ผู้จัดการรายวัน360 - รฟท.เวิร์กช้อปลุยตั้ง 3 บริษัทลูก “เดินรถ-ซ่อมรถจักรล้อเลื่อน-โครงสร้างพื้นฐาน” ภายในปี 67 หวังแก้ปัญหาขาดบุคลากร ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ขยายธุรกิจเชิงพาณิชย์ คาดเพิ่มสัดส่วนรายได้ที่ไม่ใช่มาจากธุรกิจหลัก (Non-core) เป็น 20% ของสัดส่วนรายได้ทั้งหมด ภายใน 5 ปี มี EBITDA เป็นบวกใน10 ปี ชี้มีผลขาดทุนปีละ 5,200 ล้านบาท ถ้าไม่รีบเร่งแก้ไข หวั่นจะขาดทุนทบทวีพอกหางหมูเพิ่มเป็น 308,335 ล้านบาท ภายในปี2572
รายงานจากรถไฟแห่งประเทศแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัดตั้งบริษัทลูก ว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสม ในการจัดตั้งบริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน (ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน ซึ่งรฟท. ได้ว่าจ้างบริษัท ไพร์มสตรีท แอดไวอรี่ จำกัด (ประเทศไทย) ศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดตั้งบริษัทลูกฯ
โดย เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ได้จัดสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารและพนักานรฟท. ในหัวข้อ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการรถไฟ เพื่อรวบรวมข้อมูลความเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะรวมทั้งแนวทางที่เกี่ยวข้อง นำมาใช้ประกอบการศึกษาจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของรฟท.
ช่วงที่ผ่านมา ได้จัดประชุม Workshop ระดมความเห็น ข้อดีและข้อเสีย จากพนักงานและผู้เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค ไปแล้ว 7 ครั้ง และในวันที่ 27 พ.ย. นี้จะมีประชุม Workshop ในส่วนภูมิภาคอีก 1 ครั้ง ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ครอบคลุมทุกฝ่าย และทุกพื้นที่ และจะนำข้อมูลมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ.
ทั้งนี้ ในปี 2562 รฟท.ขาดทุนสะสม 177,486 ล้านบาทโดยมีค่าใช้จ่ายด้าน Outsource ถึง 3,477 ล้านบาท/ปี โดยมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร มีปัญหาซ่อมบำรุง รถจักรและล้อเลื่อนไม่สมบูรณ์ทำให้มีผลขาดทุนปีละ 5,200 ล้านบาท หากไม่แก้ไข จะทำให้ในปี2572 จะเพิ่มเป็น 308,335 ล้านบาท
การจัดตั้งบริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน(ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงาน การขาดแคลนบุคลากร และเพิ่มความคล่องตัวในการสร้างรายได้ เพิ่มการใช้ประโยชน์ของรางเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
โดยจะแบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ช่วง 3-5 ปีแรก จะเป็นการปรับปรุงคุณภาพบริการ และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยรฟท.(บ.แม่) ยังคงทำหน้าที่เดินรถ และซ่อมบำรุง ทั้งหมด
ส่วนบริษัทลูก คือ บริษัทเดินรถจะดูแลด้านการขาย การบริการ ธุรกิจโดยสารและสินค้า และเริ่มทำธุรกิจข้างรางเพื่อสร้างรายได้ , บริษัทซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน จะดูแลซ่อมบำรุงในส่วนที่รฟท.ขาดบุคลากร และบริหารจัดการอะไหล่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการต้นทุน , บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลการซ่อมบำรุงราง ทางวิ่งระบบอาณัติสัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่รฟท.ขาดประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ระยะที่ 2 ปีที่5-10. ขยายบทบาทบริษัทลูก เพื่อมุ่งการสร้างกำไร โดยให้บริษัทเดินรถ ร่วมเดินรถเชิงพาณิชย์ ทั้งโดยสารและสินค้า โดยเพิ่มรายได้จากธุรกิจข้างราง บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในสถานี และธุรกิจเสริมเช่น ระบบเชื่อมต่อ หรือฟีดเดอร์ ส่วนรถสินค้า ทำธุรกิจ ขนส่งสินค้าแบบ door to Door บริหารสถานีขนส่ง ไอซีดีCY , บริษัทซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ขยายการซ่อมและเพิ่มบริการเช่ารถจักร , บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน ขยายการซ่อมไปทั่วประเทศ
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปีที่ 10 เป็นต้นไป จะเป็นการขยายธุรกิจและรุกธุรกิจใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรเอกชนที่เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มแบบยั่งยืน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มรายได้จาก Non-core เป็น 20% ภายใน 5 ปีและเพิ่มเป็น 30% ใน10 ปี และเพิ่มเป็น 15% ในปีที่ 15 ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน โครงสร้างพื้นฐานไม่น้อยกว่า 15-20% และจะทำให้ผลการดำเนินงานของรถไฟ มี EBITDA เป็นบวกใน10 ปี
ในขณะที่รฟท.ยังทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการเดินรถควบคุมด้านการจราจรและความปลอดภัย โดย บริษัทลูก 4 บริษัท จะดูแลด้านการตลาด การขาย ส่งเสริมธุรกิจร่วมกับรฟท. เพื่อขยายธุรกิจขนส่งทางรางกับเอกชน รวมถึงรับจ้างซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน. โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแบ่งเบาภาระการขาดบุคลากร ของรฟท.
โดยมีเป้าหมายจัดตั้ง บริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน (ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อนและเปิดให้บริการ ได้ในปี2567 โดยจะสรุปการศึกษาความเหมาะสมเสร็จในปี2563 จากนั้นนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ปี2564 และเสนอครม.ในปี 2565
รายงานจากรถไฟแห่งประเทศแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า การจัดตั้งบริษัทลูก ว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสม ในการจัดตั้งบริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน (ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน ซึ่งรฟท. ได้ว่าจ้างบริษัท ไพร์มสตรีท แอดไวอรี่ จำกัด (ประเทศไทย) ศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการจัดตั้งบริษัทลูกฯ
โดย เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ได้จัดสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารและพนักานรฟท. ในหัวข้อ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการรถไฟ เพื่อรวบรวมข้อมูลความเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะรวมทั้งแนวทางที่เกี่ยวข้อง นำมาใช้ประกอบการศึกษาจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ ในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของรฟท.
ช่วงที่ผ่านมา ได้จัดประชุม Workshop ระดมความเห็น ข้อดีและข้อเสีย จากพนักงานและผู้เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค ไปแล้ว 7 ครั้ง และในวันที่ 27 พ.ย. นี้จะมีประชุม Workshop ในส่วนภูมิภาคอีก 1 ครั้ง ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อให้ครอบคลุมทุกฝ่าย และทุกพื้นที่ และจะนำข้อมูลมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และพิจารณาให้เกิดความรอบคอบ.
ทั้งนี้ ในปี 2562 รฟท.ขาดทุนสะสม 177,486 ล้านบาทโดยมีค่าใช้จ่ายด้าน Outsource ถึง 3,477 ล้านบาท/ปี โดยมีปัญหาขาดแคลนบุคลากร มีปัญหาซ่อมบำรุง รถจักรและล้อเลื่อนไม่สมบูรณ์ทำให้มีผลขาดทุนปีละ 5,200 ล้านบาท หากไม่แก้ไข จะทำให้ในปี2572 จะเพิ่มเป็น 308,335 ล้านบาท
การจัดตั้งบริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน(ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงาน การขาดแคลนบุคลากร และเพิ่มความคล่องตัวในการสร้างรายได้ เพิ่มการใช้ประโยชน์ของรางเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
โดยจะแบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ช่วง 3-5 ปีแรก จะเป็นการปรับปรุงคุณภาพบริการ และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยรฟท.(บ.แม่) ยังคงทำหน้าที่เดินรถ และซ่อมบำรุง ทั้งหมด
ส่วนบริษัทลูก คือ บริษัทเดินรถจะดูแลด้านการขาย การบริการ ธุรกิจโดยสารและสินค้า และเริ่มทำธุรกิจข้างรางเพื่อสร้างรายได้ , บริษัทซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน จะดูแลซ่อมบำรุงในส่วนที่รฟท.ขาดบุคลากร และบริหารจัดการอะไหล่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการต้นทุน , บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลการซ่อมบำรุงราง ทางวิ่งระบบอาณัติสัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐาน ในส่วนที่รฟท.ขาดประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
ระยะที่ 2 ปีที่5-10. ขยายบทบาทบริษัทลูก เพื่อมุ่งการสร้างกำไร โดยให้บริษัทเดินรถ ร่วมเดินรถเชิงพาณิชย์ ทั้งโดยสารและสินค้า โดยเพิ่มรายได้จากธุรกิจข้างราง บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในสถานี และธุรกิจเสริมเช่น ระบบเชื่อมต่อ หรือฟีดเดอร์ ส่วนรถสินค้า ทำธุรกิจ ขนส่งสินค้าแบบ door to Door บริหารสถานีขนส่ง ไอซีดีCY , บริษัทซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ขยายการซ่อมและเพิ่มบริการเช่ารถจักร , บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน ขยายการซ่อมไปทั่วประเทศ
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปีที่ 10 เป็นต้นไป จะเป็นการขยายธุรกิจและรุกธุรกิจใหม่ โดยร่วมมือกับพันธมิตรเอกชนที่เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มแบบยั่งยืน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มรายได้จาก Non-core เป็น 20% ภายใน 5 ปีและเพิ่มเป็น 30% ใน10 ปี และเพิ่มเป็น 15% ในปีที่ 15 ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน โครงสร้างพื้นฐานไม่น้อยกว่า 15-20% และจะทำให้ผลการดำเนินงานของรถไฟ มี EBITDA เป็นบวกใน10 ปี
ในขณะที่รฟท.ยังทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการเดินรถควบคุมด้านการจราจรและความปลอดภัย โดย บริษัทลูก 4 บริษัท จะดูแลด้านการตลาด การขาย ส่งเสริมธุรกิจร่วมกับรฟท. เพื่อขยายธุรกิจขนส่งทางรางกับเอกชน รวมถึงรับจ้างซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน. โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อแบ่งเบาภาระการขาดบุคลากร ของรฟท.
โดยมีเป้าหมายจัดตั้ง บริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน (ทางและอาณัติสัญญาณโทรคมนาคม) และบริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อนและเปิดให้บริการ ได้ในปี2567 โดยจะสรุปการศึกษาความเหมาะสมเสร็จในปี2563 จากนั้นนำเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ปี2564 และเสนอครม.ในปี 2565