ผู้จัดการรายวัน 360 - กรมราชทัณฑ์แจงตรวจหาเชื้อโควิดผู้ต้องขังเชิงรุกแบบ 100% พบผู้ต้องขังคุกหญิงกลาง-พิเศษกรุงเทพฯ ติดเชื้อเกือบ 3,000 ราย พร้อมเตรียมเดินหน้าฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขัง มั่นใจยังรับมือไหว ขณะที่ "รุ้ง ปนัสยา" โพสต์ติดเชื้อโควิด-19 พร้อมแจงไทม์ไลน์ คาดติดจากเรือนจำ ลามไปติด "เมย์" พี่สาวด้วย ด้าน “เต้น” ได้ทีบอกเคยเตือนนานแล้ว ให้ระวังเรือนจำจะเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ แต่เพิกเฉย จี้เร่งฉีดวัคซีนผู้ต้องหา-เจ้าหน้าที่เรือนจำ
วานนี้ (12 พ.ค.) กรมราชทัณฑ์ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีมีสื่อตั้งข้อสงสัยว่า มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำได้อย่างไร และมีการปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์การรักษาผู้ติดเชื้อหรือไม่ กรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโควิด มีการกระจายเป็นวงกว้างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงเรือนจำ และทัณฑสถานที่ต้องรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ และนำผู้ต้องขังออกศาลอยู่เสมอ จึงอาจมีการหลุดรอดของเชื้อเข้าสู่เรือนจำได้
อย่างไรก็ดี กรมราชทัณฑ์ได้ป้องกันอย่างเต็มที่ ด้วยมาตรการเชิงรุกคือ แยกกักตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่อย่างน้อย 21 วัน พร้อมตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง ก่อนผู้ต้องขังพ้นระยะแยกกักโรค ซึ่งการตรวจ พบการติดเชื้อของผู้ต้องขังที่ผ่านมา ถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ
สำหรับผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อ จะได้รับการรักษาโดยการให้ยา Favipiravia ทั้งใน รพ.สนามเรือนจำ และรพ.แม่ข่าย ตามลักษณะอาการป่วยของแต่ละราย โดยกรมราชทัณฑ์ ขอยืนยันว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เรือนจำทัณฑสถานทุกแห่งมีมาตรการอย่างเคร่งครัด เพราะมีการควบคุม บับเบิ้ล แอนด์ซีล เช่น กรณีเรือนจำจ.นราธิวาส ที่มีผู้ต้องขังติดเชื้อก็สามารถดูแลรักษาจนหาย และไม่มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในเรือนจำอีก
"กรมราชทัณฑ์ได้ตรวจเชิงรุก เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง 100% ซึ่งได้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ที่พบการติดเชื้อ ได้แก่ ทัณฑสถานหญิงกลาง มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,040 ราย และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,795 ราย รวมทั้งหมด 2,835 ซึ่งทุกรายอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่รพ.สนาม ทัณฑสถานรพ.ราชทัณฑ์ หากในบางรายมีอาการหนัก จะได้มีการย้ายออกเพื่อรับการรักษายังรพ.ภายนอก เชื่อว่ามาตรฐานการดำเนินการของกรมราชทัณฑ์กับกระทรวงสาธารณสุข จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ ไม่ขยายตัวไปสู่วงกว้างได้"
เวลานี้ได้มีแดนกักโรคและรพ.สนาม โดยมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และการให้ยารักษาและการดูแลทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานของสธ. รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังด้วย อยู่ระหว่างรอการจัดสรรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกในเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขัง ซึ่งในส่วนของทัณฑสถานรพ.ราชทัณฑ์ ได้ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส โควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ไปแล้วกว่า 17,000 ครั้ง ทำให้คัดแยกผู้ติดเชื้อไปรักษาได้รวดเร็ว สามารถแยกผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงออกมากักตัว เพื่อสังเกตอาการได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องขอขอบคุณกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาช่วยดูแลและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
“รุ้ง-พี่สาว” ติดเชื้อโควิดจากคุก
น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง หนึ่งในแกนนำราษฎร ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก แจ้งว่า ตนเองติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกับเปิดไทม์ไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ว่า หลังจากที่ออกจากทัณฑสถานหญิงกลาง เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา เพิ่งได้รับทราบผลตรวจโควิด และพบว่า ติดเชื้อ กำลังเข้ารับการรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ และตอนนี้ได้แจ้งคนที่ใกล้ชิดทุกคนแล้ว
"หนูเองไม่คิดว่าจะติดเชื้อใดๆ เนื่องจากตรวจครั้งล่าสุดเมื่อ 22 เม.ย. และไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งบอกว่ามีอาการติดโควิด และเมื่อวันที่ 6 พ.ค. วันที่ออกจากเรือนจำ ได้พยายามจะตรวจหาเชื้อแล้ว แต่ทาง รพ.ที่ตนไป ไม่ตรวจให้ เนื่องจากไม่มีอาการ และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง
"ระหว่างที่อยู่บ้าน คนในครอบครัวไม่มีใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการใดๆ ที่แสดงว่ามีเชื้อโควิด ส่วนตัวรุ้ง เพิ่งมีอาการเหนื่อยเมื่อวานช่วง 2 ทุ่ม ไม่มีอาการอื่น โดยครั้งล่าสุดที่ตรวจโควิดจากในเรือนจำ คือวันที่ 22 เม.ย. และวันที่ 5 พ.ค. ก่อนที่จะปล่อยตัวออกมา ทราบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางแล้ว มากกว่า 50 คน และคาดว่า ตอนนี้ทั้งในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำอื่นคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ขอให้ทางภาครัฐและกรมราชทัณฑ์ ออกมาชี้แจงและเปิดเผยจำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำอย่างตรงไปตรงมาด้วย
ขณะเดียวกัน เมธาวี สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ เมย์ พี่สาวของ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เผยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่าตนติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) คาดว่าได้รับเชื้อมาจากน้องสาว พี่เพิ่งออกจากเรือนจำเมื่อไม่นานมานี้
'ณัฐวุฒิ' โวยรัฐบาล-ศบค. เตือนแล้วไม่ฟัง
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เรื่องโควิด 19 ในเรือนจำผมโพสต์ตั้งแต่ 24 เม.ย. แต่รัฐบาลเพิกเฉย ศบค.ไม่เคยพูดถึง จนการติดเชื้อลุกลามกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ การป้องกันโรคข้างในหวังผลยากด้วยสภาพแออัดและการกักโรคที่แม้จะเข้มแต่เจ้าหน้าที่ต้องเข้าออกทุกวัน โอกาสนำเชื้อเข้ามาย่อมเกิดขึ้นได้
เฉพาะพื้นที่ในรั้วเดียวกันบนถนนงามวงศ์วาน มีเรือนจำ 4 แห่ง โรงพยาบาล 1 โรง ด้านหลังคือแฟลตที่พักเจ้าหน้าที่และครอบครัวเป็นชุมชนใหญ่ถ้ามีผู้ติดเชื้อการแพร่กระจายจะเร็ว และเสี่ยงจะเข้าไปทุกเรือนจำ
เรือนจำให้ผู้ต้องขังใส่หน้ากาก แต่กิจวัตร เช่น อาบน้ำ กินข้าว นอน ต้องทำร่วมกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ติดเชื้อผู้ต้องขังที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานก็รอดยาก ปกติผู้ช่วยเจ้าพนักงานจะเดินไปได้ทุกแดนตามที่ได้รับมอบหมาย เลิกงานต้องกลับแดน วันหยุดก็ต้องอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังอื่น กว่าจะรู้ตัวหรือแสดงอาการอาจไปทั่วเรือนจำแล้ว
แม้หน้างานเป็นของกรมราชทัณฑ์ซึ่งจงใจปกปิดข้อมูลหรือไม่ต้องว่ากัน แต่สถานการณ์นี้คือโรคระบาดระดับโลก นายกฯรวบอำนาจไว้แล้วคนเดียว กรรมการเฉพาะกิจฯก็ตั้งเลขาสมช.เป็นประธาน นัยว่าไว้วางใจ จะปล่อยกรมหรือกระทรวงเดียวรับมือด้วยข้อจำกัดมากมายไม่ได้
หน้าที่หลักของราชทัณฑ์คือขังคนไม่ใช่กักโรค รัฐบาลและศบค.ต้องเท่าทันแต่สิ่งที่เห็นคือไม่ได้ขยับตัวเรื่องนี้เลย โดยเฉลี่ยเรือนจำทั่วประเทศปล่อยตัวผู้ต้องขังเดือนละไม่ต่ำกว่า 15,000 คน ถ้าไม่จัดการให้ดีตั้งแต่ข้างในผลกระทบจะเป็นเรื่องใหญ่ข้างนอก
เร่งฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ทันทีไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ผู้ต้องขังที่จะได้รับการปล่อยตัวต้องตรวจหาเชื้อและฉีดวัคซีนก่อนอย่างน้อยเข็มแรก ตรวจเชิงรุก คัดแยกกลุ่มเสี่ยง ให้หน่วยงานแพทย์เป็นหลักราชทัณฑ์สนับสนุน มีพื้นที่เรือนจำเปิดหลายแห่งปรับเป็นที่กักตัวหรือโรงพยาบาลสนามได้
ผมเป็นคนเคยคุก เข้าใจและห่วงใยทั้งผู้ต้องขัง ญาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ พวกเขาช่วยตัวเองไม่ได้ รัฐบาลต้องเข้าถึงและทำทันที ก่อนโศกนาฏกรรม
วานนี้ (12 พ.ค.) กรมราชทัณฑ์ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีมีสื่อตั้งข้อสงสัยว่า มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำได้อย่างไร และมีการปกปิดข้อมูลไทม์ไลน์การรักษาผู้ติดเชื้อหรือไม่ กรมราชทัณฑ์ ขอเรียนว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโควิด มีการกระจายเป็นวงกว้างในทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงเรือนจำ และทัณฑสถานที่ต้องรับตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่ และนำผู้ต้องขังออกศาลอยู่เสมอ จึงอาจมีการหลุดรอดของเชื้อเข้าสู่เรือนจำได้
อย่างไรก็ดี กรมราชทัณฑ์ได้ป้องกันอย่างเต็มที่ ด้วยมาตรการเชิงรุกคือ แยกกักตัวผู้ต้องขังเข้าใหม่อย่างน้อย 21 วัน พร้อมตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง ก่อนผู้ต้องขังพ้นระยะแยกกักโรค ซึ่งการตรวจ พบการติดเชื้อของผู้ต้องขังที่ผ่านมา ถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ
สำหรับผู้ต้องขังที่ตรวจพบเชื้อ จะได้รับการรักษาโดยการให้ยา Favipiravia ทั้งใน รพ.สนามเรือนจำ และรพ.แม่ข่าย ตามลักษณะอาการป่วยของแต่ละราย โดยกรมราชทัณฑ์ ขอยืนยันว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เรือนจำทัณฑสถานทุกแห่งมีมาตรการอย่างเคร่งครัด เพราะมีการควบคุม บับเบิ้ล แอนด์ซีล เช่น กรณีเรือนจำจ.นราธิวาส ที่มีผู้ต้องขังติดเชื้อก็สามารถดูแลรักษาจนหาย และไม่มียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในเรือนจำอีก
"กรมราชทัณฑ์ได้ตรวจเชิงรุก เจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง 100% ซึ่งได้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของเรือนจำ/ทัณฑสถาน ที่พบการติดเชื้อ ได้แก่ ทัณฑสถานหญิงกลาง มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,040 ราย และเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มียอดผู้ติดเชื้อรวม 1,795 ราย รวมทั้งหมด 2,835 ซึ่งทุกรายอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่รพ.สนาม ทัณฑสถานรพ.ราชทัณฑ์ หากในบางรายมีอาการหนัก จะได้มีการย้ายออกเพื่อรับการรักษายังรพ.ภายนอก เชื่อว่ามาตรฐานการดำเนินการของกรมราชทัณฑ์กับกระทรวงสาธารณสุข จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ ไม่ขยายตัวไปสู่วงกว้างได้"
เวลานี้ได้มีแดนกักโรคและรพ.สนาม โดยมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด และการให้ยารักษาและการดูแลทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานของสธ. รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังด้วย อยู่ระหว่างรอการจัดสรรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเชิงรุกในเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขัง ซึ่งในส่วนของทัณฑสถานรพ.ราชทัณฑ์ ได้ตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส โควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ไปแล้วกว่า 17,000 ครั้ง ทำให้คัดแยกผู้ติดเชื้อไปรักษาได้รวดเร็ว สามารถแยกผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยงออกมากักตัว เพื่อสังเกตอาการได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องขอขอบคุณกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่เข้ามาช่วยดูแลและทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี
“รุ้ง-พี่สาว” ติดเชื้อโควิดจากคุก
น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง หนึ่งในแกนนำราษฎร ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก แจ้งว่า ตนเองติดเชื้อโควิด-19 พร้อมกับเปิดไทม์ไลน์ในช่วงที่ผ่านมา ว่า หลังจากที่ออกจากทัณฑสถานหญิงกลาง เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา เพิ่งได้รับทราบผลตรวจโควิด และพบว่า ติดเชื้อ กำลังเข้ารับการรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ และตอนนี้ได้แจ้งคนที่ใกล้ชิดทุกคนแล้ว
"หนูเองไม่คิดว่าจะติดเชื้อใดๆ เนื่องจากตรวจครั้งล่าสุดเมื่อ 22 เม.ย. และไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งบอกว่ามีอาการติดโควิด และเมื่อวันที่ 6 พ.ค. วันที่ออกจากเรือนจำ ได้พยายามจะตรวจหาเชื้อแล้ว แต่ทาง รพ.ที่ตนไป ไม่ตรวจให้ เนื่องจากไม่มีอาการ และไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง
"ระหว่างที่อยู่บ้าน คนในครอบครัวไม่มีใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการใดๆ ที่แสดงว่ามีเชื้อโควิด ส่วนตัวรุ้ง เพิ่งมีอาการเหนื่อยเมื่อวานช่วง 2 ทุ่ม ไม่มีอาการอื่น โดยครั้งล่าสุดที่ตรวจโควิดจากในเรือนจำ คือวันที่ 22 เม.ย. และวันที่ 5 พ.ค. ก่อนที่จะปล่อยตัวออกมา ทราบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่ในทัณฑสถานหญิงกลางแล้ว มากกว่า 50 คน และคาดว่า ตอนนี้ทั้งในทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำอื่นคงมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ขอให้ทางภาครัฐและกรมราชทัณฑ์ ออกมาชี้แจงและเปิดเผยจำนวนผู้ติดเชื้อในเรือนจำอย่างตรงไปตรงมาด้วย
ขณะเดียวกัน เมธาวี สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ เมย์ พี่สาวของ รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เผยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่าตนติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2) คาดว่าได้รับเชื้อมาจากน้องสาว พี่เพิ่งออกจากเรือนจำเมื่อไม่นานมานี้
'ณัฐวุฒิ' โวยรัฐบาล-ศบค. เตือนแล้วไม่ฟัง
ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เรื่องโควิด 19 ในเรือนจำผมโพสต์ตั้งแต่ 24 เม.ย. แต่รัฐบาลเพิกเฉย ศบค.ไม่เคยพูดถึง จนการติดเชื้อลุกลามกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ การป้องกันโรคข้างในหวังผลยากด้วยสภาพแออัดและการกักโรคที่แม้จะเข้มแต่เจ้าหน้าที่ต้องเข้าออกทุกวัน โอกาสนำเชื้อเข้ามาย่อมเกิดขึ้นได้
เฉพาะพื้นที่ในรั้วเดียวกันบนถนนงามวงศ์วาน มีเรือนจำ 4 แห่ง โรงพยาบาล 1 โรง ด้านหลังคือแฟลตที่พักเจ้าหน้าที่และครอบครัวเป็นชุมชนใหญ่ถ้ามีผู้ติดเชื้อการแพร่กระจายจะเร็ว และเสี่ยงจะเข้าไปทุกเรือนจำ
เรือนจำให้ผู้ต้องขังใส่หน้ากาก แต่กิจวัตร เช่น อาบน้ำ กินข้าว นอน ต้องทำร่วมกัน ถ้าเจ้าหน้าที่ติดเชื้อผู้ต้องขังที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานก็รอดยาก ปกติผู้ช่วยเจ้าพนักงานจะเดินไปได้ทุกแดนตามที่ได้รับมอบหมาย เลิกงานต้องกลับแดน วันหยุดก็ต้องอยู่ร่วมกับผู้ต้องขังอื่น กว่าจะรู้ตัวหรือแสดงอาการอาจไปทั่วเรือนจำแล้ว
แม้หน้างานเป็นของกรมราชทัณฑ์ซึ่งจงใจปกปิดข้อมูลหรือไม่ต้องว่ากัน แต่สถานการณ์นี้คือโรคระบาดระดับโลก นายกฯรวบอำนาจไว้แล้วคนเดียว กรรมการเฉพาะกิจฯก็ตั้งเลขาสมช.เป็นประธาน นัยว่าไว้วางใจ จะปล่อยกรมหรือกระทรวงเดียวรับมือด้วยข้อจำกัดมากมายไม่ได้
หน้าที่หลักของราชทัณฑ์คือขังคนไม่ใช่กักโรค รัฐบาลและศบค.ต้องเท่าทันแต่สิ่งที่เห็นคือไม่ได้ขยับตัวเรื่องนี้เลย โดยเฉลี่ยเรือนจำทั่วประเทศปล่อยตัวผู้ต้องขังเดือนละไม่ต่ำกว่า 15,000 คน ถ้าไม่จัดการให้ดีตั้งแต่ข้างในผลกระทบจะเป็นเรื่องใหญ่ข้างนอก
เร่งฉีดวัคซีนให้ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ทันทีไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ผู้ต้องขังที่จะได้รับการปล่อยตัวต้องตรวจหาเชื้อและฉีดวัคซีนก่อนอย่างน้อยเข็มแรก ตรวจเชิงรุก คัดแยกกลุ่มเสี่ยง ให้หน่วยงานแพทย์เป็นหลักราชทัณฑ์สนับสนุน มีพื้นที่เรือนจำเปิดหลายแห่งปรับเป็นที่กักตัวหรือโรงพยาบาลสนามได้
ผมเป็นคนเคยคุก เข้าใจและห่วงใยทั้งผู้ต้องขัง ญาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ พวกเขาช่วยตัวเองไม่ได้ รัฐบาลต้องเข้าถึงและทำทันที ก่อนโศกนาฏกรรม