เปิดคำวินิจฉัย ยกอุทธรณ์"ทักษิณ"หลังดิ้นสู้ ไม่ยอมเสียภาษีขายหุ้นชินคอร์ป วงเงินกว่า 1.7 หมื่นล้าน คำวินิจฉัยระบุชัดข้ออ้างฝ่ายอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น ให้ "โอ๊ค-เอม"เป็นตัวแทนเชิด ขายหุ้นนอกตลาดต่ำกว่าราคาตลาด ซัดเจตนาไม่สุจริต
หลังจากพรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญมรสุมทางการเมือง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนจดหมาย และอัดคลิปวิดิโอ เพื่อขอให้ชาวเชียงใหม่ สนับสนุนผู้สมัครนายกอบจ.เชียงใหม่ ในนามพรรคเพื่อไทย ทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ช่วยหาเสียง จนเป็นประเด็นทางกฎหมาย อันอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นพรรคการเมืองของพรรคเพื่อไทย
ล่าสุดมีอีกประเด็นที่น่าสนใจคือ มีรายงานข่าวจากศาลฎีกา แจ้งถึงเอกสารเลขที่ สภ.3(อธ.3)/309/2563 เป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ที่ได้พิจาณาอุทธรณ์ของนายทักษิณ ชินวัตร ฉบับลงวันที่ 25 เม.ย.60 เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2549 โดยคำวินิจฉัยนี้แยกย่อยออกมาเป็นหลายประเด็น มีนายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ ผู้แทนอธิบดีกรมสรรพากร นายประภาส สนั่นศิลป์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ ผู้แทนกรมการปกครอง ร่วมลงนามในคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัย ระบุว่าให้ยกอุทธรณ์ ซึ่งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามแบบภงด.12-03025250-25600328-001-00005 ลงวันที่ 28 มี.ค.60 เป็นเงินทั้งสิ้น 17,629,585,191.00 (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบเก้าล้านห้าแสนแปดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน) ให้ผู้อุทธรณ์นำเงินภาษีเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ไปชำระ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 17,629,585,191.00 บาท 00 สตางค์ (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบเก้าล้านห้าแสนแปดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน) ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมาย โดยคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ ทำไว้ 2 ฉบับ เก็บไว้ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หนึ่งฉบับ ส่งให้ผู้อุทธรณ์หนึ่งฉบับ ลงวันที่1 ก.ย.63
ที่น่าสนใจ ประเด็น 8.3 ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า หนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์และคุณหญิงพจมานฯ ยังคงถือหุ้นชินคอร์ป ฯลฯ ในเวลานั้น พิจารณาในประเด็นดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น ประกอบกับได้พิจารณาตามประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 จึงไม่พิจารณาในประเด็นนี้อีก
ข้อ 9 ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) ลงวันที่ 28มี.ค.60 ไม่มีการระบุเลขที่ใบแจ้งภาษีอากร ทำให้การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี ไม่สามารถระบุเลขที่ใบแจ้งภาษีอากร ในแบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ได้ครบถ้วนถูกต้อง หนังสือแจ้งภาษีฯ ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า ในคำอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ได้มีการระบุเลขที่หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณา
ข้อ10 ผู้อุทธรณ์ กล่าวอ้างว่า การประเมินภาษีผู้อุทธรณ์เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระเบียบ การจัดเก็บภาษีไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม
พิจารณาแล้วเห็นว่า การประเมินภาษีผู้อุทธรณ์ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากรและเป็นธรรมแล้ว ข้อกล่าวอ้างของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น
กรณีข้อเท็จจริงที่ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างเพิ่มเติมได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว ตามประเด็นที่1 ถึงประเด็นที่3 จึงไม่พิจารณาประเด็นดังกล่าวอีก สรุปการประเมินภาษีชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมีมติให้ยกอุทธรณ์เสียทั้งสิ้น
ในคำวินิจฉัยยังระบุอีกว่า ประเด็นของด หรือลดเบี้ยปรับตาม มาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากร พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์ผู้อุทธรณ์เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ที่แท้จริงที่ต้องเสียภาษีอากร แต่ให้นายพานทองแท้ฯ และ น.ส.พินทองทาฯ เป็นตัวแทนเชิดในการซื้อหุ้นชินคอร์ป จากแอมเพิลริชฯ นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด จึงมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และทำให้รัฐเสียประโยชน์ จึงไม่งดหรือลดเบี้ยปรับ
ประเด็นของด หรือลดเงินเพิ่มตาม มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินเพิ่มตาม มาตรา27 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ จึงไม่งด หรือลดเงินเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดเก็บภาษี กรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เกิดขึ้นสมัยนายทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกฯ เมื่อปี 49 จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกองทุนเทมาเส็ก1,487 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินกว่า 73,271 ล้านบาท หลังซื้อมาจาก บริษัท แอมเพิ้ลริช จำกัด ในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาท
แต่ในวงเงินที่เป็นปมประเด็นทางกม. ว่าสุดท้ายแล้วต้องเสียภาษีหรือไม่ แยกออกเป็น 2 ส่วน 1. การขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นละ 49.25 บาท วงเงิน 6.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ต่อมาถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งยึดทรัพย์บางส่วนกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท 2. นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรนายทักษิณ นำหุ้นชินคอร์ป ที่ซื้อมาจากบริษัทแอมเพิลริช 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท แล้วนำมาขายต่อให้เทมาเส็ก ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท เมื่อ 23 ม.ค.49 ถือเป็นการขายนอกตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีรายได้พึงประเมิน
หลังจากพรรคเพื่อไทยกำลังเผชิญมรสุมทางการเมือง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขียนจดหมาย และอัดคลิปวิดิโอ เพื่อขอให้ชาวเชียงใหม่ สนับสนุนผู้สมัครนายกอบจ.เชียงใหม่ ในนามพรรคเพื่อไทย ทั้งที่ไม่ได้เป็นผู้ช่วยหาเสียง จนเป็นประเด็นทางกฎหมาย อันอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นพรรคการเมืองของพรรคเพื่อไทย
ล่าสุดมีอีกประเด็นที่น่าสนใจคือ มีรายงานข่าวจากศาลฎีกา แจ้งถึงเอกสารเลขที่ สภ.3(อธ.3)/309/2563 เป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ที่ได้พิจาณาอุทธรณ์ของนายทักษิณ ชินวัตร ฉบับลงวันที่ 25 เม.ย.60 เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2549 โดยคำวินิจฉัยนี้แยกย่อยออกมาเป็นหลายประเด็น มีนายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ ผู้แทนอธิบดีกรมสรรพากร นายประภาส สนั่นศิลป์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ ผู้แทนกรมการปกครอง ร่วมลงนามในคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัย ระบุว่าให้ยกอุทธรณ์ ซึ่งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามแบบภงด.12-03025250-25600328-001-00005 ลงวันที่ 28 มี.ค.60 เป็นเงินทั้งสิ้น 17,629,585,191.00 (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบเก้าล้านห้าแสนแปดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน) ให้ผู้อุทธรณ์นำเงินภาษีเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ไปชำระ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 17,629,585,191.00 บาท 00 สตางค์ (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบเก้าล้านห้าแสนแปดหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน) ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมาย โดยคำวินิจฉัยอุทธรณ์นี้ ทำไว้ 2 ฉบับ เก็บไว้ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หนึ่งฉบับ ส่งให้ผู้อุทธรณ์หนึ่งฉบับ ลงวันที่1 ก.ย.63
ที่น่าสนใจ ประเด็น 8.3 ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า หนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์และคุณหญิงพจมานฯ ยังคงถือหุ้นชินคอร์ป ฯลฯ ในเวลานั้น พิจารณาในประเด็นดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น ประกอบกับได้พิจารณาตามประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 จึงไม่พิจารณาในประเด็นนี้อีก
ข้อ 9 ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างว่า หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) ลงวันที่ 28มี.ค.60 ไม่มีการระบุเลขที่ใบแจ้งภาษีอากร ทำให้การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี ไม่สามารถระบุเลขที่ใบแจ้งภาษีอากร ในแบบคำอุทธรณ์ (ภ.ส.6) ได้ครบถ้วนถูกต้อง หนังสือแจ้งภาษีฯ ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
พิจารณาแล้วเห็นว่า ในคำอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ได้มีการระบุเลขที่หนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีประเด็นต้องพิจารณา
ข้อ10 ผู้อุทธรณ์ กล่าวอ้างว่า การประเมินภาษีผู้อุทธรณ์เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระเบียบ การจัดเก็บภาษีไม่เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากร และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม
พิจารณาแล้วเห็นว่า การประเมินภาษีผู้อุทธรณ์ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามบทบัญญัติประมวลรัษฎากรและเป็นธรรมแล้ว ข้อกล่าวอ้างของผู้อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น
กรณีข้อเท็จจริงที่ผู้อุทธรณ์กล่าวอ้างเพิ่มเติมได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว ตามประเด็นที่1 ถึงประเด็นที่3 จึงไม่พิจารณาประเด็นดังกล่าวอีก สรุปการประเมินภาษีชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมีมติให้ยกอุทธรณ์เสียทั้งสิ้น
ในคำวินิจฉัยยังระบุอีกว่า ประเด็นของด หรือลดเบี้ยปรับตาม มาตรา 22 แห่งประมวลรัษฎากร พิจารณาแล้วเห็นว่า ตามพฤติการณ์ผู้อุทธรณ์เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ที่แท้จริงที่ต้องเสียภาษีอากร แต่ให้นายพานทองแท้ฯ และ น.ส.พินทองทาฯ เป็นตัวแทนเชิดในการซื้อหุ้นชินคอร์ป จากแอมเพิลริชฯ นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด จึงมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และทำให้รัฐเสียประโยชน์ จึงไม่งดหรือลดเบี้ยปรับ
ประเด็นของด หรือลดเงินเพิ่มตาม มาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินเพิ่มตาม มาตรา27 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้ จึงไม่งด หรือลดเงินเพิ่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดเก็บภาษี กรณีการขายหุ้นชินคอร์ป เกิดขึ้นสมัยนายทักษิณ ชินวัตร ยังเป็นนายกฯ เมื่อปี 49 จากการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกองทุนเทมาเส็ก1,487 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินกว่า 73,271 ล้านบาท หลังซื้อมาจาก บริษัท แอมเพิ้ลริช จำกัด ในราคาเพียงหุ้นละ 1 บาท
แต่ในวงเงินที่เป็นปมประเด็นทางกม. ว่าสุดท้ายแล้วต้องเสียภาษีหรือไม่ แยกออกเป็น 2 ส่วน 1. การขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้นละ 49.25 บาท วงเงิน 6.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ต่อมาถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สั่งยึดทรัพย์บางส่วนกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท 2. นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรนายทักษิณ นำหุ้นชินคอร์ป ที่ซื้อมาจากบริษัทแอมเพิลริช 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท แล้วนำมาขายต่อให้เทมาเส็ก ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท เมื่อ 23 ม.ค.49 ถือเป็นการขายนอกตลาดหลักทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีรายได้พึงประเมิน