกระทั่งปัจจุบัน
การที่ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ออกมาแถลงยืนยันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ไม่มีทางเป็นของกัมพูชา จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และกองทัพเรือต้องทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการปกป้องพิทักษ์รักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทยต่อไปอย่างเข้มแข็ง
หากมีเรือต่างชาติลำใดรุกล้ำอธิปไตยทางทะเลของไทยโดยไม่แจ้งให้ทราบก่อนว่าจะเข้ามา เรือรบของกองทัพเรือไทยก็ต้องปฏิบัติการจากเบาไปหาหนักไปตามลำดับตั้งแต่ส่งสัญญาณเตือนจนถึงยิงปืน
และช่วงนี้หากกองทัพเรือจะซ้อมรบทางทะเล โดยยิงปืนกล ปืนใหญ่ หรืออาวุธนำวิถีในอ่าวไทยบ้างเพื่อป้องกันและเตรียมความพร้อมของนักรบแห่งราชนาวีไทยก็เป็นภารกิจอันสำคัญและจำเป็นยิ่งสำหรับประเทศไทยในเวลานี้
อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง!!!!
สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
สาขาวิชาสถิติศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ในปี 2516 นายพลลอนนอล นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ประกาศเส้นเขตแดนใหม่ของกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในประเทศไทย โดยลากเส้นจากหลักเขตแดนหลักที่ 73 ที่บ้านหาดเล็ก จังหวัดตราด อันเป็นสุดเขตชายแดนไทยบนบกตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส รัตนโกสินทร์ศก 1907 แต่สิ่งที่นายพลลอนนอลทำนั้นประหลาดคือลากเส้นเขตแดนจากหลักเขตที่ 73 พาดผ่านเข้ามาในทะเลไทยไปยังกลางเกาะกูดบนยอดเขาที่สูงสุดของเกาะกูด แบ่งเฉือนผ่าเกาะกูดออกเป็นสองฟาก ให้ฟากหนึ่งเป็นดินแดนกันพูชา อีกฟากหนึ่งเป็นดินแดนไทย แล้วประกาศขยายอาณาเขตและอธิปไตยทางทะเลเข้ามาในท้องทะเลอ่าวไทยอันเป็นดินแดนไทย
จอมพลถนอม-จอมพลประภาส ผู้เรืองอำนาจในเวลานั้น มีความรักชาติรักแผ่นดินเยี่ยงชายชาติทหาร ไม่อาจยอมในสิ่งที่ทำให้ไทยเสียดินแดนเช่นนี้ของนายพลลอนนอลได้ ตัดสินใจส่งจอมพลประภาส จารุเสถียร ไปเจรจากับนายพลลอนนอล ทั้งจอมพลถนอม-จอมพลประภาส ตลอดจนนายพลลอนนอลในเวลานั้นต่างก็เป็นมหามิตรกับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น ร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ทำให้ยอมเจรจากันง่ายๆ
นายพลลอนนอล ก็พูดกับจอมพลประภาสไปตรงๆ ว่าประกาศไปแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ เป็นเรื่องของคะแนนเสียงทางการเมือง เพื่อสร้างความนิยมในหมู่ประชาชนชาวกัมพูชา จอมพลประภาสท่านก็ไม่ว่าอะไร ท่านก็บอกว่าไทยจะดำเนินการต่อไปนะ แล้วก็กลับมารายงานจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี
จอมพลถนอม กิตติขจรก็รีบดำเนินการแก้ไขเหตุการณ์ในทันที โดยนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเป็นธรรม คือ อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ณ กรุงเจวีนา ในปี ค.ศ. 1958 โดยประกาศพิกัดภูมิศาสตร์ของไหล่ทวีปในอ่าวไทยทั้งสิ้น 18 จุด ลากเส้นผ่านอ่าวไทยจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดตราด ไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่จังหวัดนราธิวาส ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 1 มิถุนายน 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จุดพิกัดภูมิศาสตร์ไหล่ทวีป 18 จุดนี้เป็นการกำหนดพื้นที่อธิปไตยทางทะเลของไทย และต้องถือว่าต่อเนื่องจากหลักเขตจำนวน 73 หลักบนบกระหว่างไทยกับกัมพูชา
จอมพลถนอม กิตติขจรได้สั่งการให้กองทัพเรือไทยใช้เรือรบของราชนาวีไทยเข้าปกป้องพิทักษ์รักษาบูรณภาพแห่งดินแดนไทยในทันที และกองทัพเรือไทยก็ได้ทำหน้าที่ปกป้องรักษาท้องทะเลไทยอันเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มิให้ใครเข้ามารุกรานได้นับตั้งแต่บัดนั้นจนปัจจุบันเป็นเวลาผ่านไปกว่า 51 ปีแล้ว
มีความพยายามของนักการเมืองไทย-นักการเมืองกัมพูชาที่พยายามจะบิดเบือนจุดพิกัดภูมิศาสตร์ไหล่ทวีป 18 จุดนี้ เพื่อจะได้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน (Joint development area: JDA) หรือพื้นที่ทับซ้อนใดๆ ก็ตามแต่ ซึ่งไม่เคยมีอยู่แต่อย่างใด พยายามทำข้อตกลงที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น ข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of understanding: MOU) ข้ออ้างอิง (Term of reference: TOR) การสื่อสารร่วม (Joint Communique) หรือ การจัดเตรียมชั่วคราว (Provisional arrangement: PA) เพื่อให้เกิดการผลักดันให้เกิดการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว อันมีมูลค่านับแสนล้านและบรรษัทข้ามชาติของมหาอำนาจจ้องตาเป็นมัน โดยที่นักการเมืองสองประเทศคือไทย-กัมพูชาจะได้ผลประโยชน์ไปหรือไม่ นี่คือการกระทำที่ขายชาติใช่หรือไม่
หลังจากนั้นเพียงสี่เดือนเศษก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ทำให้จอมพลถนอม กิตติขจรตัดสินใจกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายหลังจากได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาชนกาธิเบศรภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรแล้วในทันที และเดินทางออกไปยังต่างประเทศ โดยที่จอมพลประภาส จารุเสถียรก็ต้องเดินทางออกไปยังต่างประเทศด้วยเช่นเดียวกัน
จอมพลถนอม-จอมพลประภาส อาจจะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นเผด็จการทหาร แต่สิ่งที่ท่านทั้งสองทำเพื่อชาติคือการรักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยก็ควรได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการต่อแผ่นดินไทย
แม้จอมพลถนอม-จอมพลประภาส จะหมดอำนาจไป แต่กองทัพเรือไทยก็ยังคงรักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทยไว้จนกระทั่งปัจจุบัน
การที่ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ออกมาแถลงยืนยันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ว่าเกาะกูดเป็นของไทย ไม่มีทางเป็นของกัมพูชา จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และกองทัพเรือต้องทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในการปกป้องพิทักษ์รักษาอธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทยต่อไปอย่างเข้มแข็ง
หากมีเรือต่างชาติลำใดรุกล้ำอธิปไตยทางทะเลของไทยโดยไม่แจ้งให้ทราบก่อนว่าจะเข้ามา เรือรบของกองทัพเรือไทยก็ต้องปฏิบัติการจากเบาไปหาหนักไปตามลำดับตั้งแต่ส่งสัญญาณเตือนจนถึงยิงปืน
และช่วงนี้หากกองทัพเรือจะซ้อมรบทางทะเล โดยยิงปืนกล ปืนใหญ่ หรืออาวุธนำวิถีในอ่าวไทยบ้างเพื่อป้องกันและเตรียมความพร้อมของนักรบแห่งราชนาวีไทยก็เป็นภารกิจอันสำคัญและจำเป็นยิ่งสำหรับประเทศไทยในเวลานี้
อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้แม้แต่ตารางนิ้วเดียว
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง!!!!