“ศักดิ์สยาม”เร่งรถไฟทางคู่ เฟส1 พบล่าช้า 5 สัญญา จากทั้งหมด 9 สัญญา ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ อืดสุด13.59%, ส่วนเฟส 2 ต้องปรับแบบ เลี่ยงผ่านชุมชนเมือง ลดปัญหาเวนคืน วางแนวคู่แผนมอเตอร์เวย์ใน MR-MAP
วานนี้ (6 พ.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (ประชุมครั้งที่ 2) ด้วยแอปพลิเคชันซูมว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รายงานผลการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว 2โครงการ คือช่วง ฉะเชิงเทรา - แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ส่วนที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 5 โครงการ แบ่งงานก่อสร้างเป็น 9 สัญญา โดยก่อสร้างเร็วกว่าแผนงาน 4 สัญญา งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผน 5 สัญญา โดยสัญญาที่ก่อสร้างเร็วกว่าแผนงานมี ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 51.83 % เร็วกว่าแผนงาน 20.29%, ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 84.89 % เร็วกว่าแผนงาน 1.22%, ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 83.81 % เร็วกว่าแผนงาน 0.37%, ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 76.85 %เร็วกว่าแผนงาน 0.72%
สัญญาที่มีผลการก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงาน มี ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 65.59 % ช้ากว่าแผนงาน 1.90%, ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 87.14 % ช้ากว่าแผนงาน 4.15 %, ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 73.15 % ช้ากว่าแผนงาน 11.33% ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ มีผลงานก่อสร้าง 85.26 % ช้ากว่าแผนงาน13.59%, ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 69.03 %ช้ากว่าแผนงาน 2.04%
“ในสัญญาที่ล่าช้านั้นได้ให้ รฟท.เร่งรัดการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งให้รายงานสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยจัดทำแผนการเร่งรัดการก่อสร้าง ที่แสดงกิจกรรม และกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจนว่าจะสามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้กลับมาเป็นไปตามแผนงานด้วย”นายศักดิ์สยาม ระบุ
สำหรับการนำแนวคิด MR-MAP(Motorway Railway Master Plan) ตามนโยบายมาปรับใช้ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 และโครงการเส้นทางสายใหม่ เห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับกรอบแนวคิดของ MR-MAPเท่าที่ควร จึงให้ รฟท.ไปพิจารณาปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดของ MR-MAPด้วย สำหรับส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้พิจารณารายงานเหตุผลที่ชัดเจนด้วย
ทั้งนี้ รฟท.ได้ปรับปรุงรูปแบบการก่อสร้างโครงการรถไฟช่วงที่ผ่านตัวเมืองบางส่วน ตามหลักการของ MR-MAPแล้ว แต่ยังมีบางช่วงที่ยังผ่านชุมชนเมืองอยู่ ดังนั้นให้พิจารณาออกแบบเส้นทางรถไฟให้ผ่านชุมชนเมืองให้น้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนต่อไป
วานนี้ (6 พ.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ (ประชุมครั้งที่ 2) ด้วยแอปพลิเคชันซูมว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รายงานผลการดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 เส้นทาง ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้ว 2โครงการ คือช่วง ฉะเชิงเทรา - แก่งคอย และช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่น ส่วนที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 5 โครงการ แบ่งงานก่อสร้างเป็น 9 สัญญา โดยก่อสร้างเร็วกว่าแผนงาน 4 สัญญา งานก่อสร้างล่าช้ากว่าแผน 5 สัญญา โดยสัญญาที่ก่อสร้างเร็วกว่าแผนงานมี ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 51.83 % เร็วกว่าแผนงาน 20.29%, ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 84.89 % เร็วกว่าแผนงาน 1.22%, ช่วงนครปฐม - หัวหิน สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 83.81 % เร็วกว่าแผนงาน 0.37%, ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 76.85 %เร็วกว่าแผนงาน 0.72%
สัญญาที่มีผลการก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนงาน มี ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 65.59 % ช้ากว่าแผนงาน 1.90%, ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 1 มีผลงานก่อสร้าง 87.14 % ช้ากว่าแผนงาน 4.15 %, ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 73.15 % ช้ากว่าแผนงาน 11.33% ช่วงหัวหิน - ประจวบคีรีขันธ์ มีผลงานก่อสร้าง 85.26 % ช้ากว่าแผนงาน13.59%, ช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร สัญญาที่ 2 มีผลงานก่อสร้าง 69.03 %ช้ากว่าแผนงาน 2.04%
“ในสัญญาที่ล่าช้านั้นได้ให้ รฟท.เร่งรัดการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน รวมทั้งให้รายงานสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยจัดทำแผนการเร่งรัดการก่อสร้าง ที่แสดงกิจกรรม และกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจนว่าจะสามารถเร่งรัดการก่อสร้างให้กลับมาเป็นไปตามแผนงานด้วย”นายศักดิ์สยาม ระบุ
สำหรับการนำแนวคิด MR-MAP(Motorway Railway Master Plan) ตามนโยบายมาปรับใช้ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 และโครงการเส้นทางสายใหม่ เห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับกรอบแนวคิดของ MR-MAPเท่าที่ควร จึงให้ รฟท.ไปพิจารณาปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับแนวคิดของ MR-MAPด้วย สำหรับส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้พิจารณารายงานเหตุผลที่ชัดเจนด้วย
ทั้งนี้ รฟท.ได้ปรับปรุงรูปแบบการก่อสร้างโครงการรถไฟช่วงที่ผ่านตัวเมืองบางส่วน ตามหลักการของ MR-MAPแล้ว แต่ยังมีบางช่วงที่ยังผ่านชุมชนเมืองอยู่ ดังนั้นให้พิจารณาออกแบบเส้นทางรถไฟให้ผ่านชุมชนเมืองให้น้อยที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนต่อไป