คนทยอยกลับ กทม. ไม่คึกคักเท่าปีก่อนเกิดวิกฤตโควิด ยอดอุบัติเหตุสงกรานต์ 5 วัน ดับ 192 บาดเจ็บ 1,881 คุมประพฤติเมาแล้วขับสะสมทะลุ 3,730 คดี ย้ำคุมเข้มติดอุปกรณ์ EM ทำผิดซ้ำส่งเข้าค่ายปรับพฤติกรรม 3 วัน
วานนี้ (15 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเดินทางกลับเข้า กทม. ของประชาชนที่ไปท่องเที่ยวและเดินทางกลับภูมิลำเนา ทั้งที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือขนส่งหมอชิต และสถานีรถไฟหัวลำโพง พบว่า มีประชาชนหอบสัมภาระ, ของฝาก, ข้าวสาร และอาหารแห้ง ทยอยเดินทางเข้ามาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงค่ำที่บรรยากาศเริ่มคึกคัก มีผู้คนเดินทางกลับเข้า กทม.หนาตามากขึ้น อย่างไรก็ตามภาพรวมยังถือว่าเงียบเหงาอย่างมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่จะเกิดแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีประชาชนส่วนหนึ่งตัดสินใจไม่เดินทางออกต่างจังหวัด หรือกลับภูมิลำเนา และบางส่วนเลือกที่จะเลี่ยงการโดยสารรถโดยสารสาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ลาหยุดต่อเนื่องไปจนถึงวันอาทิตย์ด้วย
วันเดียวกัน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย แถลงว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย.64 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด เกิดอุบัติเหตุ 330 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 37 ราย ผู้บาดเจ็บ 328 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว และดื่มแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 59,315 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 341,495 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 71,889 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,998 ราย และไม่สวมหมวกนิรภัย 17,599 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี (4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี, ตาก และนครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 13 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วัน ของการรณรงค์ (10-14 เม.ย.64) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,795 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 192 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,818 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 15 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (76 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กทม., ขอนแก่น และปทุมธานี (จังหวัดละ 8 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (82 คน)
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เผยสถิติที่ศาลสั่งคุมความประพฤติ (14 เม.ย.64) จำนวน 1,648 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 1,646 คดี คดีขับรถประมาท 2 คดี ซึ่งมีตัวเลขสถิติยอดรวม 5 วัน ที่มีการควบคุมเข้มงวด (10 - 14 เม.ย.64) จำนวนทั้งสิ้น 3,743 คดี โดยเกือบทั้งหมดเป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 3,730 คดี คิดเป็น 99.66%
กรมคุมประพฤติเน้นย้ำมาตรการคุมเข้มสำหรับผู้กระทำผิดในฐานความผิดขับรถในขณะเมาสุรา โดยศาลสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) 11 ราย ยอดสะสม 5 วันขยับเป็น 19 ราย โดยมีเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัยในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 - 04.00 น.เป็นระยะเวลา 15 วัน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา 6 เดือน เฝ้าติดตามและควบคุมดูแลผู้กระทำผิดตลอด 24 ชม. ผ่านศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หากพบว่ามีประวัติการกระทำผิดซ้ำ จะนำส่งเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้น ในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง
วานนี้ (15 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเดินทางกลับเข้า กทม. ของประชาชนที่ไปท่องเที่ยวและเดินทางกลับภูมิลำเนา ทั้งที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือขนส่งหมอชิต และสถานีรถไฟหัวลำโพง พบว่า มีประชาชนหอบสัมภาระ, ของฝาก, ข้าวสาร และอาหารแห้ง ทยอยเดินทางเข้ามาตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในช่วงค่ำที่บรรยากาศเริ่มคึกคัก มีผู้คนเดินทางกลับเข้า กทม.หนาตามากขึ้น อย่างไรก็ตามภาพรวมยังถือว่าเงียบเหงาอย่างมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนๆที่จะเกิดแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากมีประชาชนส่วนหนึ่งตัดสินใจไม่เดินทางออกต่างจังหวัด หรือกลับภูมิลำเนา และบางส่วนเลือกที่จะเลี่ยงการโดยสารรถโดยสารสาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ลาหยุดต่อเนื่องไปจนถึงวันอาทิตย์ด้วย
วันเดียวกัน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย แถลงว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 14 เม.ย.64 ซึ่งเป็นวันที่ 5 ของการรณรงค์สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด เกิดอุบัติเหตุ 330 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 37 ราย ผู้บาดเจ็บ 328 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว และดื่มแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดได้แก่ รถจักรยานยนต์
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,908 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 59,315 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 341,495 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 71,889 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,998 ราย และไม่สวมหมวกนิรภัย 17,599 ราย โดยจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ปทุมธานี (4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ กาญจนบุรี, ตาก และนครศรีธรรมราช (จังหวัดละ 13 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วัน ของการรณรงค์ (10-14 เม.ย.64) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,795 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 192 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,818 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 15 จังหวัด จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (76 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กทม., ขอนแก่น และปทุมธานี (จังหวัดละ 8 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (82 คน)
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เผยสถิติที่ศาลสั่งคุมความประพฤติ (14 เม.ย.64) จำนวน 1,648 คดี จำแนกเป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 1,646 คดี คดีขับรถประมาท 2 คดี ซึ่งมีตัวเลขสถิติยอดรวม 5 วัน ที่มีการควบคุมเข้มงวด (10 - 14 เม.ย.64) จำนวนทั้งสิ้น 3,743 คดี โดยเกือบทั้งหมดเป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 3,730 คดี คิดเป็น 99.66%
กรมคุมประพฤติเน้นย้ำมาตรการคุมเข้มสำหรับผู้กระทำผิดในฐานความผิดขับรถในขณะเมาสุรา โดยศาลสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) 11 ราย ยอดสะสม 5 วันขยับเป็น 19 ราย โดยมีเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัยในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 - 04.00 น.เป็นระยะเวลา 15 วัน พักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นเวลา 6 เดือน เฝ้าติดตามและควบคุมดูแลผู้กระทำผิดตลอด 24 ชม. ผ่านศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว หากพบว่ามีประวัติการกระทำผิดซ้ำ จะนำส่งเข้ารับการแก้ไขฟื้นฟูแบบเข้มข้น ในรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นระยะเวลา 3 วันต่อเนื่อง