xs
xsm
sm
md
lg

บทความ

x

ตามพรลิงค์ : สมาพันธรัฐที่โลกลืม ตอน ลังกาสุกะก่อนสมัยศรีวิชัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

โดย ดร.เกียรติกำจร มีขนอน

พงศาวดารเหลียงชู้ (梁書) เล่มที่ 54 ในสมัยราชวงศ์เหลียง (พ.ศ.1045-1100) บันทึกลังกาสุกะเป็น ลัง-แก-ซิ่ว (狼牙须 หลั่ง-หย่า-ซิว) แต่อักษรจีนในสุยชู้เล่มที่ 82 เป่ยสือ ท๊งเตี๋ยนเล่มที่ 188 ไท่ผิงหวนหยูจี่ (太平寰宇記) เล่มที่ 176-177 และเหวินเซี่ยนถงเข่าเล่มที่ 331 เป็นลัง-แก-ซยิว (狼牙脩 หลั่ง-หย่า-ซิ๊ว) หรือในบันทึกอี้จิงว่าลัง-แก-กิว (朗迦戍หลั่ง-หย่า-ชู้) เหลียงชู้บันทึกว่าลังกาสุกะก่อตั้งขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 มีบันทึกขาดหายไปบ้างเป็นช่วงๆ ในไท่ผิงหวนหยูจี่และเหวินเซี่ยนท๊งเข่า บอกว่าอยู่ทะเลใต้มีสินค้าคล้ายกับฟูนัน ในพงศาวดารสุยชู้และเป่ยสือมีการเปลี่ยนตัวอักษรจีน โดยเหลียงชู้เล่มที่ 54 บันทึกไว้ดังนี้

狼牙脩國,在南海中。其界東西三十日行,南北二十日行,去廣州二萬四千里。土氣物產與扶南略同,偏多𥴈沉婆律香等。其俗男女皆袒而被髮,以吉貝爲干縵。其王及貴臣乃加雲霞布覆胛,以金繩爲絡帶,金鐶貫耳。女子則被布,以瓔珞繞身。其國累磚爲城,重門樓閣。王出乘象,有幡毦旗鼓,罩白蓋,兵衛甚設。國人說,立國以來四百餘年,後嗣衰弱,王族有賢者,國人歸之。王聞知,乃加囚執,其鏁無故自斷,王以爲神,因不敢害,乃斥逐出境,遂奔天竺,天竺妻以長女。俄而狼牙王死,大臣迎還爲王。二十餘年死,子婆伽達多立。天監十四年,遣使阿撤多奉表曰:「大吉天子足下:離淫怒癡,哀愍衆生,慈心無量。端嚴相好,身光明朗,如水中月,普照十方。眉間白毫,其白如雪,其色照曜,亦如月光。諸天善神之所供養,以垂正法寶,梵行衆增,莊嚴都邑。城閣高峻,如乾陁山。樓觀羅列,道途平正。人民熾盛,快樂安穩。著種種衣,猶如天服。於一切國,爲極尊勝。天王愍念羣生,民人安樂,慈心深廣,律儀清淨,正法化治,供養三寶,名稱宣揚,佈滿世界,百姓樂見,如月初生。譬如梵王,世界之主,人天一切,莫不歸依。敬禮大吉天子足下,猶如現前,忝承先業,慶嘉無量。今遣使問訊大意。欲自往,復畏大海風波不達。今奉薄獻,願大家曲垂領納。」[Chinese text project ctext.org]

จากข้อความภาษาจีนข้างบนแปลความได้ดังนี้ ลังกาสุกะตั้งอยู่ในทะเลใต้ การเดินทางในอาณาเขตใช้เวลา 30 วันทางเท้าจากตะวันออกไปตะวันตกและ 20 วันจากเหนือไปใต้ และห่างจากกว่างโจวเป็นระยะทาง 24,000 ลี้ซึ่งมีไม้กฤษณาและการบูรมากและเมืองหลวงมีกำแพงล้อมรอบและมีประตู 2 ชั้น หอคอยและปะรำ ชายหญิงนุ่งโสร่ง เปลือยเนื้อตัวและปล่อยผม แต่กษัตริย์และขุนนางมีผ้าปิดไหล่ ใส่ตุ้มหูและเข็มขัดทอง ผู้หญิงสูงศักดิ์ห่มผ้าและเข็มขัดมีอัญมณี เมื่อกษัตริย์เดินทางด้วยการทรงช้างจะมีธงทิวห้อยพู่และกลองและทรงอยู่ใต้เศวตฉัตรและมีทหารองครักษ์รายล้อม พลเมืองในประเทศนี้กล่าวว่าอาณาจักรนี้ตั้งขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อน จากนั้นลูกหลานอ่อนแอลง แต่ในราชวังมีนักปราชญ์ที่ประชาชนเคารพ เมื่อกษัตริย์ได้ยินเรื่องนี้ พระองค์จองจำนักปราชญ์ผู้นี้แต่เขาสะเดาะโซ่ออก พระองค์เชื่อว่านักปราชญ์ผู้นี้ศักดิ์สิทธิ์และไม่กล้าทำร้ายเขา แต่กลับทรงเนรเทศเขาไปอินเดียแต่กษัตริย์อินเดียยกพระธิดาให้ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต เหล่าเสนาบดีจึงเชิญนักปราชญ์ผู้นี้กลับมาครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ปกครองต่อมากว่า 20 ปี เมื่อเสด็จสวรรคตราชโอรสนามว่าพระเจ้าภคทัตจึงสืบราชสมบัติ

รูปภาพทูต อชิตะ แหล่งที่มา Enoki 1984
เมื่อพระเจ้าภคทัตขึ้นครองราชย์จึงส่งทูตคณะแรกไปจีนในปีพ.ศ.1058 โดยทูต ชื่ออชิตะ โดยแจ้งทางจีนให้ทราบว่าอาณาจักรลังกาสุกะมีมาแล้ว 400 ปี โดยคนทางแถบนี้นับถือศาสนาฮินดูและพุทธ จากรูปเขียนของอชิตะจากลังกาสุกะที่อยู่ในม้วนของ เหลียงจื่อก๊งถู (梁职贡图) หรือรูปภาพของราชทูตที่ส่งบรรณาการในสมัยราชวงศ์เหลียงเขียนขึ้นในราวปีพ.ศ.1082 มีคำอธิบายแปลโดยเอโนกิ คัตสึโอะ [Enoki Kazuo 1984] เป็นภาษาอังกฤษ ตัวของราชทูตอชิตะนั้นมีผิวคล้ำผมหยิกเป็นลอน น่าจะเป็นชนเผ่านิกรอยด์หรือพวกเงาะผสมกับชนเผ่าออสโตรเอเชียติก (มอญ-เขมร) และได้รับอิทธิพลจากชาวอินเดียที่เข้ามาติดต่อค้าขาย [Cœdès 1968; Jacq-Hergoual’ch 2002: 162-163] และส่งบรรณาการต่อในปีพ.ศ.1066 และพ.ศ.1074 ในสมัยราชวงศ์เหลียง และในสมัยราชวงศ์เฉินใต้ในปีพ.ศ.1111 [Miksic & Geok 2017: 184] ดูตาราง 1


ในบันทึกสวีเกาเซิ่งจ๋วน (續高僧傳) ที่รวบรวมอัตชีวประวัติของพระภิกษุในพุทธศตวรรษที่ 12 ได้บันทึกว่าพราะกลานารถะหรือปรมารถะ (พ.ศ.1043-1112) ต้องการไปลังกาสุกะ บันทึกต้าถังซีหยูจี้ (大唐西域記) ของพระภิกษุซวนจ้าง(玄奘)และต้าถังต้าฉือเอินซื่อซันฉางฝ่าซือจ๋วน (大唐大慈恩寺三藏法師傳) โดยพระภิกษุหุ้ยหลินและเอี๋ยนซ่งกล่าวถึงลังกาสุกะ ส่วนแผนที่อู๋เป่ยกว๋อกล่าวว่าลังกาสุกะอยู่ทางใต้ของสงขลาซึ่งก็คืออ.ยะรังนั่นเอง คิตาบ อัล-มินฮัจ อัล-ฟาคีร ฟิอิน อัล-บาร์ อัล-ซาคีร์ (Kitab al-Minhāj al-fakhir fi’in al-bahr al-zākhir) เอกสารร่วมสมัยกับราชวงศ์หมิงและโปรตุเกส (พ.ศ.2054) ก็กล่าวถึงลังกาสุกะเช่นกัน [Wheatley 1961] บันทึกต้าถังของอี้จิงกล่าวว่ามีพระ 3 รูป อี้หลาง จื้อหง่านและอี้ซวนลงเรือจากท่าเรืออู่เล่ยที่อยู่ในอ่าวตังเกี๋ยไปลังกาสุกะ พระอี้ห้วยมรณภาพที่นั่น และพระเต้าหลินแวะที่นั่นก่อนไปอินเดียและบันทึกหนานไห่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม [Jacq-Hergoual’ch 2002: 162-163; Yijing 1995 (1986); 2000] ซินถังชู้เล่มที่ 222 และจิ่วถังชู้เล่มที่ 197 ระบุว่าลังกาสุกะติดกับปัน-ปัน ดังนั้นลังกาสุกะเป็นเมืองที่เก่าแก่เมืองหนึ่งในแหลมมลายูตามที่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดารชวาและมลายู โครงสร้างสถาปัตยกรรมและวัตถุโบราณได้รับอิทธิพลมาจากมอญ-ทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-13) และศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 14-18) ตำนานมะโรงมหาวงศ์อ้างว่าลังกาสุกะตั้งที่เคดาห์ก่อนแล้วย้ายไปปัตตานีซึ่งยังไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุน แผนที่เม่าคุ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 ระบุว่าลังกาสุกะอยู่ทางใต้ของซุน-กู-นา (สงขลา) [Wheatley 1961]

เอกสารอ้างอิง
Cœdès, George. 1968. The Indianized States of Southeast Asia. Edited by Walter F. Vella. Translated by Susan Brown Cowing. Honolulu, Hawaii: University of Hawaii Press.

Du You 杜祐. 2008. Tongdian 通典 [Comprehensive Institutions]. Changchun Shi 长春市: Shidai wenyi chubanshe 时代文艺出版社.

Enoki Kazuo 榎一雄. 1984. “梁职贡图The Liang Chih-Kung-t’u (Illustrated Tributaries of the Liang).” Memoir of the Research Department of the Toyo Bunko 42:75–138.

Jacq-Hergoualc’h, Michel. 2002. The Malay Peninsula: Crossroads of the Maritime Silkroad: 100BC-1300AD. Leiden: E J Brill.

Li Fang 李昉. 2000. Taipingyulan 太平御览 [The Imperial Readings of the Taiping Era]. Shijiazhuang: Hebei Education Publishing House 河北教育出版社.

Liu Xu 刘昫. 1975. Jiutangshu 旧唐书 [Old Book of Tang]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Ma Duanlin 马端临. 1986. Wenxiantongkao 文献通考 [Comprehensive Studies in Administration]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Miksic, John Norman, and Yian Goh Geok. 2017. Ancient Southeast Asia. World Archeology. London: Routledge.

Ouyang Xiu 欧阳脩 and Song Qi 宋祁. 1975. Xintangshu [New Book of Tang]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Wei Zheng 魏徵. 2010. Suishu 隋书 [Book of Sui]. Ann Arbor, MI: University of Michigan Library.

Wheatley, Paul. 1961. The Golden Khersonese: Studies in the Historical Geography of Malay Peninsula before AD1500. Kuala Lumpur: University of Malaya Press.

Yao Silian 姚思廉. 1973. Liangshu 梁书 [Book of Liang]. Beijing: Zhonghua Book Company 中华书局.

Yijing 义净. 1995 (1986). Chinese Monks in India: Biography of Eminent Monks Who Went to the Western World in Search of the Law during the Great Tang Dynasty Entitled Datang xiyu qiufa gaosengzhuan 大唐西域求法高僧传. Translated by Latika Lahiri. Delhi: Motilal Banasidass.

Yijing 义净. 2000. A Record of the Inner Law Sent Home from the South Seas [Nanhai jigui neifazhuan 南海寄归内法传]. Translated by Li Rongxi. Berkley, CA: Bukkyo Dendo Kyokai.



กำลังโหลดความคิดเห็น