ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มีองค์กรเอกชน NGO แห่งหนึ่งซึ่งรับเงินของ Open Society Foundation โดยจอร์จ โซรอส นักการเงินอเมริกันเชื้อสายยิว และรับเงินของ National Endowment for Democracy: NED ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย Department of state หรือกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งทุนของ NED อีกต่อหนึ่งและใช้งบประมาณประจำปีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ iLaw ได้เข้ามามีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับขบวนการปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-royalist) และได้รับเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคลื่อนไหวรณรงค์ในนามของประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่เน้นเรื่องสิทธิและเสรีภาพ จนถึงเข้ามาก้าวก่ายกิจการบ้านเมืองภายในประเทศไทยด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ iLaw และผลักดันในไทย
เรื่องแบบนี้หากเป็นชาติมหาอำนาจหรือชาติที่มีศักดิ์ศรีเป็นรัฐเอกราชย่อมไม่อาจจะยอมรับได้ที่องค์กรเอกชนได้รับเงินจากองค์การเอกชนของรัฐมหาอำนาจชาติอื่นเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ถือว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในอย่างร้ายแรงไม่ถูกต้องตามหลักสนธิสัญญาเวียนนา
สมมติว่ารัฐบาลจีนไปอุดหนุนเงินให้กับองค์กรเอกชนในสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริการับรองว่าเป็นเรื่องแน่ ๆ และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็จะไม่ยอมโดยเด็ดขาด
ในทางกลับกัน หากรัฐบาลอเมริกาไปอุดหนุนเงินให้กับ NGO ภายในประเทศจีนเพื่อแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของจีน แน่นอนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ไม่มีทางยอมอีกเช่นเดียวกัน
เมื่อไม่นานมานี้องค์กรเอกชนดังกล่าวได้ออกบทความชื่อ “ส่วนราชการในพระองค์ คสช. สร้างหน่วยงานพิเศษที่ตรวจสอบไม่ได้ทำลายประชาธิปไตย” พร้อมกับวาดรูปการ์ตูนล้อเลียนเป็นมงกุฎทองคำอย่างชาติตะวันตกมีทหารล้อมรอบและรักษาความปลอดภัยโดยห้ามคนนอกเข้าไปในมงกุฎนั้น และมีประชาชน 3 คนใส่ชุดดำมาตะโกนเอามือป้องปากอยู่หน้าประตูวังซึ่งอยู่ติดกับมงกุฎทองคำ
บทความนี้ราวกับต้องการเขียนกฎบัตรแมกนาคาร์ตา (Magna Carta) เพื่อจำกัดพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious revolution) ซึ่งสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกับนายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ได้ร่างรัฐธรรมนูญหมวด 2 พระมหากษัตริย์ใหม่หมดและต้องการยุบหน่วยราชการในพระองค์โดยต้องการจำกัดให้พระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีอำนาจใดๆเลยและเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้นพร้อมกับให้สภาผู้แทนราษฎรเข้ามาแทรกแซงและควบคุมการทำงานของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระราชกรณียกิจทุกอย่าง โปรดอ่านได้จาก เปลือยความคิด “ปิยบุตร” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ https://mgronline.com/daily/detail/9640000079038
บทความนี้ของ iLaw ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันโดยมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการจะด้อยค่าหน่วยราชการในพระองค์ ในบทความของ iLaw ได้ทำภาพอินโฟกราฟฟิคเขียนกล่าวหาว่าส่วนราชการในพระองค์ เกิดจากฐานอำนาจทางกฎหมายของคสช.โดยอ้างอิงถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 15 ว่า การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบ ราชการและการบริหารงานบุคคล ของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
บทความนี้ยังวิจารณ์ว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 15 วรรคแรกนั้นเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นมาก่อนเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2517
ส่วนมาตรา 15 วรรคสอง การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของ ราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยนั้นไม่เคยปรากฏมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นใด
บทความนี้ยังได้เขียนว่าการออก พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์พุทธศักราช 2560 นั้น ผ่านการลงมติรับจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนชในสมัยซึ่งเป็นเผด็จการทหาร และเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พุทธศักราช 2560 ลงนามโดยประยุทธ์จันทร์โอชาและให้การโอนและการโยกย้าย ข้าราชการในพระองค์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
อันที่จริงนอกจากราชการแผ่นดิน หรือ Government affair แล้ว ก็มีราชการในพระองค์ หรือ Royal affair มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่คนบางกลุ่มมีความรู้ที่ตื้นเขินและไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติไทยดีเพียงพอ เลยพยายามกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 เวียง วัง คลัง นา ให้มาเป็น กระทรวง ทบวง กรม ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลังเกิดเหตุการณ์รัตนโกสินทร์ศก 112 ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนมากทำให้พระพุทธเจ้าหลวงถึงกับทรงตรอมพระทัยไม่ยอมถวายพระโอสถ หมายจะสวรรคต
เหตุแห่งการปฏิรูประบบราชการในขณะนั้นเพราะทรงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยรวมศูนย์กลางอำนาจเพื่อสร้างรัฐชาติหรือ nation-state เพื่อให้ราชอาณาจักรไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้และให้พ้นปากเหยี่ยวปากกาแห่งลัทธิล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก
กระทรวงหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นใหม่คือกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้แยกระหว่างทรัพย์สินในพระองค์กับทรัพย์สินแผ่นดินออกจากกันโดยเด็ดขาด ทั้ง ๆ ที่ทรงมีพระราชประสงค์เพื่อจะรวมศูนย์อำนาจ centralization แต่กลับตรงแยกออกจากกันระหว่างทรัพย์สินในพระองค์กับทรัพย์สินของแผ่นดินขาดจากกัน ทั้ง ๆ ที่เป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทรัพย์สินของแผ่นดินนั้นอยู่ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นเรื่องของราชการแผ่นดิน ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือทรัพย์สินในพระองค์นั้นดูแลโดยพระคลังข้างที่ไม่ให้ปนกัน เป็นเรื่องของราชการในพระองค์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในปีพศ. 2455 ทรงตั้งกรมราชเลขานุการในพระองค์แยกออกมาจากกรมราชเลขาธิการเพื่อดูแลราชการในพระองค์เป็นการเฉพาะในขณะที่กรมราชเลขานุการดูแลเรื่องราชการแผ่นดินเท่านั้น
นอกจากนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ในหลาย ๆ ประเทศก็มีทั้งราชการแผ่นดินและจากราชการในพระองค์เช่นเดียวกัน นี่คือชาติไทย ที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนโดยสหรัฐอเมริกา ในฐานะของชาติมหาอำนาจที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงประกาศสงคราม ทำให้ต้องยอมรับและปรับให้สถาบันพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นเพียงสัญลักษณ์และพิธีการ ไม่ให้มีพระราชอำนาจ หรือมีจำกัดมาก ทำให้ไม่อาจจะมีราชการส่วนพระองค์ได้ มีแต่ราชการแผ่นดินที่สถาบันพระเจ้าจักรพรรดิดำรงพระฐานะที่ผิดแผกไปจากสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศอื่นๆ เพราะมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแตกต่างกันเป็นอันมาก
การที่พระเจ้าแผ่นดินไทยจะทรงงานทั้งราชการในพระองค์และราชการแผ่นดินจึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกวิสัยอันใดและไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ก็หาไม่
ในความเป็นจริงแม้จะชื่อว่าส่วนราชการในพระองค์อันประกอบด้วย หนึ่ง สำนักพระราชวัง สอง สำนักงานองคมนตรี และ สาม หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ แต่ภาระหน้าที่ของหน่วยราชการในพระองค์หาได้จำกัดเฉพาะเพียงราชการในพระองค์ไม่หากแต่ดูแลทั้งราชการแผ่นดินด้วย
งานราชการแผ่นดินไม่ได้จำกัดแค่ที่กรมราชเลขานุการในพระองค์ซึ่งเดิมคือสำนักราชเลขาธิการ อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์คือ ดร.กฤษณ์ กาญจนกุญชร ซึ่งเป็นท่านราชเลขาธิการมาแต่เดิมตั้งแต่ก่อนที่สำนักราชเลขาธิการถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักพระราชวัง
ในขณะที่สำนักงานองคมนตรีถูกยกขึ้นเป็นหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งของหน่วยราชการในพระองค์
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หรือ นถปภ.รอ. นั้นทำหน้าที่ Royal security เป็นหลักและเป็นแค่การปรับโครงสร้างโอนย้ายอัตรากำลังที่เคยสังกัดอยู่หลากหลายหน่วยงานคือ กองบัญชาการกองทัพไทย กรมราชองครักษ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้ามาอยู่ในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยเช่น จิตอาสาพระราชทาน 904 ซึ่งเป็นเรื่องของการช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยราชการในพระองค์ใดกล่าวถึงแล้วในบทความ หน่วยราชการในพระองค์รับใช้ครอบครัวเดียวหรือทำงานให้คนไทยทั้งประเทศ? https://mgronline.com/daily/detail/9640000088581 หรือรับชมได้จาก https://www.facebook.com/Arnond.s/videos/843645226340598 และ https://m.facebook.com/watch/?v=276997543899640&_rdr
และอันที่จริงหน่วยราชการในพระองค์ก็เป็นการโอนย้ายและรวบรวมหน่วยราชการอื่นๆที่เคยอยู่สังกัดหลากหลายหน่วยงานเช่น สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการสังกัดนายกรัฐมนตรี ให้มาอยู่ในที่เดียวกันเท่านั้นเพื่อให้การทำงานมีเอกภาพและเกิดการบูรณาการการทำงาน
iLaw ยังได้โจมตีว่าส่วนราชการในพระองค์ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการแผ่นดินและไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด แต่ยังรับงบประมาณแผ่นดินของรัฐในลักษณะของเงินอุดหนุน
ขออธิบายข้อเท็จจริงให้ทราบทีละประเด็นดังนี้
ราชการ=ราชา+การ= งานของพระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงกรอกในเอกสารและแบบฟอร์มต่างๆว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีอาชีพทำราชการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอธิบายว่า พระองค์ทรงทำราชการคืองานของพระราชา
ดังนั้นหน่วยราชการในพระองค์ก็ถือว่าเป็นหน่วยราชการ เพราะทำงานถวายพระราชาทั้งราชการส่วนพระองค์และราชการแผ่นดิน เพียงแต่เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ไม่ได้เป็นหน่วยราชการตามที่บัญญัติและกำหนดหน้าที่ไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรในสมัยหลังแทบทุกฉบับก็มีองค์กรอิสระตามระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นกัน และองค์กรอิสระเหล่านี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นหน่วยราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่ประการใดไม่ ยกตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ พศ. 2560 ให้มีองค์กรอิสระที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพรป. คือ หนึ่ง คณะกรรมการเลือกตั้ง (มาตรา 222-227) สอง ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา228-231) สาม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 232-237) สี่คณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 238-245) และ ห้า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 246-247) นอกจากนี้ องค์กรอิสระที่ตั้งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. (มาตรา 60 วรรคสาม และมาตรา 274)
ถ้าจะโจมตี iLaw ก็ต้องโจมตีองค์กรอิสระที่เป็นหน่วยราชการเหล่านี้ที่ไม่ขึ้นอยู่ในระเบียบบริหารราชการแผ่นดินด้วย สำหรับหน่วยราชการในพระองค์ ตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ.2560 มาตรา 15 วรรคสอง เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ไม่เป็นองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นองค์กรที่ตั้งตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นหน่วยราชการตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด และเมื่อทำงานถวายพระเจ้าแผ่นดินแล้วก็เป็นการถูกต้องที่จะต้องขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์
ในอดีตประวัติศาสตร์ได้ทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่ามีความพยายามของนักการเมืองที่จะลิดรอนพระราชอำนาจอันมีอยู่แต่เดิมของสถาบันให้อยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมือง เช่น การให้สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการอยู่ภายใต้การบัญชาการของนายกรัฐมนตรี ในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จย่าจะทรงใช้รถยนต์พระที่นั่งเสด็จไปที่ใดยังต้องได้รับอนุญาตจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อันเป็นการกระทำที่มิบังควรและไม่ถวายพระเกียรติเลย สังคมไทยคงไม่อาจจะยอมรับได้กับเหตุการณ์เช่นนี้ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
การรับเงินงบประมาณแผ่นดินในลักษณะงบอุดหนุน ก็สามารถโต้แย้งได้ว่า
หนึ่ง หน่วยราชการในพระองค์ไม่ได้ทำเฉพาะราชการในพระองค์ และราชการในพระองค์ก็ไม่ใช่เรื่องส่วนพระองค์ด้วย แต่เป็นงานที่ทรงทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน นอกจากนี้ยังมีงานราชการแผ่นดินอีกมากมายที่หน่วยราชการในพระองค์ได้ทำถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประชาชน เมื่อมีภารกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชน ทำไมจะไม่สามารถได้รับงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาลได้
สอง หน่วยราชการในพระองค์ก็คือหน่วยราชการเดิมที่สังกัดหลากหลายกระทรวง ทบวง กรม แต่โอนย้ายกำลังพลมาอยู่ในโครงสร้างเดียวกัน งบประมาณของรัฐที่เคยอยู่ในหน่วยงานราชการแต่เดิมก็ต้องโยกโอนมาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างเงินเดือน หรืองบประมาณส่วนอื่นๆ ที่มีมาแต่เดิม
สาม การรับงบจากรัฐบาลในลักษณะเงินอุดหนุน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร องค์กรมหาชน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ต่างก็รับงบประมาณประจำปีจากรัฐบาลในลักษณะของงบเงินอุดหนุนเช่นกัน หากจะทักท้วงว่าผิด ไม่ถูกต้อง ก็ต้องทักท้วงมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วทั้งหมด แม้กระทั่งสปสช. หรือองค์กรมหาชนอื่นๆ ที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะเป็นของตัวเอง ก็ต้องทักท้วงไปทักหมดอย่างเสมอภาคกันด้วยเช่นกัน
iLaw ยังโจมตีส่วนราชการในพระองค์ว่าเป็นหน่วยงานที่มีตำแหน่งที่ตั้งตามพระราชอัธยาศัย โดยโจมตีและวาดรูปผังโครงสร้างองค์การ (Organization chart) ที่ผิดหลักวิชาการดังรูปด้านล่างนี้
ทั้งนี้หน่วยราชการในพระองค์ประกอบด้วยสามหน่วยงานคือ สำนักพระราชวัง สำนักงานองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ต้องอยู่ในระนาบเดียวกันในผังโครงสร้างองค์การตามหลักวิชาการ ไม่ใช่วาดรูปโดยให้สำนักงานองคมนตรีอยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และให้สำนักพระราชวังอยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาของสำนักงานองคมนตรี
ผังโครงสร้างองค์กรของหน่วยราชการในพระองค์ในปัจจุบันเป็นดังนี้
สำนักพระราชวังประกอบด้วย 7 กรม สำนักงานองคมนตรี ประกอบด้วยสองหน่วยงาน และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ประกอบด้วย 5 หน่วยงานดังนี้
การปรับโครงสร้างองค์การตามภารกิจและกลยุทธ์ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม เป็นสิ่งที่จำเป็น ใครที่เคยได้เรียนวิชาทฤษฎีองค์การและการออกแบบ (Organizational theories and design) ย่อมเข้าใจ และโครงสร้างองค์กรของหน่วยราชการในพระองค์ที่เห็นข้างบนนี้ในอนาคตก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงไปได้อีกตามยุคสมัย
ในผังโครงสร้างองค์กรของส่วนราชการในพระองค์และในบทความของ iLaw ต้องการไปเน้นที่รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งคือพลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี เสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ซึ่งคือพลเอกหญิงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
โดยไม่ได้เข้าใจว่าตามธรรมเนียมราชประเพณีนั้น พระเจ้าแผ่นดินหรือรัชทายาททรงเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์หรือทหารรักษาวังโดยตรงมาแต่โบราณ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ราบที่ 1 และ 11 มาก่อนเช่นกัน
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยตามมาตรา ๘ และการแต่งตั้งทหารหรือการพระราชทานยศทหารชั้นสัญญาบัตรให้เป็นพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ การจะทรงแต่งตั้งบุคคลใดหรือเจ้านายพระองค์ใดก็ตามให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยก็ย่อมเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่ต้องทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ทำหน้าที่สำคัญนี้ได้ และต้องเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ใครก็ไม่บังควรเข้าไปก้าวล่วงพระราชอำนาจในข้อนี้ได้
บทความของ iLaw ยังโจมตีว่าหน่วยราชการในพระองค์มีข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศในปี 2564 อย่างน้อย 115 คน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยตามมาตรา ๘ และการแต่งตั้งทหารหรือการพระราชทานยศทหารชั้นสัญญาบัตรให้เป็นพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ จึงเป็นที่สุดแท้แต่พระบรมราชวินิจฉัย
แต่ขอแจ้งสถิติให้ทราบคร่าวๆ ดังนี้ ในหน่วยราชการในพระองค์ 14,500 คนมีข้าราชการพลเรือนในพระองค์ราว 6,000 คน นอกจากนี้ยังมีพนักงาน ททน (เงินท้ายที่นั่งที่ทรงจ่ายเงินเดือนเอง ทรงจ้างเอง) อีกส่วนหนึ่ง ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์มีมีทหารและตำรวจราว 8,500 นาย หากตัวเลขที่ iLaw นำมาแสดงนั้นถูกต้อง แต่ไม่ได้แสดงตัวหาร ในปี 2564 นายทหารและตำรวจในนถปภ.รอ. ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเพียง (115*100)/8500 หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 1.35 เท่านั้น ไม่น่าจะเป็นสถิติที่มีค่าสูงผิดปกติอะไรอย่างที่ iLaw พยายามจะเขียนโจมตี ถ้า iLaw ว่างมากน่าจะไปลองนับดูว่าโผทหารในปีนี้กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพไทย ได้เลื่อนเป็นพลตรี พลโท พลเอก กี่นายจากจำนวนทหารประจำการ อาจจะเห็นสถิติที่น่าสนใจมากกว่านี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องโจมตีด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่พยายามทำอยู่ก็ได้
ข้อโจมตีอีกข้อหนึ่งคือ หน่วยราชการในพระองค์ไม่เป็นประชาธิปไตย ตรวจสอบไม่ได้ เมื่อไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงตัดขาดจากการตรวจสอบ
ขอเรียนให้ iLaw ได้ทราบว่า แม้กระทั่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ที่ไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสักบาทเดียว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ลงตรวจและรับรองงบการเงินให้มาทุกปี หน่วยราชการแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหลายแห่ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ยังไม่ลงนามรับรองงบการเงินให้เลย
สำหรับหน่วยราชการในพระองค์ทั้งสามนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาเงินงบประมาณของหน่วยราชการในพระองค์ทั้งหมด หน่วยราชการในพระองค์ไม่ได้ถือเงินไว้เองเลยแม้แต่บาทเดียว
สำหรับงบประมาณประจำปีของหน่วยราชการในพระองค์นั้น ร้อยละ 95 หรือประมาณแปดพันห้าสิบล้านบาท เป็นค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งกรมบัญชีกลางตัดจ่ายให้ข้าราชการในพระองค์แต่ละเดือนผ่านระบบ Prompt pay และ GFMIS อยู่แล้วเป็นปกติ
ส่วนงบประมาณประจำปีที่เหลืออีกประมาณ 650 ล้านบาทนั้นเมื่อหน่วยราชการในพระองค์ใดเบิกใช้เงินเท่าใดให้ตั้งฎีกาเบิกไปยังกรมบัญชีกลาง ทุกอย่างมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน แนบฎีกาไปที่กรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ต้องออกใบกำกับภาษีฉบับเต็ม มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในหน่วยราชการในพระองค์หลายท่านจะพกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงานของตนติดกระเป๋าสตางค์ขนาดเท่ากับนามบัตรไว้ เมื่อใช้ซื้อของใดก็ต้องขอใบกำกับภาษีฉบับเต็มเพื่อนำมาตั้งฎีกาเบิกจ่าย
กรมบัญชีกลางมีบัญชีหน่วยราชการในพระองค์แยกกองไว้ชัดเจน เมื่อสตง. ลงตรวจกรมบัญชีกลางก็ตรวจบัญชีหน่วยราชการในพระองค์ ทั้งหมดด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงตรวจสอบได้ทั้งสิ้น และมีหน่วยราชการคือ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบที่กรมบัญชีกลางบ
ส่วนเรื่องที่กล่าวว่าไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นข้อกล่าวหาอันเลื่อนลอยมาก หน่วยงานใดเป็นประชาธิปไตยกันอย่างสุดโต่ง จะปกครองกันได้อย่างไร คำว่าไม่เป็นประชาธิปไตยคืออะไร จะต้องมีสิทธิเสรีภาพมากแค่ไหน จะสั่งงานหรือบังคับบัญชากันได้หรือไม่
สิ่งที่ iLaw กระทำในการเขียนบทความ ก็นับว่ามีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมากเพียงพออยู่แล้ว โดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้ง ๆ ที่เป็นการนำเข้าข้อความอันเป็นเท็จเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการด้อยค่าหน่วยราชการในพระองค์เพื่อหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขใช่หรือไม่ วิญญูชนก็อาจจะถามคำถามนี้โดยหลักเสรีภาพ หลักวิชาการ และหลักสุจริต ได้เช่นเดียวกัน
สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
สาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มีองค์กรเอกชน NGO แห่งหนึ่งซึ่งรับเงินของ Open Society Foundation โดยจอร์จ โซรอส นักการเงินอเมริกันเชื้อสายยิว และรับเงินของ National Endowment for Democracy: NED ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย Department of state หรือกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นแหล่งทุนของ NED อีกต่อหนึ่งและใช้งบประมาณประจำปีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ iLaw ได้เข้ามามีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับขบวนการปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-royalist) และได้รับเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคลื่อนไหวรณรงค์ในนามของประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่เน้นเรื่องสิทธิและเสรีภาพ จนถึงเข้ามาก้าวก่ายกิจการบ้านเมืองภายในประเทศไทยด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ iLaw และผลักดันในไทย
เรื่องแบบนี้หากเป็นชาติมหาอำนาจหรือชาติที่มีศักดิ์ศรีเป็นรัฐเอกราชย่อมไม่อาจจะยอมรับได้ที่องค์กรเอกชนได้รับเงินจากองค์การเอกชนของรัฐมหาอำนาจชาติอื่นเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ถือว่าเป็นการก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในอย่างร้ายแรงไม่ถูกต้องตามหลักสนธิสัญญาเวียนนา
สมมติว่ารัฐบาลจีนไปอุดหนุนเงินให้กับองค์กรเอกชนในสหรัฐอเมริกาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริการับรองว่าเป็นเรื่องแน่ ๆ และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็จะไม่ยอมโดยเด็ดขาด
ในทางกลับกัน หากรัฐบาลอเมริกาไปอุดหนุนเงินให้กับ NGO ภายในประเทศจีนเพื่อแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของจีน แน่นอนว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ไม่มีทางยอมอีกเช่นเดียวกัน
เมื่อไม่นานมานี้องค์กรเอกชนดังกล่าวได้ออกบทความชื่อ “ส่วนราชการในพระองค์ คสช. สร้างหน่วยงานพิเศษที่ตรวจสอบไม่ได้ทำลายประชาธิปไตย” พร้อมกับวาดรูปการ์ตูนล้อเลียนเป็นมงกุฎทองคำอย่างชาติตะวันตกมีทหารล้อมรอบและรักษาความปลอดภัยโดยห้ามคนนอกเข้าไปในมงกุฎนั้น และมีประชาชน 3 คนใส่ชุดดำมาตะโกนเอามือป้องปากอยู่หน้าประตูวังซึ่งอยู่ติดกับมงกุฎทองคำ
บทความนี้ราวกับต้องการเขียนกฎบัตรแมกนาคาร์ตา (Magna Carta) เพื่อจำกัดพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious revolution) ซึ่งสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกับนายปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ได้ร่างรัฐธรรมนูญหมวด 2 พระมหากษัตริย์ใหม่หมดและต้องการยุบหน่วยราชการในพระองค์โดยต้องการจำกัดให้พระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีอำนาจใดๆเลยและเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้นพร้อมกับให้สภาผู้แทนราษฎรเข้ามาแทรกแซงและควบคุมการทำงานของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระราชกรณียกิจทุกอย่าง โปรดอ่านได้จาก เปลือยความคิด “ปิยบุตร” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ https://mgronline.com/daily/detail/9640000079038
บทความนี้ของ iLaw ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันโดยมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการจะด้อยค่าหน่วยราชการในพระองค์ ในบทความของ iLaw ได้ทำภาพอินโฟกราฟฟิคเขียนกล่าวหาว่าส่วนราชการในพระองค์ เกิดจากฐานอำนาจทางกฎหมายของคสช.โดยอ้างอิงถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 15 ว่า การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย การจัดระเบียบ ราชการและการบริหารงานบุคคล ของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา
บทความนี้ยังวิจารณ์ว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 15 วรรคแรกนั้นเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นมาก่อนเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2517
ส่วนมาตรา 15 วรรคสอง การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของ ราชการในพระองค์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยนั้นไม่เคยปรากฏมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับอื่นใด
บทความนี้ยังได้เขียนว่าการออก พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์พุทธศักราช 2560 นั้น ผ่านการลงมติรับจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสนชในสมัยซึ่งเป็นเผด็จการทหาร และเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา จัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พุทธศักราช 2560 ลงนามโดยประยุทธ์จันทร์โอชาและให้การโอนและการโยกย้าย ข้าราชการในพระองค์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
อันที่จริงนอกจากราชการแผ่นดิน หรือ Government affair แล้ว ก็มีราชการในพระองค์ หรือ Royal affair มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่คนบางกลุ่มมีความรู้ที่ตื้นเขินและไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติไทยดีเพียงพอ เลยพยายามกล่าวหาอย่างเลื่อนลอย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินจากจตุสดมภ์ 4 เวียง วัง คลัง นา ให้มาเป็น กระทรวง ทบวง กรม ดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หลังเกิดเหตุการณ์รัตนโกสินทร์ศก 112 ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และต้องเสียค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนมากทำให้พระพุทธเจ้าหลวงถึงกับทรงตรอมพระทัยไม่ยอมถวายพระโอสถ หมายจะสวรรคต
เหตุแห่งการปฏิรูประบบราชการในขณะนั้นเพราะทรงเล็งเห็นความจำเป็นในการพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัยรวมศูนย์กลางอำนาจเพื่อสร้างรัฐชาติหรือ nation-state เพื่อให้ราชอาณาจักรไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจะแบ่งแยกมิได้และให้พ้นปากเหยี่ยวปากกาแห่งลัทธิล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก
กระทรวงหนึ่งซึ่งตั้งขึ้นใหม่คือกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้แยกระหว่างทรัพย์สินในพระองค์กับทรัพย์สินแผ่นดินออกจากกันโดยเด็ดขาด ทั้ง ๆ ที่ทรงมีพระราชประสงค์เพื่อจะรวมศูนย์อำนาจ centralization แต่กลับตรงแยกออกจากกันระหว่างทรัพย์สินในพระองค์กับทรัพย์สินของแผ่นดินขาดจากกัน ทั้ง ๆ ที่เป็นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทรัพย์สินของแผ่นดินนั้นอยู่ที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นเรื่องของราชการแผ่นดิน ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์หรือทรัพย์สินในพระองค์นั้นดูแลโดยพระคลังข้างที่ไม่ให้ปนกัน เป็นเรื่องของราชการในพระองค์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในปีพศ. 2455 ทรงตั้งกรมราชเลขานุการในพระองค์แยกออกมาจากกรมราชเลขาธิการเพื่อดูแลราชการในพระองค์เป็นการเฉพาะในขณะที่กรมราชเลขานุการดูแลเรื่องราชการแผ่นดินเท่านั้น
นอกจากนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ในหลาย ๆ ประเทศก็มีทั้งราชการแผ่นดินและจากราชการในพระองค์เช่นเดียวกัน นี่คือชาติไทย ที่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนโดยสหรัฐอเมริกา ในฐานะของชาติมหาอำนาจที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงประกาศสงคราม ทำให้ต้องยอมรับและปรับให้สถาบันพระเจ้าจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นเพียงสัญลักษณ์และพิธีการ ไม่ให้มีพระราชอำนาจ หรือมีจำกัดมาก ทำให้ไม่อาจจะมีราชการส่วนพระองค์ได้ มีแต่ราชการแผ่นดินที่สถาบันพระเจ้าจักรพรรดิดำรงพระฐานะที่ผิดแผกไปจากสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศอื่นๆ เพราะมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแตกต่างกันเป็นอันมาก
การที่พระเจ้าแผ่นดินไทยจะทรงงานทั้งราชการในพระองค์และราชการแผ่นดินจึงไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกวิสัยอันใดและไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ก็หาไม่
ในความเป็นจริงแม้จะชื่อว่าส่วนราชการในพระองค์อันประกอบด้วย หนึ่ง สำนักพระราชวัง สอง สำนักงานองคมนตรี และ สาม หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ แต่ภาระหน้าที่ของหน่วยราชการในพระองค์หาได้จำกัดเฉพาะเพียงราชการในพระองค์ไม่หากแต่ดูแลทั้งราชการแผ่นดินด้วย
งานราชการแผ่นดินไม่ได้จำกัดแค่ที่กรมราชเลขานุการในพระองค์ซึ่งเดิมคือสำนักราชเลขาธิการ อธิบดีกรมราชเลขานุการในพระองค์คือ ดร.กฤษณ์ กาญจนกุญชร ซึ่งเป็นท่านราชเลขาธิการมาแต่เดิมตั้งแต่ก่อนที่สำนักราชเลขาธิการถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักพระราชวัง
ในขณะที่สำนักงานองคมนตรีถูกยกขึ้นเป็นหน่วยงานอีกหน่วยงานหนึ่งของหน่วยราชการในพระองค์
หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หรือ นถปภ.รอ. นั้นทำหน้าที่ Royal security เป็นหลักและเป็นแค่การปรับโครงสร้างโอนย้ายอัตรากำลังที่เคยสังกัดอยู่หลากหลายหน่วยงานคือ กองบัญชาการกองทัพไทย กรมราชองครักษ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เข้ามาอยู่ในสังกัดหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนทำหน้าที่อื่นๆ ด้วยเช่น จิตอาสาพระราชทาน 904 ซึ่งเป็นเรื่องของการช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ
บทบาทหน้าที่ของหน่วยราชการในพระองค์ใดกล่าวถึงแล้วในบทความ หน่วยราชการในพระองค์รับใช้ครอบครัวเดียวหรือทำงานให้คนไทยทั้งประเทศ? https://mgronline.com/daily/detail/9640000088581 หรือรับชมได้จาก https://www.facebook.com/Arnond.s/videos/843645226340598 และ https://m.facebook.com/watch/?v=276997543899640&_rdr
และอันที่จริงหน่วยราชการในพระองค์ก็เป็นการโอนย้ายและรวบรวมหน่วยราชการอื่นๆที่เคยอยู่สังกัดหลากหลายหน่วยงานเช่น สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการสังกัดนายกรัฐมนตรี ให้มาอยู่ในที่เดียวกันเท่านั้นเพื่อให้การทำงานมีเอกภาพและเกิดการบูรณาการการทำงาน
iLaw ยังได้โจมตีว่าส่วนราชการในพระองค์ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการแผ่นดินและไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด แต่ยังรับงบประมาณแผ่นดินของรัฐในลักษณะของเงินอุดหนุน
ขออธิบายข้อเท็จจริงให้ทราบทีละประเด็นดังนี้
ราชการ=ราชา+การ= งานของพระราชา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงกรอกในเอกสารและแบบฟอร์มต่างๆว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีอาชีพทำราชการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงอธิบายว่า พระองค์ทรงทำราชการคืองานของพระราชา
ดังนั้นหน่วยราชการในพระองค์ก็ถือว่าเป็นหน่วยราชการ เพราะทำงานถวายพระราชาทั้งราชการส่วนพระองค์และราชการแผ่นดิน เพียงแต่เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ไม่ได้เป็นหน่วยราชการตามที่บัญญัติและกำหนดหน้าที่ไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรในสมัยหลังแทบทุกฉบับก็มีองค์กรอิสระตามระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นกัน และองค์กรอิสระเหล่านี้ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นหน่วยราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แต่ประการใดไม่ ยกตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ พศ. 2560 ให้มีองค์กรอิสระที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือพรป. คือ หนึ่ง คณะกรรมการเลือกตั้ง (มาตรา 222-227) สอง ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา228-231) สาม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 232-237) สี่คณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 238-245) และ ห้า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 246-247) นอกจากนี้ องค์กรอิสระที่ตั้งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. (มาตรา 60 วรรคสาม และมาตรา 274)
ถ้าจะโจมตี iLaw ก็ต้องโจมตีองค์กรอิสระที่เป็นหน่วยราชการเหล่านี้ที่ไม่ขึ้นอยู่ในระเบียบบริหารราชการแผ่นดินด้วย สำหรับหน่วยราชการในพระองค์ ตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ.2560 มาตรา 15 วรรคสอง เป็นหน่วยราชการในพระองค์ ไม่เป็นองค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นองค์กรที่ตั้งตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นหน่วยราชการตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด และเมื่อทำงานถวายพระเจ้าแผ่นดินแล้วก็เป็นการถูกต้องที่จะต้องขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์
ในอดีตประวัติศาสตร์ได้ทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่ามีความพยายามของนักการเมืองที่จะลิดรอนพระราชอำนาจอันมีอยู่แต่เดิมของสถาบันให้อยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมือง เช่น การให้สำนักพระราชวังและสำนักราชเลขาธิการอยู่ภายใต้การบัญชาการของนายกรัฐมนตรี ในสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จย่าจะทรงใช้รถยนต์พระที่นั่งเสด็จไปที่ใดยังต้องได้รับอนุญาตจากจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อันเป็นการกระทำที่มิบังควรและไม่ถวายพระเกียรติเลย สังคมไทยคงไม่อาจจะยอมรับได้กับเหตุการณ์เช่นนี้ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
การรับเงินงบประมาณแผ่นดินในลักษณะงบอุดหนุน ก็สามารถโต้แย้งได้ว่า
หนึ่ง หน่วยราชการในพระองค์ไม่ได้ทำเฉพาะราชการในพระองค์ และราชการในพระองค์ก็ไม่ใช่เรื่องส่วนพระองค์ด้วย แต่เป็นงานที่ทรงทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน นอกจากนี้ยังมีงานราชการแผ่นดินอีกมากมายที่หน่วยราชการในพระองค์ได้ทำถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประชาชน เมื่อมีภารกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชน ทำไมจะไม่สามารถได้รับงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาลได้
สอง หน่วยราชการในพระองค์ก็คือหน่วยราชการเดิมที่สังกัดหลากหลายกระทรวง ทบวง กรม แต่โอนย้ายกำลังพลมาอยู่ในโครงสร้างเดียวกัน งบประมาณของรัฐที่เคยอยู่ในหน่วยงานราชการแต่เดิมก็ต้องโยกโอนมาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างเงินเดือน หรืองบประมาณส่วนอื่นๆ ที่มีมาแต่เดิม
สาม การรับงบจากรัฐบาลในลักษณะเงินอุดหนุน ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร องค์กรมหาชน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ต่างก็รับงบประมาณประจำปีจากรัฐบาลในลักษณะของงบเงินอุดหนุนเช่นกัน หากจะทักท้วงว่าผิด ไม่ถูกต้อง ก็ต้องทักท้วงมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบไปแล้วทั้งหมด แม้กระทั่งสปสช. หรือองค์กรมหาชนอื่นๆ ที่มีพระราชบัญญัติเฉพาะเป็นของตัวเอง ก็ต้องทักท้วงไปทักหมดอย่างเสมอภาคกันด้วยเช่นกัน
iLaw ยังโจมตีส่วนราชการในพระองค์ว่าเป็นหน่วยงานที่มีตำแหน่งที่ตั้งตามพระราชอัธยาศัย โดยโจมตีและวาดรูปผังโครงสร้างองค์การ (Organization chart) ที่ผิดหลักวิชาการดังรูปด้านล่างนี้
ทั้งนี้หน่วยราชการในพระองค์ประกอบด้วยสามหน่วยงานคือ สำนักพระราชวัง สำนักงานองคมนตรี และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ต้องอยู่ในระนาบเดียวกันในผังโครงสร้างองค์การตามหลักวิชาการ ไม่ใช่วาดรูปโดยให้สำนักงานองคมนตรีอยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และให้สำนักพระราชวังอยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาของสำนักงานองคมนตรี
ผังโครงสร้างองค์กรของหน่วยราชการในพระองค์ในปัจจุบันเป็นดังนี้
สำนักพระราชวังประกอบด้วย 7 กรม สำนักงานองคมนตรี ประกอบด้วยสองหน่วยงาน และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ประกอบด้วย 5 หน่วยงานดังนี้
การปรับโครงสร้างองค์การตามภารกิจและกลยุทธ์ เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม เป็นสิ่งที่จำเป็น ใครที่เคยได้เรียนวิชาทฤษฎีองค์การและการออกแบบ (Organizational theories and design) ย่อมเข้าใจ และโครงสร้างองค์กรของหน่วยราชการในพระองค์ที่เห็นข้างบนนี้ในอนาคตก็อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงไปได้อีกตามยุคสมัย
ในผังโครงสร้างองค์กรของส่วนราชการในพระองค์และในบทความของ iLaw ต้องการไปเน้นที่รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งคือพลเอกหญิงสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี เสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ซึ่งคือพลเอกหญิงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
โดยไม่ได้เข้าใจว่าตามธรรมเนียมราชประเพณีนั้น พระเจ้าแผ่นดินหรือรัชทายาททรงเป็นผู้บัญชาการทหารรักษาพระองค์หรือทหารรักษาวังโดยตรงมาแต่โบราณ เช่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ราบที่ 1 และ 11 มาก่อนเช่นกัน
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยตามมาตรา ๘ และการแต่งตั้งทหารหรือการพระราชทานยศทหารชั้นสัญญาบัตรให้เป็นพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ การจะทรงแต่งตั้งบุคคลใดหรือเจ้านายพระองค์ใดก็ตามให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการถวายความปลอดภัยก็ย่อมเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ที่ต้องทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้ทำหน้าที่สำคัญนี้ได้ และต้องเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ใครก็ไม่บังควรเข้าไปก้าวล่วงพระราชอำนาจในข้อนี้ได้
บทความของ iLaw ยังโจมตีว่าหน่วยราชการในพระองค์มีข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศในปี 2564 อย่างน้อย 115 คน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทยตามมาตรา ๘ และการแต่งตั้งทหารหรือการพระราชทานยศทหารชั้นสัญญาบัตรให้เป็นพระบรมราชโองการตามพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ จึงเป็นที่สุดแท้แต่พระบรมราชวินิจฉัย
แต่ขอแจ้งสถิติให้ทราบคร่าวๆ ดังนี้ ในหน่วยราชการในพระองค์ 14,500 คนมีข้าราชการพลเรือนในพระองค์ราว 6,000 คน นอกจากนี้ยังมีพนักงาน ททน (เงินท้ายที่นั่งที่ทรงจ่ายเงินเดือนเอง ทรงจ้างเอง) อีกส่วนหนึ่ง ในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์มีมีทหารและตำรวจราว 8,500 นาย หากตัวเลขที่ iLaw นำมาแสดงนั้นถูกต้อง แต่ไม่ได้แสดงตัวหาร ในปี 2564 นายทหารและตำรวจในนถปภ.รอ. ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเพียง (115*100)/8500 หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 1.35 เท่านั้น ไม่น่าจะเป็นสถิติที่มีค่าสูงผิดปกติอะไรอย่างที่ iLaw พยายามจะเขียนโจมตี ถ้า iLaw ว่างมากน่าจะไปลองนับดูว่าโผทหารในปีนี้กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกองทัพไทย ได้เลื่อนเป็นพลตรี พลโท พลเอก กี่นายจากจำนวนทหารประจำการ อาจจะเห็นสถิติที่น่าสนใจมากกว่านี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องโจมตีด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่พยายามทำอยู่ก็ได้
ข้อโจมตีอีกข้อหนึ่งคือ หน่วยราชการในพระองค์ไม่เป็นประชาธิปไตย ตรวจสอบไม่ได้ เมื่อไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงตัดขาดจากการตรวจสอบ
ขอเรียนให้ iLaw ได้ทราบว่า แม้กระทั่งสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ที่ไม่ได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินสักบาทเดียว พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ลงตรวจและรับรองงบการเงินให้มาทุกปี หน่วยราชการแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหลายแห่ง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ยังไม่ลงนามรับรองงบการเงินให้เลย
สำหรับหน่วยราชการในพระองค์ทั้งสามนั้น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาเงินงบประมาณของหน่วยราชการในพระองค์ทั้งหมด หน่วยราชการในพระองค์ไม่ได้ถือเงินไว้เองเลยแม้แต่บาทเดียว
สำหรับงบประมาณประจำปีของหน่วยราชการในพระองค์นั้น ร้อยละ 95 หรือประมาณแปดพันห้าสิบล้านบาท เป็นค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งกรมบัญชีกลางตัดจ่ายให้ข้าราชการในพระองค์แต่ละเดือนผ่านระบบ Prompt pay และ GFMIS อยู่แล้วเป็นปกติ
ส่วนงบประมาณประจำปีที่เหลืออีกประมาณ 650 ล้านบาทนั้นเมื่อหน่วยราชการในพระองค์ใดเบิกใช้เงินเท่าใดให้ตั้งฎีกาเบิกไปยังกรมบัญชีกลาง ทุกอย่างมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงิน แนบฎีกาไปที่กรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ต้องออกใบกำกับภาษีฉบับเต็ม มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในหน่วยราชการในพระองค์หลายท่านจะพกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของหน่วยงานของตนติดกระเป๋าสตางค์ขนาดเท่ากับนามบัตรไว้ เมื่อใช้ซื้อของใดก็ต้องขอใบกำกับภาษีฉบับเต็มเพื่อนำมาตั้งฎีกาเบิกจ่าย
กรมบัญชีกลางมีบัญชีหน่วยราชการในพระองค์แยกกองไว้ชัดเจน เมื่อสตง. ลงตรวจกรมบัญชีกลางก็ตรวจบัญชีหน่วยราชการในพระองค์ ทั้งหมดด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงตรวจสอบได้ทั้งสิ้น และมีหน่วยราชการคือ สตง. เป็นผู้ตรวจสอบที่กรมบัญชีกลางบ
ส่วนเรื่องที่กล่าวว่าไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น เป็นข้อกล่าวหาอันเลื่อนลอยมาก หน่วยงานใดเป็นประชาธิปไตยกันอย่างสุดโต่ง จะปกครองกันได้อย่างไร คำว่าไม่เป็นประชาธิปไตยคืออะไร จะต้องมีสิทธิเสรีภาพมากแค่ไหน จะสั่งงานหรือบังคับบัญชากันได้หรือไม่
สิ่งที่ iLaw กระทำในการเขียนบทความ ก็นับว่ามีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมากเพียงพออยู่แล้ว โดยไม่ต้องพิสูจน์ ทั้ง ๆ ที่เป็นการนำเข้าข้อความอันเป็นเท็จเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการด้อยค่าหน่วยราชการในพระองค์เพื่อหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีจุดมุ่งหมายเพื่อล้มล้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขใช่หรือไม่ วิญญูชนก็อาจจะถามคำถามนี้โดยหลักเสรีภาพ หลักวิชาการ และหลักสุจริต ได้เช่นเดียวกัน