ผู้จัดการรายวัน360-“กพช.” ไฟเขียวโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่อง 150 เมกะวัตต์ ใช้ระบบ FiT บิดดิ้งเฉพาะโรงไฟฟ้ากางไทม์ไลน์ ม.ค.64 ขายซอง ก.พ. ให้เอกชนยื่น มี.ค. คัดเลือก พร้อมไฟเขียวงบกองทุนอนุรักษ์ปี 64 วงเงินรวม 6,500 ล้านบาท ดึง 2,400 ล้านบาทส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานรากลง 76 จังหวัดเร่งจ้างงาน นายกฯ ย้ำหาแนวทางใช้รถไฟฟ้าในจักรยานยนต์รับจ้าง-แท็กซี่
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า กพช. ได้เห็นชอบโครงการนำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 150 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดรับซื้อไฟฟ้ารูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) โดยการแข่งขันด้านเงินลงทุนไฟฟ้าไม่รวมค่าเชื้อเพลิง คาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์เพื่อขายซองประกวดราคาภายในเดือนม.ค.2564 จากนั้นก.พ.2564 จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอและคัดเลือกโครงการในเดือนมี.ค.2564
“เราทำชีวมวลมาหลายปี ไม่เคยไล่ต้นต่อวัตถุดิบที่มาเป็นเชื้อเพลิงอย่างแท้จริง แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่เราอยากเห็นเกษตรกรได้รับประโยชน์ที่แท้จริง แล้วยังกำหนดให้มีการปลูกทดแทนอย่างสม่ำเสมอในการผลิตไฟฟ้า และยังเป็นการทดลองด้วยว่าไทยที่มีศักยภาพการเกษตรจะดำเนินการในเรื่องพืชพลังงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปสู่ประเทศในด้านผู้นำพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด ซึ่งหากพบว่าไปได้ ก็จะเดินหน้ารับซื้อเพิ่มต่อไป”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับกำลังผลิต 150 เมกะวัตต์ จะแบ่งเป็นการรับซื้อจากเชื้อเพลิง (ชีวมวล 75 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 75 เมกะวัตต์ โดยใช้ชีวมวลและก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน ผสมน้ำเสีย ของเสียน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25%) แบ่งเป็นชีวมวล มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 6 เมกะวัตต์ต่อโครงการ และก๊าซชีวภาพ ไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ต่อโครงการ
ทั้งนี้ มีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (SCOD) ภายใน 36 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ อาทิ การให้หุ้นบุริมสิทธิ 10% ให้กับวิสาหกิจชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย) ซึ่งเป็นผู้ปลูกพืชพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้า การให้ผลประโยชน์อื่นๆ ให้โรงไฟฟ้าและชุมชนทำความตกลงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
นอกจากนี้ กพช.ยังเห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2564 ในวงเงิน 6,500 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.กลุ่มงานตามกฎหมาย จำนวน 200 ล้านบาท 2.กลุ่มงานสนับสนุนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน จำนวน 500 ล้านบาท 3.กลุ่มงานศึกษา ค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม และสาธิตต้นแบบ จำนวน 355 ล้านบาท 4.กลุ่มงานสื่อสาร และข้อมูล ข่าวสาร จำนวน 200 ล้านบาท 5.กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร จำนวน 450 ล้านบาท 6.กลุ่มงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็ก (SMEs) อาคาร บ้านอยู่อาศัย ภาคขนส่ง ธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ และพื้นที่พิเศษ จำนวน 2,200 ล้านบาท 7.กลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 2,400 ล้านบาท และแผนบริหารจัดการ ส.กทอ. จำนวน 195 ล้านบาท
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การจัดสรรงบกลุ่มอนุรักษ์และพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก 2,400 ล้านบาท จะมุ่งเน้นกระจายไปยัง 76 จังหวัด กรอบวงเงิน 25 ล้านบาทต่อจังหวัด แต่ใช่ว่าจะได้ทุกจังหวัด เพราะขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของโครงการที่เสนอ ซึ่งจะต้องเสนอผ่านคณะกรรมการบูรณาการท้องถิ่น ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานพิจารณากลั่นกรอง ก่อนที่จะเสนอมายังส่วนกลาง โดยงบนี้จะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เช่น จ้างงานบัณฑิตจบใหม่ในการสำรวจ การสูบน้ำการเกษตร เป็นต้น ซึ่งหลังจากนี้ รัฐมนตรีพลังงานและทางมหาดไทยจะต้องหารือกันเพื่อร่วมบูรณาการทำงานต่อไป
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำในที่ประชุมให้หาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าในรถจักรยานยนต์รับจ้าง เช่น Grab Bike และอื่นๆ หรือแท็กซี่ ที่ยังมีราคาสูงอยู่ โดยต้องหามาตรการที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้กำลังมีการเจรจาเพื่อจะดึงบริษัทใหม่ๆ เกี่ยวกับยานยนต์สมัยใหม่ให้เข้ามาในประเทศไทย โดยในเรื่องนี้ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผนงานระยะสั้น ระยะปานกลาง 3 ปี ระยะยาว 5 ปีขึ้นไป การจะเปลี่ยนแปลงทันทีเลยนั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะจะเกิดผลกระทบมาก
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า กพช. ได้เห็นชอบโครงการนำร่องโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก 150 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดรับซื้อไฟฟ้ารูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) โดยการแข่งขันด้านเงินลงทุนไฟฟ้าไม่รวมค่าเชื้อเพลิง คาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์เพื่อขายซองประกวดราคาภายในเดือนม.ค.2564 จากนั้นก.พ.2564 จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอและคัดเลือกโครงการในเดือนมี.ค.2564
“เราทำชีวมวลมาหลายปี ไม่เคยไล่ต้นต่อวัตถุดิบที่มาเป็นเชื้อเพลิงอย่างแท้จริง แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่เราอยากเห็นเกษตรกรได้รับประโยชน์ที่แท้จริง แล้วยังกำหนดให้มีการปลูกทดแทนอย่างสม่ำเสมอในการผลิตไฟฟ้า และยังเป็นการทดลองด้วยว่าไทยที่มีศักยภาพการเกษตรจะดำเนินการในเรื่องพืชพลังงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปสู่ประเทศในด้านผู้นำพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด ซึ่งหากพบว่าไปได้ ก็จะเดินหน้ารับซื้อเพิ่มต่อไป”นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
สำหรับกำลังผลิต 150 เมกะวัตต์ จะแบ่งเป็นการรับซื้อจากเชื้อเพลิง (ชีวมวล 75 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 75 เมกะวัตต์ โดยใช้ชีวมวลและก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน ผสมน้ำเสีย ของเสียน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25%) แบ่งเป็นชีวมวล มีปริมาณไฟฟ้าเสนอขายไม่เกิน 6 เมกะวัตต์ต่อโครงการ และก๊าซชีวภาพ ไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ต่อโครงการ
ทั้งนี้ มีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (SCOD) ภายใน 36 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา ส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ อาทิ การให้หุ้นบุริมสิทธิ 10% ให้กับวิสาหกิจชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย) ซึ่งเป็นผู้ปลูกพืชพลังงานให้แก่โรงไฟฟ้า การให้ผลประโยชน์อื่นๆ ให้โรงไฟฟ้าและชุมชนทำความตกลงกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
นอกจากนี้ กพช.ยังเห็นชอบแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ 2564 ในวงเงิน 6,500 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.กลุ่มงานตามกฎหมาย จำนวน 200 ล้านบาท 2.กลุ่มงานสนับสนุนนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน จำนวน 500 ล้านบาท 3.กลุ่มงานศึกษา ค้นคว้าวิจัย นวัตกรรม และสาธิตต้นแบบ จำนวน 355 ล้านบาท 4.กลุ่มงานสื่อสาร และข้อมูล ข่าวสาร จำนวน 200 ล้านบาท 5.กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร จำนวน 450 ล้านบาท 6.กลุ่มงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็ก (SMEs) อาคาร บ้านอยู่อาศัย ภาคขนส่ง ธุรกิจฟาร์มเกษตรสมัยใหม่ และพื้นที่พิเศษ จำนวน 2,200 ล้านบาท 7.กลุ่มงานส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 2,400 ล้านบาท และแผนบริหารจัดการ ส.กทอ. จำนวน 195 ล้านบาท
นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การจัดสรรงบกลุ่มอนุรักษ์และพลังงานทดแทนเศรษฐกิจฐานราก 2,400 ล้านบาท จะมุ่งเน้นกระจายไปยัง 76 จังหวัด กรอบวงเงิน 25 ล้านบาทต่อจังหวัด แต่ใช่ว่าจะได้ทุกจังหวัด เพราะขึ้นอยู่ประสิทธิภาพของโครงการที่เสนอ ซึ่งจะต้องเสนอผ่านคณะกรรมการบูรณาการท้องถิ่น ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานพิจารณากลั่นกรอง ก่อนที่จะเสนอมายังส่วนกลาง โดยงบนี้จะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เช่น จ้างงานบัณฑิตจบใหม่ในการสำรวจ การสูบน้ำการเกษตร เป็นต้น ซึ่งหลังจากนี้ รัฐมนตรีพลังงานและทางมหาดไทยจะต้องหารือกันเพื่อร่วมบูรณาการทำงานต่อไป
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำในที่ประชุมให้หาแนวทางการใช้รถไฟฟ้าในรถจักรยานยนต์รับจ้าง เช่น Grab Bike และอื่นๆ หรือแท็กซี่ ที่ยังมีราคาสูงอยู่ โดยต้องหามาตรการที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้กำลังมีการเจรจาเพื่อจะดึงบริษัทใหม่ๆ เกี่ยวกับยานยนต์สมัยใหม่ให้เข้ามาในประเทศไทย โดยในเรื่องนี้ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผนงานระยะสั้น ระยะปานกลาง 3 ปี ระยะยาว 5 ปีขึ้นไป การจะเปลี่ยนแปลงทันทีเลยนั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะจะเกิดผลกระทบมาก