“ศักดิ์สยาม”ติงผลเจรจา GPCแหลมฉบังเฟส 3 ยังต่ำกว่าราคากลาง ชงบอร์ด EECชี้ขาดปิดดีล
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึง ความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่3 (ท่าเทียบเรือ F)ว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้สรุปผลการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ตอบแทนรัฐกับเอกชน ได้ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาท ซึ่ง ยังต่ำกว่าผลตอบแทนที่ครม.อนุมัติ ที่ 32,225 ล้านบาท (อายุสัมปทาน 35 ปี) เทียบเป็นราคากลางถึง 4,000 ล้านบาท ซึ่งจากการชี้แจงของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และคณะกก.คัดเลือกฯ ถึงที่มาของกรอบวงเงิน 32,225 ล้านบาท เป็นการคำนวน ค่างานโยธาหรือCivil Works โดยคณะกก.คัดเลือกฯ ระบุว่าสามารถคัดเลือกหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ในราคา 28,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถรับราคาได้ โดยถือเป็นราคาคงที่เพราะจะมีรายได้จากค่าตู้สินค้าในอนาคตที่จะนำมารวมได้อีก
ในส่วนของกระทรวงคนนาคมนั้น หากกำหนดราคากลางไปแล้วว่าเท่าไร การพิจารณาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งกรณีนี้คือเสนอผลตอบแทนสูงสุด หากผลตอบแทนยังต่ำกว่าที่กรอบราคากลางกำหนด จะพิจารณาได้หรือไม่ และกรณีที่ยังต่ำกว่าราคากลางแล้วจะมีการนำค่าตู้สินค้าในอนาคตมารวม เป็นคนละส่วนกัน และเรื่องที่อาจจะไม่ตรงกับหลักปฏิบัติ ซึ่งหากมีการกำหนดกรอบราคากลางมาจากงาน Civil Works อย่างเดียว จะไม่สามารถนำค่างานอื่นมารวมด้วยได้
ทั้งนี้ ในการประมูล โครงการร่วมลงทุนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 นั้นเป็นเรื่องการเสนอผลตอบแทนให้รัฐไม่ใช่การเสนอค่าก่อสร้าง จึงเป็นคนละเรื่องกับการประมูล ก่อสร้างถนน ที่จะมีการกำหนดราคากลางจากค่างานโยธา โดยรายใดเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางจะเป็นผู้ชนะ ส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นนำคืนรัฐไป เช่นงานก่อสร้างถนน ราคากลางกม.ละ 5 ล้านบาท ผลประมูลได้ กม.ละ 4ล้านบาท แล้วจะขอปรับราคากลางเป็น 4 ล้านบาทไม่สามารถทำได้เช่นกัน
"หากจะทำแบบนั้น กทท.คงต้องยกเลิกประมูลครั้งนี้ และไปทำผลตอบแทน หรือราคากลางกันใหม่ เพราะตามหลักการหากกำหนดราคากลางไปแล้ว ถือว่าจบ ไม่ว่าจะคิดราคากลางมาจากอะไร การประมูลต้องได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ และในอนาคตจะบริหารแล้วสามารถประหยัด แล้วทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องผลประโยชน์ของรัฐ"
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องขึ้นกับการพิจารณาของคณะกก.นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพราะโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งได้มีการเสนอไปที่ อนุกก.บริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ. ) พิจารณาแล้ว แต่ส่วนตัว ยังไม่เห็นด้วยหากตัวเลขที่สรุปยังต่ำกว่าราคากลาง
โดยก่อนหน้านี้ ร.ท.กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในฐานะประธานคณะกก.คัดเลือกเอกชนฯ กล่าวว่า ผลประโยชน์ตอบแทนยังไม่ถึงตามที่รัฐคาดหวัง ซึ่งได้พยายามเจรจาผลตอบแทนกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPCประกอบด้วย บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF),บจ.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล และบจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง ให้ ใกล้เคียงกับกรอบครม.อนุมัติ มากที่สุด
โดยกลุ่ม GPCได้เพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าเดิมเกินกว่า 100% จากที่ได้ยื่นเสนอผลตอบแทนที่ประมาณ 12,051 ล้านบาท ซึ่งคณะกก.คัดเลือกฯได้เจรจาอย่างเต็มที่ พร้อมเสนอเหตุผลทั้งหมดประกอบเพื่อให้บอร์ดอีอีซีพิจารณาตัดสินใจ
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึง ความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ระยะที่3 (ท่าเทียบเรือ F)ว่า จากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการฯ ได้สรุปผลการเจรจาต่อรองผลประโยชน์ตอบแทนรัฐกับเอกชน ได้ที่ประมาณ 28,000 ล้านบาท ซึ่ง ยังต่ำกว่าผลตอบแทนที่ครม.อนุมัติ ที่ 32,225 ล้านบาท (อายุสัมปทาน 35 ปี) เทียบเป็นราคากลางถึง 4,000 ล้านบาท ซึ่งจากการชี้แจงของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และคณะกก.คัดเลือกฯ ถึงที่มาของกรอบวงเงิน 32,225 ล้านบาท เป็นการคำนวน ค่างานโยธาหรือCivil Works โดยคณะกก.คัดเลือกฯ ระบุว่าสามารถคัดเลือกหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ในราคา 28,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถรับราคาได้ โดยถือเป็นราคาคงที่เพราะจะมีรายได้จากค่าตู้สินค้าในอนาคตที่จะนำมารวมได้อีก
ในส่วนของกระทรวงคนนาคมนั้น หากกำหนดราคากลางไปแล้วว่าเท่าไร การพิจารณาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งกรณีนี้คือเสนอผลตอบแทนสูงสุด หากผลตอบแทนยังต่ำกว่าที่กรอบราคากลางกำหนด จะพิจารณาได้หรือไม่ และกรณีที่ยังต่ำกว่าราคากลางแล้วจะมีการนำค่าตู้สินค้าในอนาคตมารวม เป็นคนละส่วนกัน และเรื่องที่อาจจะไม่ตรงกับหลักปฏิบัติ ซึ่งหากมีการกำหนดกรอบราคากลางมาจากงาน Civil Works อย่างเดียว จะไม่สามารถนำค่างานอื่นมารวมด้วยได้
ทั้งนี้ ในการประมูล โครงการร่วมลงทุนพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 นั้นเป็นเรื่องการเสนอผลตอบแทนให้รัฐไม่ใช่การเสนอค่าก่อสร้าง จึงเป็นคนละเรื่องกับการประมูล ก่อสร้างถนน ที่จะมีการกำหนดราคากลางจากค่างานโยธา โดยรายใดเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางจะเป็นผู้ชนะ ส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นนำคืนรัฐไป เช่นงานก่อสร้างถนน ราคากลางกม.ละ 5 ล้านบาท ผลประมูลได้ กม.ละ 4ล้านบาท แล้วจะขอปรับราคากลางเป็น 4 ล้านบาทไม่สามารถทำได้เช่นกัน
"หากจะทำแบบนั้น กทท.คงต้องยกเลิกประมูลครั้งนี้ และไปทำผลตอบแทน หรือราคากลางกันใหม่ เพราะตามหลักการหากกำหนดราคากลางไปแล้ว ถือว่าจบ ไม่ว่าจะคิดราคากลางมาจากอะไร การประมูลต้องได้รับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ และในอนาคตจะบริหารแล้วสามารถประหยัด แล้วทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องผลประโยชน์ของรัฐ"
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องขึ้นกับการพิจารณาของคณะกก.นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เพราะโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งได้มีการเสนอไปที่ อนุกก.บริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ. ) พิจารณาแล้ว แต่ส่วนตัว ยังไม่เห็นด้วยหากตัวเลขที่สรุปยังต่ำกว่าราคากลาง
โดยก่อนหน้านี้ ร.ท.กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผอ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในฐานะประธานคณะกก.คัดเลือกเอกชนฯ กล่าวว่า ผลประโยชน์ตอบแทนยังไม่ถึงตามที่รัฐคาดหวัง ซึ่งได้พยายามเจรจาผลตอบแทนกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPCประกอบด้วย บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF),บจ.พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล และบจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง ให้ ใกล้เคียงกับกรอบครม.อนุมัติ มากที่สุด
โดยกลุ่ม GPCได้เพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าเดิมเกินกว่า 100% จากที่ได้ยื่นเสนอผลตอบแทนที่ประมาณ 12,051 ล้านบาท ซึ่งคณะกก.คัดเลือกฯได้เจรจาอย่างเต็มที่ พร้อมเสนอเหตุผลทั้งหมดประกอบเพื่อให้บอร์ดอีอีซีพิจารณาตัดสินใจ