ผู้จัดการรายวัน360-กรมควบคุมมลพิษรายงานคุณภาพอากาศ พบเริ่มมีผลต่อสุขภาพในบางพื้นที่ เผย “มหาชัย” เกินมาตรฐาน และ 3 เขตในกรุงเทพฯ “ยานนาวา-ประเวศ-หนองแขม” เข้าโซนสีเหลือง ชี้ผลพวงจากอากาศเย็นจมตัว ผู้ว่าฯ กทม. ยันพร้อมรับมือฝุ่นพิษ สั่งห้ามรถยนต์ 6 ล้อขึ้นไปเข้ากรุงช่วงกลางวัน เริ่ม 1 ธ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองจัดการคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล วานนี้ (26 ต.ค.) ว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับคุณภาพดีถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพบฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 31-52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐานที่บริเวณ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ค่าฝุ่นอยู่ที่ 52 ไมโครกรัมฯ อยู่ในโซนสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จากที่ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมฯ
ขณะที่กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานในพื้นที่ กทม.พบมี 3 เขต คือ บริเวณริมถนนพระราม 3 เขตยานนาวา , ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ , ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 8 เขตหนองแขม มีค่าฝุ่นอยู่ในระดับคาบเส้นมาตรฐาน อยู่ในระดับโซนสีเหลือง โดยค่าฝุ่นอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมฯ ส่วนพื้นที่อื่นๆ คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง แต่ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นพิษ เพิ่มปริมาณมากขึ้น มาจากอากาศเย็นจมตัว ทำให้ฝุ่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ว่า กทม.เตรียมรับมือฝุ่น PM 2.5 โดยระบุว่า กทม. และกองบังคับการตำรวจจราจร จะออกคำสั่งห้ามรถยนต์ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลา 06.00–21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2563-สิ้นเดือนก.พ.2564 เพื่อลดมลพิษจากควันรถที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงขอความร่วมมือสถานศึกษางดจัดกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง และหากสถานการณ์วิกฤตและค่าฝุ่นสูงต่อเนื่องเกิน 3 วัน จะพิจารณาให้ปิดโรงเรียนตามความเหมาะสม และในส่วนของการก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร และรถไฟฟ้า หากในช่วงวิกฤตที่มีปริมาณฝุ่นสูง จะห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างบริเวณนอกอาคาร เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย แต่ในพื้นที่ปิดภายในอาคารยังสามารถทำได้
ปัจจุบัน กทม.ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดค่าฝุ่นละอองครบทั้ง 50 เขตแล้ว และอยู่ระหว่างการติดตั้งบริเวณสวนสาธารณะเพิ่มเติมอีก 20 แห่ง เพื่อให้ประชาชนที่ไปใช้พื้นที่ออกกำลังกายได้รับทราบข้อมูลคุณภาพอากาศภายในสวนสาธารณะว่าสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ เพราะการจะใส่หน้ากากอนามัยในการออกกำลังกายตลอดเวลา อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลลบต่อสุขภาพได้
สำหรับมาตรการอื่นๆ กทม.จะดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การปลูกไม้ยืนต้น 2 ฝั่งถนนที่สร้างใหม่ และปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับฝุ่นบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ ให้มากที่สุด การพ่นละอองน้ำในอากาศ การฉีดล้างทำความสะอาดถนนและใบไม้ และการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ล้อ ราง เรือ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโควิดและป้องกันฝุ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองจัดการคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล วานนี้ (26 ต.ค.) ว่า คุณภาพอากาศอยู่ในระดับคุณภาพดีถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพบฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 31-52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) เกินมาตรฐานที่บริเวณ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ค่าฝุ่นอยู่ที่ 52 ไมโครกรัมฯ อยู่ในโซนสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จากที่ค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมฯ
ขณะที่กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานในพื้นที่ กทม.พบมี 3 เขต คือ บริเวณริมถนนพระราม 3 เขตยานนาวา , ริมถนนศรีนครินทร์ เขตประเวศ , ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 8 เขตหนองแขม มีค่าฝุ่นอยู่ในระดับคาบเส้นมาตรฐาน อยู่ในระดับโซนสีเหลือง โดยค่าฝุ่นอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมฯ ส่วนพื้นที่อื่นๆ คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง แต่ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นพิษ เพิ่มปริมาณมากขึ้น มาจากอากาศเย็นจมตัว ทำให้ฝุ่นเพิ่มปริมาณมากขึ้น
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ว่า กทม.เตรียมรับมือฝุ่น PM 2.5 โดยระบุว่า กทม. และกองบังคับการตำรวจจราจร จะออกคำสั่งห้ามรถยนต์ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเวลา 06.00–21.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2563-สิ้นเดือนก.พ.2564 เพื่อลดมลพิษจากควันรถที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงขอความร่วมมือสถานศึกษางดจัดกิจกรรมในที่โล่งแจ้ง และหากสถานการณ์วิกฤตและค่าฝุ่นสูงต่อเนื่องเกิน 3 วัน จะพิจารณาให้ปิดโรงเรียนตามความเหมาะสม และในส่วนของการก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร และรถไฟฟ้า หากในช่วงวิกฤตที่มีปริมาณฝุ่นสูง จะห้ามไม่ให้มีการก่อสร้างบริเวณนอกอาคาร เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย แต่ในพื้นที่ปิดภายในอาคารยังสามารถทำได้
ปัจจุบัน กทม.ได้ติดตั้งสถานีตรวจวัดค่าฝุ่นละอองครบทั้ง 50 เขตแล้ว และอยู่ระหว่างการติดตั้งบริเวณสวนสาธารณะเพิ่มเติมอีก 20 แห่ง เพื่อให้ประชาชนที่ไปใช้พื้นที่ออกกำลังกายได้รับทราบข้อมูลคุณภาพอากาศภายในสวนสาธารณะว่าสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ เพราะการจะใส่หน้ากากอนามัยในการออกกำลังกายตลอดเวลา อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลลบต่อสุขภาพได้
สำหรับมาตรการอื่นๆ กทม.จะดำเนินการต่อเนื่อง เช่น การปลูกไม้ยืนต้น 2 ฝั่งถนนที่สร้างใหม่ และปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับฝุ่นบริเวณใต้สถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางต่างๆ ให้มากที่สุด การพ่นละอองน้ำในอากาศ การฉีดล้างทำความสะอาดถนนและใบไม้ และการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ล้อ ราง เรือ รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโควิดและป้องกันฝุ่น