รศ. ดร. ชูเกียรติ ชัยบุญศรี
หัวหน้าศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปพณสรร เอกพันธ์
นักวิจัย ประจำศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หัวหน้าโครงการสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Email: pongpiajun@gmail.com
ในปัจจุบันโลกประสบปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้อุณหูมิโลกมีอุณหูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และทำให้ระบบนิเวศปั่นป่วน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และอีกปัญหาหนึ่งที่พบในประเทศไทยซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากในแถบบริเวณภาคเหนือ คือปัญหาหมอกควันและไฟป่าซึ่งมีปัจจัยทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในบริเวณภาคเหนือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณดังกล่าว
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อเชิงเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย จากปัญหาสิ่งแวดล้อมประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ของยานพาหนะในภาคของคมนาคมและการขนส่ง และการปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ผ่านการควบคุม ซึ่งส่งผลให้เกิดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ซึ่งเป็นก๊าชเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเผาไหม้ถ่านหินเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กทั่วโลก การเผาไหม้ถ่านหินยังปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) และมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือPM2.5 ซึ่งถ้าสะสมในร่างกายมากจะส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และที่สำคัญตัวฝุ่นมีสารพิษโลหะหนักอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสารปรอท และสารก่อมะเร็ง ซึ่งสารเหล่านี้ส่งผลเสียกับร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหานี้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในบริเวณที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด

จากการสำรวจในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 2 ของประเทศที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรองจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งมีการปล่อยก๊าชพิษต่าง ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีค่าที่สูงเกินมาตรฐานของคุณภาพอากาศ ซึ่งต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบทวีปยุโรปที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่ต่ำ เพราะมีการใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานสะอาดเข้ามาทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งแสดงถึงว่า ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วในด้านของเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกต่อประชาชน จะส่งผลต่อการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีตามมา ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยการพัฒนา ยังไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ เนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชมมักจะสนใจปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าที่จะมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ประเทศไทยหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมถึงภาคประชาชน จะต้องมีส่วนร่วมกัน ผลักดันในการแก้ปัญหานี้ เพื่อที่จะลดการใช้หรือหยุดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ เพื่อหยุดปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาต่อเศรษฐกิจ โดยหันมาใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนที่จากการผลิตโดยใช้ถ่านหินหรือเชื้อเพลิงฟอสซิล มากกว่านั้นทั้งภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุน ผลักดันเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้พลังงานทางสะอาด เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า และยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในยานพาหนะในแถบเมืองต่างๆ และการเผาของภาคการเกษตร ซึ่งส่งผลให้บริเวณนั้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว หรือการค้าขายในบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบไปด้วย อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้

ข้อมูลของผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือน เมษายน ช่วงปี พ.ศ.2562 – 2563 ซึ่งจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้ของการค้าขาย ในจังหวัดเชียงใหม่ ลดลงอย่างมาก จากข้อมูลแสดงให้เห็นถึงว่า ปริมาณของฝุ่นละอองมีผลต่อจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้ของการค้าขายในบริเวณนั้น สอดคล้องกับจุดความร้อน (Hotspot) ในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีการประกาศห้ามเผา แต่ยังมีค่าจุดความร้อนที่สูงอยู่อันดับที่ 1 ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งส่งผลทางลบต่อเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ในจังหวัดเชียงใหม่
และมากกว่านั้นในช่วงดังกล่าว ยังมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ซึ่งก็เกิดจากตลาดอาหารทะเล ที่มีการค้าขายสัตว์ป่า รวมทั้ง นก กระต่าย ค้างคาวและงู โดยผิดกฏหมาย ซึ่ง Coronaviruses มีการแพร่จากสัตว์สู่คน จากบทความที่มีชื่อว่า “How coronavirus started and what happens next, explained” [1]คิดว่าคนกลุ่มแรกที่ติดโรคนี้ เป็นคนกลุ่มหลักที่ประกอบธุรกิจการค้าขายจากตลาดอาหารทะเล ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งโลก อยู่ที่ 180 ล้านคน เห็นได้ชัดเจนว่า มนุษย์มีส่วนสำคัญในการเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทั้งสองด้านในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและปัญหาเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการของ SDGs หรือ Sustainable Development Goals หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs)เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งแผนเป้าหมายนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยใช้หลักการ 7 Affordable And Clean Energy หรือพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ที่จะต้องมีการผลักดันเข้ามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้นภายในประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการใช้ถ่านหินและยังส่งผลต่อเศรษฐกิจที่ดีเนื่องจาก ประชาชนจะไม่วิตกกังวลในการออกมาท่องเที่ยว หรือ ออกมาค้าขาย เนื่องจากไม่มีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ และภาคส่วนต่างๆ ต้องสนับสนุนหรือผลักดันในเรื่องของ 1 No Poverty หรือ ขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเผา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากภาคเกษตรที่มีการเผาพื้นที่ไร่เพาะปลูกต่าง ๆ เนื่องจากไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย 12 Responsible Consumption and Production หรือ บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติและจัดการอย่างถูกต้อง

จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในทั้งภาคเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นประเทศหลาย ๆ ประเทศจะต้องนำหลักการของ SDGs ที่จะต้องรีบเริ่มในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อประเทศ และเพื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อไป เช่นเดียวกับหลายทวีปที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว จากรายงานแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ปี 2021 อย่างทวีปเอเชีย ในประเทศสิงค์โปรที่มีการพัฒนาแล้วในเรื่องของ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 การใช้พลังงานสะอาดเข้ามาผลิตพลังงานต่าง ๆ และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 ซึ่งแก้ไขปัญหาความยากจนสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และในทวีปยุโรป เช่นประเทศ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จในเรื่องแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน และยังมีอีกหลายๆทวีปและอีกหลายประเทศที่ เริ่มมีการผลักดันในเรื่องของ SDGs หรือ แผนการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น

อ้างอิง
[1] How coronavirus started and what happens next, explained | WIRED UK, https://www.wired.co.uk/article/china-coronavirus
หัวหน้าศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปพณสรร เอกพันธ์
นักวิจัย ประจำศูนย์ วิจัยเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณร่วมสมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศ. ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หัวหน้าโครงการสร้างพลเมืองสร้างสรรค์ (Active Citizen) และผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง (Prime Mover) ในบริบทการจัดการคุณภาพอากาศสำหรับประเทศไทย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Email: pongpiajun@gmail.com
ในปัจจุบันโลกประสบปัญหาอย่างมากเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่นปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลทำให้อุณหูมิโลกมีอุณหูมิที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และทำให้ระบบนิเวศปั่นป่วน ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และอีกปัญหาหนึ่งที่พบในประเทศไทยซึ่งเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากในแถบบริเวณภาคเหนือ คือปัญหาหมอกควันและไฟป่าซึ่งมีปัจจัยทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในบริเวณภาคเหนือ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณดังกล่าว
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อเชิงเศรษฐกิจภายในประเทศอีกด้วย จากปัญหาสิ่งแวดล้อมประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ของยานพาหนะในภาคของคมนาคมและการขนส่ง และการปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ผ่านการควบคุม ซึ่งส่งผลให้เกิดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ซึ่งเป็นก๊าชเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเผาไหม้ถ่านหินเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กทั่วโลก การเผาไหม้ถ่านหินยังปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) และมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือPM2.5 ซึ่งถ้าสะสมในร่างกายมากจะส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และที่สำคัญตัวฝุ่นมีสารพิษโลหะหนักอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสารปรอท และสารก่อมะเร็ง ซึ่งสารเหล่านี้ส่งผลเสียกับร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหานี้ส่งผลทำให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวในบริเวณที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด
จากการสำรวจในปี พ.ศ.2560 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 2 ของประเทศที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรองจากประเทศเมียนมาร์ ซึ่งมีการปล่อยก๊าชพิษต่าง ๆ สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีค่าที่สูงเกินมาตรฐานของคุณภาพอากาศ ซึ่งต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบทวีปยุโรปที่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจกที่ต่ำ เพราะมีการใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานสะอาดเข้ามาทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งแสดงถึงว่า ประเทศที่มีการพัฒนาแล้วในด้านของเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกต่อประชาชน จะส่งผลต่อการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีตามมา ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยการพัฒนา ยังไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ เนื่องจากทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชมมักจะสนใจปัญหาเศรษฐกิจมากกว่าที่จะมาสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ประเทศไทยหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมถึงภาคประชาชน จะต้องมีส่วนร่วมกัน ผลักดันในการแก้ปัญหานี้ เพื่อที่จะลดการใช้หรือหยุดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ เพื่อหยุดปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และ ปัญหาต่อเศรษฐกิจ โดยหันมาใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนที่จากการผลิตโดยใช้ถ่านหินหรือเชื้อเพลิงฟอสซิล มากกว่านั้นทั้งภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุน ผลักดันเกี่ยวกับยานพาหนะที่ใช้พลังงานทางสะอาด เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังมีการใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า และยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในยานพาหนะในแถบเมืองต่างๆ และการเผาของภาคการเกษตร ซึ่งส่งผลให้บริเวณนั้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว หรือการค้าขายในบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบไปด้วย อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านมลพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้
ข้อมูลของผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ในเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ในเดือน เมษายน ช่วงปี พ.ศ.2562 – 2563 ซึ่งจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้ของการค้าขาย ในจังหวัดเชียงใหม่ ลดลงอย่างมาก จากข้อมูลแสดงให้เห็นถึงว่า ปริมาณของฝุ่นละอองมีผลต่อจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้ของการค้าขายในบริเวณนั้น สอดคล้องกับจุดความร้อน (Hotspot) ในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีการประกาศห้ามเผา แต่ยังมีค่าจุดความร้อนที่สูงอยู่อันดับที่ 1 ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งส่งผลทางลบต่อเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ในจังหวัดเชียงใหม่
และมากกว่านั้นในช่วงดังกล่าว ยังมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ซึ่งก็เกิดจากตลาดอาหารทะเล ที่มีการค้าขายสัตว์ป่า รวมทั้ง นก กระต่าย ค้างคาวและงู โดยผิดกฏหมาย ซึ่ง Coronaviruses มีการแพร่จากสัตว์สู่คน จากบทความที่มีชื่อว่า “How coronavirus started and what happens next, explained” [1]คิดว่าคนกลุ่มแรกที่ติดโรคนี้ เป็นคนกลุ่มหลักที่ประกอบธุรกิจการค้าขายจากตลาดอาหารทะเล ซึ่งเกิดจากการสัมผัสกับสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งโลก อยู่ที่ 180 ล้านคน เห็นได้ชัดเจนว่า มนุษย์มีส่วนสำคัญในการเข้ามาทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่าง ๆ สิ่งสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทั้งสองด้านในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและปัญหาเศรษฐกิจ โดยใช้หลักการของ SDGs หรือ Sustainable Development Goals หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs)เป็นชุดเป้าหมายการพัฒนาระดับโลกที่ได้รับการรับรองจาก 193 ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งแผนเป้าหมายนี้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยใช้หลักการ 7 Affordable And Clean Energy หรือพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ที่จะต้องมีการผลักดันเข้ามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้นภายในประเทศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยการใช้ถ่านหินและยังส่งผลต่อเศรษฐกิจที่ดีเนื่องจาก ประชาชนจะไม่วิตกกังวลในการออกมาท่องเที่ยว หรือ ออกมาค้าขาย เนื่องจากไม่มีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ และภาคส่วนต่างๆ ต้องสนับสนุนหรือผลักดันในเรื่องของ 1 No Poverty หรือ ขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเผา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากภาคเกษตรที่มีการเผาพื้นที่ไร่เพาะปลูกต่าง ๆ เนื่องจากไม่เสียค่าใช้จ่ายมากในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย 12 Responsible Consumption and Production หรือ บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งลดการปล่อยสารเคมีและของเสียเป็นพิษออกสู่ธรรมชาติและจัดการอย่างถูกต้อง
จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน จะสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาในทั้งภาคเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นประเทศหลาย ๆ ประเทศจะต้องนำหลักการของ SDGs ที่จะต้องรีบเริ่มในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อประเทศ และเพื่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อไป เช่นเดียวกับหลายทวีปที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายแล้ว จากรายงานแผนการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ปี 2021 อย่างทวีปเอเชีย ในประเทศสิงค์โปรที่มีการพัฒนาแล้วในเรื่องของ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 การใช้พลังงานสะอาดเข้ามาผลิตพลังงานต่าง ๆ และ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 ซึ่งแก้ไขปัญหาความยากจนสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และในทวีปยุโรป เช่นประเทศ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ประสบความสำเร็จในเรื่องแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน และยังมีอีกหลายๆทวีปและอีกหลายประเทศที่ เริ่มมีการผลักดันในเรื่องของ SDGs หรือ แผนการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น
อ้างอิง
[1] How coronavirus started and what happens next, explained | WIRED UK, https://www.wired.co.uk/article/china-coronavirus