ผู้จัดการรายวัน 360 - "สุพัฒนพงษ์" ขอเวลาประเมินผลกระทบโควิด-19 อีก 7 วัน ก่อนคลอดมาตรการเยียวยา ยืนยันยังไม่ได้ข้อสรุปฟื้น "เราไม่ทิ้งกัน 2" ขณะที่คลังเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชงเข้า ครม. เร็วๆ นี้ ย้ำรัฐบาลมีเม็ดเงินเพียงพอรองรับดูแลเศรษฐกิจ ปัดเพิ่มวงเงินและขยาย'คนละครึ่ง' ยันไม่ได้แจกเงิน 4 พันบาท 2 เดือน 40 ล้านคน ด้าน รมว.เกษตรฯ สั่งเตรียมพร้อมเยียวยาเกษตรกร 8 ล้านราย ส่วน กกร. แนะรัฐเพิ่มวงเงิน "คนละครึ่ง" เป็น 5,000 บาท ลดภาระปชช. คุมแรงงานผิดกฎหมาย วัคซีนทั่วถึง พร้อมหั่นจีดีพี ปี 64 โตในกรอบ 1.5-3.5%
หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจ โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เข้ามาดูแลและหามาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นภายใน 2 เดือนนี้นั้น
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อนอีก 7 วัน ยังมองสถานการณ์ไม่ออก เพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังกระจุกตัวอยู่ ส่วนมาตรการเยียวยาที่จะออกมาต้องให้หน่วยงานต่างๆ ออกมา ทุกอย่างต้องประเมินสถานการณ์ก่อน ต้องเกาให้ถูกที่คัน
ส่วนกระแสข่าวที่จะออกมาตรการเราไม่ทิ้งกันภาคสอง หรือ แจกเงินคนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน “ยังไม่รู้”
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คลังยังไม่ได้มีการพิจารณาขยายโครงการคนละครึ่งในช่วงนี้ โดยยืนยันว่าขณะนี้ยังดำเนินการโครงการตามเงื่อนไขเดิมคือ รัฐสนับสนุนวงเงินให้ 3,500 บาท เพื่อให้ใช้จ่ายได้ไม่เกินวันละ 150 บาท ไปจนถึง 31 มี.ค.64 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ส่วนกระแสข่าวที่คลังจะออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 40 ล้านคน แจกเงินคนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือนนั้น ไม่ใช่ความจริง โดยคลังยังอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสภาพัฒน์ เมื่อมีข้อสรุปจะมีการนำเสนอให้รมว.คลัง พิจารณา ในขั้นต่อไป แต่ยืนยันว่ายังมีวงเงินเพียงพอสำหรับใช้ดูแลการแพร่ระบาดรอบนี้
โดยภาครัฐมีแหล่งเงินทั้งในส่วนของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จำนวนกว่า 1.39 แสนล้านบาท และเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ในส่วนที่เหลือ จำนวน 4.7 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2563) และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2.9 แสนล้านบาท ที่จะดูแลและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป
ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เตรียมความพร้อมในการเยียวยาเกษตรกรเพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะนายทะเบียนตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในโครงการเยียวยาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกษตรกร ประมาณ 8 ล้านรายได้รับเงินเยียวยารายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย - ส.ค. โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ ยังมอบนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนโดยต้องครอบคลุมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบความถูกต้อง
สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 ในปี 2563 สศก. ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ โดย 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร
กกร.ยื่น4ข้อเสนอให้รัฐเร่งขับเคลื่อนเร่งด่วน
นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วยสภาหอฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยหลังการประชุมกกร.ประจำเดือนมกราคม 2564 ว่า กกร.ได้มีการประเมินภาพรวมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 จะช้าไปจากเดิมที่เคยประมาณการไว้ช่วงธ.ค.63 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศรอบใหม่ที่หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ในระยะเวลา 3 เดือนและมีการใช้งบประมาณเพิ่มเติม 2 แสนล้านบาทในการพยุงเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทย(GDP) ปี 2564 จะขยายตัวได้ในกรอบ 1.5- 3.5% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าขยายตัวได้ 2 - 4 % ส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพียง 3-5 % จากเดิม 4-6%ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 0.8- 1.0% จากเดิม 0.8-1.2%
สำหรับข้อเสนอกกร.ได้แก่ 1. ต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดและบังคับใช้มาตรการต่างๆที่ประกาศออกมาอย่างเคร่งครัด ให้ตรงจุด ควบคุมดูแลที่อยู่ของคนงานต่างด้าวให้เหมาะสมเพื่อระงับการแพร่ระบาด และเร่งจับผู้กระทำผิดทั้งบ่อนการพนัน และการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย
2.ขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเรื่องงบประมาณช่วยเหลือ 2 แสนล้านบาท โดยให้กำหนดวิธีการให้ชัดเจนปฏิบัติได้เร็วและให้ส่งผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีความเห็นว่าจะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ ซึ่งอาจเป็นการต่ออายุโครงการคนละครึ่งออกไปอีก 3 เดือนและเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายต่อบุคคลเป็น 5,000 บาท มาตรลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น ลดค่าไฟ 5%รวมถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Asset Warehousing และ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เร่งรัดเรื่องวัคซีนให้สามารถได้มาตามกำหนดเวลาและมีปริมาณที่เพียงพอรวมถึงกำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์ในการกระจาย การขนส่ง และฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดลำดับผู้ที่ได้รับวัคซีนก่อนหลังอย่างเหมาะสม และ4. เร่งรัดการใช้และการเจรจาการค้าทวิภาคี รวมถึงการให้สัตยาบันลงนามข้อตกลง ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP ในการประชุมรัฐสภา เพื่อให้ข้อตกลงที่ลงนามไปเมื่อเดือน พ.ย. 63 มีผลบังคับใช้กลางปีนี้ เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแรงส่งเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง
หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจ โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เข้ามาดูแลและหามาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นภายใน 2 เดือนนี้นั้น
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องรอประเมินสถานการณ์ก่อนอีก 7 วัน ยังมองสถานการณ์ไม่ออก เพราะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังกระจุกตัวอยู่ ส่วนมาตรการเยียวยาที่จะออกมาต้องให้หน่วยงานต่างๆ ออกมา ทุกอย่างต้องประเมินสถานการณ์ก่อน ต้องเกาให้ถูกที่คัน
ส่วนกระแสข่าวที่จะออกมาตรการเราไม่ทิ้งกันภาคสอง หรือ แจกเงินคนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน “ยังไม่รู้”
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คลังยังไม่ได้มีการพิจารณาขยายโครงการคนละครึ่งในช่วงนี้ โดยยืนยันว่าขณะนี้ยังดำเนินการโครงการตามเงื่อนไขเดิมคือ รัฐสนับสนุนวงเงินให้ 3,500 บาท เพื่อให้ใช้จ่ายได้ไม่เกินวันละ 150 บาท ไปจนถึง 31 มี.ค.64 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ส่วนกระแสข่าวที่คลังจะออกมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 40 ล้านคน แจกเงินคนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือนนั้น ไม่ใช่ความจริง โดยคลังยังอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสภาพัฒน์ เมื่อมีข้อสรุปจะมีการนำเสนอให้รมว.คลัง พิจารณา ในขั้นต่อไป แต่ยืนยันว่ายังมีวงเงินเพียงพอสำหรับใช้ดูแลการแพร่ระบาดรอบนี้
โดยภาครัฐมีแหล่งเงินทั้งในส่วนของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จำนวนกว่า 1.39 แสนล้านบาท และเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ในส่วนที่เหลือ จำนวน 4.7 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2563) และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2.9 แสนล้านบาท ที่จะดูแลและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป
ด้าน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ เตรียมความพร้อมในการเยียวยาเกษตรกรเพื่อความรวดเร็วทันทีที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเยียวยาอย่างไร ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะนายทะเบียนตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในโครงการเยียวยาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเกษตรกร ประมาณ 8 ล้านรายได้รับเงินเยียวยารายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือน มิ.ย - ส.ค. โดยรัฐมนตรีเกษตรฯ ยังมอบนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนโดยต้องครอบคลุมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบความถูกต้อง
สำหรับโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด19 ในปี 2563 สศก. ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ โดย 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร
กกร.ยื่น4ข้อเสนอให้รัฐเร่งขับเคลื่อนเร่งด่วน
นายกลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วยสภาหอฯ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยหลังการประชุมกกร.ประจำเดือนมกราคม 2564 ว่า กกร.ได้มีการประเมินภาพรวมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2564 จะช้าไปจากเดิมที่เคยประมาณการไว้ช่วงธ.ค.63 เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศรอบใหม่ที่หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ในระยะเวลา 3 เดือนและมีการใช้งบประมาณเพิ่มเติม 2 แสนล้านบาทในการพยุงเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทย(GDP) ปี 2564 จะขยายตัวได้ในกรอบ 1.5- 3.5% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าขยายตัวได้ 2 - 4 % ส่งออกคาดว่าจะขยายตัวเพียง 3-5 % จากเดิม 4-6%ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 0.8- 1.0% จากเดิม 0.8-1.2%
สำหรับข้อเสนอกกร.ได้แก่ 1. ต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดและบังคับใช้มาตรการต่างๆที่ประกาศออกมาอย่างเคร่งครัด ให้ตรงจุด ควบคุมดูแลที่อยู่ของคนงานต่างด้าวให้เหมาะสมเพื่อระงับการแพร่ระบาด และเร่งจับผู้กระทำผิดทั้งบ่อนการพนัน และการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย
2.ขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเรื่องงบประมาณช่วยเหลือ 2 แสนล้านบาท โดยให้กำหนดวิธีการให้ชัดเจนปฏิบัติได้เร็วและให้ส่งผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะมีความเห็นว่าจะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ ซึ่งอาจเป็นการต่ออายุโครงการคนละครึ่งออกไปอีก 3 เดือนและเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายต่อบุคคลเป็น 5,000 บาท มาตรลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น ลดค่าไฟ 5%รวมถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Asset Warehousing และ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เร่งรัดเรื่องวัคซีนให้สามารถได้มาตามกำหนดเวลาและมีปริมาณที่เพียงพอรวมถึงกำหนดวิธีการและหลักเกณฑ์ในการกระจาย การขนส่ง และฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดลำดับผู้ที่ได้รับวัคซีนก่อนหลังอย่างเหมาะสม และ4. เร่งรัดการใช้และการเจรจาการค้าทวิภาคี รวมถึงการให้สัตยาบันลงนามข้อตกลง ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP ในการประชุมรัฐสภา เพื่อให้ข้อตกลงที่ลงนามไปเมื่อเดือน พ.ย. 63 มีผลบังคับใช้กลางปีนี้ เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแรงส่งเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง