สถานการณ์โควิดยังวิกฤต ติดเชื้อเพื่ม 4,528 ราย ตาย 24 ราย 'วิษณุ' เผย มหาดไทยเล็งแก้ระเบียบ ปลดล็อก อปท. ซื้อวัคซีนโควิด ไม่ต้องขอครม. โพลชี้คนไทยต้องการวัคซีนเข็มแรกถ้วนหน้า สร้างความเชื่อมั่น เพื่อเปิดประเทศ ฟื้นฟูศก.
วานนี้ (30พ.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4,528 ราย จำแนกเป็น ติดชื้อใหม่ 2,626 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,902 ราย เสียชีวิต 24 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,933 ราย ผู้ป่วยสะสม 125,444 ราย (ตั้งแต่ 1 เม.ย.) โดยจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่สูงสุด เป็นดังนี้
1. กรุงเทพฯ 754 ราย 2.เพชรบุรี 754 ราย3.สมุทรปราการ 264 ราย 4.นนทบุรี 139 ราย 5.ชลบุรี 90 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิต 24 ราย เป็นชาย 11 ราย หญิง 13 ราย โดยอยู่ใน กทม.14 ราย นนทบุรี 3 ราย ชลบุรี 2 ราย เชียงใหม่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช อย่างละ 1 ราย
มท.เล็งปลดล็อกให้อปท.ซื้อวัคซีนได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลายจังหวัด ต้องการจะนำงบประมาณไปจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อนำไปฉีดให้ประชาชนในจังหวัดตัวเอง แต่ยังติดขัดระเบียบบางข้อ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ว่า อบจ.ติดขัดระเบียบบางข้อ จึงดำเนินการจัดซื้อวัคซีนเองไม่ได้ ดังนั้น อบจ. ควรไปหารือกับกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ เท่าที่ตนทราบ กระทรวงมหาดไทยกำลังพิจารณาอยู่ โดยระเบียบที่ติดขัดอยู่นั้น เป็นเรื่องการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางข้อที่ได้กำหนดไว้ว่า สามารถนำเงินไปใช้ในการพัฒนา หรือเรื่องอื่นใดได้บ้าง แต่ไม่ได้เขียนเผื่อไว้ให้นำไปจัดซื้อวัคซีนได้ เพราะในอดีตยังไม่เคยเกิดกรณีเช่นนี้มาก่อน และรัฐบาลมีหน้าที่จัดซื้อวัคซีนมาฉีดป้องกันโรคให้ประชาชนได้อยู่ แต่เมื่อวันนี้เริ่มมีกรณีตัวอย่าง กระทรวงมหาดไทย สามารถนำมาพิจารณา และดำเนินการแก้ไขได้เอง เพราะเขามีคณะกรรมการที่รับผิดชอบตรงนี้อยู่แล้ว และกระทรวงมหาดไทย ไม่ต้องเสนอเรื่องมาขอความเห็นชอบจากครม.
เมื่อถามว่า บางฝ่ายเสนอให้เปิดช่องแก่ อปท. ติดต่อขอซื้อจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้โดยตรง นายวิษณุ กล่าวว่า ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนยังต้องการขายให้หน่วยงานภาครัฐ ทำให้ อปท.ยังไม่สามารถติดต่อขอซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง ดังนั้นถ้าเขาต้องการจะจัดซื้อในช่วงนี้ สามารถติดต่อหน่วยงานอย่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้
คนไทยขอวัคซีนเข็มแรกถ้วนหน้า
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง "วัคซีนเข็มแรก ความต้องการถ้วนหน้า" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทั่วประเทศ1,051 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 87.9 ต้องการวัคซีนเข็มแรกให้คนไทยทุกคนได้รับก่อน ส่วนเข็มที่สองยอมรับได้ให้ยืดเวลาออกไป รองลงมา คือร้อยละ 86.8 ต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน กระจายวัคซีนครอบคลุมคนต้องการทุกพื้นที่เร่งด่วนที่สุด และ ร้อยละ 83.7 ให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันถ้วนหน้า ตามจำนวนวัคซีนที่มีอยู่ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ต้องการให้รัฐบาลจัดอันดับกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง กระจายให้จังหวัดจัดการเอง ในขณะที่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.1 ไม่ต้องการให้เอาวัคซีนไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองในทุกระดับ และ ร้อยละ 79.6 ต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ นำเข้าวัคซีนหลากหลายยี่ห้อ เร็วที่สุด
ที่น่าพิจารณา คือส่วนใหญ่ หรือร้อยละ78.2 มั่นใจค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ต่อการได้ใช้ชีวิตปกติ เช่น เดินทาง ทำงาน ทำธุรกิจ ชอปปิงจับจ่ายใช้สอย หลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกถ้วนหน้า ในขณะที่ร้อยละ15.6 มั่นใจปานกลาง และ ร้อยละ 6.2 มั่นใจค่อนข้างน้อย ถึงไม่มั่นใจเลย
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 มั่นใจค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ต่อการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังคนไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกถ้วนหน้าในขณะที่ร้อยละ 14.6 มั่นใจปานกลาง และร้อยละ 6.8 มั่นใจค่อนข้างน้อย ถึง ไม่มั่นใจเลย
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การที่รัฐบาลจะมุ่งกระจายให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด เข็มแรกถ้วนหน้าเร็วที่สุดอย่างน้อย ร้อยละ 70 ของประชาชนทั้่งประเทศ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ขบวนการที่ปล่อยข่าวปลอม สร้างข่าวเท็จ เรื่องคุณภาพของวัคซีน ไม่อาจจะทำลายความต้องการวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ และไม่ต้องการให้ทุกฝ่ายสร้างข้อมูลสับสน และไม่ต้อกงารให้นำวัคซีนไปหาประโยชน์ทางการเมืองในทุกระดับเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และพรรคพวก
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นวา ประชาชนเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลปรับแผนกระจายวัคซีนให้พื้นที่จังหวัด และประชาชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ และเปิดช่องทางเข้าถึงมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถให้ประชาชนเข้าถึงและได้รับวัคซีนเข็มแขกถ้วนหน้าเร็วที่สุด
ทั้งนี้ จำเป็นที่รัฐบาลต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ถึงการบริหารจัดการวัคซีนภาพรวมอย่างตรงไปตรงมา และสื่อสารกับประชาชนอย่างชัดเจน และต่อเนื่องเพื่อบริหารความคาดหวังและสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนในช่วงวิกฤตของประเทศที่เราทุกคนต้องช่วยเหลือกันและกัน
ผู้ว่าฯโคราชจองชิโนฟาร์ม1แสนโดส
วานนี้ ที่ห้อง MCCฮอลล์ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ไปเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาล ประชาชนที่ทยอยเดินทางไปฉีดวัคซีน จำนวนมากกว่า 1,000 คน พร้อมรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ภาคเอกชนนำมาบริจาค
ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปรับตำแหน่ง ผวจ.ชัยภูมิ นายวิเชียร ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การสั่งจองวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ถึงเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อสั่งจองวัคซีน "ชิโนฟาร์ม"จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 100,000 โดส
ทั้งนี้ จ.นครราชสีมา มีจำนวนประชากร 2,692,889 คน มีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ได้ร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่ คิดเป็นจำนวนประชากร 1,885,023 คน แต่ปัจจุบันสามารฉีดวัคซีนได้เพียง 89,290 คน คิดเป็นร้อยละ 4.74 ของประชากรในพื้นที่ และยังไม่สามารถระบุได้ว่า จ.นครราชสีมา จะได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวนเท่าใด
กำชับผู้ว่าฯคุมเข้มแคมป์ก่อสร้าง
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้สั่งการไปยังผู้ว่าฯทุกจังหวัดพิจารณาดำเนินการนำมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง ของกรุงเทพฯ เช่น มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามเขตภายในจังหวัดที่กำหนด ให้มีการแจ้งล่วงหน้าไปยังปลายทางไม่น้อยกว่า 7 วัน การจัดทำบัญชี หรือทะเบียนแรงงานที่มีการเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวและควบคุมโรคมาพัฒนารายละเอียดเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับจังหวัดอื่นๆ นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ต่อไป
รง.แปรรูปเนื้อไก่สระบุรีติดเชื้อ391ราย
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี แจ้งว่า การระบาดของโควิด ที่โรงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี บริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. ซึ่งมีการการตรวจคันหาผู้ป่วยเชิงรุก จำนวน 3,400 คน ทราบผลการตรวจแล้ว2,299 คน พบผู้ติดเชื้อ391 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวกัมพูชา 240 คน เป็นเพศชาย129 คน เพศหญิง111 คน ชาวไทย 151 คน เป็นเพศชาย 37 คน เพศหญิง114 คน อยู่ในจ.สระบุรี 349 คน (กัมพูชา จำนวน 240 คน ชาวไทย 109 คน) เดินทางไป-กลับ ต่างจังหวัด 42 คน (ชาวไทยทั้งหมด) ผู้ที่ตรวจพบเชื้อดังกล่าว ได้นำตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สระบุรี ได้แก่ 1. รพ.สนาม ณ ค่ายลูกเสือเจ็ดคต - โป่งก้อนเส้า อ.แก่งคอย 2. รพ.ของรัฐในจ.สระบุรี
ทั้งนีร้ ทางโรงงานได้เตรียมจัดตั้ง รพ.สนามในพื้นที่ของบริษัทฯ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ 400 คน และขณะนี้ได้ปิดโรงานชั่วคราว เพื่อทำความสะอาด ตั้งแต่วันที่30 พ.ค.เป็นต้นไป
ยกระดับความปลอดภัยบริการดีลิเวอรี่
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการให้บริการจัดส่งอาหารและพัสดุแบบ Deliveryว่า สคบ. ได้ทำปฏิญญาความร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว17 ราย เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการจัดส่งอาหารและพัสดุ โดยได้กำชับให้ สคบ.เร่งรณรงค์และสร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการรวมถึงให้ผู้บริโภคร่วมปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด พร้อมเปิดรับข้อมูลประชาชนผ่านสายด่วน สคบ.1166 และสายด่วนของรัฐบาล 1111 พร้อมกำชับให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขับเคลื่อนการดำเนินงานช่วยเหลือผู้บริโภคเชิงรุกในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการละเลย และประมาทของผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ
วานนี้ (30พ.ค.) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4,528 ราย จำแนกเป็น ติดชื้อใหม่ 2,626 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,902 ราย เสียชีวิต 24 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,933 ราย ผู้ป่วยสะสม 125,444 ราย (ตั้งแต่ 1 เม.ย.) โดยจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่สูงสุด เป็นดังนี้
1. กรุงเทพฯ 754 ราย 2.เพชรบุรี 754 ราย3.สมุทรปราการ 264 ราย 4.นนทบุรี 139 ราย 5.ชลบุรี 90 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิต 24 ราย เป็นชาย 11 ราย หญิง 13 ราย โดยอยู่ใน กทม.14 ราย นนทบุรี 3 ราย ชลบุรี 2 ราย เชียงใหม่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช อย่างละ 1 ราย
มท.เล็งปลดล็อกให้อปท.ซื้อวัคซีนได้
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลายจังหวัด ต้องการจะนำงบประมาณไปจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อนำไปฉีดให้ประชาชนในจังหวัดตัวเอง แต่ยังติดขัดระเบียบบางข้อ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ว่า อบจ.ติดขัดระเบียบบางข้อ จึงดำเนินการจัดซื้อวัคซีนเองไม่ได้ ดังนั้น อบจ. ควรไปหารือกับกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ เท่าที่ตนทราบ กระทรวงมหาดไทยกำลังพิจารณาอยู่ โดยระเบียบที่ติดขัดอยู่นั้น เป็นเรื่องการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บางข้อที่ได้กำหนดไว้ว่า สามารถนำเงินไปใช้ในการพัฒนา หรือเรื่องอื่นใดได้บ้าง แต่ไม่ได้เขียนเผื่อไว้ให้นำไปจัดซื้อวัคซีนได้ เพราะในอดีตยังไม่เคยเกิดกรณีเช่นนี้มาก่อน และรัฐบาลมีหน้าที่จัดซื้อวัคซีนมาฉีดป้องกันโรคให้ประชาชนได้อยู่ แต่เมื่อวันนี้เริ่มมีกรณีตัวอย่าง กระทรวงมหาดไทย สามารถนำมาพิจารณา และดำเนินการแก้ไขได้เอง เพราะเขามีคณะกรรมการที่รับผิดชอบตรงนี้อยู่แล้ว และกระทรวงมหาดไทย ไม่ต้องเสนอเรื่องมาขอความเห็นชอบจากครม.
เมื่อถามว่า บางฝ่ายเสนอให้เปิดช่องแก่ อปท. ติดต่อขอซื้อจากบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้โดยตรง นายวิษณุ กล่าวว่า ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนยังต้องการขายให้หน่วยงานภาครัฐ ทำให้ อปท.ยังไม่สามารถติดต่อขอซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง ดังนั้นถ้าเขาต้องการจะจัดซื้อในช่วงนี้ สามารถติดต่อหน่วยงานอย่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้
คนไทยขอวัคซีนเข็มแรกถ้วนหน้า
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจเรื่อง "วัคซีนเข็มแรก ความต้องการถ้วนหน้า" กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทั่วประเทศ1,051 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 87.9 ต้องการวัคซีนเข็มแรกให้คนไทยทุกคนได้รับก่อน ส่วนเข็มที่สองยอมรับได้ให้ยืดเวลาออกไป รองลงมา คือร้อยละ 86.8 ต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน กระจายวัคซีนครอบคลุมคนต้องการทุกพื้นที่เร่งด่วนที่สุด และ ร้อยละ 83.7 ให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันถ้วนหน้า ตามจำนวนวัคซีนที่มีอยู่ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.6 ต้องการให้รัฐบาลจัดอันดับกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เสี่ยง กระจายให้จังหวัดจัดการเอง ในขณะที่ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.1 ไม่ต้องการให้เอาวัคซีนไปใช้ประโยชน์ทางการเมืองในทุกระดับ และ ร้อยละ 79.6 ต้องการให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ นำเข้าวัคซีนหลากหลายยี่ห้อ เร็วที่สุด
ที่น่าพิจารณา คือส่วนใหญ่ หรือร้อยละ78.2 มั่นใจค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ต่อการได้ใช้ชีวิตปกติ เช่น เดินทาง ทำงาน ทำธุรกิจ ชอปปิงจับจ่ายใช้สอย หลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกถ้วนหน้า ในขณะที่ร้อยละ15.6 มั่นใจปานกลาง และ ร้อยละ 6.2 มั่นใจค่อนข้างน้อย ถึงไม่มั่นใจเลย
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 มั่นใจค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด ต่อการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังคนไทยได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกถ้วนหน้าในขณะที่ร้อยละ 14.6 มั่นใจปานกลาง และร้อยละ 6.8 มั่นใจค่อนข้างน้อย ถึง ไม่มั่นใจเลย
ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การที่รัฐบาลจะมุ่งกระจายให้ประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโควิด เข็มแรกถ้วนหน้าเร็วที่สุดอย่างน้อย ร้อยละ 70 ของประชาชนทั้่งประเทศ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ขบวนการที่ปล่อยข่าวปลอม สร้างข่าวเท็จ เรื่องคุณภาพของวัคซีน ไม่อาจจะทำลายความต้องการวัคซีนต้านโควิด-19 ได้ และไม่ต้องการให้ทุกฝ่ายสร้างข้อมูลสับสน และไม่ต้อกงารให้นำวัคซีนไปหาประโยชน์ทางการเมืองในทุกระดับเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และพรรคพวก
ขณะเดียวกัน ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นวา ประชาชนเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลปรับแผนกระจายวัคซีนให้พื้นที่จังหวัด และประชาชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ และเปิดช่องทางเข้าถึงมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถให้ประชาชนเข้าถึงและได้รับวัคซีนเข็มแขกถ้วนหน้าเร็วที่สุด
ทั้งนี้ จำเป็นที่รัฐบาลต้องเปิดเผยข้อเท็จจริง ถึงการบริหารจัดการวัคซีนภาพรวมอย่างตรงไปตรงมา และสื่อสารกับประชาชนอย่างชัดเจน และต่อเนื่องเพื่อบริหารความคาดหวังและสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนในช่วงวิกฤตของประเทศที่เราทุกคนต้องช่วยเหลือกันและกัน
ผู้ว่าฯโคราชจองชิโนฟาร์ม1แสนโดส
วานนี้ ที่ห้อง MCCฮอลล์ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ อ.เมืองฯ จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ไปเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาล ประชาชนที่ทยอยเดินทางไปฉีดวัคซีน จำนวนมากกว่า 1,000 คน พร้อมรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ภาคเอกชนนำมาบริจาค
ทั้งนี้ ก่อนเดินทางไปรับตำแหน่ง ผวจ.ชัยภูมิ นายวิเชียร ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง การสั่งจองวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ถึงเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อสั่งจองวัคซีน "ชิโนฟาร์ม"จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน 100,000 โดส
ทั้งนี้ จ.นครราชสีมา มีจำนวนประชากร 2,692,889 คน มีเป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ได้ร้อยละ 70 ของประชากรในพื้นที่ คิดเป็นจำนวนประชากร 1,885,023 คน แต่ปัจจุบันสามารฉีดวัคซีนได้เพียง 89,290 คน คิดเป็นร้อยละ 4.74 ของประชากรในพื้นที่ และยังไม่สามารถระบุได้ว่า จ.นครราชสีมา จะได้รับการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวนเท่าใด
กำชับผู้ว่าฯคุมเข้มแคมป์ก่อสร้าง
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้สั่งการไปยังผู้ว่าฯทุกจังหวัดพิจารณาดำเนินการนำมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง ของกรุงเทพฯ เช่น มาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามเขตภายในจังหวัดที่กำหนด ให้มีการแจ้งล่วงหน้าไปยังปลายทางไม่น้อยกว่า 7 วัน การจัดทำบัญชี หรือทะเบียนแรงงานที่มีการเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการติดตามตัวและควบคุมโรคมาพัฒนารายละเอียดเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับจังหวัดอื่นๆ นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ต่อไป
รง.แปรรูปเนื้อไก่สระบุรีติดเชื้อ391ราย
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระบุรี แจ้งว่า การระบาดของโควิด ที่โรงานแปรรูปเนื้อไก่สระบุรี บริษัท ซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ค. ซึ่งมีการการตรวจคันหาผู้ป่วยเชิงรุก จำนวน 3,400 คน ทราบผลการตรวจแล้ว2,299 คน พบผู้ติดเชื้อ391 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวกัมพูชา 240 คน เป็นเพศชาย129 คน เพศหญิง111 คน ชาวไทย 151 คน เป็นเพศชาย 37 คน เพศหญิง114 คน อยู่ในจ.สระบุรี 349 คน (กัมพูชา จำนวน 240 คน ชาวไทย 109 คน) เดินทางไป-กลับ ต่างจังหวัด 42 คน (ชาวไทยทั้งหมด) ผู้ที่ตรวจพบเชื้อดังกล่าว ได้นำตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สระบุรี ได้แก่ 1. รพ.สนาม ณ ค่ายลูกเสือเจ็ดคต - โป่งก้อนเส้า อ.แก่งคอย 2. รพ.ของรัฐในจ.สระบุรี
ทั้งนีร้ ทางโรงงานได้เตรียมจัดตั้ง รพ.สนามในพื้นที่ของบริษัทฯ โดยคาดว่าจะสามารถรองรับผู้ติดเชื้อได้ 400 คน และขณะนี้ได้ปิดโรงานชั่วคราว เพื่อทำความสะอาด ตั้งแต่วันที่30 พ.ค.เป็นต้นไป
ยกระดับความปลอดภัยบริการดีลิเวอรี่
นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการให้บริการจัดส่งอาหารและพัสดุแบบ Deliveryว่า สคบ. ได้ทำปฏิญญาความร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจแล้ว17 ราย เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการจัดส่งอาหารและพัสดุ โดยได้กำชับให้ สคบ.เร่งรณรงค์และสร้างการรับรู้ให้ผู้ประกอบการรวมถึงให้ผู้บริโภคร่วมปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด พร้อมเปิดรับข้อมูลประชาชนผ่านสายด่วน สคบ.1166 และสายด่วนของรัฐบาล 1111 พร้อมกำชับให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ขับเคลื่อนการดำเนินงานช่วยเหลือผู้บริโภคเชิงรุกในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งพบว่ามีผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการละเลย และประมาทของผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐ