คอลัมน์ ศิลปะแห่งศรัทธา
โดย ARTMULET
สวัสดีครับ สัปดาห์ที่แล้วผมได้เขียนถึง “ผ้ายันต์พญาสุบรรณสีทันดรเรียกทรัพย์” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ผลงานศิลปะอันเกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาในรูปแบบของภาพพิมพ์ลายเส้นและอักขระเลขยันต์มงคลอันประกอบไปด้วยพระคาถาปลุกครุฑให้มีฤทธิ์ จากพระคัมภีร์ใบลานทองคำและยังผ่านพิธีมหาพุทธาภิเษกอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ผ้ายันต์พญาสุบรรณสีทันดร มีขนาดเท่ากระดาษเอ 3 เหมาะสำหรับนำไปใส่กรอบบูชา หรือพับใส่ถุงบรรจุผ้ายันต์ที่มีมาให้สำหรับพกติดตัวใส่กระเป๋า หนุนดวงชะตา เสริมบารมี สร้างความเจริญรุ่งเรือง เรียกทรัพย์ กลับร้ายกลายเป็นดี นำพาผู้ศรัทธาข้ามผ่านปัญหาและอุปสรรคสู่ความรุ่งเรืองในชีวิต
สำหรับในสัปดาห์นี้ผมจะขอกล่าวถึงผลงานประติมากรรม “นารายณ์ทรงเมืองอนันตนาคราช” วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง อันเป็นผลงานประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธาที่มีผู้ให้ความเคารพศรัทธามาเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งผมได้เคยนำมาเขียนไว้แล้วครั้งหนึ่งในฐานะมหาเทพองค์สูงสุดในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกายถือเป็นองค์มหาเทพผู้เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล เป็นผู้สร้างและปกปักรักษาทุกสรรพสิ่งให้มีขึ้นและคงอยู่ และยังสามารถอวตารเป็นเทพองค์อื่นได้อีกมากมาย
สำหรับในครั้งนี้จะขอนำเสนอในอีกแง่มุมที่ยังไม่ได้นำมาเขียนไว้ดังนี้ครับ ในหนังสือภาควัตปุราณะ มีเรื่องเล่าว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระฤาษีเจ้าทั้งปวงกำลังกระทำพิธีพลีกรรมอยู่ที่ริมฝั่งน้ำสรัสวดี ได้เกิดมีข้อเถียงกันขึ้นในระหว่างพระฤาษีเจ้าว่า อันพระเป็นเจ้าทั้งสามนั้น องค์ใดจะประเสริฐยิ่งกว่าองค์อื่น จึงพร้อมกันแต่งให้ พระภฤคุมุนีตรงไปยังพรหมโลกก่อนและเดินตรงเข้าไปในวิมานพระพรหมโดยมิได้แสดงกิริยาเคารพตามประเพณีเลย พระพรหมทอดพระเนตรเห็นพระภฤคุมุนีประพฤติกริยาหยาบเช่นนั้น ก็ทรงโกรธแต่ทรงระลึกขึ้นได้ว่าผู้ผิดนั้นเป็นโอรสแห่งพระองค์เองจึงสู้ดับโทสะสงบลงได้ พระภฤคุมุนีได้แลเห็นดังนั้นแล้วจึงไปยังเขาไกรลาส ครั้นเมื่อพระมเหศวรรีบเสด็จลุกมากอดอย่างฉันพี่น้อง พระภฤคุมุนีก็หันหน้าหนีเสีย พระอิศวรจึงมีความขัดพระทัยในความประพฤติแห่งพระภฤคุมุนี จึงฉวยพระแสงตรีศูลเงื้อง่าจะฆ่าพระมุนีแต่นางบรรพต (พระอุมา) เข้าไปกราบแทบพระบาทและทูลทัดทานพระสามีไว้ พระภฤคุมุนีจึงไปยังไวกูนฐ์ (ที่สถิตของพระนารายณ์) เห็นพระนารายณ์บรรทมหลับอยู่ที่ตักพระลักษมี พระภฤคุมุนีก็ยกเท้าขึ้นถีบกลางพระทรวงพระเป็นเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นนมัสการพระภฤคุมุนีแล้วตรัสว่า “ข้ายินดีขอต้อนรับท่านมหาพราหมณ์ ขอเชิญท่านจงนั่งลงพักผ่อนกาย และขอจงให้อภัยแก่ข้าพเจ้าผู้ได้กระทำผิดไปแล้วโดยความโฉดเขลา (ในการที่มิได้ลุกขึ้นต้อนรับแขกโดยเร็ว) และขออภัยซึ่งทำให้เท้าอันอ่อนของท่านต้องเจ็บเพราะข้าพเจ้า” ตรัสเช่นนั้นแล้วก็เอาพระหัตถ์นวดเฟ้นเท้าพระภฤคุมุนี และตรัสต่อไปว่า “วันนี้ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่ได้มีบุญยิ่งนัก เพราะพระคุณเจ้าได้เอาธุลีละอองพระบาทแห่งพระองค์ อันเป็นเครื่องล้างบาปได้นั้น แตะแล้วบนหน้าอกแห่งข้า” เมื่อพระวิษณุเป็นเจ้าได้ตรัสฉะนี้แล้ว พระภฤคุมุนี จึงมีความปิติเต็มตื้นไปจนพูดไม่ออกจึงมิได้ทูลตอบประการใด ทูลลากลับจากที่เฝ้าในตาก็เต็มไปด้วยน้ำตาอันบังเกิดจากความศรัทธาหาที่สุดมิได้ ฝ่ายพระฤาษีเจ้าทั้งหลาย บรรดาที่สโมสรประชุมอยู่ริมฝั่งสรัสวดีนั้น ครั้นได้ฟังคำพระภฤคุมุนีแถลงเหตุการณ์ ต่างก็มีความแน่นอนใจว่าพระวิษณุเป็นใหญ่ยิ่งในพระเป็นเจ้าทั้งสาม เพราะพระองค์นั้นปราศจากโทสะและความโกรธ และในหนังสือปัทมปุราณะยังมีข้อความเล่าไว้ถึงเรื่องพระอิศวรยอมยกย่องพระนารายณ์ว่าเป็นใหญ่กว่าพระองค์ คือมีเป็นถ้อยคำดำรัสแก่พระอุมามหาเทวี “ข้าจะแสดงให้เจ้าเข้าใจมูลและรูปแห่งพระวิษณุเจ้าจงรู้เถิดว่าแท้จริงพระองค์คือนารายณ์ คือมหาบุรุษและปรพรหมไม่มีที่เริ่มและไม่มีที่สุดทรงรอบรู้ทั่วไป อยู่ในที่ทั้งปวงยั่งยืนไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นบรมสุข พระองค์คือศิวะ คือหิรัณยะครรภ์และสูรยะ พระองค์ประเสริฐกว่าเทวดาทั้งหลาย แม้ข้าเองก็ไม่เทียบเท่าแต่ที่แท้นั้นเป็นการพ้นวิสัยที่ข้าหรือพระพรหมหรือเทวดาอื่นๆ จะแสดงพระคุณแห่งพระวาสุเทพ ผู้ประเดิมโลก และเป็นอธิบดีแห่งสากลโลกนี้”
นารายณ์ทรงเมืองอนันตนาคราช จึงถือเป็นตัวแทนแห่งเจ้าผู้ปกครองผู้มากด้วยบารมีโดยสมบูรณ์ เปี่ยมด้วยพระเมตตาคุณธรรม ความดีงาม มีความเฉลียวฉลาด ใช้สติปัญญาในการแก้ไขและตัดสินปัญหา อันเป็นคุณสมบัติอันควรค่าแก่การเป็นต้นแบบแห่งผู้ปกครองอย่างแท้จริง อีกทั้งยังทรงมีเทวานุภาพในการขจัดหมู่มารและสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย เป็นที่เคารพสักการะบูชามาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลจวบจนถึงปัจจุบัน ส่วน พญาอนันตนาคราช นั้น ถือเป็นราชาแห่งพญานาคผู้เป็นใหญ่ในบาดาลนครและเกษียรสมุทร และยังเชื่อกันว่าเป็นอีกร่างหนึ่งขององค์พระนารายณ์ที่อวตารมาเป็นพญานาคราชผู้มีหน้าที่คอยรองรับแผ่นดิน และเป็นผู้ที่จะพ่นไฟทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายเพื่อก่อกำเนิดสิ่งใหม่ทั้งยังทรงเป็นเทพบัลลังก์แห่งพระนารายณ์ พญาอนันตนาคราชนั้นเป็นพญานาคผู้เลื่องชื่อในเรื่องของฤทธิ์เดช อำนาจ และบารมี โดยเฉพาะตามคติของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถือว่าพญาอนันตนาคราชเป็นที่สุดแห่งพญานาคทั้งปวง เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั้งหลาย มีพลังอำนาจ มากด้วยบารมี และเป็นที่ยอมรับมากที่สุด ดุจดังนามอันยิ่งใหญ่ “พญาอนันตนาคราช” นั่นเอง
จากตำนานแห่งความศรัทธาสู่การรังสรรค์ผลงานด้านจิตรกรรมและประติมากรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งองค์พระนารายณ์มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ขณะทรงครองเมืองเหนือมหาปราสาท พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงตรีสัญลักษณ์แห่งผู้เป็นใหญ่เหนือผู้อื่นใดในสามโลก พระหัตถ์ซ้ายทรงคฑาครุฑสัญลักษณ์แห่งผู้ทรงฤทธิ์อำนาจในการบัญชาการทั้งหลาย พระหัตถ์ขวาบนทรงจักรสัญลักษณ์แห่งการเคลื่อนไปข้างหน้าลบล้างสิ่งชั่วร้ายสร้างคุณธรรมความดี พระหัตถ์ซ้ายบนทรงสังข์สัญลักษณ์แห่งการมีชื่อเสียงในคุณธรรมความดีงามที่ปรากฏไปทั้งสามโลก มีองค์พญาอนันตนาคราชผู้เป็นราชาเหนือพญานาคทั้งปวงทรงเป็นบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ให้พระองค์ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์มั่งคั่งอย่างหาที่สุดมิได้ พร้อมทั้งสายน้ำแห่งเกษียรสมุทรอันเป็นน้ำอมฤตที่จะนำพาความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลมาสู่วงศ์ตระกูลสืบไป
โดยผลงานดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารงานพุทธศิลป์อย่าง อ.ธนทัศน์ ทองเนียม ประธานดำเนินงานและ ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล ที่ปรึกษาโครงการ แห่ง Artmulet ผ่านจิตรกรเอก อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว** และประติมากรชั้นครู อ.สุชาติ แซ่จิว โดยศิลปินทั้งสองท่านสามารถรังสรรค์ปั้นแต่งผลงานในครั้งนี้ได้อย่างงดงามสมบูรณ์แบบอย่างน่าอัศจรรย์ทั้งรายละเอียดที่ดูอ่อนช้อยแต่แฝงด้วยพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือคำบรรยาย และทั้งหมดนี้เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป
สำหรับท่านที่มีศรัทธาและต้องการเก็บสะสมผลงานประติมากรรม นารายณ์ทรงเมืองอนันตนาคราชในครั้งนี้ ท่านสามารถเลือกสั่งจองได้ตามรายการต่างๆ ดังนี้ครับ
งานประติมากรรม นารายณ์ทรงเมืองอนันตนาคราช
ผู้ออกแบบแนวคิดและรังสรรค์ผลงาน : Artmulet
จิตรกร : อ.เกรียงกมล นาคบางแก้ว
ประติมากร : อ.สุชาติ แซ่จิว
โรงหล่อ : เอเชียไฟน์อาร์ต
พิธีเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
ทุกชิ้นหล่อด้วยโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย (สัมฤทธิ์)
ถอดประกอบ 3 ชิ้น จัดทำเป็น 3 สี มี 3 ขนาด คือ
1.ขนาดความสูง 27 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญาอนันตนาคราช 27 นิ้ว
หน้าตักองค์นารายณ์ กว้าง 7.5 นิ้ว
ฐานกว้าง 14 นิ้ว ลึก 10 นิ้ว
สั่งจององค์ละ 36,900.- ถึง 45,900.- (ปิดจองแล้ว)
2.ขนาดความสูง 16 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญาอนันตนาคราช 16 นิ้ว
หน้าตักองค์นารายณ์ กว้าง 4.5 นิ้ว
ฐานกว้าง 8 นิ้ว ลึก 6 นิ้ว
สั่งจององค์ละ 24,900.- ถึง 29,900.-
3.ขนาดความสูง 12 นิ้ว
ฐานถึงปลายเศียรพญาอนันตนาคราช 12 นิ้ว
หน้าตักองค์นารายณ์ กว้าง 3.3 นิ้ว
ฐานกว้าง 6.2 นิ้ว ลึก 4.4 นิ้ว
สั่งจององค์ละ 12,900.- ถึง 15,900.-
ค่าจัดส่งขนาด 27 นิ้ว 500 บาท ต่อ 1 องค์
ค่าจัดส่งขนาด 16 นิ้ว 400 บาท ต่อ 1 องค์
ค่าจัดส่งขนาด 12 นิ้ว 300 บาท ต่อ 1 องค์
กรณีรับที่วัดขุนอินทประมูลจ.อ่างทอง ไม่มีค่าส่ง
การจองในครั้งนี้มีกำหนดวันเทวาภิเษก-พุทธาภิเษกในวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 11.00 – 15.00 น. และเริ่มทยอยจัดส่งตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
สำหรับท่านที่สนใจต้องการสั่งจองหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
Facebook Inbox : Artmulet
Facebook Inbox : Artmulet Official
Line Id : @artmulet
เว็บไซต์: www.artmulet.com
และที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
Tel. 0925577511
รายได้ร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง