จากกรณีที่ “นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม” เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ทำหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการแจ้งผลการคัดเลือกรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร โดยอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญ 2 ประการคือ
ประการแรก ให้ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจร และยาจาก “ผง” ฟ้าทะลายโจร ที่มีสารแดนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง เพื่อใช้กับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง
ประการที่สอง ทั้ง “สารสกัด”และ “ผง” จากฟ้าทะลายโจร ได้ปรากฏหมายเหตุให้ใช้ได้โดย “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” (แพทย์แผนปัจจุบัน) อย่างเดียว (ซึ่งตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์) ออกจากการจ่าย “สารสกัด” และ “ผง”ฟ้าทะลายโจรในโรคโควิด-19
ซึ่งล่าสุด วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ให้ “สารสกัด” และ “ผง”ฟ้าทะลายโจร เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติใช้รักษาโควิด-19 สั่งจ่ายยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่มีแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์มาเกี่ยวข้อง
โดยก่อนหน้าที่จะมีมติดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ สธ 059/2723 ถึงประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ผ่านคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง) ให้รับประทานยาเฉพาะ “ยาสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เพียงอย่างเดียวสำหรับรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยไม่ได้เสนอ “ผง” ฟ้าทะลายโจรเข้ามาด้วยแต่ประการใด
แสดงให้เห็นว่าข้อเสนอเรื่อง “ผง” ฟ้าทะลายโจรในมติของอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นั้น “ไม่ได้มาจาก” ข้อเสนออธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเลย เพราะในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯเสนอแต่ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจรเท่านั้น
จากเหตุการณ์ข้างต้นจึงมีประเด็นสารสำคัญ 2 เรื่องสำคัญ คือ เรื่องที่หนึ่ง ประด็นการกำหนดให้ประชาชนบริโภคสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน และเรื่องที่สอง ปัญหาการกีดกันวิชาชีพการแพทย์แผนไทยไม่ให้มาจ่ายยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้
เรื่องที่ 1 ทำไมต้องใช้ “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ในขนาด “180 มิลลิกรัม” ต่อวัน ในการใช้กับโควิด-19 เป็นบัญชียาหากแต่ “เพียงอย่างเดียว” มีความเหมาะสมตามหลักวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ จริงหรือไม่? มีประเด็น “คำถามทางวิชาการ” ดังต่อไปนี้
1.1 งานวิจัยในหลอดทดลองของ ดร.สุภาพร ภูมิอมร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2563 พบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร สามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 15.6 เท่าตัว
เหตุใดอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงเสนอเฉพาะ “สารสกัด” เท่านั้น ในการใช้กับโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติ?
1.2 งานวิจัยในหลอดทดลองของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทาง Natural Products อยู่ภายใต้ประชาสังคมเคมีแห่งอเมริกัน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 ว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร มีความปลอดภัยต่อเซลล์ตับ ไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง ดีกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์จากฟ้าทะลายโจร
เหตุใดอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงเสนอเฉพาะ “สารสกัดอย่างเดียว” ในการใช้กับโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติ?
1.3 เมื่อ “ผง”ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีผลการวิจัยในหลอดทดลอง พบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อโควิด-19ได้ดีกว่า และปลอดภัยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์
เหตุใดแทนที่จะ “เริ่มต้นกำหนด” จากปริมาณ “ผง”ฟ้าทะลายโจร กลับกำหนดที่ “สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์” ที่ต้องกินมากกว่าและปลอดภัยน้อยกว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจร และ “ผง” ยังมี “ราคาถูกกว่า”ด้วย เพราะอะไร?
1.4 นักวิจัยของกรมการแแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อ้างว่าการเริ่มต้นกำหนดตัวสารแอนโดรกราโฟไลด์ “180 มิลลิกรัมต่อวัน”เพื่อหวังผลสำเร็จในการรักษา มาจากการ “คาดการณ์” จาก “หลอดทดลอง” เหมาะสมจริงหรือไม่?
เพราะแม้จะอ้างว่าตัวเลขสารแอนโดรกราโฟไลด์ 30 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 60 มิลลิกรัมต่อวันน้อยเกินไปเมื่อเทียบในหลอดทดลอง แต่ในความเป็นจริงยังมีตัวเลขมากกว่านี้ที่สามารถใช้ได้ เช่น ทำไมไม่ใช้ตัวเลข 100 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 120 มิลลิกรัมต่อวัน ทำไมจะต้องคาดเดาจากตัวเลขสารแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงการกำหนดใช้ในมนุษย์ได้นั้น จะต้องถูกกำหนดจากการทดลองจาก “สัตว์ทดลอง” เพื่อเทียบเคียงคำนวณ “น้ำหนักยา” กลับมาในการใช้จริงในมนุษย์
และเนื่องด้วยการทดสอบในหลอดทดลองพบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อเทียบกับ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์ แต่การกำหนดการใช้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในมนุษย์ด้วยการใช้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอ้างเพียง “หลอดทดลอง” เพื่อหวังผลการรักษาโควิด-19 เป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจริงหรือไม่?
ตัวอย่างเช่น หากมี “ตรรกะ” การวิจัยโดยอ้างปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่สูงถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน จากการวิจัยเพียง “หลอดทดลอง” อย่างที่ทำเช่นนี้ได้จริงๆแล้ว กรมการแพทย์แผนไทยฯ “ก็ต้องกำหนด” ปริมาณการใช้ ”ผง” ฟ้าทะลายโจร ให้น้อยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ลดลงไปถึง 15.6 เท่าตัวด้วย ใช่หรือไม่ (จะได้เหลือสารแอนโดรกราโฟไลด์ 11.5 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น)
ซึ่งแน่นอนว่าการคำนวณบัญญัติไตรยางค์จาก “หลอดทดลอง” แบบนี้ย่อมทำไม่ได้ในทางวิชาการ เพราะการทดลองใน “หลอดทดลอง” นั้น เป็นคนละเรื่องกับสิ่งมีชีวิตทั้งประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จริงหรือไม่ (นอกจากรู้เบื้องต้นว่ามีกลไกในการยับยั้งเชื้อโควิด-19 และสิ่งใดดีกว่าสิ่งใดระหว่างผงกับสารสกัดในหลอดทดลอง) ดังนั้นการ “คาดการณ์” ปริมาณ “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ มากถึง 180 มิลลิกรัม ก็อาจจะไม่ถูกต้อง หรืออาจจะมากเกินไป หรืออาจจะไม่เหมาะสมด้วย ใช่หรือไม่?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุใดทางกรมการแพทย์แผนไทยไม่ทดสอบเปรียบเทียบกับ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่สูงที่สุดเท่าที่เคยยอมรับว่ามีการปลอดภัยสำหรับคนไทยควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก
1.5 การทดสอบของกรมการแพทย์แผนไทยกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 5 คนแรก รายงานโดย น.พ.กุลธนิต วนรัตน์ เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อดูความปลอดภัยในการใช้ “สารสกัด” ในปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า
อาสาสมัคร 1 ราย มีค่าการทำงานของตับ (ALT) เพิ่มสูงเป็น 1.7 เท่าของค่าปกติ!!! ในขณะที่อาสาสมัคร 1 ราย ที่มีแนวโน้มของค่าการทำงานของตับ (AST) และ ALT สูงขึ้นแต่ไม่เกินค่าปกติ
แสดงว่ามีถึง 2 คนจาก 5 คนมีค่าการทำงานของตับเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในหลอดทดลองว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์มีความปลอดภัยน้อยกว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจร
จนถึงขนาด บทสรุปของ น.พ.กุลธนิต วนรัตน์ ผู้วิจัยก็ได้รายงานเองในข้อสรุปว่า…
“การรับประทาน “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรขนาดสูง อาจมีผลต่อค่าการทำงานของตับ” ควรเฝ้าระวังค่าการทำงานของตับในการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง”
เมื่อมาถึงการพบการทำงานของตับที่ทำงานมากเกินปกติโดยการใช้ “สารสกัด” เหตุใดกรมการแพทย์แผนไทยฯยังไม่พิจารณา “ผง”ฟ้าทะลายโจรที่มีเบาะแสจากหลอดทดลองว่ายับยั้งเชื้อโควิดได้ดีกว่าและปลอดภัยกว่า “สารสกัด” ให้มาทดสอบกับตัวอย่างเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทำงานของตับ
และเหตุใดจึงยังเดินหน้าเสนอเฉพาะ ”สารสกัด” ฟ้าทะลายในการเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างเดียว โดยไม่แม้แต่เสนอ “ผง” ฟ้าทะลายโจรเข้าไปด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564
1.6 การทดสอบใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คน พบว่าลดอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อโควิด-19 มีเพียง 0.97% เท่านั้น เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ฟ้าทะลายโจรมีอาการเชื้อลงปอดประมาณ 14% ซึ่งมีการใช้ทั้ง “ผง” ฟ้าทะลายโจร และ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจร แม้จะดูประสบความสำเร็จและน่ายินดีต่อการรักษาดังกล่าว แต่เมื่อไม่ได้มีการตรวจค่าการทำงานของตับ เหมือนการทดสอบ 5 คนแรก จึงเกิดคำถามว่าการใช้ “สารสกัด” จะมีผลต่อค่าการทำงานของตับจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งยังเป็นปัญหา “ความปลอดภัย” ในปริมาณที่เหมาะสมที่ควรจะใช้กับผู้ป่วย
1.7 เมื่อการทดสอบใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คนนั้น มีทั้งการใช้ “สารสกัด” และการใช้ “ผง”จากฟ้าทะลายโจร เหตุใดเมื่ออธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ มีการยื่นคำขอเพื่อการใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 จึงได้เสนอแต่ “สารสกัด”ไปแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเหตุใดจึงไม่มีการยื่นยาที่มาจาก “ผง”ฟ้าทะลายโจรไปด้วย
1.8 มักมีการกล่าวอ้างในคำชี้แจงจากคนในกรมการแพทย์แผนไทยฯว่า เพราะ “ผงฟ้าทะลายโจร” มีความไม่แน่นอน ลุ่มๆดอนๆ ทำให้มีบางรายเกิดอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อลงปอดนั้น ความจริงข้อนี้ ขัดแย้งกับงานวิจัยในหลอดทดลองที่ว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าสารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 15.6 เท่าตัว
นอกจากนั้นในอีกประการหนึ่งการกล่าวดีสเครดิตฟ้าทะลายโจรแบบ “ผง” นั้นดูจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในการทดลองกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คน ซึ่งมีทั้งการใช้แบบ “ผง” และ “สารสกัด” โดยมีอาการปอดอักเสบ 3 ราย ดังนั้นการนำเสนอดังกล่าวดูจะเป็นการดีสเครดิตที่ขัดแย้งกับผลการทดสอบเอง
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ 3 ราย จาก 309 รายนั้น แท้ที่จริงแล้ว 1 รายมาจากผู้ที่มีการใช้ยาตทำกว่าเกณฑ์ใช่หรือไม่ ในขณะที่อีก 2 รายนั้น มาจากการใช้ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์ตามเกณฑ์ นั่นหมายความว่าอาการเชื้อลงปอด หรือปอดอักเสบแม้มีเพียง 2 รายนั้น ก็มาจากผู้ที่ใช้ “สารสกัด” ทั้งสิ้น และไม่พบว่าผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อลงปอด มาจากผู้ที่ใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจร จริงหรือไม่?
1.9 เมื่อทราบจากงานวิจัยในหลอดทดลองว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ถึง 15 เท่าตัว และปลอดภัยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงในประเด็นที่สำคัญคือปริมาณสูงสุดในมาตรฐานต่ำสุดตามที่กฎหมายกำหนดคุณภาพของฟ้าทะลายโจรนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะต้องมีความปลอดภัยเป็นลำดับแรก เหนือกว่าการ ”เร่ง” ด้วยการใช้ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่มีหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยหรือไม่
ทั้งนี้ มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรในบัญชียาหลักแห่งชาติในการใช้สำหรับรักษาโรคหวัด เจ็บคอ ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้เกี่ยวกับสารแอนโดรกราโฟไลด์ว่าจะต้องมีไม่น้อยกว่า “ร้อยละ 1” ของน้ำหนักผงฟ้าทะลายโจร
นอกจากนั้นมาตรฐานในบัญชียาหลักยังกำหนดฟ้าทะลายโจรสำหรับรักษาโรคหวัด เจ็บคอว่าให้รับประทานครั้งละ 1.5 -3 กรัม วันละ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกกำหนดเอาไว้โดยกฎหมาย
นั่นหมายความว่าหากยึด “มาตรฐานแอนโดรกราโฟไลด์ต่ำสุด”ตามที่กฎหมายกำหนดคือ 1% และกินผงฟ้าทะลายโจรได้ “สูงสุด” ไม่เกิน 3 กรัม และหากกินได้วันละ 4 ครั้ง แปลว่าวันหนึ่งจะกินผงฟ้าทะลายโจร “สูงสุด”ไม่เกิน 12 กรัม (12,000 มิลลิกรัม) โดยหากมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ 1% ก็จะไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น หรือหากใช้แคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัม ก็จะบริโภคได้มาก “สูงสุด” ไม่เกินวันละ 30 แคปซูล และเมื่อหาร 4 ครั้ง ก็ตกครั้งละประมาณ 7.5 แคปซูล
เหตุใดจึงไม่ทำการทดลอง “ผง”ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดคือ “120 มิลลิกรัม” ซึ่งไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่จะกีดกันได้ว่าหากใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์เพียง 120 มิลลิกรัมต่อวัน (ซึ่งมีความปลอดภัยมาหลายสิบปี) จะไม่ได้ผลต่อการรักษาเมื่อเทียบกับ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน
ดังนั้นการกำหนดเอาไว้ให้มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้ได้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวันนั้น จึงเป็นการกำหนด ”สเปก” เกินเกณฑ์ให้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ให้ไม่สามารถจะบริโภคได้สารแอนโดรกราโฟไลด์ได้ถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน ใช่หรือไม่?
เพราะนั่นหมายความว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ผ่านเกณฑ์สารแอนโดรกราโฟไลด์ขั้นต่ำอาจจะต้องบริโภค “ผง” ฟ้าทะลายโจร ถึงวันละ 18 กรัมต่อวัน (เกินค่าความปลอดภัยที่ให้ไม่เกินวันละ 12 กรัมต่อวัน) หรือคิดประมาณแคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัมมากถึง 45 แคปซูล (มากเกินไปถึง 15 แคปซูลเมื่อเทียบกับสูงสุดของผงฟ้าทะลายโจรที่กินได้สูงสุดไม่เกิน 30 แคปซูลต่อวัน)
และเมื่อมีการกำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับ “ผง” ฟ้าทะลายโจรต้องกินมากถึง 18 กรัมต่อวัน หากหารสี่มื้อ จะได้ครั้งละ 4.5 กรัม หรือมื้อละ 12 แคปซูล ซึ่งเกินเกณฑ์สูงสุดครั้งละไม่เกิน 3 กรัม 7.5 แคปซูล ตามเกณฑ์สูงสุดของบัญชียาหลักในโรคหวัดอยู่ดี แน่ใจหรือว่าการกำหนดให้กินวิธีการดังกล่าวจะมีความปลอดภัยจริง และจะมีใครกล้าจ่ายยา ”ผง” ฟ้าทะลายโจรในปริมาณที่ไม่เคยมีการใช้กันมาก่อนในรอบ 20 ปีว่ามีความปลอดภัยจริง
และสถานการณ์ในวันนี้ เลวร้ายกว่านั้น คือ คณะอนุกรรมการฯบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้ตั้งอนุมัติเกณฑ์ การกิน “ผง” ฟ้าทะลายโจรสำหรับโควิด-19 ตามรูปแบบของ “สารสกัด” ว่าให้กินสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้ได้ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แล้วยัง “ลดจำนวนมื้อต่อวัน”ให้กิน “ผง” ฟ้าทะลายโจร ลดลงจาก 4 ครั้งต่อวันของโรคหวัด เหลือ 3 ครั้งต่อวัน (ตามเกณฑ์ล่าสุดสำหรับโควิด-19)
ซึ่งพบว่าเกณฑ์ใหม่นี้ต้องกิน “ผง” ฟ้าทะลายโจรมากกว่านั้นเป็น 6 กรัมต่อครั้ง ซึ่งเป็นการกินเกินไปถึง 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับมาตรฐาน “สูงสุด” ไม่เกิน 3 กรัมต่อครั้งของโรคหวัด ซึ่งไม่มีใครยืนยันได้ว่าการกินมากกว่ามาตรฐานที่คนไทยใช้กันมานานกว่า 20 ปีนั้น จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้เสียหายในการกิน “ผง”ฟ้าทะลายโจรในที่สุดหรือไม่?
1.10 ในความเป็นจริงแล้วตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้แจก “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ที่ 180 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยเท่านั้น หากแต่ยังมีการแจก “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 60 มิลลิกรัมต่อวันด้วย โดยได้จ่ายให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ “ไม่มีอาการ” ซึ่งเป็นขนาดที่ “ผง”ฟ้าทะลายโจรสามารถจ่ายทดแทนได้เช่นกัน
แต่กลับปรากฏว่าอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เสนอขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติไปเพียงแค่ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 180 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น แต่กลับไม่เสนอ “สารสกัด” ที่ได้มีการใช้ขนาดสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 60 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการเลย
ประเด็นดังกล่าวจึงน่าตั้งคำถามว่า การเสนอเลือกเฉพาะ “สารสกัด” ในขนาดที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวันเพียงอย่างเดียว เป็นเพราะไม่ให้เกิดการใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรได้มีช่องว่างให้กับผู้ป่วยโควิด-19 เลยใช่หรือไม่ (แม้กระทั่งผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ) ด้วยเหตุผลใด?
1.11 จากคำถามทั้งหมดข้างต้น ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงเบื้องหลัง การที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ สนับสนุนแต่ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรทั้งๆที่ในหลอดทดลองพบว่า ปลอดภัยน้อยกว่า และต้องบริโภคมากกว่าในการรักษาโควิด-19 นั้น มีความสัมพันธ์อย่างไรกับ กรณีที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำพิธีลงนามร่วมกับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ชื่อ บริษัท มอร์ เมดดิคัล จำกัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรในแบรนด์ “การบูร”
คำถามคือความสัมพันธ์ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เลือกไปสนับสนุนเอกชนรายหนึ่งที่ผลิต “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรตั้งแต่ปี 2563 นั้น มีการจัดสรรผลประโยชน์ในแบรนด์ “การบูร” ให้กับใคร และใครหรือองค์กรมูลนิธิของใคร เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ในการสนับสนุนของกรมการแพทย์แผนไทยฯครั้งนั้นมาจนถึงทุกวันนี้
ถ้าคำตอบคือ บุคลากรหรือองค์กรที่เกี่ยวกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ“ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ”ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่าสนับสนุนเอกชนรายเดียวในเรื่อง “สารสกัด” เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ และถ้าหากคำตอบคือ “กรมแพทย์แผนไทยฯ ได้รับประโยชน์หรือมูลนิธิใดได้รับประโยชน์ที่อาจเกี่ยวกับบุคคลในกรมการแพทย์แผนไทยฯ” ก็ต้องถามว่าการเสนอ “สารสกัด“ ขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติที่ผ่าน มาเป็นผลประโยชน์”ทับซ้อนหรือไม่?
ข้อสังเกตคือเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ก่อนที่อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ จะได้ยื่น “สารสกัด 180 มิลลิกรัมต่อวัน”ให้เป็นบัญชียาหลักอย่างเดียวนั้น พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เป็นประธานการประชุมหารือการจัดตั้งร้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ “การบูร”ด้วย อันรวมถึง “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรของบริษัทเอกชน ด้วย ใช่หรือไม่?
1.12 ปัจจุบันทางกรมการแพทย์แผนไทย ได้ใช้งบประมาณซื้อ “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรทั้งหมดจากใคร ได้ซื้อจากบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (Thai herb) ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ต้องมีคำถามต่อว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด เป็นเอกชน เพราะองค์การเภสัชกรรมถือหุ้นส่วนน้อยคือ 49%
การล็อกสเปกในเรื่องให้ใช้แต่ “สารสกัด”เท่านั้น ทำให้มีข้ออ้างได้หรือไม่ว่า ต้องซื้อ “สารสกัด”จากเอกชนได้ไม่กี่ราย และการเลือกเหลือบริษัทเอกชนรายเดียวที่องค์การเภสัชกรรมร่วมหุ้นส่วนน้อยอยู่ด้วยนั้น โดยสิทธิพิเศษของบริษัทเอกชนดังกล่าวนี้ บังเอิญในเว็บไซต์ของบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (Thai herb) มีกรรมการชื่อนายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต เป็นกรรมการด้วย ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขด้วย
กระบวนดังกล่าวอาจทำให้เกิดข้อครหาหรือข้อสงสัยถึงเหตุผลเบื้องหลัง ในการสนับสนุน “สารสกัด”อย่างเดียวหรือไม่ กระทรวงสาธารณสุขจึงควรปลดล็อกให้ใช้ “ผง”ฟ้าทะลายโจร และเปิดประมูลแข่งขันอย่างโปร่งใสดีกว่าหรือไม่?
1.13 ถึงแม้สมมุติว่างานวิจัยของคณะวิจัยมีเจตนาบริสุทธิ์ที่มุ่งหวังการเอาชนะโรคด้วย “สารสกัด”ในปริมาณที่สูง แต่เมื่อผนวกกับผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน ที่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุน “สารสกัด”ด้วย จึงย่อมต้องระวังในเรื่อง “การขัดกันแห่งผลประโยชน์”ทั้งทางตรงและทางอ้อมของคณะผู้วิจัยด้วย เพราะตลอดคำถามทั้ง 12 ข้อข้างต้นนั้นคณะผู้วิจัยดำเนินการโดยมีตรรกะที่ย้อนแย้งกันเองอยู่หลายประการ
เรื่องที่ 2 การกำหนดให้ผู้สั่งจ่ายยา “สารสกัด” และ “ผง” ฟ้าทะลายโจร โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ซึ่งไม่นิยมจ่ายฟ้าทะลายโจร หรืออาจไม่เคยจ่ายยามาก่อน) โดยตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการจ่ายฟ้าทะลายโจร สำหรับโรคโควิด-19 นั้นมีความเหมาะสมถูกต้องเพียงใด ซึ่งมีประเด็น “คำถามทางวิชาการ” ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งที่คิดว่า มีกฎหมายการกำหนด “วิชาชีพ” สำหรับโรคระบาดเอาไว้ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆกำหนดว่าห้าม “แพทย์แผนไทย” หรือ “แพทย์แผนไทยประยุกต์”ในการจ่ายยา และไม่มีข้อกฎหมายใดๆ กำหนดเอาไว้ว่า “ห้ามใช้ยาแผนไทย”หรือยาใดสำหรับโรคระบาด ที่ไม่ได้ผ่านงานวิจัยกันมาก่อน
2.2 ความจริงแล้วฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติมา 20 กว่าปี ตั้งแต่ปี 2542 และระบุว่า “บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ” ซึ่งเป็นอาการส่วนหนึ่งของโควิด-19 ที่สามารถรับประทานได้อยู่แล้ว และจ่ายได้ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพียงแต่ว่าแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่นิยมจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพราะไม่เคยจ่าย และไม่มีประสบการณ์ในการจ่ายยาประเภทนี้มาก่อน
ดังตัวอย่าง เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาลดไข้ในบัญชียาหลักแห่งชาติซึ่งใช้ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ถูกกักตัวนั้น ก็ไม่เคยต้องรอให้มีวิจัยก่อนว่า “ยาพาราเซตามอล” จะลดไข้ในโรคโควิด-19 หรือไม่ และไม่ต้องรอว่าพาราเซตามอลจะต้องขยายข้อบ่งใช้ว่าจะจ่ายได้ในคนที่มีไข้ที่เป็นโรคโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่
ประเด็นจึงไม่ใช่ปัญหาว่าฟ้าทะลายโจรจะต้องขยายข้อบ่งใช้ไปที่โรคโควิด-19 ในบัญชียาหลักหรือไม่
แต่ประเด็นคือแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่จ่ายยาให้คนไข้ด้วย “ฟ้าทะลายโจร”อยู่แล้ว แม้ต่อให้ขยายข้อบ่งใช้ไปถึงการรักษาโควิด-19 ก็ตาม เพราะในความเป็นจริงแพทย์แผนปัจจุบันก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้ฟ้าทะลายโจรมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ “ผง” หรือ “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรก็ตาม
ดังปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าแพทย์แผนปัจจุบันมีความไม่แน่ใจต่อฟ้าทะลายโจร เพราะไม่ปรากฏถึงวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรในคู่มือ “กรมการแพทย์”ซึ่งใช้กับแพทย์แผนปัจจุบันว่าด้วย “แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ฉบับปรับปรุงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564
มีเพียง “คำแนะนำอื่นๆ” ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในการใช้ฟ้าทะลายโจรว่า
“ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลของการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้ฟ้าทะลายโจร....การใช้การรักษาเหล่านี้ ยังไม่เป็นแนวทางมาตรฐาน การใช้ให้เป็นไปตามวิจารณญาณของแพทย์”
นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯอ้างได้ว่า ต้องการให้ “สารสกัด” ที่แพทย์แผนปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าเพื่อที่จะได้มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนในบัญชียาหลักจะได้มั่นใจในการใช้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจุบันฟ้าทะลายโจรยังอยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูล ซึ่งก็ยังไม่พบว่าคู่มือเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์จะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร ซึ่งสำหรับประเด็นนี้อยู่ดี
ดังนั้นคนที่จะจ่ายยาฟ้าทะลายโจร อย่างมีประสบการณ์ และเคยจ่ายยาฟ้าทะลายโจรมาก่อนย่อมต้องเป็นแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเมื่อตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกไป จากการจ่ายยาบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับโควิด-19 ใครจะเป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้คนไข้ต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น ฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาสามัญประจำบ้านที่สามารถซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยที่ใครๆก็สามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งจ่ายจากแพทย์ด้วยซ้ำ แม้ในเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมากก็พกฟ้าทะลายโจรมาบริโภคเองเสียด้วยซ้ำไป
2.3 เมื่อความจริงแล้วไม่มี “ข้อห้าม” ในการจ่ายฟ้าทะลายโจรตามกฎหมาย จึงทำให้เกิดการจ่ายยาขั้นต้นไปแล้ว 309 คน
ความจริงแล้วในกฎหมายควบคุมโรค “ไม่มีข้อห้ามวิชาชีพ” แพทย์แผนไทย ดังนั้นแพทย์แผนไทยประยุกต์ด้วย แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ย่อมสามารถจ่ายยา “ฟ้าทะลายโจร” อย่างเหมาะสมในฐานะผู้มีประสบการณ์โดยตรงมาตลอด
ดังนั้นจึงพบว่า แม้จะมีหลายโรงพยาบาลเลือกไม่จ่ายฟ้าทะลายโจร เพราะผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามไม่พร้อมเสี่ยงในการจ่ายยาที่ตัวเองไม่รู้จัก แต่ในขณะเดียกันก็มีบางโรงพยาบาลก็ได้ตัดสินใจมอบหมายให้แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจรด้วย เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ซึ่งแน่นอนว่าแม้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยรวม แต่อย่างน้อยการใช้ “วิจารณญาณ” มอบให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจ่ายยาฟ้าทะลายโจรมากกว่า จึงย่อมสามารถทำได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยได้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับ คู่มือเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์ ด้วยการ “เคารพ” วิชาชีพเพื่อบูรณาการประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
แต่การที่มีการกำหนด “สารสกัด” และ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ใช้ขนาดสูงถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน และลดจำนวนมื้อเหลือเพียง 3 ครั้งต่อวัน ทำให้เพิ่มจำนวนเม็ดที่ต้องกินฟ้าทะลายโจรมากขึ้นไปอีก
การเสนอตัวเลขมากขนาดนี้แต่เพียงอย่างเดียว ต่อให้แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ก็อาจจะไม่จ่ายยามากขนาดนี้ (เพราะอาจเกิดค่ามาตรฐานสูงสุดเพื่อความปลอดภัยที่เคยใช้กันมากว่า 20 ปีในการใช้ผงหยาบในบัญชียาหลักแห่งชาติ) และอาจตัดสินใจไม่จ่าย ”ผง” ฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 อีกต่อไป
เมื่อกำหนดตัวเลขสูงถึงเพียงนี้ จึงเท่ากับตัดหนทางในการใช้ “วิจารณญาณ” จ่าย “ผง”ฟ้าทะลายโจรของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ กรณีต้องการจ่ายยา “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่อาจบริโภคน้อยกว่า และปลอดภัยกว่าตามมาตรฐานเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัดแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ไม่ให้มีส่วนร่วมกับการจ่ายฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์แผนปัจจุบัน) ก็ย่อมต้องหมดหนทางใช้ “วิจารณญาณ” ที่จะให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีประสบการณ์เป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจร ทั้งแบบ “ผง” หรือ “สารสกัด”
คำถามคือด้วยวิธีการต่อไปนี้ใครจะเป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจร แม้กระทั่งคำถามที่ว่าใครจะจ่ายฟ้าทะลายโจรขนาดที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ ทั้งๆที่เคยจ่ายได้มาก่อน เมื่อมีข้อกำหนดเปรียบเทียบว่าปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่ในขณะที่ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาดถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน “เท่านั้น” ที่จะอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
การกระทำตัดทางเลือกทั้ง “ปริมาณ” ที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ตำ่กว่า 180 มิลลิกรัมต่อวัน (โดยเฉพาะ “ผง” ฟ้าทะลายโจร) รวมทั้งการกีดกันไม่ให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจ่ายฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 นั้น อาจสร้างปัญหาที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ ทั้งแพทย์เวชกรรม แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาจจะไม่จ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ได้
2.4 ด้วยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงทำให้นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีหนังสือที่ สธ 0401.7/2253 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “ข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาใช้ฟ้าทะลายโจรในการดูแลรักษา กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019(COVID-19)” โดยเหตุผลของการยื่นหนังสือครั้งนี้มีความชัดเจนว่าต้องการให้มีการนำ “ยาแผนไทย” มาบูรณาการด้วย ดังความตอนต้นของหนังสือฉบับดังกล่าวความว่า
“มีข้อเรียกร้องและคำแนะนำจากหลายฝ่าย ให้พิจารณาใช้ประโยชน์จากยาแผนไทย ฟ้าะทลายโจร ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน้อย ซึ่งอาจมีผลในการรักษาหรือลดโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น”...
นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 จึงได้เสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อว่า
“จึงได้เสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเชิงยุทธศาสตร์ ต่อการใช้ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในทางที่จะให้มีการใช้ยา ภายใต้คำแนะนำ รวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อได้ข้อมูลอ้างอิง สำหรับการพิจารณา ปรับแนวทางเวชปฏิบัติฯ ในโอกาสที่เหมาะสม ทั้งนี้โดยการร่วมพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข”
แต่การที่อนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ได้กำหนด “ตัดหน้า” ให้มีแต่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกไปนั้น ย่อมทำให้คู่มือเวชปฏิบัติที่อาจมีการปรับปรุงนั้นพบอุปสรรคสำคัญ เพราะไม่สามารถให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์มาร่วมรับผิดชอบหรือบูรณาการตามฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพได้
ทั้งนี้ การกีดกั้นทางวิชาชีพการแพทย์แผนไทยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เนื่องด้วยอาจเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 55 ซึ่งบัญญัติเอาไว้ให้นำการแทพย์แผนไทยในการทั้งป้องกันและรักษาโรคด้วย ความว่า
“รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย”
ดังนั้นหากจะทำการแก้ไขปัญหาฟ้าทะลายโจรนั้น นอกจากจะต้องมีนโยบายและคำสั่งอย่างเร่งด่วนให้นำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาร่วมบูรณาการในคู่มือเวชปฏิบัติอย่างสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยแล้ว ยังจะต้องแก้ไขผลของมติอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นกำหนดให้ใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ “ไม่เกิน” 180 มิลลิกรัมต่อวัน และยกเลิกหมายเหตุการกำหนดเฉพาะ “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ออกไปเสียหรือไม่ก็ต้องมีแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์จ่ายสารสกัด หรือผงฟ้าทะลายโจรได้ด้วย เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ประการแรก ให้ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจร และยาจาก “ผง” ฟ้าทะลายโจร ที่มีสารแดนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง เพื่อใช้กับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง
ประการที่สอง ทั้ง “สารสกัด”และ “ผง” จากฟ้าทะลายโจร ได้ปรากฏหมายเหตุให้ใช้ได้โดย “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” (แพทย์แผนปัจจุบัน) อย่างเดียว (ซึ่งตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์) ออกจากการจ่าย “สารสกัด” และ “ผง”ฟ้าทะลายโจรในโรคโควิด-19
ซึ่งล่าสุด วันที่ 2 มิถุนายน 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ให้ “สารสกัด” และ “ผง”ฟ้าทะลายโจร เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติใช้รักษาโควิด-19 สั่งจ่ายยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยไม่มีแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์มาเกี่ยวข้อง
โดยก่อนหน้าที่จะมีมติดังกล่าวข้างต้น ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้มีหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ สธ 059/2723 ถึงประธานอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ผ่านคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง) ให้รับประทานยาเฉพาะ “ยาสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แต่เพียงอย่างเดียวสำหรับรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยไม่ได้เสนอ “ผง” ฟ้าทะลายโจรเข้ามาด้วยแต่ประการใด
แสดงให้เห็นว่าข้อเสนอเรื่อง “ผง” ฟ้าทะลายโจรในมติของอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 นั้น “ไม่ได้มาจาก” ข้อเสนออธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเลย เพราะในวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯเสนอแต่ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจรเท่านั้น
จากเหตุการณ์ข้างต้นจึงมีประเด็นสารสำคัญ 2 เรื่องสำคัญ คือ เรื่องที่หนึ่ง ประด็นการกำหนดให้ประชาชนบริโภคสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน และเรื่องที่สอง ปัญหาการกีดกันวิชาชีพการแพทย์แผนไทยไม่ให้มาจ่ายยาฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ดังนี้
เรื่องที่ 1 ทำไมต้องใช้ “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ในขนาด “180 มิลลิกรัม” ต่อวัน ในการใช้กับโควิด-19 เป็นบัญชียาหากแต่ “เพียงอย่างเดียว” มีความเหมาะสมตามหลักวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ จริงหรือไม่? มีประเด็น “คำถามทางวิชาการ” ดังต่อไปนี้
1.1 งานวิจัยในหลอดทดลองของ ดร.สุภาพร ภูมิอมร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี 2563 พบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร สามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 15.6 เท่าตัว
เหตุใดอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงเสนอเฉพาะ “สารสกัด” เท่านั้น ในการใช้กับโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติ?
1.2 งานวิจัยในหลอดทดลองของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทาง Natural Products อยู่ภายใต้ประชาสังคมเคมีแห่งอเมริกัน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 ว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร มีความปลอดภัยต่อเซลล์ตับ ไต ลำไส้เล็ก ปอด สมอง ดีกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์จากฟ้าทะลายโจร
เหตุใดอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงเสนอเฉพาะ “สารสกัดอย่างเดียว” ในการใช้กับโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติ?
1.3 เมื่อ “ผง”ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีผลการวิจัยในหลอดทดลอง พบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจร มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อโควิด-19ได้ดีกว่า และปลอดภัยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์
เหตุใดแทนที่จะ “เริ่มต้นกำหนด” จากปริมาณ “ผง”ฟ้าทะลายโจร กลับกำหนดที่ “สารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์” ที่ต้องกินมากกว่าและปลอดภัยน้อยกว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจร และ “ผง” ยังมี “ราคาถูกกว่า”ด้วย เพราะอะไร?
1.4 นักวิจัยของกรมการแแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อ้างว่าการเริ่มต้นกำหนดตัวสารแอนโดรกราโฟไลด์ “180 มิลลิกรัมต่อวัน”เพื่อหวังผลสำเร็จในการรักษา มาจากการ “คาดการณ์” จาก “หลอดทดลอง” เหมาะสมจริงหรือไม่?
เพราะแม้จะอ้างว่าตัวเลขสารแอนโดรกราโฟไลด์ 30 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 60 มิลลิกรัมต่อวันน้อยเกินไปเมื่อเทียบในหลอดทดลอง แต่ในความเป็นจริงยังมีตัวเลขมากกว่านี้ที่สามารถใช้ได้ เช่น ทำไมไม่ใช้ตัวเลข 100 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 120 มิลลิกรัมต่อวัน ทำไมจะต้องคาดเดาจากตัวเลขสารแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงการกำหนดใช้ในมนุษย์ได้นั้น จะต้องถูกกำหนดจากการทดลองจาก “สัตว์ทดลอง” เพื่อเทียบเคียงคำนวณ “น้ำหนักยา” กลับมาในการใช้จริงในมนุษย์
และเนื่องด้วยการทดสอบในหลอดทดลองพบว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อเทียบกับ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์ แต่การกำหนดการใช้ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ในมนุษย์ด้วยการใช้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยอ้างเพียง “หลอดทดลอง” เพื่อหวังผลการรักษาโควิด-19 เป็นการกำหนดที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจริงหรือไม่?
ตัวอย่างเช่น หากมี “ตรรกะ” การวิจัยโดยอ้างปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่สูงถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน จากการวิจัยเพียง “หลอดทดลอง” อย่างที่ทำเช่นนี้ได้จริงๆแล้ว กรมการแพทย์แผนไทยฯ “ก็ต้องกำหนด” ปริมาณการใช้ ”ผง” ฟ้าทะลายโจร ให้น้อยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ลดลงไปถึง 15.6 เท่าตัวด้วย ใช่หรือไม่ (จะได้เหลือสารแอนโดรกราโฟไลด์ 11.5 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น)
ซึ่งแน่นอนว่าการคำนวณบัญญัติไตรยางค์จาก “หลอดทดลอง” แบบนี้ย่อมทำไม่ได้ในทางวิชาการ เพราะการทดลองใน “หลอดทดลอง” นั้น เป็นคนละเรื่องกับสิ่งมีชีวิตทั้งประสิทธิภาพ และความปลอดภัย จริงหรือไม่ (นอกจากรู้เบื้องต้นว่ามีกลไกในการยับยั้งเชื้อโควิด-19 และสิ่งใดดีกว่าสิ่งใดระหว่างผงกับสารสกัดในหลอดทดลอง) ดังนั้นการ “คาดการณ์” ปริมาณ “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ มากถึง 180 มิลลิกรัม ก็อาจจะไม่ถูกต้อง หรืออาจจะมากเกินไป หรืออาจจะไม่เหมาะสมด้วย ใช่หรือไม่?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุใดทางกรมการแพทย์แผนไทยไม่ทดสอบเปรียบเทียบกับ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่สูงที่สุดเท่าที่เคยยอมรับว่ามีการปลอดภัยสำหรับคนไทยควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมาก
1.5 การทดสอบของกรมการแพทย์แผนไทยกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 5 คนแรก รายงานโดย น.พ.กุลธนิต วนรัตน์ เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เพื่อดูความปลอดภัยในการใช้ “สารสกัด” ในปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 180 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่า
อาสาสมัคร 1 ราย มีค่าการทำงานของตับ (ALT) เพิ่มสูงเป็น 1.7 เท่าของค่าปกติ!!! ในขณะที่อาสาสมัคร 1 ราย ที่มีแนวโน้มของค่าการทำงานของตับ (AST) และ ALT สูงขึ้นแต่ไม่เกินค่าปกติ
แสดงว่ามีถึง 2 คนจาก 5 คนมีค่าการทำงานของตับเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในหลอดทดลองว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์มีความปลอดภัยน้อยกว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจร
จนถึงขนาด บทสรุปของ น.พ.กุลธนิต วนรัตน์ ผู้วิจัยก็ได้รายงานเองในข้อสรุปว่า…
“การรับประทาน “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรขนาดสูง อาจมีผลต่อค่าการทำงานของตับ” ควรเฝ้าระวังค่าการทำงานของตับในการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง”
เมื่อมาถึงการพบการทำงานของตับที่ทำงานมากเกินปกติโดยการใช้ “สารสกัด” เหตุใดกรมการแพทย์แผนไทยฯยังไม่พิจารณา “ผง”ฟ้าทะลายโจรที่มีเบาะแสจากหลอดทดลองว่ายับยั้งเชื้อโควิดได้ดีกว่าและปลอดภัยกว่า “สารสกัด” ให้มาทดสอบกับตัวอย่างเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทำงานของตับ
และเหตุใดจึงยังเดินหน้าเสนอเฉพาะ ”สารสกัด” ฟ้าทะลายในการเป็นบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างเดียว โดยไม่แม้แต่เสนอ “ผง” ฟ้าทะลายโจรเข้าไปด้วย ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564
1.6 การทดสอบใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คน พบว่าลดอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อโควิด-19 มีเพียง 0.97% เท่านั้น เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ฟ้าทะลายโจรมีอาการเชื้อลงปอดประมาณ 14% ซึ่งมีการใช้ทั้ง “ผง” ฟ้าทะลายโจร และ “สารสกัด” จากฟ้าทะลายโจร แม้จะดูประสบความสำเร็จและน่ายินดีต่อการรักษาดังกล่าว แต่เมื่อไม่ได้มีการตรวจค่าการทำงานของตับ เหมือนการทดสอบ 5 คนแรก จึงเกิดคำถามว่าการใช้ “สารสกัด” จะมีผลต่อค่าการทำงานของตับจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งยังเป็นปัญหา “ความปลอดภัย” ในปริมาณที่เหมาะสมที่ควรจะใช้กับผู้ป่วย
1.7 เมื่อการทดสอบใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คนนั้น มีทั้งการใช้ “สารสกัด” และการใช้ “ผง”จากฟ้าทะลายโจร เหตุใดเมื่ออธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ มีการยื่นคำขอเพื่อการใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 จึงได้เสนอแต่ “สารสกัด”ไปแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเหตุใดจึงไม่มีการยื่นยาที่มาจาก “ผง”ฟ้าทะลายโจรไปด้วย
1.8 มักมีการกล่าวอ้างในคำชี้แจงจากคนในกรมการแพทย์แผนไทยฯว่า เพราะ “ผงฟ้าทะลายโจร” มีความไม่แน่นอน ลุ่มๆดอนๆ ทำให้มีบางรายเกิดอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อลงปอดนั้น ความจริงข้อนี้ ขัดแย้งกับงานวิจัยในหลอดทดลองที่ว่า “ผง”ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าสารสกัดแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 15.6 เท่าตัว
นอกจากนั้นในอีกประการหนึ่งการกล่าวดีสเครดิตฟ้าทะลายโจรแบบ “ผง” นั้นดูจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงในการทดลองกับผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 309 คน ซึ่งมีทั้งการใช้แบบ “ผง” และ “สารสกัด” โดยมีอาการปอดอักเสบ 3 ราย ดังนั้นการนำเสนอดังกล่าวดูจะเป็นการดีสเครดิตที่ขัดแย้งกับผลการทดสอบเอง
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ 3 ราย จาก 309 รายนั้น แท้ที่จริงแล้ว 1 รายมาจากผู้ที่มีการใช้ยาตทำกว่าเกณฑ์ใช่หรือไม่ ในขณะที่อีก 2 รายนั้น มาจากการใช้ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์ตามเกณฑ์ นั่นหมายความว่าอาการเชื้อลงปอด หรือปอดอักเสบแม้มีเพียง 2 รายนั้น ก็มาจากผู้ที่ใช้ “สารสกัด” ทั้งสิ้น และไม่พบว่าผู้ที่มีอาการปอดอักเสบ หรือเชื้อลงปอด มาจากผู้ที่ใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจร จริงหรือไม่?
1.9 เมื่อทราบจากงานวิจัยในหลอดทดลองว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์ถึง 15 เท่าตัว และปลอดภัยกว่า “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์
แต่สิ่งที่ต้องคำนึงในประเด็นที่สำคัญคือปริมาณสูงสุดในมาตรฐานต่ำสุดตามที่กฎหมายกำหนดคุณภาพของฟ้าทะลายโจรนั้นเป็นอย่างไร เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะต้องมีความปลอดภัยเป็นลำดับแรก เหนือกว่าการ ”เร่ง” ด้วยการใช้ปริมาณสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่มีหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยหรือไม่
ทั้งนี้ มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรในบัญชียาหลักแห่งชาติในการใช้สำหรับรักษาโรคหวัด เจ็บคอ ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้เกี่ยวกับสารแอนโดรกราโฟไลด์ว่าจะต้องมีไม่น้อยกว่า “ร้อยละ 1” ของน้ำหนักผงฟ้าทะลายโจร
นอกจากนั้นมาตรฐานในบัญชียาหลักยังกำหนดฟ้าทะลายโจรสำหรับรักษาโรคหวัด เจ็บคอว่าให้รับประทานครั้งละ 1.5 -3 กรัม วันละ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่ถูกกำหนดเอาไว้โดยกฎหมาย
นั่นหมายความว่าหากยึด “มาตรฐานแอนโดรกราโฟไลด์ต่ำสุด”ตามที่กฎหมายกำหนดคือ 1% และกินผงฟ้าทะลายโจรได้ “สูงสุด” ไม่เกิน 3 กรัม และหากกินได้วันละ 4 ครั้ง แปลว่าวันหนึ่งจะกินผงฟ้าทะลายโจร “สูงสุด”ไม่เกิน 12 กรัม (12,000 มิลลิกรัม) โดยหากมีสารแอนโดรกราโฟไลด์ 1% ก็จะไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น หรือหากใช้แคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัม ก็จะบริโภคได้มาก “สูงสุด” ไม่เกินวันละ 30 แคปซูล และเมื่อหาร 4 ครั้ง ก็ตกครั้งละประมาณ 7.5 แคปซูล
เหตุใดจึงไม่ทำการทดลอง “ผง”ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดคือ “120 มิลลิกรัม” ซึ่งไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานที่จะกีดกันได้ว่าหากใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์เพียง 120 มิลลิกรัมต่อวัน (ซึ่งมีความปลอดภัยมาหลายสิบปี) จะไม่ได้ผลต่อการรักษาเมื่อเทียบกับ “สารสกัด”แอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน
ดังนั้นการกำหนดเอาไว้ให้มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้ได้มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวันนั้น จึงเป็นการกำหนด ”สเปก” เกินเกณฑ์ให้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ ให้ไม่สามารถจะบริโภคได้สารแอนโดรกราโฟไลด์ได้ถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน ใช่หรือไม่?
เพราะนั่นหมายความว่า “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ผ่านเกณฑ์สารแอนโดรกราโฟไลด์ขั้นต่ำอาจจะต้องบริโภค “ผง” ฟ้าทะลายโจร ถึงวันละ 18 กรัมต่อวัน (เกินค่าความปลอดภัยที่ให้ไม่เกินวันละ 12 กรัมต่อวัน) หรือคิดประมาณแคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัมมากถึง 45 แคปซูล (มากเกินไปถึง 15 แคปซูลเมื่อเทียบกับสูงสุดของผงฟ้าทะลายโจรที่กินได้สูงสุดไม่เกิน 30 แคปซูลต่อวัน)
และเมื่อมีการกำหนดในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับ “ผง” ฟ้าทะลายโจรต้องกินมากถึง 18 กรัมต่อวัน หากหารสี่มื้อ จะได้ครั้งละ 4.5 กรัม หรือมื้อละ 12 แคปซูล ซึ่งเกินเกณฑ์สูงสุดครั้งละไม่เกิน 3 กรัม 7.5 แคปซูล ตามเกณฑ์สูงสุดของบัญชียาหลักในโรคหวัดอยู่ดี แน่ใจหรือว่าการกำหนดให้กินวิธีการดังกล่าวจะมีความปลอดภัยจริง และจะมีใครกล้าจ่ายยา ”ผง” ฟ้าทะลายโจรในปริมาณที่ไม่เคยมีการใช้กันมาก่อนในรอบ 20 ปีว่ามีความปลอดภัยจริง
และสถานการณ์ในวันนี้ เลวร้ายกว่านั้น คือ คณะอนุกรรมการฯบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้ตั้งอนุมัติเกณฑ์ การกิน “ผง” ฟ้าทะลายโจรสำหรับโควิด-19 ตามรูปแบบของ “สารสกัด” ว่าให้กินสารแอนโดรกราโฟไลด์ให้ได้ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แล้วยัง “ลดจำนวนมื้อต่อวัน”ให้กิน “ผง” ฟ้าทะลายโจร ลดลงจาก 4 ครั้งต่อวันของโรคหวัด เหลือ 3 ครั้งต่อวัน (ตามเกณฑ์ล่าสุดสำหรับโควิด-19)
ซึ่งพบว่าเกณฑ์ใหม่นี้ต้องกิน “ผง” ฟ้าทะลายโจรมากกว่านั้นเป็น 6 กรัมต่อครั้ง ซึ่งเป็นการกินเกินไปถึง 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับมาตรฐาน “สูงสุด” ไม่เกิน 3 กรัมต่อครั้งของโรคหวัด ซึ่งไม่มีใครยืนยันได้ว่าการกินมากกว่ามาตรฐานที่คนไทยใช้กันมานานกว่า 20 ปีนั้น จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้เสียหายในการกิน “ผง”ฟ้าทะลายโจรในที่สุดหรือไม่?
1.10 ในความเป็นจริงแล้วตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้แจก “สารสกัด” แอนโดรกราโฟไลด์ที่ 180 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการน้อยเท่านั้น หากแต่ยังมีการแจก “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 60 มิลลิกรัมต่อวันด้วย โดยได้จ่ายให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ “ไม่มีอาการ” ซึ่งเป็นขนาดที่ “ผง”ฟ้าทะลายโจรสามารถจ่ายทดแทนได้เช่นกัน
แต่กลับปรากฏว่าอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เสนอขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติไปเพียงแค่ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรที่มีแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 180 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น แต่กลับไม่เสนอ “สารสกัด” ที่ได้มีการใช้ขนาดสารแอนโดรกราโฟไลด์ที่ 60 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการเลย
ประเด็นดังกล่าวจึงน่าตั้งคำถามว่า การเสนอเลือกเฉพาะ “สารสกัด” ในขนาดที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์มากถึง 180 มิลลิกรัมต่อวันเพียงอย่างเดียว เป็นเพราะไม่ให้เกิดการใช้ “ผง” ฟ้าทะลายโจรได้มีช่องว่างให้กับผู้ป่วยโควิด-19 เลยใช่หรือไม่ (แม้กระทั่งผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ) ด้วยเหตุผลใด?
1.11 จากคำถามทั้งหมดข้างต้น ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงเบื้องหลัง การที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ สนับสนุนแต่ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรทั้งๆที่ในหลอดทดลองพบว่า ปลอดภัยน้อยกว่า และต้องบริโภคมากกว่าในการรักษาโควิด-19 นั้น มีความสัมพันธ์อย่างไรกับ กรณีที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ทำพิธีลงนามร่วมกับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ชื่อ บริษัท มอร์ เมดดิคัล จำกัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรในแบรนด์ “การบูร”
คำถามคือความสัมพันธ์ที่กรมการแพทย์แผนไทยฯ เลือกไปสนับสนุนเอกชนรายหนึ่งที่ผลิต “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรตั้งแต่ปี 2563 นั้น มีการจัดสรรผลประโยชน์ในแบรนด์ “การบูร” ให้กับใคร และใครหรือองค์กรมูลนิธิของใคร เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ในการสนับสนุนของกรมการแพทย์แผนไทยฯครั้งนั้นมาจนถึงทุกวันนี้
ถ้าคำตอบคือ บุคลากรหรือองค์กรที่เกี่ยวกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ“ไม่มีผลประโยชน์ใดๆ”ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก็ต้องตั้งคำถามต่อไปว่าสนับสนุนเอกชนรายเดียวในเรื่อง “สารสกัด” เช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ และถ้าหากคำตอบคือ “กรมแพทย์แผนไทยฯ ได้รับประโยชน์หรือมูลนิธิใดได้รับประโยชน์ที่อาจเกี่ยวกับบุคคลในกรมการแพทย์แผนไทยฯ” ก็ต้องถามว่าการเสนอ “สารสกัด“ ขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติที่ผ่าน มาเป็นผลประโยชน์”ทับซ้อนหรือไม่?
ข้อสังเกตคือเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ก่อนที่อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ จะได้ยื่น “สารสกัด 180 มิลลิกรัมต่อวัน”ให้เป็นบัญชียาหลักอย่างเดียวนั้น พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เป็นประธานการประชุมหารือการจัดตั้งร้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ “การบูร”ด้วย อันรวมถึง “สารสกัด” ฟ้าทะลายโจรของบริษัทเอกชน ด้วย ใช่หรือไม่?
1.12 ปัจจุบันทางกรมการแพทย์แผนไทย ได้ใช้งบประมาณซื้อ “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรทั้งหมดจากใคร ได้ซื้อจากบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (Thai herb) ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ต้องมีคำถามต่อว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด เป็นเอกชน เพราะองค์การเภสัชกรรมถือหุ้นส่วนน้อยคือ 49%
การล็อกสเปกในเรื่องให้ใช้แต่ “สารสกัด”เท่านั้น ทำให้มีข้ออ้างได้หรือไม่ว่า ต้องซื้อ “สารสกัด”จากเอกชนได้ไม่กี่ราย และการเลือกเหลือบริษัทเอกชนรายเดียวที่องค์การเภสัชกรรมร่วมหุ้นส่วนน้อยอยู่ด้วยนั้น โดยสิทธิพิเศษของบริษัทเอกชนดังกล่าวนี้ บังเอิญในเว็บไซต์ของบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (Thai herb) มีกรรมการชื่อนายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต เป็นกรรมการด้วย ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุขด้วย
กระบวนดังกล่าวอาจทำให้เกิดข้อครหาหรือข้อสงสัยถึงเหตุผลเบื้องหลัง ในการสนับสนุน “สารสกัด”อย่างเดียวหรือไม่ กระทรวงสาธารณสุขจึงควรปลดล็อกให้ใช้ “ผง”ฟ้าทะลายโจร และเปิดประมูลแข่งขันอย่างโปร่งใสดีกว่าหรือไม่?
1.13 ถึงแม้สมมุติว่างานวิจัยของคณะวิจัยมีเจตนาบริสุทธิ์ที่มุ่งหวังการเอาชนะโรคด้วย “สารสกัด”ในปริมาณที่สูง แต่เมื่อผนวกกับผลประโยชน์ของบริษัทเอกชน ที่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุน “สารสกัด”ด้วย จึงย่อมต้องระวังในเรื่อง “การขัดกันแห่งผลประโยชน์”ทั้งทางตรงและทางอ้อมของคณะผู้วิจัยด้วย เพราะตลอดคำถามทั้ง 12 ข้อข้างต้นนั้นคณะผู้วิจัยดำเนินการโดยมีตรรกะที่ย้อนแย้งกันเองอยู่หลายประการ
เรื่องที่ 2 การกำหนดให้ผู้สั่งจ่ายยา “สารสกัด” และ “ผง” ฟ้าทะลายโจร โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ซึ่งไม่นิยมจ่ายฟ้าทะลายโจร หรืออาจไม่เคยจ่ายยามาก่อน) โดยตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ในการจ่ายฟ้าทะลายโจร สำหรับโรคโควิด-19 นั้นมีความเหมาะสมถูกต้องเพียงใด ซึ่งมีประเด็น “คำถามทางวิชาการ” ดังต่อไปนี้
2.1 เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งที่คิดว่า มีกฎหมายการกำหนด “วิชาชีพ” สำหรับโรคระบาดเอาไว้ เพราะไม่มีกฎหมายใดๆกำหนดว่าห้าม “แพทย์แผนไทย” หรือ “แพทย์แผนไทยประยุกต์”ในการจ่ายยา และไม่มีข้อกฎหมายใดๆ กำหนดเอาไว้ว่า “ห้ามใช้ยาแผนไทย”หรือยาใดสำหรับโรคระบาด ที่ไม่ได้ผ่านงานวิจัยกันมาก่อน
2.2 ความจริงแล้วฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติมา 20 กว่าปี ตั้งแต่ปี 2542 และระบุว่า “บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ” ซึ่งเป็นอาการส่วนหนึ่งของโควิด-19 ที่สามารถรับประทานได้อยู่แล้ว และจ่ายได้ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพียงแต่ว่าแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่นิยมจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพราะไม่เคยจ่าย และไม่มีประสบการณ์ในการจ่ายยาประเภทนี้มาก่อน
ดังตัวอย่าง เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาลดไข้ในบัญชียาหลักแห่งชาติซึ่งใช้ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ถูกกักตัวนั้น ก็ไม่เคยต้องรอให้มีวิจัยก่อนว่า “ยาพาราเซตามอล” จะลดไข้ในโรคโควิด-19 หรือไม่ และไม่ต้องรอว่าพาราเซตามอลจะต้องขยายข้อบ่งใช้ว่าจะจ่ายได้ในคนที่มีไข้ที่เป็นโรคโควิด-19 ในบัญชียาหลักแห่งชาติหรือไม่
ประเด็นจึงไม่ใช่ปัญหาว่าฟ้าทะลายโจรจะต้องขยายข้อบ่งใช้ไปที่โรคโควิด-19 ในบัญชียาหลักหรือไม่
แต่ประเด็นคือแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่จ่ายยาให้คนไข้ด้วย “ฟ้าทะลายโจร”อยู่แล้ว แม้ต่อให้ขยายข้อบ่งใช้ไปถึงการรักษาโควิด-19 ก็ตาม เพราะในความเป็นจริงแพทย์แผนปัจจุบันก็ยังไม่มีประสบการณ์ในการใช้ฟ้าทะลายโจรมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ “ผง” หรือ “สารสกัด”ฟ้าทะลายโจรก็ตาม
ดังปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าแพทย์แผนปัจจุบันมีความไม่แน่ใจต่อฟ้าทะลายโจร เพราะไม่ปรากฏถึงวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรในคู่มือ “กรมการแพทย์”ซึ่งใช้กับแพทย์แผนปัจจุบันว่าด้วย “แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ฉบับปรับปรุงเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564
มีเพียง “คำแนะนำอื่นๆ” ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในการใช้ฟ้าทะลายโจรว่า
“ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลของการรักษาอื่นๆ เช่น การใช้ฟ้าทะลายโจร....การใช้การรักษาเหล่านี้ ยังไม่เป็นแนวทางมาตรฐาน การใช้ให้เป็นไปตามวิจารณญาณของแพทย์”
นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯอ้างได้ว่า ต้องการให้ “สารสกัด” ที่แพทย์แผนปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าเพื่อที่จะได้มีข้อบ่งใช้ที่ชัดเจนในบัญชียาหลักจะได้มั่นใจในการใช้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจุบันฟ้าทะลายโจรยังอยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูล ซึ่งก็ยังไม่พบว่าคู่มือเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์จะเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร ซึ่งสำหรับประเด็นนี้อยู่ดี
ดังนั้นคนที่จะจ่ายยาฟ้าทะลายโจร อย่างมีประสบการณ์ และเคยจ่ายยาฟ้าทะลายโจรมาก่อนย่อมต้องเป็นแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเมื่อตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกไป จากการจ่ายยาบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับโควิด-19 ใครจะเป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้คนไข้ต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น ฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาสามัญประจำบ้านที่สามารถซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยที่ใครๆก็สามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งจ่ายจากแพทย์ด้วยซ้ำ แม้ในเวลาที่ผ่านมาผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมากก็พกฟ้าทะลายโจรมาบริโภคเองเสียด้วยซ้ำไป
2.3 เมื่อความจริงแล้วไม่มี “ข้อห้าม” ในการจ่ายฟ้าทะลายโจรตามกฎหมาย จึงทำให้เกิดการจ่ายยาขั้นต้นไปแล้ว 309 คน
ความจริงแล้วในกฎหมายควบคุมโรค “ไม่มีข้อห้ามวิชาชีพ” แพทย์แผนไทย ดังนั้นแพทย์แผนไทยประยุกต์ด้วย แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ย่อมสามารถจ่ายยา “ฟ้าทะลายโจร” อย่างเหมาะสมในฐานะผู้มีประสบการณ์โดยตรงมาตลอด
ดังนั้นจึงพบว่า แม้จะมีหลายโรงพยาบาลเลือกไม่จ่ายฟ้าทะลายโจร เพราะผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนามไม่พร้อมเสี่ยงในการจ่ายยาที่ตัวเองไม่รู้จัก แต่ในขณะเดียกันก็มีบางโรงพยาบาลก็ได้ตัดสินใจมอบหมายให้แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจรด้วย เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ซึ่งแน่นอนว่าแม้ผู้อำนวยการโรงพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยรวม แต่อย่างน้อยการใช้ “วิจารณญาณ” มอบให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจ่ายยาฟ้าทะลายโจรมากกว่า จึงย่อมสามารถทำได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยได้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับ คู่มือเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์ ด้วยการ “เคารพ” วิชาชีพเพื่อบูรณาการประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
แต่การที่มีการกำหนด “สารสกัด” และ “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่ใช้ขนาดสูงถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน และลดจำนวนมื้อเหลือเพียง 3 ครั้งต่อวัน ทำให้เพิ่มจำนวนเม็ดที่ต้องกินฟ้าทะลายโจรมากขึ้นไปอีก
การเสนอตัวเลขมากขนาดนี้แต่เพียงอย่างเดียว ต่อให้แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์ก็อาจจะไม่จ่ายยามากขนาดนี้ (เพราะอาจเกิดค่ามาตรฐานสูงสุดเพื่อความปลอดภัยที่เคยใช้กันมากว่า 20 ปีในการใช้ผงหยาบในบัญชียาหลักแห่งชาติ) และอาจตัดสินใจไม่จ่าย ”ผง” ฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 อีกต่อไป
เมื่อกำหนดตัวเลขสูงถึงเพียงนี้ จึงเท่ากับตัดหนทางในการใช้ “วิจารณญาณ” จ่าย “ผง”ฟ้าทะลายโจรของแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ กรณีต้องการจ่ายยา “ผง” ฟ้าทะลายโจรที่อาจบริโภคน้อยกว่า และปลอดภัยกว่าตามมาตรฐานเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัดแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ไม่ให้มีส่วนร่วมกับการจ่ายฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 ด้วย แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์แผนปัจจุบัน) ก็ย่อมต้องหมดหนทางใช้ “วิจารณญาณ” ที่จะให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีประสบการณ์เป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจร ทั้งแบบ “ผง” หรือ “สารสกัด”
คำถามคือด้วยวิธีการต่อไปนี้ใครจะเป็นผู้จ่ายยาฟ้าทะลายโจร แม้กระทั่งคำถามที่ว่าใครจะจ่ายฟ้าทะลายโจรขนาดที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ ทั้งๆที่เคยจ่ายได้มาก่อน เมื่อมีข้อกำหนดเปรียบเทียบว่าปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ 60 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่ในขณะที่ปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาดถึง 180 มิลลิกรัมต่อวัน “เท่านั้น” ที่จะอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ
การกระทำตัดทางเลือกทั้ง “ปริมาณ” ที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ตำ่กว่า 180 มิลลิกรัมต่อวัน (โดยเฉพาะ “ผง” ฟ้าทะลายโจร) รวมทั้งการกีดกันไม่ให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการจ่ายฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 นั้น อาจสร้างปัญหาที่ใหญ่ไปกว่านั้นคือ ทั้งแพทย์เวชกรรม แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ อาจจะไม่จ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ได้
2.4 ด้วยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงทำให้นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีหนังสือที่ สธ 0401.7/2253 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “ข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาใช้ฟ้าทะลายโจรในการดูแลรักษา กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019(COVID-19)” โดยเหตุผลของการยื่นหนังสือครั้งนี้มีความชัดเจนว่าต้องการให้มีการนำ “ยาแผนไทย” มาบูรณาการด้วย ดังความตอนต้นของหนังสือฉบับดังกล่าวความว่า
“มีข้อเรียกร้องและคำแนะนำจากหลายฝ่าย ให้พิจารณาใช้ประโยชน์จากยาแผนไทย ฟ้าะทลายโจร ในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการน้อย ซึ่งอาจมีผลในการรักษาหรือลดโอกาสที่อาการจะรุนแรงขึ้น”...
นายแพทย์สมหวัง ด่านชัยวิจิตร ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 จึงได้เสนอต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อว่า
“จึงได้เสนอแนะต่อกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเชิงยุทธศาสตร์ ต่อการใช้ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในทางที่จะให้มีการใช้ยา ภายใต้คำแนะนำ รวมทั้งมีการติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อได้ข้อมูลอ้างอิง สำหรับการพิจารณา ปรับแนวทางเวชปฏิบัติฯ ในโอกาสที่เหมาะสม ทั้งนี้โดยการร่วมพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข”
แต่การที่อนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ได้กำหนด “ตัดหน้า” ให้มีแต่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยตัดแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ออกไปนั้น ย่อมทำให้คู่มือเวชปฏิบัติที่อาจมีการปรับปรุงนั้นพบอุปสรรคสำคัญ เพราะไม่สามารถให้แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์มาร่วมรับผิดชอบหรือบูรณาการตามฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพได้
ทั้งนี้ การกีดกั้นทางวิชาชีพการแพทย์แผนไทยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เนื่องด้วยอาจเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 55 ซึ่งบัญญัติเอาไว้ให้นำการแทพย์แผนไทยในการทั้งป้องกันและรักษาโรคด้วย ความว่า
“รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี ประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคและส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องครอบคลุม การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย”
ดังนั้นหากจะทำการแก้ไขปัญหาฟ้าทะลายโจรนั้น นอกจากจะต้องมีนโยบายและคำสั่งอย่างเร่งด่วนให้นำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาร่วมบูรณาการในคู่มือเวชปฏิบัติอย่างสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อยแล้ว ยังจะต้องแก้ไขผลของมติอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นกำหนดให้ใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ “ไม่เกิน” 180 มิลลิกรัมต่อวัน และยกเลิกหมายเหตุการกำหนดเฉพาะ “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” ออกไปเสียหรือไม่ก็ต้องมีแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์จ่ายสารสกัด หรือผงฟ้าทะลายโจรได้ด้วย เพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้
ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต