ผู้จัดการรายวัน360- เหยื่อโควิดตายอีก 35 คน ติดเชื้อเพิ่ม 2,473 ราย ยอดสะสม 113,555 ราย พบอีก"โควิดอินเดีย"มาทางเรือ เข้ารักษาที่รพ.เอกชน สงขลา นายกฯ สั่งเบรก "วอล์กอิน" กลางวง ครม. หวั่นทำแผนฉีดวัคซีนป่วน เร่งคุมระบาด "คลัสเตอร์เรือนจำ" ลุยตรวจเชิงรุก ตั้ง รพ.สนาม แยกผู้ป่วยอาการรุนแรงเข้ารพ.เฉพาะทาง ขู่ร้านอาหารไหนไม่ยึดมาตรการคุมโควิด สั่งปิดทันที ราชทัณฑ์ เผยยอดติดเชื้อใหม่ 1,408 ราย จากยอดรวม 11,670 ราย หนักสุดเรือนจำ จ.นนทบุรี กทม.กางแผนฉีดวัคซีน 2 เดือน 5 ล้านโดส กลุ่ม 18-59 ปี จองคิวผ่านเซเว่นฯ ไม่รับวอล์กอิน ศธ.เลื่อนเปิดเทอมเป็นวันที่ 14 มิ.ย. ครม. ผ่านพ.ร.ก.กู้เงินเพิ่ม 7 แสนล้าน ใช้เยียวยา-กระตุ้นเศรษฐกิจ
เมื่อเวลา 12.30 น.วานนี้ (18พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,473ในจำนวนนี้ เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ-ที่ต้องขัง 680 ราย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 113,555 ราย ทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยรักษาอยู่ 42,988 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,150 ราย โดยใส่เครื่องช่วยหายใจ 384 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 35 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่สูงสุด 1.กรุงเทพฯ 873 ราย 2.นนทบุรี 155 ราย 3.สมุทรปราการ 121 ราย 4.ปทุมธานี 117 ราย 5.สมุทรสาคร 63 ราย
"คลัสเตอร์ก่อสร้างหลักสี่"ติด1,107 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงการระบาดใน พื้นที่กทม. ยังคงมีเขตที่ต้องจับตามอง 19 เขต มี 21 คลัสเตอร์สำคัญ โดยคลัสเตอร์ที่ยังพบผู้ติดเชื้อสูงอยู่ คือ แคมป์คนงานหลักสี่ ตรวจเชิงรุกเมื่อวันที่ 17 พ.ค.ประมาณ 1,600 ราย พบติดเชื้อ 1,107 ราย คิดเป็น 66.41% จากนี้ต้องติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดต่อไป
นอกจากนี้ ต้องจับตาในเขตจตุจักร ที่เป็นคลัสเตอร์ราชทัณฑ์ เพราะพื้นที่เรือนจำทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 13-18 พ.ค.64 มีผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้นถึง 11,428 ราย
เชื้อโควิด‘อินเดีย’มาทางเรือ
สำหรับผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 23 รายนั้น มาจากอินเดีย 13 ราย โดย 2 รายแรก เป็นคนไทย พบเชื้อแต่ไม่มีอาการ และมี 10 รายเดินทางมาทางอากาศ แต่มี 1 รายที่เดินทางเข้ามาทางเรือ ซึ่งเป็นคนสัญชาติโปแลนด์ เป็นวิศวกรมากับเรือที่รับงานแท่นขุดเจาะ ซึ่งเราห้ามทางอากาศ แต่ไม่ได้ห้ามทางเรือ ปรากฏว่าเขาเข้ามาทางนี้ และป่วย ซึ่งขณะนี้รับการรักษาที่ รพ.เอกชน ที่ จ.สงขลา ซึ่งเรื่องนี้ทุกช่องทางที่มาจากอินเดียเราต้องเข้มงวดทั้งหมด โดยที่ประชุมศบค. มีการพูดคุยและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
นอกนั้นมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย มาเลเซีย 4 ราย กัมพูชา 5 ราย ซึ่งมาเลเซียมาถูกต้อง แต่กัมพูชา พบว่า หญิง 2 คนสัญชาติไทย ลักลอบเข้าเมือง ซึ่งตัวเลขลักลอบเข้าเมืองใน 24 ชม. พบ 107 ราย ส่วนใหญ่เป็น เมียนมา กัมพูชา และลาว มาจากพรมแดนธรรมชาติ
สำหรับสถานการณ์ต่างประเทศ ที่ สิงคโปร์ พบคลัสเตอร์ใหม่ที่เป็นสายพันธุ์อินเดียเข้ามา คือ สนามบินซางฮี มีคนติดเชื้อมากกว่า 50 ราย และ รพ. อีก 44 ราย ทำให้ต้องมีมาตรการล็อกดาวน์ 16 พ.ค.-13 มิ.ย.นี้ และส่งผลให้ต้องยกเลิกแทรเวล บับเบิล กับฮ่องกง ขณะที่นักโทษ ผู้คุม 5 พันคน ต้องตรวจหาเชื้อ ซึ่งคล้ายๆ ของประเทศไทย
ส่วนของทางไต้หวัน มีรายงานติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งไต้หวัน เป็นหนึ่งในประเทศที่เคลมว่ามีระบบการดูแลสาธารณสุขที่ดี แต่ขณะนี้เขาพยายามหลีกเลี่ยงล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ เพราะเกรงส่งผลทางเศรษฐกิจ จึงต้องใช้การควบคุมโรควิธีอื่นๆ ซึ่งขณะนี้มีการตุนอาหาร จนเกิดความตระหนกขึ้นมา
นายกฯสั่งเร่งคุมระบาดในเรือนจำ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์โควิดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังอยู่ในระดับทรงตัว แม้จะสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อในบางพื้นที่ แต่ก็ยังมีคลัสเตอร์ใหม่อย่างคลัสเตอร์เรือนจำ เกิดขึ้นมาอีก จึงต้องเรียกประชุมผู้บริหาร สธ.เป็นการด่วน ซึ่งผลของการประชุมสรุปได้ว่า จะเร่งแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตรวจเชิงรุกให้ได้มาก และเร็วที่สุด ตั้งรพ.สนามภายในเรือนจำ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยออกมารักษา ผู้มีอาการรุนแรงก็จะนำออกมาเข้ารักษารพ.ด้านนอก
ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราจะยังเดินหน้าระดมตรวจเชิงรุก คัดแยกผู้ป่วย ส่งตัวรักษา และระดมฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด พร้อมจะใช้แนวทาง Bubble and Seal คือ การปิดกั้นการเดินทางเข้าออกของ คนในสถานที่นั้นๆ เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไปสู่ภายนอก
แม้ว่าสถานการณ์ยังทรงตัว แต่จำนวนผู้ที่หายป่วยในแต่ละวัน มีเป็นจำนวนมาก จนถึงวันนี้มีเกือบ 7 หมื่นคนแล้ว เฉพาะระลอกนี้มากกว่า 4 หมื่นคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถ ของบุคลากรทางการแพทย์ของเรา
ส่วนการฉีดวัคซีน ที่ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาตินั้น รัฐบาลมีแผนการกระจายวัคซีนใน 3 ช่องทาง คือ 1. ผ่านระบบ"หมอพร้อม" สำหรับผู้สูงอายุ มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 7 ล้านคน และจะเปิดให้กลุ่มผู้อายุต่ำกว่า 60 ปี ลงทะเบียนได้ใน วันที่ 31 พ.ค.นี้ ซึ่งข้อดีคือ ผู้ลงทะเบียนสามารถจองคิวฉีดวัคซีนที่รพ.ที่เลือก ในวันเวลา ที่เลือกเอง
2. วิธีที่เสริมจากช่องทางระบบหมอพร้อม คือ ลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีนหรือ Onsite Registration ในกรณีที่มีวัคซีน สนับสนุนเพียงพอ ณ จุดบริการนั้น ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดเตรียมระบบในช่องทางนี้ เพื่อให้เกิดความพร้อมมากที่สุดในการจัดสรร
3. การกระจายวัคซีนเชิงยุทธศาสตร์ จัดสรรฉีดวัคซีนให้กับประชาชนกลุ่มเฉพาะเสี่ยง กลุ่มที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ บุคลากรทางการแพทย์ อสม. ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พนักงานด้านการบิน ครู อาจารย์ ผู้ขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นต้น
ทั้งนี้ จะระดมฉีดวัคซีแบบปูพรมให้กับประชาชนในกรุงเทพฯให้ได้อย่างน้อย 5 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ภายใน 2 เดือน คือเดือนมิ.ย.-ก.ค.นี้ ผ่านรพ.หลัก และจุดบริการเสริม 25 จุด กระจายทั่วกทม.
ยืนยันว่า เรามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง มากเพียงพอและจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศในต้นเดือนมิ.ย.นี้อย่างแน่นอน
สำหรับมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด และมาตรการผ่อนคลาย ที่วันนี้มีผลบังคับใช้แล้ว เช่น การอนุญาตให้พื้นที่สีแดงเข้ม สามารถนั่งทานอาหารได้ แต่จำกัดจำนวนไม่เกิน 1 ใน 4 และเว้นระยะห่าง หากพบว่าร้านใดไม่ดำเนินการตามมาตรการ จะสั่งปิดในทันที นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหม และกองทัพไทย ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ จากชายแดนอย่างเข้มงวดสูงสุด
" นโยบายของผม คือเราต้องเดินหน้าปูพรมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้เร็ว เราจะไม่รอให้คนวัยใดวัยหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้รับวัคซีนจนครบก่อน จึงค่อยเปิดให้คนกลุ่มอื่นๆได้รับวัคซีน แต่เราจะปรับแผนการเดินหน้าประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่พร้อมฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัยใด เข้าถึงวัคซีนได้ โดยเฉพาะวัยทำงาน เพื่อปกป้องคนทำมาหากิน คนที่เป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงคนในบ้าน ให้ออกจากบ้านไปทำงาน ทำมาหาเลี้ยงชีพ และเดินหน้าชีวิตกันต่อไปได้" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกฯ เบรก "วอล์กอิน" ฉีดวัคซีน
ขณะที่รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ในการ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เห็นด้วยกับการที่จะเปิดใช้ระบบ"วอล์กอิน "เพื่อให้ประชาชนเข้ามาฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาชุลมุน หากประชาชนมาพร้อมกันในจุดๆเดียวเป็นจำนวนมาก ๆ ซึ่งในต่างจังหวัดอาจจะไม่มีปัญหา แต่ในพื้นที่กทม.อาจจะเปิดปัญหาขึ้น
"อยากให้ปรับรูปแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ให้ไปลงทะเบียน ณ จุดที่ตั้ง ซึ่งจะมีการกำหนดให้ชัดเจน ต้องใช้เวลา ดังนั้นตอนนี้จึงอยากให้ยึดแอปพลิเคชั่นหมอพร้อมไว้ก่อน ให้คนที่ลงทะเบียนหมอพร้อมและกลุ่มเสี่ยงได้ฉีดก่อน จึงขอให้หน่วยงานไปปรับปรุง และแก้ปัญหาแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม อย่าให้เกิดปัญหาประชาชนลงทะเบียนไม่ได้ และขอหยุดพูดเรื่องวอล์คอินไปก่อนจนกว่าจะได้มาตรการที่ชัดเจน เดี๋ยวคนวอล์คอินเข้าไปแล้วไม่ได้ฉีดจะโวยวายเอา หากวัคซีนเพียงพอหรือเหลือค่อยมาจัดการกันใหม่ เรื่องวอลค์อินละเอียดอ่อน ต้องจัดการดีๆ"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกำชับเรื่องการให้ข่าวที่ไม่ตรงกันเรื่องวัคซีนวอล์กอิน ว่า ไม่ต้องให้ใครให้ข่าว ให้ ศบค.เป็นคนให้ข่าวแห่งเดียว และอะไรที่ได้ข้อสรุปแล้วถึงค่อยออกมาพูด
กทม.ไม่รับ"วอล์กอิน"ฉีดวัคซีน
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในเดือนมิ.ย.-ก.ค.64 กทม.จะได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุข เดือนละ 2.5 ล้านโด๊ส รวม 2 เดือน 5 ล้านโด๊ส โดยนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กทม.เร่งดำเนินการฉีดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน (มิ.ย. - ก.ค.) กทม.มีแผนบริหารจัดการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 2.5 ล้านคน/เดือน โดยจะกระจายการฉีดในโรงพยาบาลทั้ง 126 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพในการฉีดไม่น้อยกว่าวันละ 20,000 คน และจุดบริการฉีดวัคซีนนอก รพ. 25 แห่ง มีศักยภาพในการฉีดวันละ 38,000 - 50,000 คน/วัน คาดการณ์ว่าจะสามารถฉีดวัคซีนได้ไม่น้อยกว่า 60,000 คน/วัน โดยผู้ที่ได้รับการฉีดจะเป็นประชาชนทั่วไป คาดว่าน่าจะครบ 5 ล้านคน ตามเป้าหมาย โดยในข่วงนี้ กทม.ขอความร่วมมือประชาชนลงทะเบียนผ่านแอปฯ “หมอพร้อม”ในการเข้ามาฉีดวัคซีน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ และความปลอดภัยของประชาชน โดยหากเปิดให้ประชาชน walk in อาจเกิดปัญหาความแออัดที่ต้องมารอคิว และมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกทม. กล่าวว่า กทม.ได้มีการหารือถึงแนวทางที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดได้อย่างทั่วถึง โดยจะทำในรูปแบบของ web based ใช้สำหรับการจองคิวฉีดวัคซีนโดยเฉพาะ ซึ่งระบบดังกล่าวจะไม่ซ้ำซ้อนกับ“หมอพร้อม”เนื่องจากขณะนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนกับหมอพร้อมจะเป็นผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรค และนัดเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ รพ. ส่วนระบบ web basedจะใช้สำหรับการลงทะเบียนผู้ที่อายุระหว่าง 18 - 59 ปี และนัดรับการฉีดวัคซีนที่จุดบริการนอกรพ. 25 จุด โดยจะประสานหอการค้าไทย และร้านสะดวกซื้อ อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น เข้าร่วมระบบดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนจองคิวได้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจนเรื่องระบบดังกล่าว
'คุกนนท์-บางขวาง'สาหัส!
นายสุทธิ สุธีวงศ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ภายในเรือนจำ ว่าเรือนจำทั่วประเทศ มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ระหว่างการรักษา 11,670 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำและทัณฑสถาน 13 แห่ง โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,408 ราย จากเรือนจำ 7 แห่ง แยกเป็น เรือนจำเชียงใหม่ 50 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 245 คน เรือนจำกลางคลองเปรม 159 คน เรือนจำพิเศษธนบุรี 277 คน เรือนจําบางขวาง 328 คน เรือนจําฉะเชิงเทรา 7 คน เรือนจำจังหวัดนนทบุรี 342 คน และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ที่อยู่ระหว่างการรักษา 35 ราย
ทั้งนี้ เรือนจำใดที่มีพบกันผู้ติดเชื้อ จะทำการสวอป(SWAB)100% ครั้งที่ 2 และแยกรักษาตามอาการอย่างทันท่วงที โดยทางกรมราชทัณฑ์ได้จัดหา รพ.สนามและยาเพื่อให้แก่ผู้ติดเชื้อ ส่วนในกลุ่มผู้ต้องขังที่ยังไม่พบการติดเชื้อ ก็จะทำการสวอปทุก 7วัน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และยุติ มั่นใจว่าไม่พบผู้ติดเชื้อในเรือนจำนั้นๆ
ส่วนปัญหางบประมาณใช้ในการรักษาผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ ที่ปรากฏตามสื่อ ว่ามีเพียง 750,000บาทนั้น ขอชี้แจงว่างบฯดังกล่าวเดิมเป็นงบฯที่ใช้ในการประชุมเชิงสัญจรของกรมราชทัณฑ์ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงไม่สามารถจัดประชุมได้ และได้นำงบนี้ไปรวมไว้ในงบ รักษาผู้ต้องขังติดเชื้อ อย่างไรก็ตามงบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอ ดังนั้น ทางกรมราชทัณฑ์ จึงได้ทำเรื่องเสนอ ของบกลางไปยังสำนักงานงบประมาณ จำนวน 411 ล้านบาทเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดตั้ง รพ.สนาม และอุปกรณ์เพื่อใช้รักษา โดยได้กราบเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเห็นชอบ เพื่อจะเสนอเข้าสู่ ครม.อนุมัติต่อไป
เลื่อนเปิดเทอมเป็นวันที่ 14 มิ.ย.
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าว่า ศธ. ได้เสนอ ศบค. เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 เพราะสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วประเทศมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ศธ.มีความห่วงใยความปลอดภัยทางสุขภาพของผู้เรียนและผู้สอนในสถานศึกษาต่าง ๆ จึงได้ประกาศให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 จากเดิมที่จะเปิดวันที่ 1 มิ.ย. เป็นวันที่ 14 มิ.ย. 64 เพื่อให้มีระยะเวลาเข้ารับการฉีดวัคซีน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และรองรับการย้ายสถานศึกษาของผู้เรียน
รัฐกู้เพิ่ม7แสนล.'แจกเยียวยา-ซื้อวัคซีน-จ้างงาน'
วานนี้ (18 พ.ค.) รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แจ้งว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการพิจารณาวาระลับ เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอขออนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินประมาณ 700,000 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว มีหลักการเดียวกับกรณีของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาทที่ได้บังคับใช้แล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้กล่าวในช่วงหนึ่งของการประชุม ครม. ย้ำว่า ขอให้คนที่ร่วมประชุมอย่าเที่ยวเอาเรื่องที่พูดกันตรงนี้ไปบอกสื่อมวลชนหรือคนข้างนอก ตนสั่งการหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงให้ไปตรวจสอบหาว่า คนไหนที่ชอบเอาเรื่องที่พูดตรงนี้ไปบอกคนข้างนอกเป็นประจำ
สำหรับรายละเอียดที่คลังนำเสนอ ครม. ตามเอกสาร ได้กำหนดแผนออก พ.ร.ก.กู้เงิน 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ให้กระทรวงสาธารณสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท นำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค วัคซีน ปรับปรุงสถานพยาบาลและการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาระบาดระลอกใหม่
2.ให้คลัง วงเงิน 400,000 ล้านบาท ใช้ช่วยเหลือ เยียวยา หรือชดเชยให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และ 3.ให้คลังนำไปใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 270,000 ล้านบาท เพื่อรักษาระดับการจ้างงาน กระตุ้นการลงทุน และการบริโภคในประเทศ
ทั้งนี้ กรอบเวลาการกู้เพื่อใช้จ่ายได้ถึงเดือน ก.ย.65 และคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจปี 64 ขยายตัวเพิ่มอีก 1.5% อย่างไรก็ตามขั้นตอนหลังจากที่นำเสนอ ครม.แล้ว จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวงเงินกู้จาก 7 แสนล้านบาทได้อีก
อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ 64 อยู่ที่ 58% แต่ปีหน้าคาดหนี้จะเกินกรอบเป้าหมายที่ 60% แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะในสถานการณ์ไม่ปกติ รัฐบาลสามารถขยายกรอบหนี้สาธารณะให้เพิ่มอีกได้
เมื่อเวลา 12.30 น.วานนี้ (18พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,473ในจำนวนนี้ เป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำ-ที่ต้องขัง 680 ราย ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 113,555 ราย ทั้งนี้ในจำนวนผู้ป่วยรักษาอยู่ 42,988 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 1,150 ราย โดยใส่เครื่องช่วยหายใจ 384 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 35 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่สูงสุด 1.กรุงเทพฯ 873 ราย 2.นนทบุรี 155 ราย 3.สมุทรปราการ 121 ราย 4.ปทุมธานี 117 ราย 5.สมุทรสาคร 63 ราย
"คลัสเตอร์ก่อสร้างหลักสี่"ติด1,107 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงการระบาดใน พื้นที่กทม. ยังคงมีเขตที่ต้องจับตามอง 19 เขต มี 21 คลัสเตอร์สำคัญ โดยคลัสเตอร์ที่ยังพบผู้ติดเชื้อสูงอยู่ คือ แคมป์คนงานหลักสี่ ตรวจเชิงรุกเมื่อวันที่ 17 พ.ค.ประมาณ 1,600 ราย พบติดเชื้อ 1,107 ราย คิดเป็น 66.41% จากนี้ต้องติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดต่อไป
นอกจากนี้ ต้องจับตาในเขตจตุจักร ที่เป็นคลัสเตอร์ราชทัณฑ์ เพราะพื้นที่เรือนจำทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 13-18 พ.ค.64 มีผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้นถึง 11,428 ราย
เชื้อโควิด‘อินเดีย’มาทางเรือ
สำหรับผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 23 รายนั้น มาจากอินเดีย 13 ราย โดย 2 รายแรก เป็นคนไทย พบเชื้อแต่ไม่มีอาการ และมี 10 รายเดินทางมาทางอากาศ แต่มี 1 รายที่เดินทางเข้ามาทางเรือ ซึ่งเป็นคนสัญชาติโปแลนด์ เป็นวิศวกรมากับเรือที่รับงานแท่นขุดเจาะ ซึ่งเราห้ามทางอากาศ แต่ไม่ได้ห้ามทางเรือ ปรากฏว่าเขาเข้ามาทางนี้ และป่วย ซึ่งขณะนี้รับการรักษาที่ รพ.เอกชน ที่ จ.สงขลา ซึ่งเรื่องนี้ทุกช่องทางที่มาจากอินเดียเราต้องเข้มงวดทั้งหมด โดยที่ประชุมศบค. มีการพูดคุยและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้
นอกนั้นมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย มาเลเซีย 4 ราย กัมพูชา 5 ราย ซึ่งมาเลเซียมาถูกต้อง แต่กัมพูชา พบว่า หญิง 2 คนสัญชาติไทย ลักลอบเข้าเมือง ซึ่งตัวเลขลักลอบเข้าเมืองใน 24 ชม. พบ 107 ราย ส่วนใหญ่เป็น เมียนมา กัมพูชา และลาว มาจากพรมแดนธรรมชาติ
สำหรับสถานการณ์ต่างประเทศ ที่ สิงคโปร์ พบคลัสเตอร์ใหม่ที่เป็นสายพันธุ์อินเดียเข้ามา คือ สนามบินซางฮี มีคนติดเชื้อมากกว่า 50 ราย และ รพ. อีก 44 ราย ทำให้ต้องมีมาตรการล็อกดาวน์ 16 พ.ค.-13 มิ.ย.นี้ และส่งผลให้ต้องยกเลิกแทรเวล บับเบิล กับฮ่องกง ขณะที่นักโทษ ผู้คุม 5 พันคน ต้องตรวจหาเชื้อ ซึ่งคล้ายๆ ของประเทศไทย
ส่วนของทางไต้หวัน มีรายงานติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งไต้หวัน เป็นหนึ่งในประเทศที่เคลมว่ามีระบบการดูแลสาธารณสุขที่ดี แต่ขณะนี้เขาพยายามหลีกเลี่ยงล็อกดาวน์เต็มรูปแบบ เพราะเกรงส่งผลทางเศรษฐกิจ จึงต้องใช้การควบคุมโรควิธีอื่นๆ ซึ่งขณะนี้มีการตุนอาหาร จนเกิดความตระหนกขึ้นมา
นายกฯสั่งเร่งคุมระบาดในเรือนจำ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมครม.ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา สถานการณ์โควิดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังอยู่ในระดับทรงตัว แม้จะสามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อในบางพื้นที่ แต่ก็ยังมีคลัสเตอร์ใหม่อย่างคลัสเตอร์เรือนจำ เกิดขึ้นมาอีก จึงต้องเรียกประชุมผู้บริหาร สธ.เป็นการด่วน ซึ่งผลของการประชุมสรุปได้ว่า จะเร่งแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการตรวจเชิงรุกให้ได้มาก และเร็วที่สุด ตั้งรพ.สนามภายในเรือนจำ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยออกมารักษา ผู้มีอาการรุนแรงก็จะนำออกมาเข้ารักษารพ.ด้านนอก
ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราจะยังเดินหน้าระดมตรวจเชิงรุก คัดแยกผู้ป่วย ส่งตัวรักษา และระดมฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการบังคับใช้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด พร้อมจะใช้แนวทาง Bubble and Seal คือ การปิดกั้นการเดินทางเข้าออกของ คนในสถานที่นั้นๆ เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายออกไปสู่ภายนอก
แม้ว่าสถานการณ์ยังทรงตัว แต่จำนวนผู้ที่หายป่วยในแต่ละวัน มีเป็นจำนวนมาก จนถึงวันนี้มีเกือบ 7 หมื่นคนแล้ว เฉพาะระลอกนี้มากกว่า 4 หมื่นคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถ ของบุคลากรทางการแพทย์ของเรา
ส่วนการฉีดวัคซีน ที่ได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาตินั้น รัฐบาลมีแผนการกระจายวัคซีนใน 3 ช่องทาง คือ 1. ผ่านระบบ"หมอพร้อม" สำหรับผู้สูงอายุ มีผู้มาลงทะเบียนแล้ว 7 ล้านคน และจะเปิดให้กลุ่มผู้อายุต่ำกว่า 60 ปี ลงทะเบียนได้ใน วันที่ 31 พ.ค.นี้ ซึ่งข้อดีคือ ผู้ลงทะเบียนสามารถจองคิวฉีดวัคซีนที่รพ.ที่เลือก ในวันเวลา ที่เลือกเอง
2. วิธีที่เสริมจากช่องทางระบบหมอพร้อม คือ ลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีนหรือ Onsite Registration ในกรณีที่มีวัคซีน สนับสนุนเพียงพอ ณ จุดบริการนั้น ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดเตรียมระบบในช่องทางนี้ เพื่อให้เกิดความพร้อมมากที่สุดในการจัดสรร
3. การกระจายวัคซีนเชิงยุทธศาสตร์ จัดสรรฉีดวัคซีนให้กับประชาชนกลุ่มเฉพาะเสี่ยง กลุ่มที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ บุคลากรทางการแพทย์ อสม. ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พนักงานด้านการบิน ครู อาจารย์ ผู้ขับขี่รถยนต์ และจักรยานยนต์สาธารณะ เป็นต้น
ทั้งนี้ จะระดมฉีดวัคซีแบบปูพรมให้กับประชาชนในกรุงเทพฯให้ได้อย่างน้อย 5 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ภายใน 2 เดือน คือเดือนมิ.ย.-ก.ค.นี้ ผ่านรพ.หลัก และจุดบริการเสริม 25 จุด กระจายทั่วกทม.
ยืนยันว่า เรามีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง มากเพียงพอและจะเริ่มให้บริการพร้อมกันทั่วประเทศในต้นเดือนมิ.ย.นี้อย่างแน่นอน
สำหรับมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด และมาตรการผ่อนคลาย ที่วันนี้มีผลบังคับใช้แล้ว เช่น การอนุญาตให้พื้นที่สีแดงเข้ม สามารถนั่งทานอาหารได้ แต่จำกัดจำนวนไม่เกิน 1 ใน 4 และเว้นระยะห่าง หากพบว่าร้านใดไม่ดำเนินการตามมาตรการ จะสั่งปิดในทันที นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้กระทรวงกลาโหม และกองทัพไทย ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศ จากชายแดนอย่างเข้มงวดสูงสุด
" นโยบายของผม คือเราต้องเดินหน้าปูพรมฉีดวัคซีนเข็มแรกให้เร็ว เราจะไม่รอให้คนวัยใดวัยหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ได้รับวัคซีนจนครบก่อน จึงค่อยเปิดให้คนกลุ่มอื่นๆได้รับวัคซีน แต่เราจะปรับแผนการเดินหน้าประเทศ ด้วยการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่พร้อมฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัยใด เข้าถึงวัคซีนได้ โดยเฉพาะวัยทำงาน เพื่อปกป้องคนทำมาหากิน คนที่เป็นกำลังหลักในการหาเลี้ยงคนในบ้าน ให้ออกจากบ้านไปทำงาน ทำมาหาเลี้ยงชีพ และเดินหน้าชีวิตกันต่อไปได้" นายกรัฐมนตรีกล่าว
นายกฯ เบรก "วอล์กอิน" ฉีดวัคซีน
ขณะที่รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ในการ ครม. พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เห็นด้วยกับการที่จะเปิดใช้ระบบ"วอล์กอิน "เพื่อให้ประชาชนเข้ามาฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาชุลมุน หากประชาชนมาพร้อมกันในจุดๆเดียวเป็นจำนวนมาก ๆ ซึ่งในต่างจังหวัดอาจจะไม่มีปัญหา แต่ในพื้นที่กทม.อาจจะเปิดปัญหาขึ้น
"อยากให้ปรับรูปแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ให้ไปลงทะเบียน ณ จุดที่ตั้ง ซึ่งจะมีการกำหนดให้ชัดเจน ต้องใช้เวลา ดังนั้นตอนนี้จึงอยากให้ยึดแอปพลิเคชั่นหมอพร้อมไว้ก่อน ให้คนที่ลงทะเบียนหมอพร้อมและกลุ่มเสี่ยงได้ฉีดก่อน จึงขอให้หน่วยงานไปปรับปรุง และแก้ปัญหาแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม อย่าให้เกิดปัญหาประชาชนลงทะเบียนไม่ได้ และขอหยุดพูดเรื่องวอล์คอินไปก่อนจนกว่าจะได้มาตรการที่ชัดเจน เดี๋ยวคนวอล์คอินเข้าไปแล้วไม่ได้ฉีดจะโวยวายเอา หากวัคซีนเพียงพอหรือเหลือค่อยมาจัดการกันใหม่ เรื่องวอลค์อินละเอียดอ่อน ต้องจัดการดีๆ"
พล.อ.ประยุทธ์ ยังกำชับเรื่องการให้ข่าวที่ไม่ตรงกันเรื่องวัคซีนวอล์กอิน ว่า ไม่ต้องให้ใครให้ข่าว ให้ ศบค.เป็นคนให้ข่าวแห่งเดียว และอะไรที่ได้ข้อสรุปแล้วถึงค่อยออกมาพูด
กทม.ไม่รับ"วอล์กอิน"ฉีดวัคซีน
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในเดือนมิ.ย.-ก.ค.64 กทม.จะได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุข เดือนละ 2.5 ล้านโด๊ส รวม 2 เดือน 5 ล้านโด๊ส โดยนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กทม.เร่งดำเนินการฉีดให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน (มิ.ย. - ก.ค.) กทม.มีแผนบริหารจัดการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 2.5 ล้านคน/เดือน โดยจะกระจายการฉีดในโรงพยาบาลทั้ง 126 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพในการฉีดไม่น้อยกว่าวันละ 20,000 คน และจุดบริการฉีดวัคซีนนอก รพ. 25 แห่ง มีศักยภาพในการฉีดวันละ 38,000 - 50,000 คน/วัน คาดการณ์ว่าจะสามารถฉีดวัคซีนได้ไม่น้อยกว่า 60,000 คน/วัน โดยผู้ที่ได้รับการฉีดจะเป็นประชาชนทั่วไป คาดว่าน่าจะครบ 5 ล้านคน ตามเป้าหมาย โดยในข่วงนี้ กทม.ขอความร่วมมือประชาชนลงทะเบียนผ่านแอปฯ “หมอพร้อม”ในการเข้ามาฉีดวัคซีน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ และความปลอดภัยของประชาชน โดยหากเปิดให้ประชาชน walk in อาจเกิดปัญหาความแออัดที่ต้องมารอคิว และมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกทม. กล่าวว่า กทม.ได้มีการหารือถึงแนวทางที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดได้อย่างทั่วถึง โดยจะทำในรูปแบบของ web based ใช้สำหรับการจองคิวฉีดวัคซีนโดยเฉพาะ ซึ่งระบบดังกล่าวจะไม่ซ้ำซ้อนกับ“หมอพร้อม”เนื่องจากขณะนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนกับหมอพร้อมจะเป็นผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่มโรค และนัดเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ รพ. ส่วนระบบ web basedจะใช้สำหรับการลงทะเบียนผู้ที่อายุระหว่าง 18 - 59 ปี และนัดรับการฉีดวัคซีนที่จุดบริการนอกรพ. 25 จุด โดยจะประสานหอการค้าไทย และร้านสะดวกซื้อ อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น เข้าร่วมระบบดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนสามารถลงทะเบียนจองคิวได้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้า จะมีความชัดเจนเรื่องระบบดังกล่าว
'คุกนนท์-บางขวาง'สาหัส!
นายสุทธิ สุธีวงศ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ แถลงข่าว รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ภายในเรือนจำ ว่าเรือนจำทั่วประเทศ มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ระหว่างการรักษา 11,670 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อจากเรือนจำและทัณฑสถาน 13 แห่ง โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1,408 ราย จากเรือนจำ 7 แห่ง แยกเป็น เรือนจำเชียงใหม่ 50 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 245 คน เรือนจำกลางคลองเปรม 159 คน เรือนจำพิเศษธนบุรี 277 คน เรือนจําบางขวาง 328 คน เรือนจําฉะเชิงเทรา 7 คน เรือนจำจังหวัดนนทบุรี 342 คน และเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ที่อยู่ระหว่างการรักษา 35 ราย
ทั้งนี้ เรือนจำใดที่มีพบกันผู้ติดเชื้อ จะทำการสวอป(SWAB)100% ครั้งที่ 2 และแยกรักษาตามอาการอย่างทันท่วงที โดยทางกรมราชทัณฑ์ได้จัดหา รพ.สนามและยาเพื่อให้แก่ผู้ติดเชื้อ ส่วนในกลุ่มผู้ต้องขังที่ยังไม่พบการติดเชื้อ ก็จะทำการสวอปทุก 7วัน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และยุติ มั่นใจว่าไม่พบผู้ติดเชื้อในเรือนจำนั้นๆ
ส่วนปัญหางบประมาณใช้ในการรักษาผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ ที่ปรากฏตามสื่อ ว่ามีเพียง 750,000บาทนั้น ขอชี้แจงว่างบฯดังกล่าวเดิมเป็นงบฯที่ใช้ในการประชุมเชิงสัญจรของกรมราชทัณฑ์ แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงไม่สามารถจัดประชุมได้ และได้นำงบนี้ไปรวมไว้ในงบ รักษาผู้ต้องขังติดเชื้อ อย่างไรก็ตามงบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอ ดังนั้น ทางกรมราชทัณฑ์ จึงได้ทำเรื่องเสนอ ของบกลางไปยังสำนักงานงบประมาณ จำนวน 411 ล้านบาทเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดตั้ง รพ.สนาม และอุปกรณ์เพื่อใช้รักษา โดยได้กราบเรียนไปยังนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาเห็นชอบ เพื่อจะเสนอเข้าสู่ ครม.อนุมัติต่อไป
เลื่อนเปิดเทอมเป็นวันที่ 14 มิ.ย.
น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าว่า ศธ. ได้เสนอ ศบค. เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1/2564 เพราะสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วประเทศมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ศธ.มีความห่วงใยความปลอดภัยทางสุขภาพของผู้เรียนและผู้สอนในสถานศึกษาต่าง ๆ จึงได้ประกาศให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 จากเดิมที่จะเปิดวันที่ 1 มิ.ย. เป็นวันที่ 14 มิ.ย. 64 เพื่อให้มีระยะเวลาเข้ารับการฉีดวัคซีน ของครูและบุคลากรทางการศึกษา และรองรับการย้ายสถานศึกษาของผู้เรียน
รัฐกู้เพิ่ม7แสนล.'แจกเยียวยา-ซื้อวัคซีน-จ้างงาน'
วานนี้ (18 พ.ค.) รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แจ้งว่า ที่ประชุม ครม.ได้มีการพิจารณาวาระลับ เรื่องที่กระทรวงการคลังเสนอขออนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินประมาณ 700,000 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว มีหลักการเดียวกับกรณีของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาทที่ได้บังคับใช้แล้ว
อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้กล่าวในช่วงหนึ่งของการประชุม ครม. ย้ำว่า ขอให้คนที่ร่วมประชุมอย่าเที่ยวเอาเรื่องที่พูดกันตรงนี้ไปบอกสื่อมวลชนหรือคนข้างนอก ตนสั่งการหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงให้ไปตรวจสอบหาว่า คนไหนที่ชอบเอาเรื่องที่พูดตรงนี้ไปบอกคนข้างนอกเป็นประจำ
สำหรับรายละเอียดที่คลังนำเสนอ ครม. ตามเอกสาร ได้กำหนดแผนออก พ.ร.ก.กู้เงิน 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1. ให้กระทรวงสาธารณสุข วงเงิน 30,000 ล้านบาท นำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค วัคซีน ปรับปรุงสถานพยาบาลและการวิจัยพัฒนาวัคซีนภายในประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาระบาดระลอกใหม่
2.ให้คลัง วงเงิน 400,000 ล้านบาท ใช้ช่วยเหลือ เยียวยา หรือชดเชยให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ และ 3.ให้คลังนำไปใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมวงเงิน 270,000 ล้านบาท เพื่อรักษาระดับการจ้างงาน กระตุ้นการลงทุน และการบริโภคในประเทศ
ทั้งนี้ กรอบเวลาการกู้เพื่อใช้จ่ายได้ถึงเดือน ก.ย.65 และคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจปี 64 ขยายตัวเพิ่มอีก 1.5% อย่างไรก็ตามขั้นตอนหลังจากที่นำเสนอ ครม.แล้ว จะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนวงเงินกู้จาก 7 แสนล้านบาทได้อีก
อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผลกระทบต่อหนี้สาธารณะ ในปีงบประมาณ 64 อยู่ที่ 58% แต่ปีหน้าคาดหนี้จะเกินกรอบเป้าหมายที่ 60% แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะในสถานการณ์ไม่ปกติ รัฐบาลสามารถขยายกรอบหนี้สาธารณะให้เพิ่มอีกได้