ผู้ว่าฯ ธปท. ยอมรับแทรกแซงค่าเงินบาท พร้อมออกมาตรการใหม่-ทบทวนมาตรการเดิม หากค่าบาทแข็งค่าเร็ว อาจส่งผลกระทบการส่งออก ระบุ 5 ปีใช้เงินดูแลค่าบาทส่งผลให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เล็งออกมาตรการคุมเข้ม
วานนี้ (19 พ.ย.) นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีความกังวลกับสถานการณ์การแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ของเงินบาท ซึ่ง ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเข้าไปแทรกแซงบ้างในบางช่วง ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธปท.ยังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการดูแลค่าเงินบาทที่เหมาะสม เพื่อดูแลค่าเงินบาทด้วย โดยจะต้องดูในแง่ของภาพรวม ผลที่จะตามมาด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาถึงมาตรการเพิ่มเติม และทบทวนมาตรการเดิมที่ออกไปแล้วในวันนี้ (20 พ.ย)
“เรากังวลเรื่องของการแข็งค่าของเงินบาทแข็งเร็ว ตอนนี้ปกติถ้าสภาวะปกติการแข็งค่าอาจไม่ได้ส่งผลชัดเจนกับยอดการส่งออก แต่ว่า สิ่งที่มันชัด คือ ค่าเงินส่งผลต่อมาร์จิ้นที่ส่งออกได้ ซึ่งจังหวะนี้ที่ผู้ส่งออกถูกกระทบเยอะ ทั้งจากสภาวะโลกที่ชะงัก ดีมานด์ (ความต้องกรของตลาด) หายไป เรื่องปัญหาหนี้ ทำให้สายป่านพวกส่งออก โดยเฉพาะรายเล็กได้รับผลกระทบ เราก็เลยเป็นห่วงและกังวลมาก เพราะอาจจะส่งผลต่อการจ้างงาน คุณภาพของสินเชื่อได้” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยด้วยว่า กนง.กังวลเรื่องสถานการณ์การแข็งค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากมีข่าวเรื่องวัคซีนที่ออกมาทำให้ค่าเงินบาทแข็งว่า หากมีวัคซีนแล้ว การท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมา การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะเกินดุลจำนวนมาก ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะแข็ง สิ่งที่น่าห่วงคือ ข่าววัคซีนออกมาทำให้ค่าเงินบาทแข็ง แต่สุดท้ายหากมีวัคซีนจะมีกันทั่วโลกหรือไม่ และนักท่องเที่ยวจะมาหรือไม่ หากไม่ได้มา ก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหา เพราะการฟื้นตัวปัจจุบันยังเปราะบาง ที่ผ่านมา ธปท.ดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท.เข้าไปดูแลทั้งผ่านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5% ซึ่งต่ำสุดในประวัติการณ์และต่ำสุดในภูมิภาค
“การเข้าไปดูแล หรือการเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน จากทุนสำรองระหว่างประเทศ 5 ปี เพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท สะท้อนว่า ธปท.ไม่ได้นิ่ง การที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ ธปท.ประสงค์หรืออยากจะทำ เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของการตีมูลค่าก็จะลดลงไป 1 แสนล้านดอลลาร์เช่นกัน จึงเป็นเหตุผลทำให้ผลประกอบการขาดทุนบ้าง” นายเศรษฐพุฒิ ระบุ
วานนี้ (19 พ.ย.) นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีความกังวลกับสถานการณ์การแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ของเงินบาท ซึ่ง ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเข้าไปแทรกแซงบ้างในบางช่วง ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธปท.ยังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการดูแลค่าเงินบาทที่เหมาะสม เพื่อดูแลค่าเงินบาทด้วย โดยจะต้องดูในแง่ของภาพรวม ผลที่จะตามมาด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาถึงมาตรการเพิ่มเติม และทบทวนมาตรการเดิมที่ออกไปแล้วในวันนี้ (20 พ.ย)
“เรากังวลเรื่องของการแข็งค่าของเงินบาทแข็งเร็ว ตอนนี้ปกติถ้าสภาวะปกติการแข็งค่าอาจไม่ได้ส่งผลชัดเจนกับยอดการส่งออก แต่ว่า สิ่งที่มันชัด คือ ค่าเงินส่งผลต่อมาร์จิ้นที่ส่งออกได้ ซึ่งจังหวะนี้ที่ผู้ส่งออกถูกกระทบเยอะ ทั้งจากสภาวะโลกที่ชะงัก ดีมานด์ (ความต้องกรของตลาด) หายไป เรื่องปัญหาหนี้ ทำให้สายป่านพวกส่งออก โดยเฉพาะรายเล็กได้รับผลกระทบ เราก็เลยเป็นห่วงและกังวลมาก เพราะอาจจะส่งผลต่อการจ้างงาน คุณภาพของสินเชื่อได้” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว
ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยด้วยว่า กนง.กังวลเรื่องสถานการณ์การแข็งค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากมีข่าวเรื่องวัคซีนที่ออกมาทำให้ค่าเงินบาทแข็งว่า หากมีวัคซีนแล้ว การท่องเที่ยวจะฟื้นกลับมา การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยจะเกินดุลจำนวนมาก ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทจะแข็ง สิ่งที่น่าห่วงคือ ข่าววัคซีนออกมาทำให้ค่าเงินบาทแข็ง แต่สุดท้ายหากมีวัคซีนจะมีกันทั่วโลกหรือไม่ และนักท่องเที่ยวจะมาหรือไม่ หากไม่ได้มา ก็จะยิ่งซ้ำเติมปัญหา เพราะการฟื้นตัวปัจจุบันยังเปราะบาง ที่ผ่านมา ธปท.ดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง โดย ธปท.เข้าไปดูแลทั้งผ่านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5% ซึ่งต่ำสุดในประวัติการณ์และต่ำสุดในภูมิภาค
“การเข้าไปดูแล หรือการเข้าไปแทรกแซงค่าเงิน จากทุนสำรองระหว่างประเทศ 5 ปี เพิ่มขึ้นถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาท สะท้อนว่า ธปท.ไม่ได้นิ่ง การที่ทุนสำรองเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ ธปท.ประสงค์หรืออยากจะทำ เพราะค่าเงินบาทแข็งค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของการตีมูลค่าก็จะลดลงไป 1 แสนล้านดอลลาร์เช่นกัน จึงเป็นเหตุผลทำให้ผลประกอบการขาดทุนบ้าง” นายเศรษฐพุฒิ ระบุ