ผู้จัดการรายวัน360-ครม.เคาะเพิ่มงบเวนคืนรถไฟควาเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2.17 พันล้านบาท ใช้งบกลางจ่ายก่อน 607 ล้านบาท พร้อมอนุมัติกทท.ลดค่าตู้คอนเทนเนอร์ ม.ค.-มี.ค.แก้ปัญหาขาดแคลนตู้เปล่า สูญรายได้ 384 ล้านบาท
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 มี.ค.ได้เห็นชอบหลักการความคืบหน้า การส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำเสนอ เพิ่มค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 2,170 ล้านบาท จากกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ 3,570 ล้านบาท เพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นให้พิจารณาค่าเวนคืนตามความเป็นจริง พร้อมกันนี้ได้ทาง อีอีซีพิจารณาหากมีวงเงินเหลือให้นำมาเป็นค่าเวนคืนได้
ทั้งนี้ ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งดำเนินการและจัดทำไทม์ไลน์การดำเนินงาน รายงานต่ออีอีซีและกระทรวงคมนาคม ทุกเดือน การส่งมอบพื้นที่เป็น 3 ช่วง ตามเป้าหมาย คือ ส่วนนอกเมืองตั้งแต่ สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ ภายในวันที่ 24 ต.ค2564 และการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ช่วงสุวรรณภูมิ-มักกะสัน-พญาไท) และเฟส 2 ส่วนพื้นที่ในเมืองตั้งแต่ พญาไท-ดอนเมือง มีกำหนดส่งภายใน 2 ปี หรือภายในเดือนต.ค. 2566 ซึ่งจากการติดตามความพร้อมคาดว่าจะสามารถเร่งรัดและส่งมอบได้ไม่เกิน เดือน ธ.ค. 2565
งบค่าเวนคืนที่เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ วงเงิน 607 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2564 ใช้สำหรับเป็นค่าเวนคืนที่ดิน ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ภายในเดือนต.ค. 2564 และ ส่วนที่ 2 วงเงิน 1,562 ล้านบาท เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และเผื่อค่าอุทธรณ์เพิ่มเติม
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเล โดยให้ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.)ปรับลดลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้า อัตรา 1,000 บาท ต่อทีอียูสำหรับตู้ขนาด 20 ฟุต อัตรา 2,000 บาท สำหรับตู้ 40 ฟุต และอัตรา 2,250 บาท สำหรับตู้ 45 ฟุต เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นจำนวนเงินประมาณ 5.2 ล้านบาท และให้ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ชดเชยค่ายกขนตู้สินค้าให้แก่เอกชนผู้ประกอบการนำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยจ่ายส่วนลดคืนอัตรา 1,000 บาท ต่อทีอียู เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นจำนวนเงินประมาณ 384 ล้านบาท
ทั้งนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ต้องสูญเสียรายได้ประมาณ 389 ล้านบาท โดยกทท.ได้เสนอขอหักวงเงินช่วยเหลือออกจากเงินที่ต้องส่งคืนกระทรวงการคลังรายปี ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ระบุว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดต่อกฎหมาย ครม.จึงให้กทท.หารือกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ในการพิจารณาเงินอุดหนุน
“การชดเชยย้อนหลังเป็นช่วงม.ค.-มี.ค. 64 ที่ตู้เปล่าขาดแคลน โดยผู้ประกอบการในช่วงนั้นก็นำใบเสร็จมาเคลมกับการท่าเรือ ส่วนปัจจุบันสถานการณ์ตู้เปล่าเริ่มกลับมาประมาณ 30% หรือมีตู้ประมาณ 130,000 ทีอียู หรือมีปริมาณเท่ากับช่วงต.ค. 2563 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้กับการส่งออก ถือว่าสมดุลกัน ซึ่งตั้งแต่เม.ย. กทท.จะประเมินปริมาณตู้เปล่าต่อเนื่อง หากไม่มีปัญหาขาดแคลน ก็ไม่ต้องอุดหนุนใดๆ”
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 มี.ค.ได้เห็นชอบหลักการความคืบหน้า การส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำเสนอ เพิ่มค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 2,170 ล้านบาท จากกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ 3,570 ล้านบาท เพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นให้พิจารณาค่าเวนคืนตามความเป็นจริง พร้อมกันนี้ได้ทาง อีอีซีพิจารณาหากมีวงเงินเหลือให้นำมาเป็นค่าเวนคืนได้
ทั้งนี้ ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งดำเนินการและจัดทำไทม์ไลน์การดำเนินงาน รายงานต่ออีอีซีและกระทรวงคมนาคม ทุกเดือน การส่งมอบพื้นที่เป็น 3 ช่วง ตามเป้าหมาย คือ ส่วนนอกเมืองตั้งแต่ สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ ภายในวันที่ 24 ต.ค2564 และการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ช่วงสุวรรณภูมิ-มักกะสัน-พญาไท) และเฟส 2 ส่วนพื้นที่ในเมืองตั้งแต่ พญาไท-ดอนเมือง มีกำหนดส่งภายใน 2 ปี หรือภายในเดือนต.ค. 2566 ซึ่งจากการติดตามความพร้อมคาดว่าจะสามารถเร่งรัดและส่งมอบได้ไม่เกิน เดือน ธ.ค. 2565
งบค่าเวนคืนที่เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ วงเงิน 607 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2564 ใช้สำหรับเป็นค่าเวนคืนที่ดิน ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ภายในเดือนต.ค. 2564 และ ส่วนที่ 2 วงเงิน 1,562 ล้านบาท เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และเผื่อค่าอุทธรณ์เพิ่มเติม
นอกจากนี้ ที่ประชุมครม.ได้เห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเล โดยให้ท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.)ปรับลดลดค่าภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้า อัตรา 1,000 บาท ต่อทีอียูสำหรับตู้ขนาด 20 ฟุต อัตรา 2,000 บาท สำหรับตู้ 40 ฟุต และอัตรา 2,250 บาท สำหรับตู้ 45 ฟุต เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นจำนวนเงินประมาณ 5.2 ล้านบาท และให้ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ชดเชยค่ายกขนตู้สินค้าให้แก่เอกชนผู้ประกอบการนำเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยจ่ายส่วนลดคืนอัตรา 1,000 บาท ต่อทีอียู เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคม 2564 รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เป็นจำนวนเงินประมาณ 384 ล้านบาท
ทั้งนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ต้องสูญเสียรายได้ประมาณ 389 ล้านบาท โดยกทท.ได้เสนอขอหักวงเงินช่วยเหลือออกจากเงินที่ต้องส่งคืนกระทรวงการคลังรายปี ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ระบุว่าไม่สามารถทำได้เนื่องจากขัดต่อกฎหมาย ครม.จึงให้กทท.หารือกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ในการพิจารณาเงินอุดหนุน
“การชดเชยย้อนหลังเป็นช่วงม.ค.-มี.ค. 64 ที่ตู้เปล่าขาดแคลน โดยผู้ประกอบการในช่วงนั้นก็นำใบเสร็จมาเคลมกับการท่าเรือ ส่วนปัจจุบันสถานการณ์ตู้เปล่าเริ่มกลับมาประมาณ 30% หรือมีตู้ประมาณ 130,000 ทีอียู หรือมีปริมาณเท่ากับช่วงต.ค. 2563 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้กับการส่งออก ถือว่าสมดุลกัน ซึ่งตั้งแต่เม.ย. กทท.จะประเมินปริมาณตู้เปล่าต่อเนื่อง หากไม่มีปัญหาขาดแคลน ก็ไม่ต้องอุดหนุนใดๆ”