ผู้จัดการรายวัน360- อุบัติเหตุสงกรานต์ ผ่านไป 3 วัน (10–12 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,090 ครั้ง เสียชีวิตรวม 110 ราย บาดเจ็บ รวม 1,099 คน เผยนครศรีธรรมราชขึ้นแท่นเกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ส่วนชลบุรีมีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 6 ราย พร้อมคุมประพฤติเมาขับ 1,935 คดี ขณะที่ศาลสั่งติดกำไร EM รวม 8 ราย
วานนี้ (13 เม.ย.) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน ประจำวันที่ 12 เม.ย.64 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการรณรงค์"สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด"เกิดอุบัติเหตุ 388 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 54 ราย ผู้บาดเจ็บ 373 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ถนนกรมทางหลวง และถนนใน อบต./หมู่บ้าน ช่วงเวลา 16.01 –20.00 น.
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,896 จุด จนท.ปฏิบัติงาน 59,079 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 343,703 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 65,929 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,210 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย16,553 ราย
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (22 ครั้ง) จังหวัด ที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ สกลนคร สุพรรณบุรี (จังหวัดละ 4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (21 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 3 วันของการรณรงค์ (10–12 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,090 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 110 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,099 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (49 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ชลบุรี (6 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (52 คน)
ด้านนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ปภ.) กล่าวว่า วันนี้คาดว่า จะมีการใช้รถใช้ถนนบนเส้นทางสายรอง โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอำเภอ อบต.และหมู่บ้านมากขึ้น จึงได้ประสานจังหวัดใช้กลไกในระดับพื้นที่ โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน จิตอาสาเน้นการดูแลและป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน โดยเพิ่มความเข้มข้นในการจัดตั้งด่านชุมชนบริเวณจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เน้นการเรียกตรวจยานพาหนะและประเมินความพร้อมของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะการกวดขันพฤติกรรมการดื่มแล้วขับ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ และการใช้อุปกรณ์นิรภัย รวมถึงบังคับใช้กฎหมายจราจรและกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด
"ท้ายนี้ ขอฝากเตือนประชาชนใช้รถใช้ถนนด้วยความปลอดภัย ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข (DMHTT) เพื่อให้ทุกการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีความปลอดภัยและห่างไกลจากโควิด-19”อธิบดี ปภ. กล่าว
คุมประพฤติเมาขับ1,935 คดี
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติวันที่สาม ของการควบคุมเข้มงวดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (12 เม.ย.) สถิติคดีเข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ 1,406 คดี เป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 1,398 คดี ขับเสพ 8 คดี ยอดสะสมรวม 3 วัน (10-12 เม.ย.) 1,935 คดี
ทั้งนี้ ศาลสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM)ในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา 7 ราย ยอดสะสม 3 วัน ขยับเป็น 8 ราย โดยมีเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัยในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 น. –04.00 น. เป็นระยะเวลา 15 วัน เฝ้าติดตามและควบคุมดูแลผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว
สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมกับอาสาสมัครคุมประพฤติ ภาคีเครือข่าย และผู้ถูกคุมความประพฤติ ลงพื้นที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชน ตามจุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น จำนวน 100 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 686 คน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมมือกันทำความสะอาด ตามด่านตรวจค้น และจุดบริการประชาชน และขอความร่วมมือให้ประชาชน สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด
วานนี้ (13 เม.ย.) นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนน ประจำวันที่ 12 เม.ย.64 ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการรณรงค์"สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด"เกิดอุบัติเหตุ 388 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 54 ราย ผู้บาดเจ็บ 373 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ขับรถเร็ว ดื่มแล้วขับ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ถนนกรมทางหลวง และถนนใน อบต./หมู่บ้าน ช่วงเวลา 16.01 –20.00 น.
ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,896 จุด จนท.ปฏิบัติงาน 59,079 คน เรียกตรวจยานพาหนะ 343,703 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 65,929 ราย มีความผิดฐานไม่มีใบขับขี่ 18,210 ราย ไม่สวมหมวกนิรภัย16,553 ราย
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (22 ครั้ง) จังหวัด ที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ สกลนคร สุพรรณบุรี (จังหวัดละ 4 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (21 คน)
สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 3 วันของการรณรงค์ (10–12 เม.ย.) เกิดอุบัติเหตุรวม 1,090 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 110 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,099 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุดได้แก่ นครศรีธรรมราช (49 ครั้ง) จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ ชลบุรี (6 ราย) จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครศรีธรรมราช (52 คน)
ด้านนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ปภ.) กล่าวว่า วันนี้คาดว่า จะมีการใช้รถใช้ถนนบนเส้นทางสายรอง โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอำเภอ อบต.และหมู่บ้านมากขึ้น จึงได้ประสานจังหวัดใช้กลไกในระดับพื้นที่ โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน จิตอาสาเน้นการดูแลและป้องปรามพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน โดยเพิ่มความเข้มข้นในการจัดตั้งด่านชุมชนบริเวณจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เน้นการเรียกตรวจยานพาหนะและประเมินความพร้อมของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะการกวดขันพฤติกรรมการดื่มแล้วขับ การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ และการใช้อุปกรณ์นิรภัย รวมถึงบังคับใช้กฎหมายจราจรและกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด
"ท้ายนี้ ขอฝากเตือนประชาชนใช้รถใช้ถนนด้วยความปลอดภัย ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข (DMHTT) เพื่อให้ทุกการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์มีความปลอดภัยและห่างไกลจากโควิด-19”อธิบดี ปภ. กล่าว
คุมประพฤติเมาขับ1,935 คดี
นายวิตถวัลย์ สุนทรขจิต อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติวันที่สาม ของการควบคุมเข้มงวดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (12 เม.ย.) สถิติคดีเข้าสู่กระบวนการคุมประพฤติ 1,406 คดี เป็นคดีขับรถในขณะเมาสุรา 1,398 คดี ขับเสพ 8 คดี ยอดสะสมรวม 3 วัน (10-12 เม.ย.) 1,935 คดี
ทั้งนี้ ศาลสั่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM)ในฐานความผิดขับรถขณะเมาสุรา 7 ราย ยอดสะสม 3 วัน ขยับเป็น 8 ราย โดยมีเงื่อนไขห้ามออกจากที่พักอาศัยในช่วงเวลาตั้งแต่ 22.00 น. –04.00 น. เป็นระยะเวลา 15 วัน เฝ้าติดตามและควบคุมดูแลผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านศูนย์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว
สำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศ ได้ร่วมกับอาสาสมัครคุมประพฤติ ภาคีเครือข่าย และผู้ถูกคุมความประพฤติ ลงพื้นที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชน ตามจุดบริการประชาชน ด่านชุมชน และด่านตรวจค้น จำนวน 100 จุด โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 686 คน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมมือกันทำความสะอาด ตามด่านตรวจค้น และจุดบริการประชาชน และขอความร่วมมือให้ประชาชน สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด