"ศาลปกครองสูงสุด" ยกฟ้องคดี กบข.ลงทุนขาดทุนสุทธิ 16,997 ล้านบาท ชี้ชอบด้วย กม.ที่เปิดช่องให้ลงทุนกองทุนในต่างประเทศได้
วานนี้(14ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนยกฟ้องในคดีที่ นายธีร์สุริยนต์ สุวรรณวงศ์ กับพวกรวม 111 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ยื่นฟ้อง รมว.การคลัง และกระทรวงการคลัง ร่วมกันนำเงินสะสมของสมาชิก กบข. ไปลงทุนในสินทรัพย์ตราสารหนี้ในประเทศและต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ในปี พ.ศ.2551 กบข.เกิดผลประโยชน์ติดลบ มีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 16,997 ล้านบาท ส่งผลให้สมาชิก กบข.ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
ทั้งนี้ ศาลให้เหตุผลว่า เมื่อกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2546 ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ตาม พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มิได้ระบุแยกแยกเกี่ยวกับการมอบหมายให้จัดการกองทุนโดยแบ่งเป็นภายในประเทศและในต่างประเทศ เหมือนกับ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2550 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กบข. จะไม่สามารถมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศได้แต่อย่างใด
ดังนั้น การดำเนินการของ กบข. ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงไม่พิพากษากลับคำตัดสินศาลปกครองชั้นต้น ตามที่โจทก์ยื่นร้องมา
วานนี้(14ม.ค.) ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนยกฟ้องในคดีที่ นายธีร์สุริยนต์ สุวรรณวงศ์ กับพวกรวม 111 คน ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ยื่นฟ้อง รมว.การคลัง และกระทรวงการคลัง ร่วมกันนำเงินสะสมของสมาชิก กบข. ไปลงทุนในสินทรัพย์ตราสารหนี้ในประเทศและต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนทางเลือกที่มีความเสี่ยงสูง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ในปี พ.ศ.2551 กบข.เกิดผลประโยชน์ติดลบ มีผลขาดทุนสุทธิ จำนวน 16,997 ล้านบาท ส่งผลให้สมาชิก กบข.ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
ทั้งนี้ ศาลให้เหตุผลว่า เมื่อกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2546 ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ตาม พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น มิได้ระบุแยกแยกเกี่ยวกับการมอบหมายให้จัดการกองทุนโดยแบ่งเป็นภายในประเทศและในต่างประเทศ เหมือนกับ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2550 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า กบข. จะไม่สามารถมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศได้แต่อย่างใด
ดังนั้น การดำเนินการของ กบข. ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงไม่พิพากษากลับคำตัดสินศาลปกครองชั้นต้น ตามที่โจทก์ยื่นร้องมา