คลังพร้อมเดินหน้ามาตรการเยียวยาผลกระทบโควิดระลอกใหม่ เติมเงิน “เราชนะ-ม33เรารักกัน” ได้ทันที หลังเสนอรายละเอียดเข้าครม.สัปดาห์หน้า พร้อมเตรียมเปิดลงทะเบียนรับสิทธิ คนละครึ่งเฟส 3 เพิ่ม 16 ล้านคน ส่วนรายเดิม 15 ล้านคน รอยืนยันสิทธิ
วานนี้ (6 พ.ค.) น.ส.กุลยา ตันตเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึง มาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ในส่วนมาตรการเร่งด่วนที่จะดำเนินการผ่านโครงการเราชนะ และม. 33 เรารักกันนั้น จะเป็นการเติมเงินให้กับผู้ที่ร่วมโครงการเดิมจำนวน 2 สัปดาห์ๆละ 1 พันบาท รวมเป็นมาตรการละ 2 พันบาทต่อคน ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนร่วมโครงการใหม่แต่อย่างใด
โดยทั้ง 2 โครงการดังกล่าว จะสิ้นสุดในเดือนมิ.ย.นี้ ใช้งบประมาณรวม 8.55 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นมาตรการเราชนะ 6.7 หมื่นล้านบาท และ ม. 33 เรารักกันอีก 1.85 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมในที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ และใช้จ่ายได้จนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.นี้
สำหรับมาตรการระยะต่อไปที่จะเริ่มหลังมิ.ย.นี้ กระทรวงการคลังกำลังเร่งสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเร็วๆนี้ ได้แก่ 1.การเติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน โครงการนี้ จะใส่เงินให้กับผู้ถือบัตรคนจนทั้งหมดรวมประมาณ 16 ล้านคน ผู้ร่วมโครงการไม่ต้องลงทะเบียนเช่นกัน เพราะเงินจะใส่เข้าไปในบัตรให้ทันทีที่เริ่มโครงการ
2.โครงการคนละครึ่งเฟสที่ 3 มาตรการนี้ สำหรับผู้ร่วมโครงการรายเดิม จะมีการสอบถามผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังว่า ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ต่อหรือไม่ โดยให้กดยอมรับให้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ถ้าต้องการเข้าร่วม ระบบก็จะทำการเติมเงินเข้าเป๋าตังให้เหมือนเดิม กรณีรายใหม่ที่ต้องการเข้าร่วม จะต้องทำการลงทะเบียนใหม่ ทั้งนี้ มาตรการนี้ รัฐบาลจะใส่เงินให้ทั้งหมด 3 พันบาทต่อคน
สำหรับโครงการคนละครึ่งเฟส 3 นี้ จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 31 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้ที่เคยได้สิทธิ์ ในโครงการคนละครึ่งเฟส 1 และ เฟส 2 แล้ว จำนวน 15 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยรับสิทธิ์โครงการคนละครึ่งนั้นกระทรวงการคลังจะเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มอีก 16 ล้านสิทธิ์ซึ่งวันที่จะเปิดให้ลงทะเบียนจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้ สำหรับรูปแบบการใช้จ่ายจะเป็นแบบโคเพย์ (Co-pay) โดยรัฐบาลจะโอนเงินเข้าแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" ให้วันละ 150 บาททุกวันจนครบ 3 พันบาท
3.มาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ มาตรการนี้ รัฐบาลจะหนุนเป็นe-voucher เข้าแอพลิเคชั่นเป๋าตังให้คนละไม่เกิน 7 พันบาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการต่างๆ โดยผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียนเพื่อร่วมโครงการ คาดว่า จะมีผู้ร่วมโครงการประมาณ 4 ล้านราย โดยผู้ที่ต้องการได้ voucher เต็มจำนวน 7 พันบาท จะต้องมีการใช้จ่ายระดับหนึ่ง
"มาตรการนี้ จะเป็นมาตรการที่ดึงเงินในกระเป๋าของผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง เพื่อให้เม็ดเงินมีส่วนเข้าไปกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยเขาจะต้องใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการก่อน จากนั้น รัฐจะคืนส่วนหนึ่งราว 10-15% ของเงินที่ใช้จ่ายเข้าไปในแอพลิเคชั่นเป๋าตัง ดังนั้น หากผู้ร่วมโครงการต้องการได้เงินคืนมาเต็ม 7 พันบาท ก็ต้องใช้จ่ายเงินระดับหนึ่งหรือหลายหมื่นบาท"
ทั้งนี้ มาตรการทั้งหมดนี้ ครอบคลุมความช่วยเหลือประชากรมากที่สุดถึง 51 ล้านคน คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 2.45 แสนล้านบาท ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท
วานนี้ (6 พ.ค.) น.ส.กุลยา ตันตเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึง มาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า ในส่วนมาตรการเร่งด่วนที่จะดำเนินการผ่านโครงการเราชนะ และม. 33 เรารักกันนั้น จะเป็นการเติมเงินให้กับผู้ที่ร่วมโครงการเดิมจำนวน 2 สัปดาห์ๆละ 1 พันบาท รวมเป็นมาตรการละ 2 พันบาทต่อคน ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมโครงการอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนร่วมโครงการใหม่แต่อย่างใด
โดยทั้ง 2 โครงการดังกล่าว จะสิ้นสุดในเดือนมิ.ย.นี้ ใช้งบประมาณรวม 8.55 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นมาตรการเราชนะ 6.7 หมื่นล้านบาท และ ม. 33 เรารักกันอีก 1.85 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังจะเสนอรายละเอียดเพิ่มเติมในที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ และใช้จ่ายได้จนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.นี้
สำหรับมาตรการระยะต่อไปที่จะเริ่มหลังมิ.ย.นี้ กระทรวงการคลังกำลังเร่งสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเร็วๆนี้ ได้แก่ 1.การเติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอีก 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน โครงการนี้ จะใส่เงินให้กับผู้ถือบัตรคนจนทั้งหมดรวมประมาณ 16 ล้านคน ผู้ร่วมโครงการไม่ต้องลงทะเบียนเช่นกัน เพราะเงินจะใส่เข้าไปในบัตรให้ทันทีที่เริ่มโครงการ
2.โครงการคนละครึ่งเฟสที่ 3 มาตรการนี้ สำหรับผู้ร่วมโครงการรายเดิม จะมีการสอบถามผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังว่า ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ต่อหรือไม่ โดยให้กดยอมรับให้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว ถ้าต้องการเข้าร่วม ระบบก็จะทำการเติมเงินเข้าเป๋าตังให้เหมือนเดิม กรณีรายใหม่ที่ต้องการเข้าร่วม จะต้องทำการลงทะเบียนใหม่ ทั้งนี้ มาตรการนี้ รัฐบาลจะใส่เงินให้ทั้งหมด 3 พันบาทต่อคน
สำหรับโครงการคนละครึ่งเฟส 3 นี้ จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 31 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้ที่เคยได้สิทธิ์ ในโครงการคนละครึ่งเฟส 1 และ เฟส 2 แล้ว จำนวน 15 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยรับสิทธิ์โครงการคนละครึ่งนั้นกระทรวงการคลังจะเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มอีก 16 ล้านสิทธิ์ซึ่งวันที่จะเปิดให้ลงทะเบียนจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้ สำหรับรูปแบบการใช้จ่ายจะเป็นแบบโคเพย์ (Co-pay) โดยรัฐบาลจะโอนเงินเข้าแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" ให้วันละ 150 บาททุกวันจนครบ 3 พันบาท
3.มาตรการยิ่งใช้ยิ่งได้ มาตรการนี้ รัฐบาลจะหนุนเป็นe-voucher เข้าแอพลิเคชั่นเป๋าตังให้คนละไม่เกิน 7 พันบาท สำหรับซื้อสินค้าและบริการต่างๆ โดยผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียนเพื่อร่วมโครงการ คาดว่า จะมีผู้ร่วมโครงการประมาณ 4 ล้านราย โดยผู้ที่ต้องการได้ voucher เต็มจำนวน 7 พันบาท จะต้องมีการใช้จ่ายระดับหนึ่ง
"มาตรการนี้ จะเป็นมาตรการที่ดึงเงินในกระเป๋าของผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงระดับสูง เพื่อให้เม็ดเงินมีส่วนเข้าไปกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ โดยเขาจะต้องใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการก่อน จากนั้น รัฐจะคืนส่วนหนึ่งราว 10-15% ของเงินที่ใช้จ่ายเข้าไปในแอพลิเคชั่นเป๋าตัง ดังนั้น หากผู้ร่วมโครงการต้องการได้เงินคืนมาเต็ม 7 พันบาท ก็ต้องใช้จ่ายเงินระดับหนึ่งหรือหลายหมื่นบาท"
ทั้งนี้ มาตรการทั้งหมดนี้ ครอบคลุมความช่วยเหลือประชากรมากที่สุดถึง 51 ล้านคน คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 2.45 แสนล้านบาท ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท