ผู้จัดการรายวัน360- การบินไทย ยื่นแผนฟื้นฟูแล้ว มูลหนี้ 4.1 แสนล้าน ลุ้น 12 พ.ค.เจ้าหนี้โหวตรับแผน ตั้งเป้าระดมทุน5 หมื่นล้าน ดึง “ปิยสวัสดิ์ – จักรกฤศฎิ์” เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ “ชาญศิลป์” มั่นใจสถานการณ์พลิกฟื้นมีกำไรปี 68 ลุยลดพนักงานคาดปี 64 จะลดอีก 7,000 คน สุดท้ายจะเหลือ 14,000-15,000 คน ในปี 65 พร้อมปรับลดฝูงบิน จาก 103 ลำเหลือ 85 ลำในปี 2568 และลดแบบเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ คาดไตรมาส 3 ปีนี้ จะเริ่มกลับมาบินเส้นทางที่สามารถทำกำไรได้ทั้งยุโรป และเอเชีย
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการจนแล้วเสร็จและได้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ในวันที่ 2 มี.ค.64 เวลา 11.00 น. ซึ่งมีเอกสารจำนวน 303 หน้า โดยมีมูลหนี้ที่เสนอศาลจำนวน 4.1 แสนล้านบาท (เป็นมูลหนี้ที่รวมทุกสัญญาไปจนครบกำหนดในอนาคต) ส่วนมูลหนี้ก่อนวันที่ 14 ก.ย. 2563 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน มีประมาณ 1.7 แสนล้านบาท โดยมีเจ้าหนี้ราว 13,000 ราย แบ่งได้ประมาณ 35 กลุ่ม
จากนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งแผนฟื้นฟู ให้เจ้าหนี้ทุกรายพิจารณาเนื่องจากคดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนมาก ทั้งเจ้าหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศ การบินไทยจึงได้รับอนุญาตให้ส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าหนี้ในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ โดยเจ้าหนี้สแกน QR Code เพื่อเข้าดูและดาวน์โหลดแผนฟื้นฟูได้จากหนังสือแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้ที่จะได้รับจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และจะโหวตแผนในวันที่ 12 พ.ค. 2564 ซึ่งเจ้าหนี้โหวตรับแผนไม่น้อยกว่า 50% หลังเจ้าหนี้อนุมัติ จะส่งแผนไปยังศาลล้มละลาย คาดว่าเป็นช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. 2564 และเมื่อศาลอนุมัติ การบินไทยจะดำเนินการตามแผนทันที
คณะผู้ทำแผนเสนอให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์และนายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล เป็นผู้บริหารแผน ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่มีการลดหนี้ (แฮร์คัท) ขณะที่คาดว่า จะมีการระดมทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ปรับโครงสร้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดพนักงาน จากปี 2562 มีพนักงาน 29,000 คน ปัจจุบันเหลือ 21,000 คน จากการลด พนักงานสัญญาจ้าง (Outsource) มีพนักงานที่เกษียณหรือลาออก และที่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร MSP A และคาดว่าในปี 2564 จะมีโครงการ MSP B และ MSP C อีกประมาณ 6,000 - 7,000 คนสุดท้ายจะเหลือ 14,000 ถึง 15,000 คน ในปี 2565 หรือลดค่าใช้จ่ายด้านคนจาก 23% ก่อนโควิด เหลือ 13%
โดยจะเน้นเส้นทางบินที่มีฐานลูกค้า มีกำไร ประมาณ 83 จุดบิน ปรับลดฝูงบินจาก 103 ลำเหลือ 85 ลำในปี 2568 และมีแผน ลดแบบเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ ปรับลดแบบเครื่องยนต์จาก 9 แบบ เหลือ 4 แบบ ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาลดค่าเช่าระยะยาวลง40% ส่วนค่าเช่าระยะสั้น ช่วง 2 ปีจะจ่าย20% ของค่าเช่าเดิม และจ่ายเท่าที่มีการบินจริงและในปีที่3 จะเป็นค่าเช่าใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม 40%
เป้าหมาย ภายใน2 ปีต้องลดค่าใช้จ่ายลง 52,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ทำได้แล้วประมาณ 5,000 ล้านบาท การลดค่าใช้จ่าย และสร้างธุรกิจต่างๆ ที่มีถึง 500 โครงการ จะทำให้มีเงินกลับเข้าบริษัท ในเดือนก.ค. ประมาณ 36,000 ล้านบาท และในปี 2565 จะเพิ่มเป็น 58,000 ล้านบาท และตามแผนฟื้นฟู บริษัทจะมีรายได้ถึงจุดคุ้มทุนปี 2567 และกำไรในปี 2568
“การบินไทยจะมียอดขาย ปี2562 ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท แต่ปี 2563 เหลือ 2 หมื่นล้านบาท ปี 2564 จะเพิ่มเป็น 6-7 หมื่นล้านบาท ปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.4 แสนล้านบาท“
นายนนท์ กลินทะ รักษาการ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์ กล่าวว่า จากนี้ลูกค้าเป้าหมาย จะเปลี่ยนตามแนวโน้มที่เปลี่ยนไป จากเดิมกลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งอนาคต มีการเดินทางลดลง เพราะสามารถประชุมผ่านออนไลน์ได้ หันไปเน้นกลุ่มอื่นรวมถึงทำการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ รวมถึงราคาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ขณะที่เส้นทางบินจะเลือกเส้นทางที่เคยมีกำไร คาดว่า ในไตรมาส 3ปีนี้จะเริ่มกลับมาทำการบินได้ เช่น แฟรงเฟริต์ ลอนดอน ซูริค บรัสเซล ปารีส ส่วนเอเชีย เช่น โตเกียว อินชอน โอซาก้า นาริตะ ฮาเนดะ สิงคโปร์ ซิดนีย์ เป็นต้น
ส่วนเส้นทางบินที่คาดว่าจะมีกำไร จะปรับขนาดเครื่องบินเล็กลง การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ อย่างไรก็ตาม การบินไทยมีแผนทำการบินเส้นทางใหม่ แฟรงก์เฟิร์ต -ภูเก็ตในเดือนเม.ย.2564 โดยการท่องเที่ยวฯให้การสนับสนุน
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร รักษาการแทนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทยได้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการจนแล้วเสร็จและได้ยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วตามกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ในวันที่ 2 มี.ค.64 เวลา 11.00 น. ซึ่งมีเอกสารจำนวน 303 หน้า โดยมีมูลหนี้ที่เสนอศาลจำนวน 4.1 แสนล้านบาท (เป็นมูลหนี้ที่รวมทุกสัญญาไปจนครบกำหนดในอนาคต) ส่วนมูลหนี้ก่อนวันที่ 14 ก.ย. 2563 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้การบินไทยฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน มีประมาณ 1.7 แสนล้านบาท โดยมีเจ้าหนี้ราว 13,000 ราย แบ่งได้ประมาณ 35 กลุ่ม
จากนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะส่งแผนฟื้นฟู ให้เจ้าหนี้ทุกรายพิจารณาเนื่องจากคดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนมาก ทั้งเจ้าหนี้ในประเทศไทยและต่างประเทศ การบินไทยจึงได้รับอนุญาตให้ส่งแผนฟื้นฟูกิจการให้เจ้าหนี้ในรูปแบบดิจิทัลไฟล์ โดยเจ้าหนี้สแกน QR Code เพื่อเข้าดูและดาวน์โหลดแผนฟื้นฟูได้จากหนังสือแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้ที่จะได้รับจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และจะโหวตแผนในวันที่ 12 พ.ค. 2564 ซึ่งเจ้าหนี้โหวตรับแผนไม่น้อยกว่า 50% หลังเจ้าหนี้อนุมัติ จะส่งแผนไปยังศาลล้มละลาย คาดว่าเป็นช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. 2564 และเมื่อศาลอนุมัติ การบินไทยจะดำเนินการตามแผนทันที
คณะผู้ทำแผนเสนอให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์และนายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล เป็นผู้บริหารแผน ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่มีการลดหนี้ (แฮร์คัท) ขณะที่คาดว่า จะมีการระดมทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท
ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ปรับโครงสร้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดพนักงาน จากปี 2562 มีพนักงาน 29,000 คน ปัจจุบันเหลือ 21,000 คน จากการลด พนักงานสัญญาจ้าง (Outsource) มีพนักงานที่เกษียณหรือลาออก และที่เข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กร MSP A และคาดว่าในปี 2564 จะมีโครงการ MSP B และ MSP C อีกประมาณ 6,000 - 7,000 คนสุดท้ายจะเหลือ 14,000 ถึง 15,000 คน ในปี 2565 หรือลดค่าใช้จ่ายด้านคนจาก 23% ก่อนโควิด เหลือ 13%
โดยจะเน้นเส้นทางบินที่มีฐานลูกค้า มีกำไร ประมาณ 83 จุดบิน ปรับลดฝูงบินจาก 103 ลำเหลือ 85 ลำในปี 2568 และมีแผน ลดแบบเครื่องบินจาก 12 แบบเหลือ 5 แบบ ปรับลดแบบเครื่องยนต์จาก 9 แบบ เหลือ 4 แบบ ที่ผ่านมาได้มีการเจรจาลดค่าเช่าระยะยาวลง40% ส่วนค่าเช่าระยะสั้น ช่วง 2 ปีจะจ่าย20% ของค่าเช่าเดิม และจ่ายเท่าที่มีการบินจริงและในปีที่3 จะเป็นค่าเช่าใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม 40%
เป้าหมาย ภายใน2 ปีต้องลดค่าใช้จ่ายลง 52,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ทำได้แล้วประมาณ 5,000 ล้านบาท การลดค่าใช้จ่าย และสร้างธุรกิจต่างๆ ที่มีถึง 500 โครงการ จะทำให้มีเงินกลับเข้าบริษัท ในเดือนก.ค. ประมาณ 36,000 ล้านบาท และในปี 2565 จะเพิ่มเป็น 58,000 ล้านบาท และตามแผนฟื้นฟู บริษัทจะมีรายได้ถึงจุดคุ้มทุนปี 2567 และกำไรในปี 2568
“การบินไทยจะมียอดขาย ปี2562 ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท แต่ปี 2563 เหลือ 2 หมื่นล้านบาท ปี 2564 จะเพิ่มเป็น 6-7 หมื่นล้านบาท ปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1.4 แสนล้านบาท“
นายนนท์ กลินทะ รักษาการ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายการพาณิชย์ กล่าวว่า จากนี้ลูกค้าเป้าหมาย จะเปลี่ยนตามแนวโน้มที่เปลี่ยนไป จากเดิมกลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งอนาคต มีการเดินทางลดลง เพราะสามารถประชุมผ่านออนไลน์ได้ หันไปเน้นกลุ่มอื่นรวมถึงทำการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ รวมถึงราคาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
ขณะที่เส้นทางบินจะเลือกเส้นทางที่เคยมีกำไร คาดว่า ในไตรมาส 3ปีนี้จะเริ่มกลับมาทำการบินได้ เช่น แฟรงเฟริต์ ลอนดอน ซูริค บรัสเซล ปารีส ส่วนเอเชีย เช่น โตเกียว อินชอน โอซาก้า นาริตะ ฮาเนดะ สิงคโปร์ ซิดนีย์ เป็นต้น
ส่วนเส้นทางบินที่คาดว่าจะมีกำไร จะปรับขนาดเครื่องบินเล็กลง การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์ อย่างไรก็ตาม การบินไทยมีแผนทำการบินเส้นทางใหม่ แฟรงก์เฟิร์ต -ภูเก็ตในเดือนเม.ย.2564 โดยการท่องเที่ยวฯให้การสนับสนุน