xs
xsm
sm
md
lg

เปลือยความคิด “ปิยบุตร” ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 2 พระมหากษัตริย์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์


ปิยบุตร แสงกนกกุล (แฟ้มภาพ)
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


น้องรุ้งเคยออกมาสะอื้นไห้ว่าที่ลานพญานาค ที่ มธ. รังสิต เธออ่านประกาศ 10 ข้อ โดยที่ไม่เข้าใจนัก และถูกผู้ใหญ่ผลักให้ออกไปอ่าน

วันนี้ปิยบุตร บอกว่าผ่านมาหนึ่งปี อยากสนับสนุนน้องรุ้งในเรื่องปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ โดยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเฉพาะหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ที่ผมอ่านแล้ว ผมก็เห็นว่า

หนึ่ง ปิยบุตรมีอคติรุนแรงกับสถาบันมาก

สอง ปิยบุตรต้องการด้อยค่าสถาบัน เช่น ยกเลิกมาตรา 6 อันโยงไปสู่การยกเลิกมาตรา 112 ป. อาญา ทั้งยังต้องการให้เป็นคดีแพ่งเท่านั้น ปรับฐานละเมิด ให้ยกเลิกคดีหมิ่นประมาททุกกรณี ต่อไปนี้สังคมจะเหลื่อมล้ำ จะด่ากันอย่างไรก็ได้ ใครมีเงินเสียค่าปรับมาก ก็ด่าได้มาก สังคมจะเลวทรามมาก

สาม ปิยบุตร เขียนรัฐธรรมนูญ เพื่อลิดรอนพระราชอำนาจของสถาบันทุกวิถีทาง เช่น ไม่ให้มีการโปรดเกล้าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไม่ให้สามารถทรงยับยั้งกฎหมายได้

สี่ ปิยบุตร ต้องการทำให้สถาบันเป็นเพียงสัญลักษณ์ทางการเมือง แบบเดียวกับญี่ปุ่นที่แพ้สงครามโลกและรัฐธรรมนูญเขียนจำกัดอำนาจสมเด็จพระจักรพรรดิโดยสหรัฐอเมริกา

ห้า ปิยบุตรต้องการไม่ให้ทรงงานราชการส่วนพระองค์ และให้ทรงราชการแผ่นดินได้จำกัดที่สุดเท่าที่รัฐธรรมนูญจำกัดไว้

หก ปิยบุตรให้ความสำคัญกับ ส.ส. และให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงยุ่มย่ามสถาบัน แต่กลับห้ามสถาบันไม่ให้มายุ่งการเมือง ทั้งๆ ที่ตามจารีตทรงอยู่เหนือการเมืองมาโดยตลอด ปิยบุตรต้องการสร้างสังคมพิร0ามิดหัวคว่ำ ที่สถาบันต้องอยู่ภายใต้นักการเมือง

เจ็ด ปิยบุตร เข้าไปยุ่มย่ามเรื่องส่วนพระองค์ เช่น ยกเลิกองคมนตรี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาราชการและทำงานถวาย ต้องการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในการสืบราชสันตติวงศ์ มีสภาผู้แทนราษฎร เข้าไปยุ่มย่ามมากมาก ให้ สส. เข้าไปยุ่มย่ามในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลายเรื่องเป็นเรื่องในครอบครัว ซึ่งไม่ควรต้องเข้ามายุ่งเลยแม้แต่น้อย

แปด ปิยบุตรใช้อคติมากกว่าความชอบธรรมทางกฎหมายในการเขียนรัฐธรรมนูญ เช่น ให้สภาผู้แทนราษฎรที่ถูกยุบแล้วหรือหมดวาระแล้วกลับมาประชุมกันทำหน้าที่ในการเลือกพระมหากษัตริย์หรือแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การให้สิ่งที่สิ้นสภาพไปแล้วมาทำหน้าที่ เป็นสิ่งที่ขาดความชอบธรรมทางกฎหมายอย่างสิ้นเชิง เพียงเพราะปิยบุตรไม่ต้องการให้มีองคมนตรี ซึ่งมีความสืบเนื่องแน่นอนท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมือง ปิยบุตรแก้รัฐธรรมนูญตามอคติจนเกิดเงื่อนตายและหาทางออกที่ถูกต้องชอบธรรมไม่ได้เลย

เก้า ปิยบุตรเขียนรัฐธรรมนูญโดยมีจุดมุ่งหมาย ต้องการด้อยค่าสถาบัน ลิดรอนพระราชอำนาจ ห้ามประกอบราชกิจอื่นๆ นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ โดยการลิดรอนตัดงบประมาณ ควบคุม โดยนักการเมือง อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อ้าว ไหนเทิดทูนสิทธิและเสรีภาพหนักหนา แต่กลับต้องการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสถาบันอย่างร้ายกาจ

สิบ
ปิยบุตรมีจุดมุ่งหมายจะล้มล้างสถาบัน โดยเริ่มจาก

1. ด้อยค่า-->2. ลิดรอนพระราชอำนาจ --> 3. ไม่ให้ประกอบพระราชกรณียกิจเพราะกลัวได้รับความนิยมจากประชาชน พยายามลิดรอนไม่ให้ทรงงานได้-->4. ต้องการทำให้สถาบันเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเจว็ด ---> 5. ให้การเมือง โดยเฉพาะสส. เข้ามาควบคุมแทรกแซงสถาบันได้ --->6. เมื่อไม่่มีค่า ไม่มีอำนาจ เป็นเพียงสัญลักษณ์ มีการเมืองแทรกแซงตลอดเวลา ก็นำไปสู่คำถามว่า -->7. แล้วจำเป็นต้องมีสถาบันไปเพื่ออะไร อันจะนำไปสู่การล้มล้างสถาบัน แบบการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ปิยบุตรพูดเสมอเป็นดั่งลมหายใจเข้าออก

ผมสงสารน้องรุ้งที่ถูกปิยบุตรยัดเยียดความคิดและใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในการสำเร็จความใคร่เรื่องปฏิวัติประชาชนล้มล้างสถาบัน

และนี่คือตัวอย่างของนักกฎหมายที่อคติครอบงำจนขาดหลักนิติธรรมและมีความคิดอันเป็นภัยต่อชาติบ้านเมือง เป็นความผิดตามมาตรา 49 แห่งรัฐธรรมนูญ พศ. 2560

มาตรา ๔๙ บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้

ผู้ใดทราบว่ามีการกระทําตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าวได้

ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคําสั่งไม่รับดําเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดําเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้

การดําเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดําเนินคดีอาญาต่อผู้กระทําการตามวรรคหนึ่ง
ทั้งยังเป็นการกระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116 ซึ่งสามารถสืบเจตนาจากพฤติกรรมต่อเนื่องในอดีตได้อย่างชัดเจน

มาตรา 112 ป. อาญา ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี

และมาตรา 116 ป. อาญา มาตรา 116 ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอัน มิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

(๑) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย
(๒) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อ ความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ
(๓) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี


กำลังโหลดความคิดเห็น